การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6667
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1003 รหัสสำเนา 16980
คำถามอย่างย่อ
ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
คำถาม
คำถามของฉันเกี่ยวกับโองการวิลายะฮฺ หมายถึงโองการที่ 55 บทอัลมาอิดะฮฺ, โองการกล่าวว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) ขณะนมาซได้บริจาคซะกาต คำถามคือในสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ยังมีชีวิตอยู่ ท่านถูกนับว่าเป็นคนจนคนหนึ่ง ขณะแต่งงานท่านได้มอบโล่เป็นมะฮัรให้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) อีกทั้งซะกาตไม่วาญิบสำหรับคนจน ที่สำคัญต้อคนจนต้องไม่บริจาคซะกาต ฉะนั้น ซะกาตไม่วาญิบและไม่จำเป็นสำหรับท่าน แล้วทำไมท่านต้องทำเช่นนั้นเดียว?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามอะลี (.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใด แต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆ ได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมาย ซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึง

นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ) ว่าเป็นซะกาตประเภทหนึ่งและบุคคลก็สามารถบริจาคได้ทั้งสิ้น

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประการแรก : ตามสิ่งที่ปรากฏอยู่ในชีวประวัติของท่านอิมามอะลี (.) ท่านอิมามมิเคยเป็นผู้ยากจนค้นแค้นแต่อย่างใด ทว่าท่านอิมามได้ทุ่มเทความพยายามอย่างยิ่ง จนกระทั่งได้ทรัพย์สินมาเป็นจำนวนมากมาย แต่ท่านได้ใช้จ่ายทรัพย์เหล่านั้นไปในหนทางของพระเจ้าจนหมดสิ้น, โดยไม่เหลือสิ่งใดเป็นของตนเอง, เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการแบกถุงขนมปัง และอินทผลัมเพื่อไปแจกจ่ายให้เด็กกำพร้า และคนยากจนซึ่งเป็นเรื่องที่รับทราบกันเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่รับทราบกันเป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากนี้ ซึ่งเราต้องการกล่าวในที่นี้คือ ท่านอิมาม (.) จะใช้ทรัพย์สินของท่านซื้อทาสเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าท่านได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระถึง 1000 คน. นอกจากนั้นทรัพย์สินของท่านที่ได้รับจากทรัพย์สงครามก็มีจำนวนไม่น้อย แล้วยังจะมีซะกาตและรายได้จากเรือกสวนของท่านอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยืนยันให้เห็นว่าท่านอิมามมิได้เป็นผู้ยากจนค้นแค้นแต่อย่างใด[1]

ฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงความยากจนของท่านอิมาม ก็เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่าท่านได้บริจาคทานเป็นจำนวนมากมายนั่นเอง บางครั้งก็มากเกินทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่. ซึ่งสิ่งที่โองการกล่าวถึงการบริจาคทานของท่านนั้นจะเห็นว่า หนึ่งในประเด็นนี้ก็คือท่านได้บริจาคทานขณะรุกูอ์ให้แก่คนยากจนคนหนึ่ง

ประการที่สอง : อัลกุรอานหลายโองการถือว่าการซะดะเกาะฮฺที่เป็นมุซตะฮับเป็น ซะกาตด้วย เช่น อัลกุรอานที่ประทานลง  มักกะฮฺจะใช้คำว่าซะกาตซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือซะกาตมุสตะฮับนั่นเอง[2] เนื่องจากซะกาตวาญิบได้ถูกกำหนดขึ้นหลังจากการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อล ) ไปยังมะดีนะฮฺ[3]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า :

ถ้าหากพิจารณาทุกวันนี้จะเห็นว่าเมื่อกล่าวถึง ซะกาต ทุกคนจะเข้าใจว่าหมายถึง ซะกาตวาญิบ จะไม่มีผู้ใดคิดถึงเซาะดะเกาะฮฺ, แต่ก็มิได้เป็นเพราะสาเหตุที่ว่าภาษาอาหรับที่กล่าวว่า ซะดะเกาะฮฺ มิใช่ซะกาต ทว่าด้วยสาเหตุที่ว่าอายุขัยของอิสลามได้ผ่านพ้นมานับพันกว่าปีที่แล้ว ทั้งผู้วางบทบัญญัติและมุสลิมทั้งหลายต่างนำคำว่า ซะกาต ไปใช้ในวาญิบ, ทว่าในยุคแรกของอิสลามซะกาตได้ถูกใช้ตามความหมายในปทานุกรม ซึ่งครอบคลุมทั้งความหมายในเชิงภาษา และซะดะเกาะฮฺด้วย. ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว ซะกาต ในความหมายเฉพาะจะถูกใช้ตรงข้ามกับนมาซ, หมายถึงการบริจาคทรัพย์ในหนทางของพระเจ้า,ดังเช่นเรื่องราวในอัลกุรอานที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเหล่าบรรดาศาสดา ซึ่งเข้าใจได้เป็นอย่างดี[4]

