การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7496
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/20
คำถามอย่างย่อ
ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
คำถาม
ทำอย่างไรจึงจะสามารถลดความรีบร้อนลงได้บ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ
เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความรีบร้อนถือเป็นลักษณะนิสัยด้านลบที่พบเห็นได้ในพฤติกรรมมนุษย์ อันหมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดทั้งที่ยังไม่ได้มีการเตรียมการให้พร้อม ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดหรือบกพร่องต่อภารกิจนั้นๆอยู่เสมอ ไม่ต่างจากการเด็ดผลไม้ก่อนจะสุกดี อันจะทำให้สิ้นเปลืองหรือเสียรสชาติที่แท้จริงไป หรืออาจเปรียบได้กับการหว่านเมล็ดพืชก่อนที่จะเตรียมหน้าดิน อันจะทำให้ไม่งอกเงยหรือมีลำต้นแคระแกร็นในที่สุด

ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า ผู้ที่แสวงผลลัพธ์ก่อนถึงเวลาอันควรไม่ต่างอะไรกับผู้ที่หว่านเมล็ดพันธุ์บนผืนดินที่ไม่เหมาะสม (สุดท้ายก็ต้องสูญเสียทุนทรัพย์และแรงกายไปโดยเปล่าประโยชน์)[1]

ไม่ว่าประสบการณ์ ปัญญา ศาสนา ก็ล้วนประณามและยืนยันถึงความน่ารังเกียจของการลนลานทั้งสิ้น รอฆิบ อิศฟะฮานี ถือว่าจิตไฝ่ต่ำคือต้นกำเนิดของการลนลาน และถือว่านี่คือสาเหตุที่กุรอานตำหนิอุปนิสัยดังกล่าวไว้[2]

ท่านอิมามอลี(อ.)ถือว่าการรีบร้อนเกิดจากความเบาปัญญา ท่านกล่าวว่า “การรีบร้อนก่อนความพร้อมคือความเขลา”[3]

ท่านนบี(ซ.ล.)มีทัศนคติเกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรีบร้อนและความสุขุมว่า ความสุขุมคือพฤติกรรมแห่งอัลลอฮ์ และการรีบร้อนคือพฤติกรรมแห่งชัยฏอน”[4]

เมื่อคำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการรีบร้อนก็จะช่วยทำให้เราหลีกเลี่ยงอุปนิสัยดังกล่าว และช่วยให้สามารถเสริมสร้างอุปนิสัยความสุขุมให้เป็นแนวทางชีวิต

ผลเสียของการรีบร้อน

อุปนิสัยที่น่ารังเกียจล้วนเป็นเหตุแห่งความเสียหายทั้งสิ้น ซึ่งนอกจากจะน่ารังเกียจแล้ว ยังมีผลเสียอันมหันต์ที่ยิ่งทำให้น่ารังเกียจมากขึ้นทวีคูณอีกด้วย เพื่อให้ทราบถึงผลเสียของการรีบร้อน เราขอนำเสนอคำคมจากท่านอิมามอลี(อ.)ดังต่อไปนี้

1. ทำให้เสียใจ إِيَّاك‏ وَ الْعَجَلَ فَإِنَّهُ عُنْوَانُ الْفَوْتِ وَ النَّدَم “จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนเถิด เพราะจะทำให้สูญเสียโอกาสและทำให้เสียใจภายหลัง[5]
ทุกกิจกรรมที่เริ่มต้นโดยปราศจากการวางแผนมักจะจบลงด้วยความล้มเหลวและความเสียใจเสมอ และยังจะทำให้พลาดโอกาสที่จะแก้ตัวในภายหลังอีกด้วย

2. ไม่ประสบความสำเร็จ قَلَّ مَا تَنْجَحُ حِيلَةُ الْعَجُولِ น้อยนักที่แนวทางของคนรีบร้อนจะนำสู่ความสำเร็จ[6]
ความรีบร้อนมักเป็นเหตุให้บุคคลไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดีเสียก่อน ทำให้เสียโอกาสและไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ใจหมาย

