การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7505
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2088 รหัสสำเนา 14709
คำถามอย่างย่อ
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำถาม
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำตอบโดยสังเขป

ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณียกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อล ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาป และต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่

แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-มิใช่ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ- ทว่าได้รับการเลือกสรรโดยประชาชน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺจึงมาจากการเลือกตั้งของประชาชน, ด้วยสาเหตุนี้เองตามความเชื่อของพวกเขา ตำแหน่งอิซมัต (ผู้บริสุทธิ์) จึงไม่จำเป็นสำหรับเคาะลิฟะฮฺแต่อย่างใด

เหตุผลด้านภูมิปัญญาและอ้างอิงฝ่ายชีอะฮฺ :

1. สติปัญญาสมบูรณ์ตัดสินว่า, อิมามในฐานะที่เป็นผู้อธิบาย ผู้พิทักษ์บทบัญญัติศาสนา และสาส์นของเหล่าบรรดาศาสดา, ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและมั่นใจได้สำหรับประชาชน ซึ่งต้องมีความบริสุทธิ์จากความผิดพลาด และการเบี่ยงเบนทั้งหลาย, เพื่อว่าจะได้พิทักษ์ปกป้องศาสนาและบทบัญญัติของพระองค์ได้, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประทานเราะซูลและอิมามมาก็เพื่อ อบรมสั่งสอนประชาชาติ และสิ่งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ อันเป็นวิชาการซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่พวกเขา และความรู้ของพระเจ้านั้นต้องถูกประกาศ และถูกถ่ายทอดสู่ประชาชนโดยปราศจากข้อตำหนิ ความบกพร่อง และความไม่สมบูรณ์ อีกทั้งต้องบริสุทธิ์จากการเบี่ยงเบนและเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งนอกจากนี้แล้วจะเห็นว่าปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,ได้ระบุว่าต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วฝ่ายชีอะฮฺยังเชื่ออีกว่า อิมามะฮฺก็คือตัวแทนที่แท้จริงของท่านศาสดา (ซ็อล ) เหมือนกับตำแหน่งของศาสดาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอัลลอฮฺ (ซบ.)-มิใช่การเลือกตั้งโดยประชาชน- อีกนัยหนึ่ง,มะอฺซูมหมายถึงบุคคลที่ไม่ว่าเขาจะอยู่ต่อหน้าสาธารณชน,หรือว่าลับสายตาคน (ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง) เขาก็จะไม่กระทำผิดอย่างเด็ดขาด เป็นที่ชัดเจนว่า นอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวอธิบายถึงความบริสุทธิ์ของอีกคนหนึ่งได้, ดังนั้น การจำแนกตำแหน่งความบริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ต้องมาจากหลักฐานการอ้างอิง หรือรายงานฮะดีซจากท่านเราะซูล (ซ็อล ) จึงจะสามารถยอมรับได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

1. อิมาม ความหมายตามสารานุกรมต่างๆ หมายถึงผู้นำ ซึ่งจะกล่าวเรียกบุคคลอื่นว่าเป็นอิมามได้ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้นำและมีผู้อื่นปฏิบัติตามเขา

รอฆิบ กล่าวไว้ในหนังสือ มุฟรอดาตว่า:อิมามหมายถึงบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติตามจากบุคคลอื่น[1]

2. อิมามในความหมายของนักปราชญ์ (นิยาม) ในภาควิชาศาสนศาสตร์มีการให้นิยามไว้แตกต่างกัน เช่น

นิยามคำว่า อิมาม ในมุมมองของชีอะฮฺกล่าวว่า : หมายถึงหัวหน้าผู้นำทั่วไปด้านศาสนจักร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจของประชาชน และปกป้องให้อยู่ในความปลอดภัย ทั้งปัญหาด้านศาสนจักรและอาณาจักร อีกทั้งช่วยเหลือพวกเขาให้ห่างไกลจากภยันตรายบนพื้นฐานของความถูกต้องดังกล่าว[2]

ส่วนคำว่าอิมามในทัศนะของซุนนีหมายถึง :อิมามหรือหัวหน้าผู้นำทั่วไปในความหมายกว้างๆ, เกี่ยวข้องกับปัญหาศาสนาและปัญหาทางโลกของประชาชน,ในฐานะเป็นตัวแทนของท่านศาสดา[3]

