การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6032
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa13589 รหัสสำเนา 19931
คำถามอย่างย่อ
มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
คำถาม
เป็นไปได้ไหมว่า จะมีรายงานจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ?
คำตอบโดยสังเขป

มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺ ที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่ง บรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ท่านอิมามริฎอ (.) ได้กล่าวแก่ ชะบีบ บิน ริยานว่า ถ้าหากเธอต้องการมีส่วนร่วมในผลบุญของบรรดาชะฮีดผู้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ (.), และปรารถนาได้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ซ็อล ) ในสรวงสวรรค์ละก็ ...เมื่อใดก็ตามที่รำลึกถึงอิมามฮุซัยนฺ (.) และเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ เธอจงสาปแช่งเหล่าบรรดาผู้ร่วมกันสังหารท่านอิมาม (.) พร้อมกับครอบครัวและสหาย. ทำนองเดียวกัน ดาวูด บินกะษีร รุกกียฺ กล่าวว่า : ฉันได้ไปหาท่านอิมามซอดิก (.) ท่านได้ขอน้ำจากฉัน เมื่อท่านดื่มน้ำแล้ว ท่านอิมาม (.) ร่ำไห้นัยนาทั้งสองข้างเอ่อนองไปด้วยน้ำตา, หลังจากนั้นท่านอิมามกล่าวกับฉันว่า : โอ้ ดาวูดเอ๋ย อัลลอฮฺ จงสาปแช่งบรรดาผู้ร่วมกันสังหารอิมามฮุซัยนฺ (.)

หนังสือกามิล ซิยารัต, มีหมวดหนึ่งนามว่าผลบุญของบุคคลที่ดื่มน้ำและรำลึกถึงอิมามฮุซัยนฺ พร้อกับสาปแช่งเหล่าศัตรู

คำตอบเชิงรายละเอียด

มีรายงานจำนวนมากที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่ง บรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวเพียง 2 รายงานเท่านั้น :

