การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11823
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/07/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1564 รหัสสำเนา 26984
คำถามอย่างย่อ
ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? อิสลามมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่าอย่างไร?
คำถาม
คำถามของผมคือ ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? แล้วทำไมอัลกุรอานไม่ห้ามสิ่งนั้น ประเด็นเกี่ยวกับการปล่อยให้เป็นไทคืออะไร? แล้วมนุษย์ทั้งหมดไม่มีความเป็นไทหรือ? เมื่อเป็นดังนั้นแล้วเรื่องเรื่องทาสหรือบ่าวรับใช้คืออะไร? ถ้าเกิดมีการซื้อขายทาสจริง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้เมตตาสงสารปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปได้อย่างไร? ท่านศาสดาผู้ถูกส่งมาเพื่อช่วยเหลือปลดปล่อยชาวโลกผู้อ่อนแอ. ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง และหวังว่าท่านคงจะตอบคำถามของผมโดยปราศจากความอคติใดๆ เป็นคำตอบที่ให้ความชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
คำตอบโดยสังเขป

ถูกต้องบทบัญญัติเกี่ยวกับ การแต่งงานกับทาส, การเป็นมะฮฺรัมกับทาส, สัญญาซื้อขาย (ข้อตกลงที่จะปล่อยทาสเป็นไท) และ ...ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน, การมีทาสได้รับการยืนยันว่ามีจริงในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต้นยุคอิสลาม แต่จำเป็นต้องกล่าวว่าอิสลามมีโปรแกรมที่ละเอียดอ่อน และมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท ซึ่งบั้นปลายสุดท้ายของทั้งหมดเหล่านั้นคือ การได้รับอิสรภาพเป็นไททั้งสิ้น ดังนั้นการเผชิญหน้าของอิสลามกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:

1-อิสลามมิเคยเริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส

2-อิสลามถือว่าปัญหาชะตากรรม และความเจ็บปวดใจของทาสในอดีตที่ผ่านมาคือ ปัญหาความล้าหลังอันยิ่งใหญ่ของสังคม

3-อิสลามได้วางโครงการที่ละเอียดอ่อน เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นไท, เนื่องจากครึ่งหนึ่งของพลเมืองในสมัยก่อนเป็นทาสทั้งสิ้น, พวกเขาไม่มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพการงาน, ไม่มีปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป.ถ้าหากอิสลามได้มีคำสั่งต่อสาธารณชนว่าให้ทั้งหมดปล่อยทาสให้เป็นไท, ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะต้องสูญเสียชีวิต หรือไม่ชนส่วนใหญ่ก็จะต้องว่างงานไร้อาชีพ หิวโหย ถูกกีดกัน และพวกเขาต้องได้รับแรงกดดันจนกระทั่งเข้าทำร้ายและโจมตีในทุกที่ การประจัญบาน การนองเลือด และการทำลายกฎระเบียบของสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามได้วางแผนการไว้อย่างละเอียด เพื่อดึงดูดสังคมให้ทาสเหล่านี้ได้รับอิสรภาพ และเป็นไทไปที่ละน้อย

ซึ่งแผนการดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :

แผนที่หนึ่ง – ปิดและขุดรากถอนโคนความเป็นทาส

แผนที่สอง – เปิดกว้างความเสรี

แผนที่สาม – ฟื้นฟูบุคลิกภาพของผู้เป็นทาส

แผนที่สี่ – ความประพฤติของคนทั่วไปกับทาส

แผนที่ห้า – ประกาศการซื้อขายมนุษย์ว่าเป็นธุรกิจ และกิจการที่ชั่วช้าที่สุด

การเผชิญหน้าด้านวิชาการและการดำเนินชีวิตของเหล่าผู้นำศาสนา กับทาสเป็นหนึ่งในแบบอย่างทางการปฏิบัติ สำหรับชาวมุสลิมทั้งหลาย การเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับความชัดเจนในคำตอบจำเป็นต้องอธิบายประเด็น เรื่องทาสในอิสลามให้ชัดเจนเสียก่อน

แม้ว่าปัญหาเรื่องทาสจะอยู่ในฐานะคำสั่งแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องเชลยสงคราม, แต่ไม่มีชื่อเรียกไว้ในอัลกุรอาน ขณะเดียวกันก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกันว่า มีเรื่องราวที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน เกี่ยวกับทาส, ดังนั้นเรื่องการมีทาสเป็นเรื่องแน่นอนที่มีอยู่จริงในสมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และยุคต้นอิสลาม[1] เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากเชลยที่จับมาในฐานะของทาส, การแต่งงานกับทาส, บทบัญญัติเกี่ยวกับการเป็นมะฮฺรัมกับทาส หรือสัญญาต่างๆ (ข้อตกลงที่ปล่อยทาสให้เป็นอิสระ) ซึ่งมีกล่าวไว้ในโองการต่างๆ มากมาย เช่น ในบทนิซาอฺ อันนะฮฺลุ มุอฺมินูน นูร โรม และอะฮฺซาบ