3. สั่นคลอนและพ่ายแพ้  كَثْرَةُ الْعَجَلِ يُزِلُّ “ความรีบร้อนเกินเหตุจะทำให้สั่นคลอน”[7] قَلَّ مَنْ عَجِلَ إِلَّا هَلَك “น้อยคนนักที่มีนิสัยรีบร้อนทว่าไม่พ่ายแพ้”[8]

ความรีบร้อนมักเป็นเหตุให้บุคคลมองไม่เห็นหลุมพรางที่อยู่เบื้องหน้า ทำให้เสี่ยงต่อความพลาดพลั้งและการปราชัยในที่สุด

4. ทำให้เศร้าหมอง الْعَجَلُ قَبْلَ الْإِمْكَانِ يُوجِبُ الْغُصَّة “ความรีบร้อนกระทำก่อนความพร้อมจะนำมาซึ่งความอาดูร”[9]
ความร่าเริงแจ่มใสถือเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตมนุษย์ แน่นอนว่ามนุษย์ไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายได้ด้วยความโศกาอาดูร ฉะนั้น จึงไม่ควรแลกความร่าเริงแจ่มใสกับความเศร้าหมองอย่างเด็ดขาด

ท่านอิมามอลี(อ.)ยังได้กล่าวถึงผลเสียอื่นๆของการรีบร้อนไว้มากมาย แต่เพื่อรักษาเนื้อหาให้กระชับ จึงขอแนะนำให้ผู้สนใจหาอ่านฮะดีษในหนังสือ “ฆุเราะรุลฮิกัม” ตามหมวดว่าด้วยการรีบร้อน

ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จุดตรงข้ามของการรีบร้อนก็คือ “ความสุขุม” “การตรึกตรอง” อันหมายถึงการกระทำกิจใดๆโดยไตร่ตรองและชั่งใจไว้ก่อน
มีฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)ระบุว่า “ผู้คนต่างก็พินาศด้วยความรีบร้อน มาตรแม้นผู้คนตรึกตรองก่อนลงมือกระทำ จะไม่มีใครพินาศอีกเลย”[10]

ฮะดีษข้างต้นเป็นเครื่องยืนยันว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์มากที่สุดคือการรีบร้อน
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามศอดิก(อ.)จึงกล่าวว่า “ผู้ที่เริ่มกิจใดในเวลาที่ไม่เหมาะสม กิจนั้นก็จะยุติลงในเวลาที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน”[11]

จากที่นำเสนอทั้งหมดได้ข้อสรุปว่า หากต้องการจะได้รับความผาสุก ควรตรึกตรองให้ดีก่อนที่จะคิดกระทำการใดให้ดีโดยไม่รีบร้อน วิธีแก้อุปนิสัยรีบร้อนก็คือการคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา อีกทั้งพิจารณาผลดีของการวางตัวอย่างสุขุมอันเป็นอุปนิสัยของเหล่าศาสดาและกัลยาณชน อันจะทำให้สามารถตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะกระทำการทุกอย่างด้วยความสุขุม ความอดทน และการตรึกตรองเสมอ และหากพยายามกระทำได้เช่นนี้ระยะหนึ่ง ความสุขุมก็จะกลายเป็นอุปนิสัยแทนที่ความรีบร้อนในที่สุด

ท้ายนี้ไคร่ขอเน้นย้ำว่า การรีบร้อนต่างจากความฉับไวอย่างถูกกาลเทศะอย่างสิ้นเชิง ความฉับไวคือการกระทำการอย่างรวดเร็วเมื่อทุกเงื่อนไขพร้อมสรรพ ด้วยเหตุนี้ เหล่าผู้นำอิสลามจึงสนับสนุนการช่วงชิงโอกาสในการกระทำที่ดีงาม

ท่านนบี(ซ.ล.): “จงชิงโอกาสห้าประการก่อนห้าประการ วัยรุ่นก่อนวัยชรา สุขภาพก่อนความป่วยไข้ ความมั่งมีก่อนความยากจน โอกาสก่อนอุปสรรค ลมหายใจก่อนความตาย”[12]

