การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10074
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1709 รหัสสำเนา 17847
คำถามอย่างย่อ
ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกัน ซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)

จิตที่เป็นอัมมาะเราะฮฺ หมายถึงความปรารถนาด้านความเป็นเดรัจฉาน, ซึ่งครอบคลุมมนุษย์อยู่ หรือสภาพหนึ่งของจิตใจที่โน้มนำมนุษย์ไปสู่การกระทำชั่ว อันเป็นความต้องการอันเป็นกิเลสและตัณหา

ส่วนคำว่า ชัยฏอน ตามรากศัพท์และนิยามที่ให้, หมายถึงทุกการมีอยู่ที่ละเมิดและดื้อรั้น ซึ่งเรียกว่าเป็นชัยฏอนทั้งหมด บางครั้งก็เป็นญินหรือมนุษย์หรืออาจเป็นเดรัจฉานก็ได้

จุดประสงค์ของอิบลิส, คือชัยฏอนเฉพาะที่มาจากหมู่ญิน แต่เนื่องจากได้อิบาดะฮฺอย่างมากมายจึงได้ถูกยกระดับชั้นไปรวมกับมลาอิกะฮฺ แต่หลังจากกาลเวลาได้ผ่านไประยะหนึ่ง ได้ถูกเนรเทศออกจากความเมตตาของอัลลอฮฺ สืบเนื่องมาจากการฝ่าฝืนคำบัญชาของพระองค์ ที่ทรงสั่งให้กราบอาดัม แต่ชัยฏอนปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ซึ่งมารได้สาบานว่าจะหยุแหย่มนุษย์ทุกคนให้หลงทาง

ผลสรุป จิตที่เป็นอัมมาะเราะฮฺ, ตามความเป็นจริงแล้วก็คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งของชัยฏอนมารร้าย ที่ใช้สร้างอิทธิเหนือมนุษย์และบุคคลนั้นก็ถูกนับว่าเป็นพลพรรคของชัยฏอนไปในที่สุด

ดังนั้น การหยุแหย่ของอิบลิสในฐานะที่เป็นชัยฏอนภายนอก, ส่วนการกระตุ้นของจิตที่เป็นอัมมาเราะฮฺและราคะคือมารภายใน, ที่โน้มนำมนุษย์ให้ตกไปสู่ความตกต่ำ.อีกนัยหนึ่งจิตที่เป็นอัมมาเราะฮฺถ้าพิจารณาในแง่ที่เป็นเดรัจฉานซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ได้รับการหยุแหย่จากชัยฏอนมารร้าย ซึ่งชัยฏอนจะเข้ามาที่ละขั้น จนกระทั่งว่าในที่สุดแล้วบุคคลนั้นได้กลายเป็นพลพรรคของมารไปโดยปริยาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามนี้ต้องอาศัยการทำความเข้าใจกับบทนำดังต่อไปนี้ :

บทนำที่ 1 : จิตและระดับชั้นของจิต

ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์,มีมิติต่างๆ มากมายซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้ (สภาพความเป็นเดรัจฉาน,มนุษย์,และพระเจ้า) ซึ่งสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดีจากโองการอัลกุรอานที่กล่าวว่า จิตวิญญาณและจิตของมนุษย์นั้นเป็น 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ[1]

1-จิตอัมมาเราะฮฺและราคะของความเป็นเดรัจฉาน.

ราคะความเป็นเดรัจฉานของมนุษย์อยู่ในกิเลส, ความปรารถนา, ความโกรธและความต้องการทางจิตนั่นเอง[2] ราคะของจิตปรารถนาและสภาพของจิตใจเช่นนี้ อัลกุรอานเรียกว่า นัฟอัมมาเราะฮฺ , และได้เน้นย้ำว่าแท้จริง จิตใจกระตุ้นข้างการชั่ว และการกระทำไม่ดีอันนำไปสู่การฝ่าฝืน[3]

ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเรียกจิตนั้นว่า อัมมาะเราะฮฺ (ผู้ออกคำสั่งให้กระทำชั่ว) ในระดับนี้จะเห็นว่าเขายังไม่ได้พบสติปัญญาและความศรัทธาแม้แต่น้อยนิด เนื่องจากจิตได้ควบคลุมเขาเอาไว้ และทำให้เขาอ่อนนุ่มไปตามคำสั่ง ทว่ามีประเด็นมากมายที่ได้ยอมจำนนต่อจิต และจิตอัมมาเราะฮฺได้เป็นผู้ทำลายเขาจนหมดสิ้น