ตรงนี้จะเห็นว่าบางคนเข้าใจไขว่เขวเกี่ยวกับอิสลามว่า ทำไมศาสนาแห่งพระเจ้า ซึ่งมีเนื้อหาสาระและถือว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีค่าอันสูงส่ง แต่กลับไม่ได้ปฏิเสธเรื่องทาส ประกอบกับไม่ได้ประกาศเงื่อนไขแน่นอน หรือเงื่อนไขสาธารณเกี่ยวกับการปล่อยทาสให้อิสระ

ถูกต้องที่ว่าอิสลามได้ให้คำแนะนำไว้มากมาย เกี่ยวกับเรื่องทาส แต่สิ่งที่สำคัญคือการให้เสรีภาพแบบไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากเพราะเหตุใดมนุษย์ต้องเป็นเจ้ามนุษย์ด้วยกันด้วย ทั้งที่ความอิสรเสรีคือของขวัญอันยิ่งใหญ่จากพระเจ้า ทีทรงมอบแก่มนุษย์ทุกคน แต่เรากลับปล่อยให้หลุดลอยมือไป

คำตอบ : ขอตอบด้วยประโยคสั้นว่า อิสลามทีแผนการที่ละเอียดอ่อนและแยบยล พร้อมกับมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ ซึ่งตามกำหนดการแล้วทุกคนต้องได้รับอิสรภาพที่ละน้อยทั้งหมด โดยที่ไม่มีปฏิกิริยาที่ไม่ดีทางสังคมโต้ตอบแต่อย่างใด

แต่ก่อนที่จะอธิบายแผนการอิสลามโดยละเอียดเหล่านั้น จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญเพื่อเป็นบทนำดังนี้ :

1-อิสลามมิใช่ผู้เริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส, ทว่าในยุคการเริ่มต้นของอิสลาม ปัญหาเรื่องทาสได้เกิดขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก และผสมผสานอยู่ในสังคมมนุษย์มาโดยตลอด

2-ปัญหาทาสตลอดหน้าประวัติศาสตร์ถือเป็นชะตาชีวิตที่เจ็บช้ำที่สุด เช่น ทาสสปาร์ตัน โดยนิยามทั่วไปเรียกว่า อารยชน ซึ่งตามคำกล่าวของผู้เขียน รูฮุลกะวานีน กล่าวว่า สปาร์ตัน เป็นทาสที่ต่ำต้อยที่สุดกว่าว่าได้ เนื่องจากเขามิได้เป็นทาสของคนเพียงคนเดียว ทว่าเป็นทาสของสังคม เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ไม่หวั่นเกรงกฎหมายสังคม เขาสามารถทำทุกอย่างกับทาสของเขาและทาสของคนอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้ง หรือการทรมานอื่นๆก็ตาม อีกนัยกล่าวได้ว่าสภาพชีวิตของพวกเขามีค่าตำกว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉานเสียด้วยซ้ำไป

นับตั้งแต่พวกเขาถูกจับเป็นทาสจากประเทศด้อยพัฒนา จนกระทั่งถูกนำมาขายทอดตลาด พวกเขาได้ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก ส่วนที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ ทาสที่ถูกจับมาขายจะถูกให้อาหารเพียงเล็กน้อยเพื่อประทังชีวิต เพื่อนำไปใช้งานต่อไป และเมื่อพวกเขาแก่ชรา หรือไม่สบาย พวกเขาก็จะถูกปล่อยไปตามสภาพและยะถากรรมที่เป็นไปตามมีตามเกิด และตายอย่างทรมาน ด้วยเหตุนี้เอง คำว่าทาสตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรงมาก อิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาที่มา เพื่อปลดปล่อยความเป็นทาสให้หมดไป และแสวงหาความสุขความจำเริญให้แก่สังคมมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงถือว่าชะตากรรมของทาสในอดีตที่ผ่านมา อยู่ในฐานะของความเจ็บปวดและเป็นความเดือดร้อนของสังคมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อิสลามจึงไม่เคยนิ่งนอนใจ หรือนิ่งเฉยกับปัญหาที่มีความสำคัญเช่นนี้เด็ดขาด จึงได้มีการวางแผนอย่างแยบยลมากด้วยวิทยปัญญา เพื่อขุดรากถอนโคนปัญหาทาส อันเป็นความเจ็บปวดให้หมดไปจากสังคม

