การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10744
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/29
คำถามอย่างย่อ
อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
คำถาม
เพราะเหตุใด บนโลกนี้จึงมีอิมามโคมัยนีเพียงคนเดียว ซัดดำ จอร์ชบูช และอะฮฺมัดดี เนฌอดเพียงคนเดียว? เหล่านี้มิใช่การงานอันพึงประสงค์ของอัลลอฮฺดอกหรือ? และภารกิจเหล่านี้ มิได้บ่งบอกให้ว่าอัลลอฮฺ ทรงอธรรมดอกหรือ? ท่านจะตอบอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน

1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น

2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ มีหลายประเด็นต้องกล่าวถึง :

ก. การอธรรมคือความเลวทราม ขณะที่อัลลอฮฺ ทรงปรีชาญาณยิ่ง พระองค์จะไม่กระทำสิ่งเลวทรามต่ำช้า เนื่องจากการอธรรมนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ปัจจัยและตัวการสำคัญของการอธรรม

1.ความต้องการ บุคคลที่อธรรม ก็เพื่อต้องการจะก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมาย หรือภารกิจของตน ซึ่งต้องอธรรมเท่านั้นจึงจะไปถึงเป้าหมาย

2.ความโง่เขลา บุคคลที่อธรรม เนื่องจากไม่รู้ถึงความเลวทรามต่ำช้าของการอธรรม

3.ความประพฤตไม่ดี บุคคลที่อธรรมเนื่องจากภายในจิตใจของเขามี อคติ ความชิงชัง ความอิจฉา การเป็นศัตรู ความเห็นแก่ตัว และอำนาจฝ่ายต่ำ

4.ความไร้สามารถ บุคคลที่อธรรม เนื่องจากต้องการกำจัดอันตราย และตัวเขาไร้ความสามารถที่จะกระทำ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากการอธรรม

ทุกการอธรรมที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เป็นผลมาจากหนึ่งในปัจจัยสำคัญตามที่กล่าวมา ถ้าหากไม่มีปัจจัยนี้ก็จะไม่มีการอธรรมเกิดขึ้นบนโลกนี้ ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ขณะที่ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด ไม่อาจเกิดขึ้นกับอัลลอฮฺได้เด็ดขาด เนื่องจาก

ก. พระองค์ทรงมั่งคั่ง และทรงปราศจากความต้องการโดยสมบูรณ์

ข. การงานของพระองค์ไม่มีความจำกัด และไม่มีที่สิ้นสุด

ค.พระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติสมบูรณ์ และทรงบริสุทธิ์จากสิ่งบกพร่อง และความโสโครกทั้งปวง

ง.พระองค์ทรงเดชานุภาพ ทรงอำนาจอย่างล้นเหลือ ไม่มีขอบเขตจำกัดสำหรับพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงยุติธรรม การอธรรมไม่อาจเกิดขึ้นกับพระองค์ได้ ซึ่งมิใช่ว่าการอธรรมเป็นสิ่งเลวทราม พระองค์จึงไม่ปฏิบัติ ทว่าเนื่องจากปัจจัยของการอธรรมและรากที่มาของมัน ไม่มีอยู่ในพระองค์

อีกด้านหนึ่ง พระผู้อภิบาลทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน พระองค์ทรงเมตตาต่อมนุษย์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงประทานความโปรดปรานต่างๆ ชนิดไม่จำกัดแก่พวกเขา เช่น พระองค์ประทานเราะซูล และบรรดาศาสดาผู้มีจิตเมตตาแก่มนุษย์ พร้อมด้วยหลักฐานอันแจ้งชัดและคัมภีร์ อีกทั้งทรงกำหนดแนวทางแห่งการชี้นำทางสำหรับพวกเขา ทรงให้การเลือกสรรโดยสมบูรณ์ไว้ในอำนาจของมนุษย์ เพื่อว่ามนุษย์จะได้ยืนหยัดขึ้นเพื่อความยุติธรรม[1] แต่ในระหว่างนั้นมีบางกลุ่มชนได้เลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม ด้วยเหตุผลนานัปการ และมีบางกลุ่มได้ต่อสู้กับรากที่มาของการกดขี่ ยึดมั่นอยู่บนหนทางแห่งการชี้นำ ความยุติธรรม และประพฤติแต่สิ่งดีงาม