จากคำพูดของภรรยา อะซีซ ผู้ปกครองอียิปต์[4] ได้ชี้ให้เห็นถึงจิตระดับที่กำลังกล่าวถึง ซึ่งกล่าวว่า

و ما أبرئ نَفْسِی إِنَّ النَّفْسَ لَأَمَّارَةٌ بِالسُّوءِ"

แท้จริง จิตใจกระตุ้นข้างการชั่ว และการกระทำไม่ดีอันนำไปสู่การฝ่าฝืน[5]

2- จิตที่เป็นเลาวามะฮฺ :

จิตที่เป็นเลาวามะฮฺ หมายถึงระดับหนึ่งของจิต,เนื่องจากได้ต่อสู้และผ่านการอบรมสั่งสอนแล้ว, ในชั้นนี้จะยกระดับมนุษย์ให้สูงขึ้นไปในระดับหนึ่ง.ในระดับนี้เป็นไปได้ที่ว่าบางครั้งผลของการละเมิด หรือราคะได้หยุแหย่มนุษย์ให้เผอเรอกระทำความผิด หรือฝ่าฝืนคำสั่งได้ แต่หลังจากนั้นเขาจะสำนึกผิดโดยเร็วมีการประณามและตำหนิตัวเอง พร้อมกับตัดสินใจว่าจะทดแทนความผิดที่ตนได้กระทำลงไป นอกจากนั้นยังได้ชำระล้างจิตใจของตนด้วยน้ำของการลุแก่โทษ (เตาบะฮฺ)

อัลกุรอาน เรียกจิตระดับนี้ว่านัฟเลาวามะฮฺกล่าวว่าข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง (ว่าวันฟื้นคืนชีพนั้นสัจจริง)”[6]

3- นัฟซ์ มุตมะอินนะฮฺ เป็นอีกระดับหนึ่งของจิตภายหลังจากขัดเกลาจิตใจและให้การอบรมโดยสมบูรณ์แล้ว, มนุษย์จะก้าวไปถึงอีกระดับหนึ่ง ซึ่งในระดับนี้จะเห็นว่าไม่มีราคะ ความดื้อรั้น หรือความต้องการใดขึ้นมาเคียงคู่กับความศรัทธา เนื่องจากสติปัญญาและความศรัทธามีความเข้มแข็ง ทำให้สัญชาตญาณและอำนาจชัยฏอนไร้ความสามารถลงทันที เมื่อเผชิญหน้ากับจิตประเภทนี้

และนี่คือตำแหน่งของบรรดาศาสดาทั้งหลาย หมู่มิตรของพระองค์ และผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขาโดยสัจจริง. พวกเขาได้ศึกษาพลังศรัทธาและความสำรวมตนจากสำนักคิดของอัลลอฮฺ และนับเป็นเวลานานหลายปีที่พวกเขาได้ขัดเกลาและจาริกจิตของตนเอง จนกระทั่งว่าพวกเขาได้รับชัยชนะก้าวไปสู่ระดับสุดท้ายของการทำสงครามใหญ่ (ญิฮาดนัฟซ์)

อัลกุรอาน ได้เรียกจิตระดับนี้ว่า มุฏมะอินนะฮฺ ดังที่กล่าวว่า :

یَا أَیَّتُهَا النَّفْسُ الْمُطْمَئِنَّةُ ارْجِعِی إِلَى رَبِّکِ رَاضِیَةً مَّرْضِیَّةً

 โอ้ ดวงชีวิตที่สงบมั่นเอ๋ย จงกลับมายังพระผู้อภิบาลของเจ้า ขณะที่เจ้ามีความยินดี (ในพระองค์) และเป็นที่ปิติ (ของพระองค์)”[7]

บทนำที่ 2 : อิบลิสและชัยฏอน

1- อิบลิส :

จุดประสงค์ของอิบลิส,คือชัยฏอนเฉพาะเจาะจงที่มาจากหมู่ญินทั้งหลาย, แต่เนื่องจากได้ประกอบอิบาดะฮฺจำนวนมากมาย, จึงได้ถูกยกระดับให้ไปอยู่ในชั้นของมลาอิกะฮฺ แต่หลังจากกาลเวลาได้ผ่านไประยะหนึ่ง,อิบลิสก็ได้ถูกแยกตัวออกจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย และถูกลดตำแหน่งจากความสูงส่งไปสู่ความต่ำทรามทันที, เนื่องจากอิบลิสได้ฝ่าฝืนคำบัญชาของพระเจ้า มารไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์อีกต่อไป[8]