3.แผนอิสลามเพื่อการเลิกทาส

สิ่งที่โดยทั่วไปแล้วมิได้รับความเอาใจใส่ ถ้าเมื่อใดก็ตามได้มีการสร้างระบบที่ผิดพลาดให้เกิดขึ้นในสังคม แล้วต้องการจะถอดถอนระบบนั้นออกไปจำเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งทุกการขับเคลื่อนถ้ามิได้รับการวางแผนอย่างดี ก็จะได้รับคำตอบที่เลวร้ายกลับมา เฉกเช่นมนุษย์เมื่อประสบโรคภัยไข้เจ็บอย่างรุนแรง และมิได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือผู้ติดยาเสพติดที่ได้เสพสิ่งเสพติดมานานหลายปี หากต้องการเลิกเสพยาต้องมีการจัดการไปตามขั้นตอน จัดระบบเวลาเพื่อยังประโยชน์แก่ตัวเองให้มากที่สุด

หรืออาจกล่าวอย่างตรงไปตรงมาได้ว่า ถ้าอิสลามมีการดำเนินการแบบสาธารณชนทั่วไป หรือออกคำสั่งเหมือนคำสั่งสาธารณะว่า ให้มีการเลิกทาสทั้งหมดที่มีอยู่ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ จะทาสจำนวนมหาศาลถูกสังหารชีวิต เนื่องจากพลเมืองของสังคมโลกครึ่งหนึ่งนั้นเป็นทาส พวกเขามิได้มีอาชีพอิสระ หรือใช้ชิวิตอยู่อย่างเอกเทศ ไม่มีบ้านที่อยู่อาศัย และไม่มีปัจจัยที่จะดำรงชีวิตต่อไป

ถ้าหากมีการระบุวันและเวลาแน่นอนว่า เป็นวันเลิกทาสก็จะปรากฏว่ามีพลเมืองไม่น้อยที่ปราศจากอาชีพการงาน ทำให้ชีวิตของพวกเขาต้องตกอยู่ในอันตราย และอาจเป็นไปได้ที่ว่าระบบและระเบียบของสังคมก็ต้องสูญเสียไปด้วย และภาวะกดดันและการบีบบังคับก็จะเกิดกับพวกเขา การทำร้ายและการนองเลือดก็ต้องเกิดขึ้นอย่างไม่รู้จักจบ

ตรงนี้เองที่ต้องมีการวางแผนเพื่อเลิกทาสไปที่ละน้อย สร้างความดึงดูดใจแก่สังคม เพื่อป้องกันมิให้ชีวิตของพวกเขาต้องตกอยู่ในอันตราย และขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันมิให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ดังนั้นอิสลามจึงได้มีการดำเนินการตามแผนการดังกล่าวนั้น

แน่นอนว่า แผนการเลิกทาสมีรายละเอียดมากมาย ซึ่งจะขอกล่าวในเชิงสรุปเฉพาะปัญหาสำคัญเท่านั้น

ข้อหนึ่งคุมกำเนิดเรื่องการเป็นทาส

ดังจะเห็นว่าปัญหาเรื่องทาสที่เกิดขึ้นมาในอดีตนั้นมีสาเหตุมากมาย มิใช่เฉพาะบุคคลที่เป็นเชลยสงครามเพียงอย่างเดียว หรือลูกหนี้ที่ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้คืน ก็จะถูกจับตัวไปเป็นทาสขัดเรือนเบี้ย ซึ่งแน่นอนว่าตรงนี้อิสลามได้ปิดประตูเรื่องการเป็นทาสโดยสิ้นเชิง ซึ่งมีเฉพาะปัญหาเดียวที่อนุญาตให้มีทาสได้ นั่นคือเชลยสงคราม เพราะนี่เป็นหลักสากลที่ว่าเมื่อมีสงครามเกิดขึ้น ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะพลพรรคของฝ่ายปราชัย ก็ต้องตกไปเป็นของฝ่ายตรงข้ามโดยปริยาย อาจถูกสังหารทิ้งทั้งหมด หรือถูกจับไปเป็นทาส เนื่องจากถ้าปล่อยศัตรูไว้อย่างนั้น พวกเขาอาจไปสมทบกองกำลังใหม่ และบุกย้อนมาทำสงครามอีกก็เป็นไปได้ ซึ่งตรงนี้อิสลามได้เลิกหลักการแก้ไขปัญหาข้อสองคือ การจับตัวไปเป็นทาสแต่มีคำสั่งว่า หลังจากจับตัวเป็นเชลยแล้วทุกสิ่งจะต้องจบลงโดยดี กล่าวคือเชลยที่ได้กระทำความผิดจะอยู่ในฐานะอะมานะฮฺของพระเจ้า ที่อยู่ในการดูแลของมุสลิม ซึ่งมีสิทธิ์หลายประการที่ต้องปฏิบัติกับพวกเขา[2]