3.ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับ อิซมัต : คำว่า อิซมัต ตามหลักภาษาหมายถึง การระวังรักษา การกีดขวาง ส่วนความหมายของนักปราชญ์ด้านวิชาศาสนศาสตร์หมายถึง : ความเคยชินด้านจิตวิญญาณที่ระบุว่าจะต้องไม่กระทำความผิด หรือกระทำสิ่งขัดแย้งกับหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งความเคยชินด้านจิตวิญญาณนี้ จะปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และบาปกรรมต่างๆ

อิซมัต เป็นความเคยชินซึ่งกำกับว่าต้องไม่ประพฤติขัดแย้งกับหน้าที่จำเป็น, ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือพลั้งเผลอ ซึ่งการมีความเคยชินนี้เองที่ทำให้เขามีอำนาจต่อต้านความไม่ดี[4]

ฝ่ายชีอะฮฺ เชื่อโดยหลักการว่า : อิมามะฮฺก็คือผู้สืบสานเจตนารมณ์และปกป้องรักษาสาส์นของศาสดา,เว้นเสียแต่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) คือผู้วางรากฐานบทบัญญัติ และวะฮียฺได้ประทานลงมาที่ท่าน, ส่วนอิมามคือผู้อธิบายบทบัญญัติต่างๆ และเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ต่อไป, ด้วยเหตุนี้เอง, อิมามจึงอยู่ในฐานะเดียวกันทั้งหมดกับท่านศาสดา (ซ็อล ) เว้นเสียแต่ว่าไม่มีวะฮียฺถูกประทานลงมาที่อิมาม[5]

และเงื่อนไขจำเป็นทั้งหมดสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ), ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องหลักความศรัทธา และหลักปฏิบัติ และฯลฯ หรือบริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้งเปิดเผยและปิดบัง, ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดเหล่านี้ก็จำเป็นสำหรับอิมามด้วย แต่ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าการรู้จักความบริสุทธิ์ นอกจากโดยหนทางของการอธิบายของอัลลอฮฺแล้ว มิอาจเป็นไปได้, อิมามะฮฺเหมือนกับนบูวัตกล่าวคือต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวว่า : ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตำแหน่งนี้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ มีความคิดเห็นต่างไปจากชีอะฮฺว่า ตำแหน่งนี้อันยิ่งใหญ่นี้ซึ่งต้องแบกรับหน้าที่ทั้งศาสนจักรและอาณาจักร เป็นภารทางสังคมซึ่งประชาชนเป็นผู้มอบตำแหน่งตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ และเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งความหมายนี้ได้มาจากการให้นิยาม อิมาม จากทั้งสองฝ่าย (สุนียฺและชีอะฮฺ)

ลำดับต่อไปโปรดพิจารณษหลักฐานจากทั้งสองฝ่าย ดังนี้:

) เหตุผลด้านภูมิปัญญาถึงความจำเป็นว่าอิมาม (. ต้องเป็นมะอฺซูม

1.เนื่องจากอิมามคือผู้พิทักษ์ปกป้องและเป็นผู้อธิบายบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และสาส์นของท่านศาสดา ดังนั้น ต้องเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือ และไว้ใจได้จากประชาชน ด้วยเหตุนี้ ถ้าสมมุติว่าอิมามมิใช่มะอฺซูม ความหน้าเชื่อถือเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

2. ถ้าหากอิมามกระทำความผิด, แน่นอน ความเคารพและความรักที่มีต่ออิมามจะถูกถอดถอนออกไปจากจิตใจของประช่าชน และพวกเขาจะไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมามอีกต่อไป,เมื่อเป็นเช่นนั้นประโยชน์ของการแต่งตั้งอิมามก็จะสูญไปโดยปริยาย[6]

3.ถ้าหากอิมามมิได้เป็นมะอฺซูม และได้กระทำความผิด, ก็จำเป็นต้องถูกพิพากษา และวาญิบต้องถูกลงโทษตามหลักการของการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว, ขณะที่การปฏิบัติทำนองนี้กับอิมาม ประการแรก : เป้าหมายในการแต่งตั้งอิมามเกิดความบกพร่อง และเป็นโมฆะโดยทันที สอง : ขัดแย้งกับโองการอัลกุรอาน (นิซาอฺ,59) ซึ่งกำชับให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมาม,เนื่องจากโองการข้างต้น,ถือว่าวาญิบต้องปฏิบัติตามอิมาม ตลอดจนการให้เกียรติและการแสดงความเคารพยกย่อง ซึ่งกล่าวไว้โดยสมบูรณ์[7]