2-ชัยฏอน :

ชัยฏอนมาจากรากศัพท์คำว่าชะเฏาะนะหมายถึงการขัดขืน การไม่เห็นด้วย และความห่างไกล ด้วยเหตุนี้เอง ทุกสิ่งที่ดื้อรั้นอวดดี หรือละเมิดจึงถูกเรียกว่าเป็นชัยฏอน,ซึ่งบางครั้งอาจเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือเดรัจฉานก็ได้[9]

ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าและในทำนองนั้นแหละเราได้ให้นบีทุกคนมีศัตรู คือบรรดาชัยฏอนแห่งมนุษย์และแห่งญินโดยที่พวกเขาต่างก็จะกระซิบกระซาบคําพูด ที่เสริมแต่ง เพื่อหลอกลวงให้แก่กันและกัน[10]

ด้วยเหตุที่อิบลิสได้ดื้อรั้น ฝ่าฝืนปฏิเสธไม่ปฏิบัติตาม และได้ละเมิดคำสั่ง อีกทั้งเป็นผู้ก่อการเสียหายจึงถูกเรียกว่าเป็น ชัยฏอน

บทนำที่ 3 : ความสัมพันธ์ระหว่างจิตอัมมาเราะฮฺกับชัยฏอน

จิตอัมมาเราะฮฺ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นหนึ่งในเครื่องมือทันสมัยของมารร้ายชัยฏอน เป็นหนทางสร้างอิทธิพลของมารเพื่อควบคลุมมนุษย์ และถูกนับว่าเป็นพลพรรคที่แท้จริงของมาร

ดังนั้น การหยุแหย่ของอิบลิสชัยฏอนในฐานะที่เป็น มารภายนอก, ส่วนการกระตุ้นของจิตที่เป็นอัมมาเราะฮฺและราคะคือมารภายใน, ที่โน้มนำมนุษย์ให้ตกไปสู่ความตกต่ำ.

ความพยายามทั้งหมดของชัยฏอนก็คือ การทำให้มนุษย์หลงทางและไปไม่ถึงแก่นของความจริง ในประเด็นนี้ชัยฏอนได้สามบานต่ออำนาจความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺว่า จะทำให้มนุษย์ทุกคนหลงทาง อัลกุรอานกล่าวว่า :มารกล่าวว่า "ดังนั้น (ขอสาบาน) ด้วยพระอํานาจของพระองค์ แน่นอนข้าฯจะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้น"[11]

คำว่าอัฆวามาจากรากศัพท์คำว่า เฆาะนา หมายถึงการต่อต้านความเจริญ, ส่วนความเจริญหมายถึงการไปถึงยังความจริง[12] 

ชัยฏอนได้สาบานต่อพลานุภาพความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺว่า จะลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหมดหลงทาง[13] ซึ่งชัยฏอนจะหลอกลวงมนุษย์ไปที่ละขั้น และจะทำให้มนุษย์อยู่ภายใต้อำนาจของตน จนกระทั่งว่ามนุษย์ได้กลายเป็นชัยฏอน และจากเขาได้ทำให้มนุษย์คนอื่นๆ ระหกระเหินหลงทางตามไป

มนุษย์หลังจากได้รับการหยุแหย่จากชัยฏอนมารร้ายแล้ว, เขาได้ยอมจำนนต่อราคะและความปรารถนาแห่งเดรัจฉาน,ตกเป็นทาสของจิตอัมมาเราะฮฺ

ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : “จิตอัมมาเราะฮฺก็เหมือนกับมุนาฟิกีน,จะครอบคลุมมนุษย์โดยกล่าวกับเขาในกรอบของมิตร, จนในที่สุดเขาสามารถควบคลุมมนุษย์ได้ หลังจากนั้นจะโน้นนำเขาไปสู่ขั้นต่อไป[14]

ชัยฏอนจะหยุ่แหย่บุคคลที่มีความศรัทธาอ่อนแอ และด้วยการช่วยเหลือของราคะ และความปรารถนาแห่งจิตอัมมาเราะฮฺของตนเอง, ทำให้จิตของเขากลายเป็นสถานพำนักสำหรับชัยฏอน และในที่สุดแล้วมารได้สัมผัสทั้งมือและร่างกายของเขา และตนได้ปาวนาตนเองเป็นมิตรผู้ช่วยเหลือมารในที่สุด, เนื่องจากบุคคลที่หัวใจของเขาเป็นสถานพำนักสำหรับชัยฏอน, ดังนั้นเขาไม่เพียงแต่เป็นเจ้าภาพต้อนรับชัยฏอนเท่านั้น ทว่าในความเป็นจริงเขาได้กลายแป็นผู้ช่วยเหลือที่ดีของชัยฏอน[15]