เงื่อนไขของเชลยสงครามหลังจากสงครามเสร็จสิ้นแล้ว มีอยู่ 3 ประการกล่าวคือ : ปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระโดยปราศจากเงื่อนไข, ปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระแต่มีเงื่อนไขว่า ต้องจ่ายส่วยเป็นการชดเชย (ค่าตอบแทน) หรือให้เขาเป็นทาสตน แน่นอนว่า ทั้งสามประการนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านอิมาม และผู้นำ แน่นอนว่าท่านอิมามหรือผู้นำก็ต้องตัดสินไปตามเงื่อนไขของการเป็นเชลย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของอิสลามและมุสลิมให้มากที่สุด ทั้งภายในและภายนอก และเลือกกระทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุด

แต่ถ้าอิมามมีทัศนะว่าไม่สมควรปล่อยเชลยให้เป็นอิสระ ซึ่งในยุคสมัยนั้นแน่นอนว่าความเป็นไปได้ในเรื่องจำ ที่จะนำเชลยไปขังไว้เพื่อรอการตัดสินนั้นไม่มี จึงต้องใช้วิธีแบ่งจำนวนเชลยไปไว้ตามบ้าน เพื่อกักขังเชลยไว้ในบ้านในฐานะของทาส

แน่นอนว่าเมื่อเงื่อนไขเหล่านี้เปลี่ยนไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอันใดอีกที่อิมาม จะต้องยอมรับเชลยในฐานะของทาสอีกต่อไป ทว่าสามารถเปลี่ยนเป็นการจ่ายส่วยแทนได้ เนื่องจากอิสลามได้มอบอำนาจการตัดสินใจเด็ดขาดแก่ผู้นำ โดยมองปัญหาเรื่องความเหมาะสมสำหรับสังคมเป็นประเด็นหลัก ดังนั้น จะเห็นว่าโดยหลักการอิสลามแล้ว ปัญหาเรื่องทาสจะค่อยๆ ปิดตัวลงอย่างช้าๆ โดยไม่มีข้อครหาและความวุ่นวายตามมาภายหลัง

ข้อสอง- เปิดกว้างปัญหาเสรีภาพ

อิสลามได้วางแผนระยะยาวสำหรับเรื่องการเลิกทาส แน่นอนว่าถ้ามุสลิมได้ปฏิบัติไปตามแผนการเหล่านั้น ปัญหาเรื่องทาสก็จะหมดไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว และยังเป็นการสร้างความดึงดูดใจให้แก่สังคมอีกด้วย

โปรแกรมดังกล่าวประกอบด้วย :

ก. หนึ่งในแปดวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายซะกาตในอิสลามคือ การซื้อทาสแล้วปล่อยให้เป็นอิสระ[3] ดังนั้น จะเห็นว่าจะมีงบประมาณตายตัวเก็บไว้ เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวอันเป็นงบประมาณต่อเนื่อง จากกองคลังอิสลาม ซึ่งได้ตั้งงบไว้จนกว่าจะเลิกทาสได้อย่างสมบูรณ์

ข. อิสลามได้วางกฎเกณฑ์ไว้ว่า ทาสนั้นตามเงื่อนไขถือว่าเป็นสมบัติของตน ดังนั้น ตนมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกกฎข้อนี้เมื่อใดก็ได้ (วิชานิติศาสตร์อิสลามได้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เป็นบทพิเศษ ภายใต้หัวข้อ มะกาติบะฮฺ)

ค.การปล่อยทาสให้เป็นอิสระ ถือว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง และจัดว่าเป็นการงานที่ดียิ่งในอิสลาม เหล่าบรรดาอิมามผู้นำได้เป็นผู้ปฏิบัติหลักการนี้ อยู่ในลำดับต้นจนมีบันทึกไว้ว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระมีจำนวนเป็นพันคนที่เดียว[4]

ง. บรรดาอิมาม (อ.) จะเลิกทาสด้วยราคาที่เล็กน้อยที่สุด เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับคนอื่น ถึงขนาดที่ว่า ทาสคนหนึ่งของท่านอิมามบากิร (อ.) ได้ประพฤติความดีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ท่านอิมามได้กล่าวกับเขาว่า “เจ้าจงไปเถิด เจ้าเป็นอิสระแล้ว ฉันไม่มีชอบเลยที่จะนำชาวสวรรค์มาเป็นคนรับใช้ของตัวเอง”[5]

มีคำกล่าวถึงสภาพของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ว่า ขณะนั้นคนรับใช้กำลังราดน้ำบนศีรษะท่านอิมาม เพื่อให้ท่านได้ล้างศีรษะ แต่เขาได้ทำภาชนะหลุดมือกระแทกศีรษะท่านอิมามจนได้รับบาดเจ็บ ท่านอิมามได้เงยหน้าขึ้นมา คนรับใช้กล่าวว่า “มีบางคนได้กลืนความกริ้วโกรธของตน” ท่านอิมามตอบเขาว่า “ฉันได้กลืนความกริ้วโกรธหมดสิ้นแล้ว” เขากล่าวต่อว่า “มีบางคนที่ให้อภัยโทษแก่ประชาชน” ท่านอมามตอบว่า “ขออัลลอฮฺทรงอภัยแก่ท่าน” เขากล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงรักผู้ประกอบความดี”[6] ท่านอิมามกล่าวว่า “เจ้าจงไปเถิดเจ้าเป็นอิสระเพื่อพระเจ้าแล้ว”

