การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8391
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1000 รหัสสำเนา 15032
คำถามอย่างย่อ
จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
คำถาม
จะเชื่อว่าพระเจ้ามีเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีสิ่งเลวร้ายพอๆกับสิ่งดีๆ อย่างเช่นมีสัตว์ที่สวยงามและสัตว์เดรัจฉาน หากมีคนเชื่อว่าโลกนี้มีพระเจ้าสององค์ พระเจ้าแห่งสิ่งดีๆและพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้าย เราจะตอบเขาว่าอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุด อีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใด ส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิต ประทานศักยภาพในการดำรงชีวิต และมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตา
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น มีเหตุผลเฉพาะที่หากเราได้รับรู้ ก็จะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มิได้ขัดกับความเมตตาของพระองค์แต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

หากจะพูดถึงความเมตตา ความห่วงใยและคุณลักษณะอื่นๆของใครสักคน จำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบคุณลักษณะดังกล่าวกับฐานะภาพของคนๆนั้นเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ความห่วงใยของเด็กสักคนที่มีต่อทารกแบเบาะนั้น แสดงออกได้เพียงเฝ้าระวังมิให้ทารกน้อยหยิบจับของมีคม หรืออย่างมากก็แค่ป้อนขนมให้เท่านั้น.
แต่ความห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อทารกสามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย ทั้งดูแลในลักษณะยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอ เฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บ บางครั้งก็ตัดสินใจฉีดวัคซีนขนานแรงให้ลูก ทั้งที่รู้ว่าจะทำให้ทารกน้อยเจ็บปวดและป่วยไข้แรมสัปดาห์ แต่เพราะรักและรู้ว่า หากลูกน้อยไม่ทนเจ็บในวันนี้ ก็ไม่สามารถจะเผชิญกับโรคร้ายที่อาจจะคร่าชีวิตลูกในวันข้างหน้าได้ ฉะนั้น เป็นที่ทราบดีว่าความเจ็บปวดที่จะทำให้รอดพ้นจากโรคร้ายในอนาคตได้นั้น บ่งชี้ว่าพ่อแม่มีเมตตาแก่ลูกน้อย ในขณะที่หากพ่อแม่ตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนให้ลูกเพราะไม่อยากให้ลูกเจ็บ กรณีนี้พ่อแม่จะถูกประณามว่าเป็นช่างเป็นพ่อแม่ที่ใจร้ายเสียนี่กระไร

พึงทราบว่าความรักที่อัลลอฮ์มีต่อปวงบ่าวที่พระองค์มอบชีวิตให้นั้น มีมากกว่าความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกน้อยกลอยใจ อย่างไรก็ดี หากเราจำกัดชีวิตมนุษย์ไว้เพียงแค่ชีวิตในโลกนี้ ก็คงจะพูดได้ว่าเคราะห์กรรมบางอย่างอาจจะขัดต่อความเมตตาที่พระองค์มีต่อมนุษย์ แต่หากจะมองในมุมกว้างว่าชีวิตมนุษย์มิได้จำกัดเพียงแค่โลกนี้ แต่รวมระยะเวลาก่อนถือกำเนิด ช่วงชีวิตในโลกนี้ ช่วงชีวิตหลังความตาย และช่วงชีวิตในโลกหน้าไม่ว่าในสวรรค์หรือนรก เมื่อนำช่วงเวลาทั้งหมดมาพิจารณาเปรียบเทียบกับความเมตตาของพระองค์ ก็จะทำให้ทราบว่าเหตุดีหรือเหตุร้ายทั้งหมดในชีวิตล้วนเกิดจากความเมตตาของพระองค์ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระองค์ได้ตระเตรียมปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทไว้แล้ว และสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรักความเมตตาที่พระองค์มีต่อสิ่งมีชีวิตที่พระองค์ทรงสร้าง
นอกจากนี้ ด้วยการที่พระองค์ทรงมีพลานุภาพและความรู้อันไร้ขอบเขต กอปรกับการที่ไม่มีเหตุจูงใจใดๆให้พระองค์ต้องระงับความเมตตาแก่มนุษย์ เพราะพระองค์ไม่จำเป็นต้องระแวงการสูญเสียอำนาจ อีกทั้งความรู้ของพระองค์ก็ไม่มีขอบเขตจำกัดแต่อย่างใด จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าพระองค์จะตระหนี่ถี่เหนียว และระงับความเมตตาแก่มนุษย์ที่พระองค์มอบชีวิตให้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว พระองค์ทรงสร้างโลกนี้ให้มีระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพด้วยกับความรู้และความเมตตาอันล้นเหลือของพระองค์ ระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพนี้แหล่ะที่มีแต่สิ่งดีๆ และเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเมตตาและความหวังดีตามสถานะของพระองค์