เกี่ยวกับชนกลุ่มดังกล่าวนี้ ท่านอิมามอะลี (,) กล่าวว่า :มันได้มองเห็นโดยอาศัยตาของพวกเขา และมันพูดโดยอาศัยลิ้นของพวกเขา[16]

สรุป : ชัยฏอนและจิตอัมมาเราะฮฺทั้งสองคือศัตรูของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง อัลกุรอานจึงได้กล่าวถึงชัยฏอนในฐานะที่เป็นศัตรูเปิดเผยของมนุษย์ และได้แนะนำมนุษย์ว่า จงถือว่าชัยฏอนเป็นศัตรูของพวกเจ้า[17]

รายงานจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) กล่าวว่า จิตอัมมาเราะฮฺ (อำนาจฝ่ายต่ำ) คือศัตรูตัวฉกาจของมนุษย์, ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับเจ้าคืออำนาจฝ่ายต่ำของเจ้า[18] ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงระดับของจิตฝ่ายต่ำ

ปรัชญาของการให้นิยามว่าศัตรูที่ร้ายกาจของเจ้าคือจิตฝ่ายต่ำจัดว่าเป็นศัตรูภายในของมนุษย์, ศัตรูภายนอกหรือขโมยข้างนอก, ถ้าหากไม่ร่วมมือกับศัตรูหรือขโมยภายในแล้ว, จะไม่สามารถสร้างอันตรายอันใดแก่เราได้อย่างแน่นอน. ศัตรูภายในนั่นเองที่รู้จักและมีข้อมูลทุกอย่าง ซึงมันได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น นำเอาความต้องการของมนุษย์ไปเสนอและรายงานให้ชัยฏอนได้รับรู้

ทางตรงกันข้ามคำสั่งของอิบลิสที่เป็น คำสั่งให้ก่อการเสียหายภายนอก,ได้ตกมาถึงเขาและเขาได้ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุนี้เอง จิตอัมมาเราะฮฺจึงถือว่าเป็นพลพรรคของชัยฏอน. ซึ่งคุณลักษณะจำนวนมากมายที่มาจากเขา ได้ถูกนับว่าเป็นพลพรรคของชัยฏอนไปโดยปริยาย[19] ฉะนั้น จิตอัมมาะเราะฮฺซึ่งถือว่าเป็นจิตแห่งเดรัจฉานที่มีอยู่ในมนุษย์,เกิดจากการหยุแหย่และกระซิบกระซาบของชัยฎอน และชัยฏอนจะค่อยๆ ลวงล่อเขาไปที่ละขั้น, จนกระทั่งว่าบุคคลนั้นได้กลายเป็นพลพรรคของชัยฏอนไปโดยปริยาย[20]



[1] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เลาม 25, หน้า 281

[2] ฮักวะตักลีฟ ดัร อิสลาม, อับดุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี, หน้า 89.

[3] อัลกุรอาน บทยูซุฟ, 53.

[4] นักตัฟซีรบางกลุ่มเชื่อว่า จุดประสงค์จากประโยคดังกล่าวคือศาสดายูซุฟ แต่ทว่าทัศนะนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของนักตัฟซีรส่วนใหญ่, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 9, หน้า 433, 434

[5] อัลกุรอาน บทยูซุฟ, 53.

[6] อัลกุรอาน บทกิยามะฮฺ, 2 กล่าวว่า : "وَ لا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ"

[7] อัลกุรอาน บทอัลฟัจญฺ, 27 – 28.

[8] ตัฟซีรมีซาน ฉบับแปลภาษาฟาร์ซี, เล่ม 8, หน้า 26,

[9] อัลมุนญิด ฟิลโลเฆาะฮฺ, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 192.

[10] อัลกุรอาน บทอันอาม, 112 กล่าวว่า : وَ کَذلِکَ جَعَلْنا لِکُلِّ نَبِیٍّ عَدُوًّا شَیاطینَ الْإِنْسِ وَ الْجِنِّ ...