อิมามอลี(อ.) “โอกาสจะผ่านพ้นไปประดุจดั่งเมฆที่ล่องลอย”[13]

อิมามอลี(อ.) “การประวิงเวลาเป็นสิ่งที่ดีเสมอ ยกเว้นกรณีความดีงาม”[14]

อิมามบากิร(อ.) “เมื่อเธอกำลังจะทำความดี จงรีบเร่งเถิด เพราะเธอไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในภายหลัง”[15]

อิมามศอดิก(อ.) “ผู้ใดดำริที่จะทำความดี ควรรีบเร่งโดยไม่ประวิงเวลา เพราะเมื่อบ่าวจะกระทำความดี อัลลอฮ์จะทรงตอบความดีของเขาว่า ข้าได้อภัยให้เจ้าแล้ว และจะมองข้ามความผิดพลาดในภายหลังด้วยเช่นกัน”[16]

 

 


[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,หน้า 52,คุฏบะฮ์ที่ 5, สำนักพิมพ์ดารุลฮิจเราะฮ์,กุม

[2] รอฆิบ อิศฟะฮานี, ฮุเซน บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟเราะด้าต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน,หน้า 548,ดารุชชามียะฮ์,เบรุต,ฮ.ศ.1412

[3] อามะดี,อับดุลวาฮิด,ฆุเราะรุลฮิกัม,หน้า 266,สำนักพิมพ์ศูนย์เผยแผ่ศาสนา,กุม,ปี 1366
ฎ็อบเราะซี, อลี บิน ฮะซัน,มิชกาตุลอันว้าร,เล่ม 1,หน้า 334,หอสมุดฮัยดะรียะฮ์,นะญัฟ,ฮ.ศ.1385

[4] ฆุเราะรุลฮิกัม,หน้า 267

[5] เพิ่งอ้าง

[6] เพิ่งอ้าง

[7] เพิ่งอ้าง

[8] เพิ่งอ้าง

[9] เพิ่งอ้าง

[10] บัรกี, อะฮ์มัด บิน มุฮัมมัด อัลมะฮาซิน, หน้า 215,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,กุม,ฮ.ศ.1371

[11] เศาะดู้ก, มุฮัมมัด บิน อลี, อัลคิศอล, เล่ม 1,หน้า 100,สำนักพิมพ์สมาคมมุดัรริซีน,กุม,ฮ.ศ.1403

[12] ฏูซี, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, อัลอะมาลี,หน้า 525,สำนักพิมพ์ดารุษษิกอฟะฮ์,กุม,ฮ.ศ.1414

[13] ฆุเราะรุลฮิกัม,หน้า 473

[14] เพิ่งอ้าง

[15] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ, อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 142,ฮะดีษที่ 3,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1365

[16] เพิ่งอ้าง, ฮะดีษที่ 6

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11008 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5247 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
    8795 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(อ.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้วเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(ซ.ล.) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมามและเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมามปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(ซ.
  • ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
    6468 تاريخ بزرگان 2554/08/08
    หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่าท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีนและเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(ซ.ล.) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(ซ.ล.) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขารท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชามและเสียชีวิตณที่นั่น ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7953 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6728 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    11438 วิทยาการกุรอาน 2557/05/20
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7411 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • อิสลามมีบทบัญญัติอย่างไรเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง?
    8315 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    การโคลนนิ่งโดยเฉพาะการโคลนนิ่งมนุษย์ถือเป็นประเด็นปัญหาใหม่จึงไม่อาจจะพบโองการกุรอานหรือฮะดีษที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงอย่างไรก็ดีผู้รู้และนักวิชาการชีอะฮ์ได้ใช้กระบวนการวินิจฉัยหลักฐานจากกุรอานและฮะดีษทำให้สามารถแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งแบ่งออกเป็นสามทัศนะด้วยกัน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59390 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33449 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...