จ. รายงานบางบทกล่าวว่า ทาสนั้นหลังจาก 7 ปีไปแล้ว เขาจะเป็นอิสระโดยปริยาย ดังคำกล่าวของท่านอิมาม ซอดิก (อ.) ที่กล่าวว่า “บุคคลใดมีศรัทธา เขาจะได้รับอิสรภาพภายหลังจาก 7 ปีผ่านไปแล้ว ไม่ว่าเจ้าของทาสจะพอใจหรือไม่ก็ตาม และการนำเอาบุคคลที่มีศรัทธาเป็นทาส ภายหลังจาก 7 ปีแล้วถือว่าไม่อนุญาต[7]

จากหมวดนี้นี้มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ญิบรออีลได้แนะนำฉันเรื่องทาสอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งฉันคิดว่า ในไม่ช้านี้ต้องมีข่าวดีสำหรับพวกเขาอย่างแน่นอน และเมื่อฉันไปถึงพวกเขาก็ได้รับอิสรภาพหมดสิ้น”[8]

ฉ. บุคคลใดก็ตามได้ให้อิสรภาพแก่ทาสที่ตนถือกรรมสิทธิ์ร่วม เขามีหน้าที่ต้องซื้อทาสที่เหลือและเลิกทาสเหล่านั้น

ช. เมื่อใดก็ตามที่ได้ให้อิสรภาพแก่ทาสบางส่วน ที่ตนเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ อิสรภาพนั้นจะครอบคลุมเหนือทาสทั้งหมดด้วย และทาสเหล่านั้นจะเป็นอิสระโดยปริยาย

ซ. เมื่อใดก็ตามถ้าบุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าของ บิดา มารดา หรือปู่ หรือบุตร หรือลุง ป้า น้า อา หรือพี่น้องชาย หรือพี่น้องสาว หรือลูกพี่น้องสาว หรือลูกพี่น้องชาย ทั้งหมดเป็นทาส ซึ่งพวกเขาจะได้รับอิสรภาพจากความเป็นทาสของพวกเขา โดยเร็วที่สุด

ด. เมื่อใดก็ตามที่เจ้าของได้มีบุตรของทาสของตน ไม่อนุญาตให้ขายทาสคนนั้นแก่คนอื่นอีกต่อไป และหลังจากบุตรของตนได้รับส่วนแบ่งที่เป็นมรดกแล้ว นางจะได้รับอิสรภาพทันที

สิ่งที่กล่าวมานี้จะเห็นว่ามีทาสจำนวนมากมายได้รับอิสรภาพ เนื่องจากทาสส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่ในฐานะภรรยาของผู้เป็นเจ้าของตน ได้ให้กำเนิดบุตรแก่พวกเขา

ต. การจ่ายกะฟาเราะฮฺ ที่เกิดจากการกระทำผิดบางอย่างในคำสอนอิสลาม ให้ชดเชยด้วยการเลิกทาส เช่น การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ได้เจตนา การทำให้ศีลอดเสียโดยเจตนา และอื่นๆ

ม. การเลิกทาส เนื่องจากการลงโทษรุนแรงที่เจ้าของได้ลงโทษทาสของตน

ก่อนหน้าอิสลามนั้นจะเห็นว่า มีกฎอนุญาตให้เจ้าของทาสสามารถลงโทษ ทรมาน หรือจัดการทุกอย่างกับทาสของตนได้ โดยไม่มีอุปสรรคปัญหาแต่อย่างใด ในการกลั่นแกล้ง หรือลิดรอนสิทธิของทาสของตน แต่เมื่ออิสลามถูกประกาศแล้ว อิสลามได้ห้ามการทรมานทาสอย่างเด็ดขาด เช่น การตัดมือ ตัดหู ตัดลิ้น ตัดจมูก และอื่นๆ และยังได้ประกาศอีกว่าเมื่อใดก็ตามที่เจ้าของทาสได้กระทำการดังกล่าว ทาสคนนั้นจะได้รับอิสรภาพโดยทันที[9]