แง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่สามารถเนรมิตความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นระหว่างแม่และลูก ย่อมต้องมีความเมตตาในระดับที่สมบูรณ์กว่าอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะหลักอภิปรัชญาหนึ่งสอนไว้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้มอบความดีงามแก่ผู้อื่น จะปราศจากความดีงามนั้นเสียเอง[1]
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีดนาทาเร้น อุปสรรคและความยากลำบากประเภทต่างๆ ความเจ็บป่วยและความตาย ฯลฯ จะพบว่าสิ่งเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองประเภท:
1.
เหตุร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์บางจำพวก อาทิเช่น การรีดนาทาเร้น อาชญากรรม การจารกรรม ฯลฯ
2. เหตุร้ายที่เกิดจากภัยทางธรรมชาติ อาทิเช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว โรคระบาด ฝนแล้ง ฯลฯ
เกี่ยวกับกรณีแรก ต้องคำนึงว่าในเมื่ออัลลอฮ์สร้างมนุษย์ให้มีอิสระในการเลือกระหว่างดีและชั่ว หากมนุษย์บางกลุ่มเลือกที่จะรักชั่ว ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียในภาคสังคม แน่นอนว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ โดยความเลวร้ายกรณีดังกล่าวเกิดจากน้ำมือมนุษย์ล้วนๆ ดังที่กุรอานกล่าวว่าความเสื่อมเสียปรากฏขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำเนื่องจากความประพฤติของมนุษย์เอง[2] อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีวันแห่งการพิพากษาเพื่อชำระสะสางการกระทำของมนุษย์ แน่นอนว่าความทุกข์ยากอันเกิดจากการกดขี่เหล่านี้ย่อมจะได้รับการชดเชย

ส่วนกรณีที่เกิดจากภัยทางธรรมชาตินั้น มีข้อคิดสำคัญดังต่อไปนี้:
1.
โลกนี้เป็นสนามทดสอบเพื่อจะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติโดดเด่น โดยที่ทั้งความราบรื่นและความขมขื่น ความมั่งคั่งและความยากจน ความสนุกและความโศกเศร้า ล้วนเป็นเครื่องทดสอบเพื่อคัดแยกคนดีออกจากคนชั่วทั้งสิ้น หากจะพิจารณาถึงผลตอบแทนอันมากมายมหาศาลที่ผู้อดทนจะได้รับแล้วล่ะก็ เราจะเห็นว่าความทุกข์ยากทั้งหมดเป็นภาพสะท้อนของความเมตตาของพระองค์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากยิ่งประสบความทุกข์ยากเพียงใด ผลตอบแทนในวันกิยามะฮ์ก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวในหลายโองการด้วยกัน อาทิเช่นแน่แท้ เราจะทดสอบสูเจ้าด้วยความกลัว ความหิวกระหาย การสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตและผลผลิต และจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้อดทน[3]
2. ความทุกข์ยากในโลกนี้จะอบรมบ่มเพาะ และปลุกจิตสำนึกบุคคลหรือสังคมให้เกิดความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น[4] ทั้งนี้ก็เพราะความทุกข์ยากและอุปสรรคต่างๆล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้างโลกนี้ และหาได้ขัดต่อความเมตตาของพระองค์ ที่ต้องการจะเห็นมนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนไม่
3. อุปสรรคบางอย่างช่วยพัฒนาจิตใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บุคคลที่เติบโตท่ามกลางความยากจนและความลำบาก มักจะมีบทบาทในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่โลกต้องจารึกเสมอ
4. หากไม่นำความสวยงามมาเทียบกับความน่ารังเกียจแล้ว ทั้งความสวยงามและความน่ารังเกียจก็จะไม่เป็นที่ประจักษ์แก่มนุษย์ เนื่องจากหากทุกสิ่งสวยงามหมดจด ความสวยงามก็จะไร้ค่า จึงกล่าวได้ว่าแรงดึงดูดของสิ่งสวยงามมักต้องพึ่งพาแรงผลักไสของสิ่งน่ารังเกียจเสมอ[5]
5. สิ่งเลวร้ายมักจะตามมาด้วยสิ่งดีๆเสมอ เนื่องจากความสุขมักจะผุดขึ้นใจกลางความทุกข์ลำเค็ญ ดังที่อุปสรรคชีวิตก็มักจะปรากฏขึ้นท่ามกลางความสุขเสมอ และนี่ก็คือธรรมชาติของโลก[6]
เมื่อนำข้อคิดเหล่านี้มาพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่า สิ่งที่เราเคยเรียกว่าสิ่งเลวร้ายอัปมงคลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเส้นทางสู่ความสุขอันประเมินค่ามิได้ทั้งสิ้น