4. บรรดาอิมาม เหมือนกับท่านศาสดา (ซ็อล ) ในแง่ที่ว่าเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติ, ด้วยเหตุนี้ต้องเป็นมะอฺซูม, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการพิทักษ์ปกป้องคือ , การปกป้องด้านความรู้และการปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการพิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติทั้งในแง่ของความรู้และการกระทำ ไม่อาจเป็นไปได้เว้นเสียแต่ว่าต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากบุคคลที่มิใช่มะอฺซูม เขาต้องกระทำสิ่งผิดพลาดแน่นอน แต่ถ้ายอมรับเขาได้ปกป้องบทบัญญัติบางส่วน อีกบางส่วนในทัศนะของอัลลอฮฺต้องถือว่าเชื่อถือไม่ได้ และถ้าในภาวะจำเป็นต้องตัดสินที่ตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกับความจริง, เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อล ) มาเพื่อสอนสั่งบทบัญญัติแก่ประชาชน

5.ปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าเพื่อการชี้นำประชาชาติให้มีความสำรวมตนจากความผิด อันเป็นสาเหตุมาจากการเบี่ยงเบนทางความคิดและการกระทำ ฉะนั้น ถ้าอิมามกระทำความผิดเสียเอง หรือมิได้เป็นมะอฺซูม ตามปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,เพื่อการชี้นำประชาชน ดังนั้น อิมามเองก็ต้องการอิมามอื่นเพื่อชี้นำตนเอง อันถือได้ว่าเป็นความจำเป็น เพื่อว่าจะได้รอดพ้นจากความผิดพลาด ดังนั้น อิมามท่านอื่นต้องเป็นมะอฺซูม เพราะถ้ามิได้เป็นมะอฺซูมแล้วละก็ จำเป็นต้องมีอิมามท่านอื่นอีก และ ....เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการในอิมามก็จะไม่มีที่สิ้นสุด โดยหลักการแล้วถือว่าเป็นเหตุผลวน ซึ่งเหตุผลวนในทางปัญญาแล้วถือว่าเป็นไปไม่ได้ และบาฎิล ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจบตรงที่ว่าอิมามต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น ซึ่งต้องมีความเคยชินในแง่ของความบริสุทธิ์ มีศักยภาพในการชี้นำสั่งสอนประชาชน โดยจะต้องไม่เห็นความผิดพลาดและการเบี่ยงเบนในตัวเขาเด็ดขาด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ประสบความสำเร็จในการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ท่านจะได้จัดตั้งรัฐบาล แล้ววันนี้โลกอิสลามจะอยู่ในสถานภาพอย่างไร?
    8188 تاريخ بزرگان 2555/09/08
    สาเหตุหลักในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยน (อ.) คือ การฟื้นฟูตำสอนศาสนา และการกำชับความดี ห้ามปรามความชั่วร้าย ต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดอิสลามให้สิ้นซาก ซึ่งความคิดอันเลวร้ายนั้นได้ลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมอิสลาม โดยมีความเชื่อว่าเคาะลีฟะฮฺหรือฮากิมอิสลาม จะเป็นใครก็ตาม และไม่ว่าจะก่ออาชญากรรมมากน้อยเพียงใดก็ตาม เขาก็คือเคาะลิฟะฮฺของอัลลอฮฺ วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา การยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ในแง่นี้ประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และถือว่าบรรลุเป้าหมายด้วย แม้ว่าเป้าหมายอันสูงส่งของอิสลาม ความสำเร็จของสังคมขึ้นอยู่การทำความดีต่างๆ และนำเอาบทบัญญัติมาดำเนินใช้ในสังคม การได้จัดตั้งรัฐอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า รูปแบบการจัดตั้งรัฐอิสลามโดยท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พร้อมกับการโค่นล้มการปกครองของผู้อธรรม ซึ่งผลที่จะได้รับนอกจากจะได้รับรัฐอิสลาม และความสำเร็จของสังคมแล้ว เราก็จะได้เห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของอิสลาม แน่นอนว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อันอเนกอนันต์แก่ประชาชาติอิสลาม และถือว่านั้นคือความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลาม แต่น่าเสียดายว่าสิ่งนั้นมิได้เกิดขึ้นจริง ...
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5737 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7923 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    9995 การตีความ (ตัฟซีร) 2556/08/19
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5517 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
    11511 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11162 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6491 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10331 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7351 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59390 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33449 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...