ข้อที่สามการฟื้นฟูบุคลิกภาพของทาส

ในช่วงเวลาที่ทาสกำลังดำเนินไปสู่การเลิกทาส ตามแผนการของอิสลาม ตรงนี้อิสลามได้พยายามที่จะส่งเสริมและจัดการสิ่งจำเป็นมากมาย เพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมบุคลิกภาพของทาส หรือเรียกร้องความเป็นมนุษย์ของพวกเขากลับคืนมา เพื่อมิให้เกิดช่องว่างทางสังคม และไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างทาสกับพลเมืองอื่นในสังคม ซึ่งอิสลามได้วางมาตรฐานสำคัญในแง่คุณค่าของความเป็นมนุษย์ไว้ที่ ตักวา ความยำเกรงหรือความสำรวมตนต่อพระเจ้า ดังนั้น จะเห็นว่าทาสที่ได้รับอิสรภาพแล้วได้มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญทางสังคมกันอย่างถ้วนหน้า จนถึงขั้นที่ว่าพวกเขาสามารถดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา อันเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งได้ ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเห็นว่าตำแหน่งสำคัญบางอย่าง เช่น ผู้บัญชาการกองทัพ และตำแหน่งรองลงมา ท่านได้มอบให้ทาสที่ได้รับอิสระแล้วเป็นผู้รับผิดชอบดำรงตำแหน่งเหล่านั้น

สหายที่ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลายท่านเคยเป็นทาส หรือทาสที่ได้รับอิสรภาพ อย่างไรก็ตามพวกเขาจำนวนมากมายเหล่านั้นได้กลายเป็นผู้ช่วยเหลืออิสลาม กลายเป็นผู้อาวุโส ผู้ทรงคุณวุฒิ และมีหน้าที่สำคัญทางสังคมมากมาย แน่นอนว่า บุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่ท่านซัลมาน อัมมาร มิกดาร บิลาล และกัมบัร เป็นต้น ซึ่งหลังจากสงครามบนี อัลมุซเฏาะลักเสร็จสิ้นแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้สมรสกับทาสหญิงคนหนึ่ง ที่ได้รับอิสรภาพจากเผ่าดังกล่าว ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นเองกลายเป็นเหตุสำคัญทำให้เชลยสงครามทั้งหมด ต่างได้รับอิสรภาพกันอย่างถ้วนหน้า

ข้อที่สี่ความประพฤติในแง่มนุษย์กับทาส

อิสลามมีคำสั่งมากมายเกี่ยวกับการแสดงความเป็นมิตร การให้ความช่วยเหลือ และคำปรึกษาหารือกับทาส ถึงขนาดที่ว่าให้พวกเขามีส่วนร่วมในชีวิตของเจ้าของทาส

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามมีทาสอยู่ในครอบครอง สิ่งใดที่เขาบริโภค ก็จงให้ทาสของเขาบริโภคด้วย อันใดที่เขาสวมใส่ ก็จงให้ทาสของเขาสวมใส่ด้วย และจงอย่ามอบหมายงานที่เกินกำลังความสามารถของเขา”

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวแก่กัมบัรทาสของท่านว่า “ฉันมีความอายอย่างหนึ่งต่ออัลลอฮฺ ในการที่ฉันได้มีโอกาสสวมอาภรณ์ที่ดีกว่าเจ้า เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า อันใดที่เจ้าสวมใส่ ก็จงให้ทาสได้สวมใส่ด้วย และสิ่งใดที่เจ้าบริโภคก็จงให้เขาได้บริโภคด้วย”

ท่านอิมามซอดิก (อ.) เมื่อบิดาของฉันได้มีสั่งให้คนรับใช้ของท่านกระทำงานบางอย่าง ท่านจะพิจารณาอย่างรอบคอบ ถ้าเป็นงานหนักท่านจะกล่าว บิสมิลลาฮฺ พร้อมกับลงมือทำ หรือไม่ก็ช่วยเหลือพวกเขา”

การแสดงมารยาทอันดีงามในอิสลาม ที่มีต่อบรรดาทาสในช่วงนั้น ได้สร้างความดึงดูดใจแก่คนนอกศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่าง เช่น ญุรญา ซัยดาน ได้บันทึกไว้ในหนังสืออายธรรมของตนว่า อิสลามได้เมตตาต่อบรรดาเป็นอย่างยิ่ง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีคำสั่งแนะนำเกี่ยวกับทาสไว้มากมาย เช่น กล่าวว่า “จงอย่ามอบหมายงานที่เกินกำลังความสามารถของทาสให้พวกเขาทำ และทุกสิ่งที่เจ้าบริโภคจงแบ่งปันให้ทาสได้บริโภคด้วย”

บางที่กล่าวว่า “จงอย่ากล่าวเรียกบ่าวของตนว่า ทาสหรือคนรับใช้ แต่จงเรียกพวกเขาว่า โอ้ บุตรชาย หรือโอ้ บุตรีของฉัน” นอกจากนั้นแล้ว อัลกุรอานเองก็ได้แนะนำเกี่ยวกับเรื่องทาสไว้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เช่น จงเคารพภักดีอัลลอฮฺ จงอย่าตั้งภาคีกับพระองค์ จงทำดีกับบิดามารดา ญาติสนิท เด็กกำพร้า คนขัดสน เพื่อบ้านทั้งที่อยู่ใกล้และไกล คนเดินทาง ทาสและคนรับใจ อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงมั่งคั่ง ผู้ทรงตระหนัก