โองการที่ 55 บทอัลมาอิดะฮฺ ตามคำกล่าวของนักตัฟซีรส่วนใหญ่ว่า[5] หมายถึงเรื่องราวการบริจาคของท่านอิมามอะลี (.),ซึ่งขณะรุกูอฺท่านได้บริจาคแหวนให้แก่คนยากจน

ดังนั้น สมมุติว่าซะกาตวาญิบ ไม่วาญิบสำหรับท่านอิมามอะลี (.) ฉะนั้น การบริจาคแหวนให้แก่คนยากจนจึงถือว่าเป็นหนึ่งในการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ



[1] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 429

[2] โองการที่ 3 บทนัมลุ และโองการ 39 บทโรม และโองการ 4 บทลูกมาน และโองการ 7 บทฟุซซิลัตและโองการอื่นนอกเหนือจากนี้

[3] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 430

[4] แปลตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 6, หน้า 11.

[5] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 424

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
    18498 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เมื่อสามีและภรรยาหย่าขาดจากกัน ใครคือผู้มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร?
    12470 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามบิดามีหน้าที่จะต้องจ่ายนะฟาเกาะฮ์ (ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู) แก่บุตรทุกคนแต่ทว่าสิทธิในการดูแลและอบรมเลี้ยงดูบุตรนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของลูกๆท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “มารดาถือครองสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตรชายจนถึงอายุ๒
  • ควรจะตอบคำถามเด็กๆ อย่างไร เมื่อถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ?
    7269 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    ไม่สมควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ที่เด็กๆ ได้ถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านั้นด้วยความถูกต้อง เข้าใจง่าย และมั่นคง,โดยอาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก พร้อมคำอธิบายง่ายๆ ขณะเดียวกันด้วยคำอธิบายที่ง่ายนั้นต้องกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้าชนิดคำนวณนับมิได้ ซึ่งอยู่ร่ายรอบตัวเอรา นอกจากนั้นยังสามารถพิสูจน์คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความปรีชาญาณ, พลานุภาพ, และความเมตตาแก่เด็กๆ ...
  • ถ้าหากไม่รู้ประเด็นปัญหา ได้ฝังศพไปโดยไม่ได้ใส่พิมเสนบนอวัยวะทั้งเจ็ดแห่ง หน้าที่เราควรจะทำอย่างไร?
    5909 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    หลังจากฆุซลฺมัยยิตแล้ว,วาญิบต้องฮุนูตให้แก่มัยยิต,หมายถึงให้เอาพิมเสนใส่ไปที่หน้าผาก, ฝ่ามือทั้งสองข้าง, หัวเข่าทั้งสองข้าง, และที่ปลายหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง[1] แต่หลังจากฝังเรียบร้อยแล้ว เพิ่งจะนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ใส่พิมพ์เสนให้มัยยิต กรณีที่ศพที่อยู่ในหลุมยังมิได้เน่าเปื่อย หรือยังมิได้ส่งกลิ่นเหม็น, วาญิบต้องขุดศพและใส่พิมเสนในหลุมนั้นเลย โดยไม่จำเป็นต้องนำมัยยิตออกมาจากหลุม, แต่ถ้าเป็นสาเหตุนำไปสู่การไม่ให้เกียรติมัยยิต (เช่น มีกลิ่นเหม็นโชยออกมา หรือร่างเน่าเปื่อยแล้วบางส่วน และ ...) ไม่วาญิบต้องใส่พิมเสนอีกต่อไป[2] คำถามข้อนี้, ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัดชี), ค้นคว้าและแก้ไขโดย, บนีฮาชิมมี โคมัยนี้, ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน, ...
  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    10487 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5246 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11467 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    8955 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
    5355 ปรัชญาของศาสนา 2555/06/11
    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน ...
  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    12665 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33446 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...