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺทรงพิพากษากิจการงานทั้งดีและไม่ดีของมนุษย์ บนพื้นฐานของความยุติธรรมของพระองค์ และทรงตอบแทนผลรางวัล หรือการลงโทษไปตามที่พวกเขาได้กระทำ ดังที่กุรอานกล่าวว่า “เราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใด และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน”[2]

ตามความเป็นจริงแล้วรางวัลตอบแทนของแต่ละคน คือผลที่มาจากการงานของเขา หรือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้ด้วยการงานของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่กล่าวมา แม้ว่าอัลอฮฺทรงรอบรู้ถึงการงานทั้งหมดของมนุษย์ แต่ทว่าความประสงค์ของพระองค์จะไม่ครอบคลุมเหนือการอธรรมและการประพฤติผิดของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตนได้กระทำไว้

ข.แต่อีกประเด็นหนึ่งคือ ในทัศนะของอิสลาม ระบบที่มีอยู่นี้เป็นระบบที่ดี สวยงามยิ่งกว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นไปไม่ได้[3] เนื่องจากสิ่งจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์แท้จริงของมนุษย์ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่ที่ขั้นตอน ความต้องการ และการเลือกสรรของมนุษย์เอง และสิ่งจำเป็นสำหรับการเลือกสรรของมนุษย์ทั้งหมดคือ การที่เขาจะไม่เลือกทุกสิ่งที่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าหากอัลลอฮฺ ทรงบังคับให้มนุษย์เลือกสิ่งที่ดีทั้งหมด สิ่งที่ตามมาคือ ระบบที่ดีก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป

อีกมุมมองหนึ่ง หนึ่งในความจำเป็นของระบบที่ดีคือ ด้านหนึ่งต้องดึงดูดและโน้มน้าวไปสู่สิ่งไม่ดี และความเลวทรามทั้งหลาย ตลอดจนความไม่ยุติธรรม อีกด้านหนึ่งความยากลำบาก อุปสรรคปัญหา และการเรียกร้องไปสู่สัจธรรมความจริง และความยุติธรรม ความสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อว่าจะได้เป็นทั้งพลังผลักไส และพลังดึงดูดความจริงและความยุติธรรม เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนสำหรับผู้ที่กล่าวอ้างความโกหก ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะแยกแยะได้มากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้คนที่เป็นคนดีและคนเลว

อย่างไรก็ตาม ระบบที่ดีงามนั้น การกดขี่ข่มเหงต่างๆ การไร้ซึ่งความยุติธรรม และความทุกข์โศก อีกด้านหนึ่ง เช่น การคาดโทษทัณฑ์สำหรับผู้อธรรมในโลกนี้และโลกหน้า และผลบุญของผู้ที่ประกอบกรรมดี ทั้งหมดจะได้รับการตอบแทนทั้งสิ้น

แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของคำถามคือ การพิจารณาที่พรหมลิขิต ที่มีต่อมนุษย์ ขณะที่เหตุผลเรื่องพรหมลิขิตนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ[4]เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน[5]

 


[1] บทฮะดีด,25.

[2] บทอันบิยาอฺ 47.

[3] อัดล์ อิลาฮี,ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย, หน้า 141, 142

[4] คำถามที่ 528, (ไซต์ 576)

[5] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำถามที่ 58, (ไซต์ 294)

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5867 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8381 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6485 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13338 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7122 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8717 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • ประชาชนชาวเมืองกุมไม่ว่าจะกระทำผิดเพียงใดก็จะไม่ถูกลงโทษในไฟนรกกระนั้นหรือ?
    5258 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    1.รายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับเมืองกุม, ที่ว่าประชาชนชาวกุมจะไม่ตกนรกนั้นไม่ถูกต้อง.2.การรู้จักมักคุ้นกับลูกหลานของท่านศาสดา (ซ็อล
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5236 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6187 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8664 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59364 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56819 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41642 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38391 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38387 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27519 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27213 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27107 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25178 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...