1.ร็อยยาน บิน ชะบีบ กล่าวว่า : เมื่อย่างเข้าวันแรกของเดือนมุฮัรรอม ฉันได้ไปหาท่านอิมามริฎอ (.), ท่านอิมามได้กล่าวกับฉันว่า : โอ้ บุตรของชะบีบ เธอถือศีลอดหรือไม่? ฉันตอบว่า เปล่าไม่ได้ถือ, ท่านอิมาม (.) กล่าวว่า : วันนี้คือวันซึ่งศาสดาซักรียา ได้วอนขอต่ออัลลอฮฺว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์โปรดประทานเผ่าพันธุ์ที่สะอาด  พระองค์แก่ฉัน, เนื่องจากพระองค์คือผู้ตอบรับดุอาอฺ, อัลลอฮฺ ทรงตอบรับดุอาอฺของเขาและทรงมีบัญชาแก่มลาอิกะฮฺว่า ซักกะรียา ทื่กำลังยืนอยู่ในเมะฮฺรอบ ได้วิงวอนว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ พระองค์ทรงแจ้งข่าวดีแก่ยะฮฺยาว่า บุคคลใดก็ตามได้ถือศีลอดในวันนี้ แล้วได้ดุอาอฺต่อพระองค์, พระองค์จะทรงตอบรับดุอาอฺของเขา, แล้วพระองค์ได้ตอบรับดุอาอฺของซักกะรียา, หลังจากนั้นท่านอิมาม (.) กล่าวว่า : โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย จริงๆ แล้วมุฮัรรอมคือเดือนซึ่ง บรรดาญาฮิลลียะฮฺในอดีตได้หยุดการกดขี่ข่มเหง การนองเลือด และการสู้รบกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาให้เกียรติและเคารพต่อความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนนี้ แต่น่าเสียดายว่าประชาชาตินี้ไม่เคยให้เกียรติเดือนนี้ ไม่เคยให้เกียรติท่านศาสดา เดือนนี้พวกเขาร่วมกันสังหารหลานรักของท่านศาสดา จับบรรดาสตรีลูกหลานของท่านศาสดาเป็นเชลย ปล้นสะดมทรัพย์สินของพวกเขา. อัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยความผิดให้แก่พวกเขาตลอดไป โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย, ถ้าเธอต้องการร้องไห้ให้กับบางสิ่ง, เธอจงร้องไห้ให้กับอิมามฮุซัยนฺ (.) เถิด เนื่องจากท่านได้ถูกสังหารและถูกบั่นศีรษะเหมือนแพะถูกเชือด ครอบครัวของท่านได้ถูกสังหารร่วมกับท่านถึง 17 คน ศพนอนเกลื่อนเรียงรายอยู่บนพื้นดิน, ชั้นฟ้าทั้ง 7 ชั้น และแผ่นดินต่างร่ำไห้ให้กับการถูกสังหารของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.), มวลมลาอิกะฮฺจำนวน 4,000 ท่าน ได้วอนขอต่ออัลลอฮฺ เพื่อลงมาช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) แต่เมื่อพวกเขามาแล้วพบว่าท่านอิมาม (.) กับสหายได้ถูกสังหารแล้ว ซึ่งศพของพวกเขาเรียงรายเปื้อนฝุ่นเกรอะกรัง จนกระทั่งกออิม (.) ได้ปรากฏกายออกมา..สโลแกนของพวกเขาคือ ยาละษารอตุลฮุซัยนฺ, โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย,บิดาของฉัน ได้เล่ามาจากบิดาของท่าน จากปู่ของท่าน และท่านได้บอกกับฉันว่า เนื่องจากท่านปู่ของฉันอิมามฮุซัยนฺ (.) ได้ถูกสังหาร ท้องฟ้าและแผ่นดินได้กลายเป็นสีเลือด, โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย, ถ้าเธอได้ร้องไห้เพื่อฮุซัยนฺ และน้ำตาได้ไหลรินทั่วแก้มทั้งสองข้าง, อัลลอฮฺ จะทรงอภัยโทษให้เธอในทุกความผิดที่ก่อขึ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม, โอ้ บุตรของ ชะบีบเอ๋ย, ถ้าหากเธอต้องการพบกับอัลลอฮฺ ในสภาพที่ปราศจากบาปและความผิด เธอจงไปซิยารัตท่านอิมามฮุซัยนฺเถิด, โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย ถ้าหากเธอต้องการพำนักอยู่ในสถานพำนักแห่งสรวงสวรรค์ พร้อมหน้ากับท่านเราะซูล (ซ็อล ) เธอจงสาปแช่งบรรดาศัตรูที่ร่วมกันสังหารท่านอิมามฮุซัยนฺเถิด, โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย, ถ้าเธอต้องการได้ผลบุญของบรรดาชะฮีดผู้ที่ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ละก็ ทุกครั้งที่เธอรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และเหตุการณ์กัรบะลาอฺ เธอจงกล่าวว่า โอ้ ข้าแต่พระองค์ ข้าฯ หน้าจะได้อยู่ร่วมกับพวกเขา เพื่อว่าข้าฯจะได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่พร้อมกับพวกเขา, โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย, ถ้าหากเธอต้องการอยู่ในสถานะเดียวกันกับเรา  สรวงสวรรค์ เธอจงแสดงความทุกข์และเสียใจต่อสิ่งที่เป็นความทุกข์ของเรา และจงรื่นเริงมีความสุขต่อสิ่งที่เรามีความสุขเถิด และจงอยู่ร่วมกับวิลายะฮฺของเราตลอดไปเถิด[1]

2.รายงานบทที่สองจาก ดาวูด บิน กะษีร

‏ حَدَّثَنِی مُحَمَّدُ بْنُ جَعْفَرٍ الرَّزَّازُ الْکُوفِیُّ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَیْنِ عَنِ الْخَشَّابِ عَنْ عَلِیِّ بْنِ حَسَّانَ عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ کَثِیرٍ عَنْ دَاوُدَ الرَّقِّیِّ: قَالَ کُنْتُ عِنْدَ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ (ع) إِذَا اسْتَسْقَى الْمَاءَ فَلَمَّا شَرِبَهُ رَأَیْتُهُ قَدِ اسْتَعْبَرَ وَ اغْرَوْرَقَتْ عَیْنَاهُ بِدُمُوعِهِ ثُمَّ قَالَ لِی یَا دَاوُدُ لَعَنَ اللَّهُ قَاتِلَ الْحُسَیْنِ ع فَمَا مِنْ عَبْدٍ شَرِبَ الْمَاءَ فَذَکَرَ الْحُسَیْنَ ع وَ لَعَنَ قَاتِلَهُ إِلَّا کَتَبَ اللَّهُ لَهُ مِائَةَ أَلْفِ حَسَنَةٍ وَ حَطَّ عَنْهُ مِائَةَ أَلْفِ سَیِّئَةٍ وَ رَفَعَ لَهُ مِائَةَ أَلْفِ دَرَجَةٍ وَ کَأَنَّمَا أَعْتَقَ مِائَةَ أَلْفِ نَسَمَةٍ وَ حَشَرَهُ اللَّهُ"؛