กรณีคำถามส่วนที่สองที่เกี่ยวกับพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้ายนั้น ต้องทราบว่าสิ่งเลวร้ายมิไช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้น ทว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่นความพิการ ซึ่งมิได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเอกเทศ แต่เป็นสภาวะที่เกิดจากการสูญเสียอวัยวะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะเชื่อเรื่องสองพระเจ้า หรือเชื่อว่าโลกนี้มีต้นกำเนิดสองขั้วได้ ทั้งนี้ก็เพราะการมีอยู่ของสิ่งต่างๆไม่อาจจะจำแนกออกเป็นสองส่วนได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีต้นกำเนิดสองขั้ว[7] และการมีอยู่นั้น โดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งดี ส่วนความว่างเปล่าโดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งเลวร้าย แน่นอนว่าสิ่งที่มีอยู่เท่านั้นที่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง เนื่องจากความว่างเปล่าไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง
สรุปคือ โลกนี้มีผู้สร้างเพียงองค์เดียวเท่านั้น.



[1] บิดายะตุ้ลฮิกมะฮ์,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี,หน้า 269. “معطی الکمال غیر فاقد

[2] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 41ظهر الفساد فی البر و البحر بما کسبت ایدی الناس

[3] อัลบะเกาะเราะฮ์, 155. แปลโดยอ.มะการิม ชีรอซี,

 و لنبلونکم بشیء من الخوف و الجوع و نقص من الاموال و الانفس و الثمرات و بشر الصابرین

[4] ความยุติธรรมของพระเจ้า,หน้า 156.

[5] อ้างแล้ว,หน้า 143.

[6] อ้างแล้ว,หน้า 149.

[7] ดู: อ้างแล้ว,หน้า 135.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8149 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9678 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7151 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • เมื่อคำนึงถึงการที่สตรีจะต้องมีประจำเดือน จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ เนื่องจากจะต้องถือศีลอดติดต่อกันเป็นเวลา 31 วัน
    7191 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการถือศีลอดที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องถืออย่างติดต่อกัน (เช่นการถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์หรือการถือศีลอดที่มีการบนบานเอาไว้) หากเขาไม่สามาถทำเช่นนี้ได้เนื่องจากป่วยหรือมีรอบเดือนหรือเป็นนิฟาซ (สำหรับสตรี) และผู้ถือศีลอดไม่สามารถถือศีลอดติดต่อกันได้ต่อเมื่อข้อจำกัดเหล่านั้นหมดไป (เช่นการป่วย, การมีรอบเดือนหรือการมีนิฟาซ) หากถือศีลอดต่อทันทีก็จะถือว่าถูกต้องและไม่จำเป็นต้องเริ่มถือศีลอดใหม่แต่อย่างใด[1][1]อิมามโคมัยนี, รูฮุลลอฮ์, ตะฮ์รีรุลวะซีละฮ์, แปล,เล่มที่
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
    12495 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2555/02/06
    ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือมีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(อ.) ในเหตุการณ์อาชูรอโดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้อนัสบิรฮัรซ์, ฮานีบินอุรวะฮ์, มุสลิมบินเอาสะญะฮ์, ฮะบีบบินมะซอฮิร, อับดุลลอฮ์บินยักฏิร ...
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13344 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6151 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16932 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14580 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56838 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38416 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33445 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27129 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...