ข้อที่ห้าภารกิจอันชั่วช้ายิ่งคือการค้ามนุษย์

โดยหลักการแล้ว อิสลามถือว่าการซื้อขายทาสที่ดี เป็นหนึ่งในอาชีพที่หน้ารังเกียจที่สุด มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “คนที่เลวที่สุดคือ บุคคลที่ทำการค้ามนุษย์”[10]

จากคำพูดดังกล่าวนี้ทำให้เห็นทัศนะของอิสลาม เกี่ยวกับทาสประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทิศทางเดินของอิสลามว่า จะมีทิศทางเดินอย่างไร

แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นคือ บาปที่ไม่มีวันได้รับอภัยในอิสลามคือ การปฏิเสธเสรีภาพ และความอิสรภาพของมนุษย์ โดยเปลี่ยนให้เป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ดังฮะดีซบทหนึ่งจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าว่า “อัลลอฮฺ ทรงอภัยโทษให้แก่ความผิดทั้งหลาย นอกเสียจากความผิด 3 ประการ ได้แก่ บุคคลที่ปฏิเสธมะฮัรของภรรยา หรือฉ้อโกงปล้นสะดมสิทธิของคนงาน หรือค้ามนุษย์ที่มีความอิสระ”[11] ตามความหมายของฮะดีซ การฉ้อฉลสิทธิของสตรี คนงาน การปฏิเสธเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้งหมดคือบาปที่มิได้รับการอภัยโทษอย่างแน่นอน

ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า เพียงแค่สถานภาพเดียวที่อิสลามอนุญาตให้มี ทาส ได้นั่นคือ เชลยสงคราม กระนั่นก็ไม่ถือว่าสิ่งนั้นเป็นความจำเป็นแต่อย่างใด ขณะที่ในยุคต้นอิสลาม และอีกหลายทศวรรษต่อมาจะเห็นว่ามีการนำคนไปเป็นทาสด้วยการไล่ล่า หรือใช้กำลังบุกโจมตีบางประเทศ เช่น ประเทศแอฟริกาชนผิวดำทั้งหลาย พวกเขาจับกุมมนุษย์ที่เป็นอิสระชน และเปลี่ยนพวกเขาให้เป็นทาสแรงงานจำนวนมากมาย บางครั้งก็นำพวกเขาไปขายเป็นสินค้าประเภทอันตราย เป็นไปในลักษณะที่ว่าในปลาย ศตวรรษที่ 18 ประเทศอังกฤษ ได้ค้าทาสทุกปีซึ่งตกราวปีละ 200,000 กว่าคน และพวกเขาจะไปจับคนผิวดำจากทวีปแอฟริกาทุกปี ๆ ละประมาณ 100,000 กว่าคน โดยนำไปขายเป็นในประเทศอเมริกา

สรุปสิ่งที่กล่าวมา บุคคลใดก็ตามที่เคยยินแผนการของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องทาส และเกิดความลังเลใจ นั่นเป็นเพราะได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่ถูกต้องจากที่อื่น หรือจากผู้ไม่หวังดีต่ออิสลาม ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาจะเห็นว่าอิสลามได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อจะเลิกทาส สร้างความอิสรเสรีให้แก่มนุษย์ โดยมิได้มีการทำลายล้างทาสให้สูญหายไป แต่ต้องการเลิกทาสเหล่านั้นให้พวกเขากลับคืนสู่ชีวิตเสรีต่อไป ทว่าเนื่องจากบางคนไม่เข้าใจ และมองว่าวิธีที่อิสลามกำลังดำเนินอยู่นั้น เป็นจุดอ่อนของอิสลาม เขาจึงได้โฆษณาชวนเชื่อสร้างความไขว่เขวแก่สังคม[12]

จากสิ่งที่กล่าวผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ถ้าหากผู้นำอิสลามมีทาสไว้ในครอบครอง นั่นเป็นไปตามแผนการที่ต้องการเลิกทาส เป็นวิธีการที่แยบยลและมากด้วยวิทยปัญญา บรรดาผู้นำเหล่านั้นได้ใช้ชีวิตร่วมกับทาสอย่างเป็นกันเอง แสดงความประพฤติดีกับพวกเขา ถึงขนาดที่ว่าเมื่อพวกเขาได้รับอิสรภาพแล้ว ไม่มีผู้ใดพร้อมที่แยกจากไปจากพวกท่าน ทว่าพวกเขากับขอร้องให้อิมามอนุญาตให้พวกเขาอยู่รับใช้ท่านต่อไป ซึ่งอิมามบางท่านก็ยอมรับคำขอร้อง และบางท่านก็ไม่รับเพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่เป็นอิสระมากยิ่งขึ้น ดังนั้น แนวปฏิบัติของบรรดาอิมามที่มีต่อทาสนั้น ถือเป็นแบบอย่างทางความประพฤติ และเป็นบทเรียนอันสำคัญยิ่งของสังคม โดยเฉพาะสังคมอิสลาม[13]

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:

1.หัวข้อ : อิสลามกับการมีทาส คำถามที่ 558

2.หัวข้อ : การมีทาสในอิสลามกับความไม่เหมาะสมในแง่การบีบบังคับในศาสนา คำถาม 1121

 


[1] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 21, หน้า 413, 417.