มุฮัมมัด บินญะอฺฟัร อัซซุรรอเราะฮฺ อัลกูฟียฺ ได้เล่าให้ฟัง ซึ่งรายงานมาจากมุฮัมมัด บิน อัลฮุซัยนฺ จากอัลคัชชาบ จากอะลี บุตรของฮัซซาน จากอับดุรเราะฮฺมาน บุตรของกะษีร จากดาวูด อัรร็อกกียฺ กล่าวว่า : ฉันได้ไปหาท่านอิมามซอดิก (.) ท่านได้ขอน้ำจากฉัน เมื่อท่านดื่มน้ำแล้ว ท่านอิมาม (.) ร่ำไห้นัยนาทั้งสองข้างเอ่อนองไปด้วยน้ำตา, หลังจากนั้นท่านกล่าวกับฉันว่า : โอ้ ดาวูดเอ๋ย อัลลอฮฺ จงสาปแช่งบรรดาผู้ร่วมกันสังหารอิมามฮุซัยนฺ (.) ดังนั้น ไม่มีบ่าวคนใดได้ดื่มน้ำแล้วได้รำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และได้สาปแช่งบรรดาศัตรูที่ร่วมกันสังหารท่านแล้วจะไม่ได้รับผลบุญ เว้นเสียแต่ว่าอัลลอฮฺ จะทรงบันทึกความดีงามให้แก่เขาถึง 100,000 ความดี และยกโทษให้แก่เขาถึง 100,000 ความผิด ยกฐานันดรให้เขาสูงส่งถึง 100,000 ขั้น,ประหนึ่งว่าเขาได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระถึง 100,000 คน และในวันฟื้นคืนชีพเขาจะได้อยู่ร่วมกับผู้มีใบหน้าสดใสรื่นเริง[2]

มีคำพูดว่า, หนังสือกามิลอัซซิยารอต, มีหมวดหนึ่งชื่อว่าผลบุญของบุคคลที่ได้ดื่มน้ำ รำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และสาปแช่งบรรดาผู้ร่วมสังหารท่าน[3]



[1] เชคซะดูก, อัลอะมาลียฺ, หน้า 129, 130, อะอฺลัมมียฺ, พิมพ์ครั้งที่ 5,ปี 1400.

"حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ عَلِیٍّ مَاجِیلَوَیْهِ رَحِمَهُ اللَّهُ قَالَ حَدَّثَنَا عَلِیُّ بْنُ إِبْرَاهِیمَ عَنْ أَبِیهِ عَنِ الرَّیَّانِ بْنِ شَبِیبٍ قَالَ دَخَلْتُ عَلَى الرِّضَا ع فِی أَوَّلِ یَوْمٍ مِنَ الْمُحَرَّمِ- فَقَالَ لِی یَا ابْنَ شَبِیبٍ أَ صَائِمٌ أَنْتَ فَقُلْتُ لَا فَقَالَ إِنَّ هَذَا الْیَوْمَ هُوَ الْیَوْمُ الَّذِی دَعَا فِیهِ زَکَرِیَّا ع رَبَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فَقَالَ رَبِّ هَبْ لِی مِنْ لَدُنْکَ ذُرِّیَّةً طَیِّبَةً إِنَّکَ سَمِیعُ الدُّعاءِ فَاسْتَجَابَ اللَّهُ لَهُ وَ أَمَرَ الْمَلَائِکَةَ فَنَادَتْ زَکَرِیَّا وَ هُوَ قائِمٌ یُصَلِّی فِی الْمِحْرابِ أَنَّ اللَّهَ یُبَشِّرُکَ بِیَحْیى‏ فَمَنْ صَامَ هَذَا الْیَوْمَ ثُمَّ دَعَا اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ اسْتَجَابَ اللَّهُ لَهُ کَمَا اسْتَجَابَ لِزَکَرِیَّا ع ثُمَّ قَالَ یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنَّ الْمُحَرَّمَ هُوَ الشَّهْرُ الَّذِی کَانَ أَهْلُ الْجَاهِلِیَّةِ فِیمَا مَضَى یُحَرِّمُونَ فِیهِ الظُّلْمَ وَ الْقِتَالَ لِحُرْمَتِهِ فَمَا عَرَفَتْ هَذِهِ الْأُمَّةُ حُرْمَةَ شَهْرِهَا وَ لَا حُرْمَةَ نَبِیِّهَا ص لَقَدْ قَتَلُوا فِی هَذَا الشَّهْرِ ذُرِّیَّتَهُ وَ سَبَوْا نِسَاءَهُ وَ انْتَهَبُوا ثَقَلَهُ فَلَا غَفَرَ اللَّهُ لَهُمْ ذَلِکَ أَبَداً یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنْ کُنْتَ بَاکِیاً لِشَیْ‏ءٍ فَابْکِ لِلْحُسَیْنِ بْنِ عَلِیِّ بْنِ أَبِی طَالِبٍ ع فَإِنَّهُ ذُبِحَ کَمَا یُذْبَحُ الْکَبْشُ وَ قُتِلَ مَعَهُ مِنْ أَهْلِ بَیْتِهِ ثَمَانِیَةَ عَشَرَ رَجُلًا مَا لَهُمْ فِی الْأَرْضِ شَبِیهُونَ وَ لَقَدْ بَکَتِ السَّمَاوَاتُ السَّبْعُ وَ الْأَرَضُونَ لِقَتْلِهِ وَ لَقَدْ نَزَلَ إِلَى الْأَرْضِ مِنَ الْمَلَائِکَةِ أَرْبَعَةُ آلَافٍ لِنَصْرِهِ فَوَجَدُوهُ قَدْ قُتِلَ فَهُمْ عِنْدَ قَبْرِهِ شُعْثٌ غُبْرٌ إِلَى أَنْ یَقُومَ الْقَائِمُ فَیَکُونُونَ مِنْ أَنْصَارِهِ وَ شِعَارُهُمْ یَا لَثَارَاتِ الْحُسَیْنِ یَا ابْنَ شَبِیبٍ لَقَدْ حَدَّثَنِی أَبِی عَنْ أَبِیهِ عَنْ جَدِّهِ ع أَنَّهُ لَمَّا قُتِلَ الْحُسَیْنُ جَدِّی ص مَطَرَتِ السَّمَاءُ دَماً وَ تُرَاباً أَحْمَرَ یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنْ بَکَیْتَ عَلَى الْحُسَیْنِ ع حَتَّى تَصِیرَ دُمُوعُکَ عَلَى خَدَّیْکَ غَفَرَ اللَّهُ لَکَ کُلَّ ذَنْبٍ أَذْنَبْتَهُ صَغِیراً کَانَ أَوْ کَبِیراً قَلِیلًا کَانَ أَوْ کَثِیراً یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنْ سَرَّکَ أَنْ تَلْقَى اللَّهَ عَزَّ وَ جَلَّ وَ لَا ذَنْبَ عَلَیْکَ فَزُرِ الْحُسَیْنَ ع یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنْ سَرَّکَ أَنْ تَسْکُنَ الْغُرَفَ الْمَبْنِیَّةَ فِی الْجَنَّةِ مَعَ النَّبِیِّ وَ آلِهِ ص فَالْعَنْ قَتَلَةَ الْحُسَیْنِ یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنْ سَرَّکَ أَنْ تَکُونَ لَکَ مِنَ الثَّوَابِ مِثْلَ مَا لِمَنِ اسْتُشْهِدَ مَعَ الْحُسَیْنِ ع فَقُلْ مَتَى مَا ذَکَرْتَهُ یا لَیْتَنِی کُنْتُ مَعَهُمْ فَأَفُوزَ فَوْزاً عَظِیماً یَا ابْنَ شَبِیبٍ إِنْ سَرَّکَ أَنْ تَکُونَ مَعَنَا فِی الدَّرَجَاتِ الْعُلَى مِنَ الْجِنَانِ فَاحْزَنْ لِحُزْنِنَا وَ افْرَحْ لِفَرَحِنَا وَ عَلَیْکَ بِوَلَایَتِنَا فَلَوْ أَنَّ رَجُلًا تَوَلَّى حَجَراً لَحَشَرَهُ اللَّهُ مَعَهُ یَوْمَ الْقِیَامَة".

[2] อิบนุ เกาละวียะฮฺ กุมมี, กามิลซิยารัต, หน้า 107, หมวดที่ 34, ว่าด้วยเรื่อง บุคคลใดก็ตามได้ดื่มน้ำและรำลึกถึงฮุซัยนฺ พร้อมกับสาปแช่งบรรดาผู้ร่วมสังหารท่าน, มุรตะฎะวียฺ, พิมพ์ครั้งแรก, นะญัฟ, ปี ฮ.ศ. 1356

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12072 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5855 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    16673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10000 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • ชีอะฮ์มีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)?
    5979 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/22
    ความเชื่อของชีอะฮ์คือ1. ตำแหน่งคิลาฟะฮ์เป็นตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์เป็นผู้แต่งตั้งเองและท่านศาสดา(ซ.ล.)ก็ได้รับคำสั่งจากพระองค์ให้ประกาศในหมู่มุสลิมหลายต่อหลายครั้งว่าท่านอลี(อ
  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    14692 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    6860 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9099 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22692 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56816 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41638 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38383 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25175 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...