[11] อัลกุรอาน บทซ็อด, 82 - 83 กล่าวว่า : "قالَ فَبِعِزَّتِکَ لَأُغْوِیَنَّهُمْ أَجْمَعینَ

[12] ตัฟซีรมีซานฉบับแปล, เล่ม 1, หน้า 631.

[13] อัลกุรอาน บทซ็อด, 82 - 83 กล่าวว่า : "قالَ فَبِعِزَّتِکَ لَأُغْوِیَنَّهُمْ أَجْمَعینَ

[14] ฆอรรอรุลฮิกัม

[15] มะบาดี อัคลาก ดัรกุรอาน, ญะวาดียฺ ออมูลี, หน้า 115.

[16] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 7, กล่าวว่า : فنظر بأعینهم ونطق بالسنتهم؛

[17] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 168กล่าวว่า : انه لکم عدو مبین؛ แท้จริงมารคือศัตรูที่เปิดเผยของสูเจ้า

[18] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 67, หน้า 64, : قال النبی (ص): «اعدی عدوک نفسک التی بین جنبیک»

[19] ตัฟซีรตัสนีม,อับดุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี, เล่ม 8, หน้า 516

[20] อัลกุรอาน บทมุญาดะละฮฺ, 19 กล่าวว่า : «استحوذ علیهم الشیطان فانساهم ذکرالله، اولئک حزب الشیطان؛ชัยฏอนได้เข้าไปครอบงําพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7387 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14570 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีบุคลิกภาพด้านใดบ้าง?
    11001 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/09/22
    มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจความรู้และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคมขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้1. ท่านหญิงใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอใจวิถีชีวิตสมถะทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด2. บริจาคของรักของตนมากมายทั้งที่ยังจำเป็นต้องใช้3. ทำอิบาอะฮ์และวิงวอนต่ออัลลอฮ์สม่ำเสมอด้วยความบริสุทธิใจ4. เป็นภาพลักษณ์แห่งจริตกุลสตรีและความเหนียมอาย5. แบบฉบับที่สมบูรณ์ด้านการสวมฮิญาบตามวิถีอิสลาม6. มีความรู้อันกว้างขวางซึ่งประจักษ์ได้จากการรับทราบเนื้อหาในตำรา"มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"7.
  • คำว่าศ็อฟในโองการ جَاء رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفّاً صَفّاً หมายความว่าอย่างไร?
    6222 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    คำดังกล่าวและคำอื่นๆที่มีรากศัพท์เดียวกันปรากฏอยู่ในหลายโองการ[1] คำว่า “ศ็อฟ” หมายถึงการเรียงสิ่งต่างๆให้เป็นเส้นตรง อาทิเช่นการยืนต่อแถว หรือแถวของต้นไม้[2] “ศ็อฟฟัน” ในโองการดังกล่าวมีสถานะเป็น ฮาล (ลักษณะกริยา)ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานได้ให้ความหมายไว้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้ หนึ่ง. มวลมะลาอิกะฮ์จะมาเป็นแถวที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามฐานันดรศักดิ์ของแต่ละองค์[3] สอง. หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮ์แต่ละชั้นฟ้า โดยจะมาทีละแถว ห้อมล้อมบรรดาญินและมนุษย์[4] สาม. บางท่านเปรียบกับแถวนมาซญะมาอะฮ์ โดยมะลาอิกะฮ์จะมาทีละแถวจากแถวแรก แถวที่สอง ฯลฯ ตามลำดับ[5]
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22699 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    13437 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...
  • จะทำอิบาดะฮ์ทั้งที่มีงานประจำล้นมือได้อย่างไร?
    7314 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/14
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้นควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. อิบาดะฮ์หมายถึงการจำนนต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์[i]แม้ว่านมาซจะถือเป็นอิบาดะฮ์ขั้นสูงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิบาดะฮ์จะต้องเป็นนมาซหรือดุอาเสมอไปฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ล้วนกำลังทำอิบาดะฮ์อยู่ทั้งสิ้น2. การแสวงหาริซกีฮะล้าลหมายถึงการเพียรพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนาแน่นอนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงงานที่ใช้ทักษะความคิดเช่นงานของวิศวกรแพทย์ฯลฯด้วยซึ่งหากเป็นไปตามกฏและบทบัญญัติศาสนาก็ถือว่ากำลังแสวงหาริซกีฮะล้าลทั้งสิ้น3. หากไม่ไช่การประชดประชันถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกว่าทำงานตั้งแต่ตีสี่ครึ่งถึงเที่ยงคืน
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20754 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
    6732 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดาการได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38395 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...