[2] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 15, หน้า 92, อะลี (อ.) กล่าวว่า اطعام الاسير و الاحسان اليه حق واجب و ان قتلته من الغد วาญิบต้องให้อาหารแก่เชลย และต้องปฏิบัติดีกับพวกเขา แม้ว่าวันรุ่งขึ้นจะต้องประหารชีวิตเขาก็ตาม, อัลกาฟียฺ เล่ม 5, หน้า 35, ท่านอิมามอะลี บุตรของฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า

اذا اخذت اسيرا فعجز عن المشى و ليس معك محمل فارسله ، و لا تقتله ،فانك لا تدرى ما حكم الامام فيه

เมื่อจับเชลยมาได้ จงนำพวกเขาไปพร้อมกับท่าน ถ้าพวกเขาไม่สามารถเดินต่อไปได้ และไม่มีพาหนะขนย้ายพวกเขา ก็จงปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระเถิด จงอย่าสังหารพวกเขา เนื่องจากไม่รู้ว่าเมื่อนำพวกเขามายังอิมามแล้ว อิมามจะตัดสินพวกเขาอย่างไรเกี่ยวกับพวกเขา

[3] บทเตาบะฮฺ 60

[4] อัลกาฟียฺ เล่ม 5, หน้า 74,

[5] มันลายะฮฺเราะฮุลฟะกียฮฺ, เล่ม 1, หน้า 27, اذهب فانت حر فانى اكره ان استخدم رجلا من اهل الجنة

[6] อาลิอิมรอน 134.

[7] อัลกาฟียฺ เล่ม 6, หน้า 196,

[8] มันลายะฮฺเราะฮุลฟะกียฮฺ, เล่ม 1, หน้า 52, วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 7, มุสตัดร็อกวะซาอิล, เล่ม 13, หน้า 379,

[9] ชัรลุมอะฮฺ อัดดะมิชกียะฮฺ เล่ม 6, หน้า 280.

[10] อัลกาฟียฺ เล่ม 5, หน้า 114, شر الناس من باع الناس

[11] มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 13, หน้า 378, ان الله تعالى غافر كل ذنب الا من جحد مهرا ، او اغتصب اجيرا اجره ، او باع رجلا حرا

[12] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 21, หน้า 410, 423

[13] คำถามที่ 558, หัวข้อ อิสลามกับการมีทาส

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6810 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • มีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่ ซูเราะฮ์เราะอ์ด وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا
    7981 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ในประเด็นที่ว่าโองการوَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... หมายความว่าอย่างไรนั้นนักอรรถาธิบายกุรอานได้นำเสนอไว้สองทัศนะด้วยกัน1. โองการต้องการจะสื่อว่าหากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขาหรือแยกแผ่นดินหรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอานทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือทุกคัมภีร์2. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหารโดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้นแม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการหรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำหรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตามแต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ. ...
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5686 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10015 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    5798 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16016 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • อิมามฮุเซน (อ.) เคยเขียนจดหมายถึงฮะบีบบินมะซอฮิรโดยมีความว่า من الغریب الی الحبیب ไช่หรือไม่?
    5583 تاريخ بزرگان 2554/12/10
    เราไม่เจอประโยคที่กล่าวว่าمن الغریب الی الحبیب (จากผู้พลัดถิ่นถึงฮะบีบ)ในหนังสือฮาดีษหรือตำราที่เกี่ยวกับการไว้อาลัยของชีอะฮ์เช่นลุฮูฟของซัยยิดอิบนิฏอวูสแต่อย่างใดจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าอิมามฮุเซน (อ.)กล่าวประโยคดังกล่าวสิ่งที่ยืนยันได้ก็คือฮะบีบบินมะซอฮิรเป็นหนึ่งในสาวกที่มีความซื่อสัตย์ต่ออิมามฮุเซน (อ.) เขาเข้าร่วมในการรบและเป็นชะฮีด[1]
  • อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
    6358 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกันกล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมาซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมายและรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรมความสงบสุข
  • ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
    8709 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีนอย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลา
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    6856 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59384 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56832 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41663 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38412 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38411 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33442 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27536 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27230 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27124 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25197 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...