การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9982
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2235 รหัสสำเนา 11563
คำถามอย่างย่อ
ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
คำถาม
ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
คำตอบโดยสังเขป

ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึง จิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกาย แน่นอน ทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงาน ซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้น

ส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไป ซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง กล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้น หรือดับสูญแต่อย่างใด ทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง เนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ อีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอก ส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลก ด้วยเหตุนี้ ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์

ความตาย คือการรับมอบจิตวิญญาณโดยมลักผู้ควบคุมความตาย เหมือนการนอนหลับ ดังนั้น ความตายจึงเหมือนการนอนหลับที่ยาวนาน เป็นการตายในชั่วขณะหนึ่ง ฉะนั้น ความตายจึงไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือการดับสลาย ความตายเสมือนเป็นการเกิดใหม่อีกครั้งจากครรภ์ของธรรมชาติ ซึ่งผลของการเกิดใหม่นี้ได้ทำให้เขาเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งไม่อาจเปรียบเทียบได้กับโลกธรรมชาติ เหมือนโลกแห่งมดลูกที่ไม่สามารถเทียบเคียงกับโลกธรรมชาติได้

ความตายคือ สะพานทอดข้ามผ่านทาง ซึ่งหากเดินข้ามไปได้จะทำให้เขาพบกับสิ่งใหม่ และช่วยให้รอดพ้นจากความยากลำบากทั้งปวง นั่นหมายถึงเขาได้พัฒนาบ้านแห่งโลกนี้ให้เจริญก้าวหน้า ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำลายปรโลกให้สูญสิ้นไป

ส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า มนุษย์สมารถยืดระยะเวลาความตายให้ล่าช้าออกไปได้หรือไม่ : สามารถกล่าวได้ว่ารายงานและโองการอีกหลายโองการ บอกให้เราได้รู้จักกาลเวลาใน 2 ลักษณะกล่าวคือ ความตายที่รอ กับความตายแน่นอน ซึ่งในรายงานและโองการได้กล่าวด้วยนามอื่น

"ความตายที่รอเวลา" สำหรับทุกคนหมายถึง เขาได้ใช้เวลาอยู่บนโลกนี้ตามความเหมาะสมแล้ว แต่การรอเวลานั้นสามารถยืดหยุ่นให้ยาวออกไปหรือสั้นลงได้ ตัวอย่างเช่น การทำความดีกับเครือญาติหรือการให้ทาน สิ่งเหล่านี้สามารถยืดความตายให้ยาวนานออกไปได้ ขณะเดียวกันการไม่ทำดีกับผู้ปกครอง หรือการตัดสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ สิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นการเร่งความตายให้เร็วขึ้น และนี่ก็คือความตายที่บันทึกไว้ในเลาฮุนมะฮฺฟูซ

ส่วน ความตายแน่นอน คือความตายที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ดังที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตามหลักการของอิสลาม มีการให้ความหมายความตายแตกต่างกันออกไปตามความเป็นจริง ซึ่งแต่ละคนก็ให้ความหมายอันเป็นแก่แท้ของความตายด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก่อนที่จะพิจารณาอัลกุรอานและรายงาน จะกล่าวถึงบทนำซึ่งเป็นทัศนะของนักปราชญ์บางท่านในสายปรัชญา ที่แสดงทัศนะเกี่ยวกับความตายไว้ดังนี้

บูอะลี ซีนา กล่าวว่า ความตายไม่ใช่สิ่งใดอื่นเกินเลยไปจาก การที่จิตวิญญาณครั้งหนึ่งได้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ แต่บัดนี้มันได้ละทิ้งทั้งหมดแล้ว จุดประสงค์ของอุปกรณ์และสื่อหมายถึง, อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งทั้งหมดรวมเรียกว่าร่างกาย[1]

มัรฮูมมุลลา ซ็อดรอ อธิบายว่า : ความตายคือการแยกจากกันของร่างกายและจิตวิญญาณ ซึ่งจิตวิญญาณได้ก้าวไปสู่ขั้นตอนของการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นภาวะนามธรรม ซึ่งต่อไปนี้ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์และสื่ออย่างอื่นจากร่างกายอีกต่อไป ร่างกายเปรียบเสมือนเป็นเรือที่จิตวิญญาณได้โดยสาร เพื่อเดินทางไปสู่พระเจ้าซึ่งจิตวิญญาณได้อาศัยร่างกายเพื่อเดินทางผ่านทั้งทางบกและทางทะเล เมื่อผ่านการขั้นตอนเหล่านั้นไปแล้ว ก็ไม่มีจำเป็นต้องใช้สื่อเหล่านั้นอีกต่อไป ด้วยเหตุผลนี้เองความตายจึงเกิดขึ้น และเนื่องจากความตายได้ผ่านพ้นไปทำให้พลังแห่งธรรมชาติก็สิ้นแรงตามไปด้วย ไม่ใช่ดั่งที่การแพทย์เข้าใจว่าความตายคือการสิ้นชีวิต สิ้นความร้อนอันเป็นความปรารถนาโดยธรรมชาติหรือสิ่งอื่น ทว่าความตายเป็นธรรมชาติสำหรับชีวิต เป็นเชื้อแห่งความดีและความสมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งดีและสมบูรณ์แบบสำหรับจิตวิญญาณ เป็นสิทธิของเขา ดังนั้น ความตายคือสิทธิของเขาโดยตรง[2] ในตรงนี้พวกเหตุผลนิยมกล่าวว่า ความตายคือ : การแยกกันระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกาย เป็นการยุติบทบาทการบริหารร่างกาย[3] อย่างไรก็ตามนักปราชญ์อิสลามได้พย่ายามอธิบายความตายจากความหมายของอัลกุรอาน และฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราได้ย้อนกลับไปดูโองการและรายงานต่างๆ แล้วจะพยายามตีความคำว่า ตาย บนพื้นฐานของความหมายเหล่านั้น

1. บางครั้งอัลกุรอาน กล่าวว่าความตายคือ การสูญเสียชีวิตซึ่งผลของความตายก็เหมือนกับ ความรู้สึกและความปรารถนา แน่นอน การปราศจากชีวิตในสิ่งหนึ่งมีความหมายว่า สิ่งนั้นต้องมีศักยภาพในการมีชีวิตด้วย

อัลกุรอานกล่าวว่า

"و کنتم امواتاً فاحیاکم ثم یمیتکم"

พวกจ้านั้นเคยปราศจากชีวิตมาก่อนแล้วพระองค์ก็ทรงให้เจ้ามีชีวิตขึ้น[4]

หรือเกี่ยวกับรูปปั้นทั้งหลายกล่าวว่า "พวกมันตาย ปราศจากชีวิต และพวกมันไม่รู้ด้วยว่า เมื่อใดจะถูกให้ฟื้นขึ้นมาอีก[5]

ความตายหมายถึงการสูญเสียของชีวิตเมื่อสัมพันธ์ไปยังมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวว่ามนุษย์มีองค์ประกอบอยู่ 2 ประการเมื่อร่างกายอยู่ในมิติของชีวิต หลังจากนั้นก็จะขาดชีวิตชีวิต, จึงสามารถกล่าวได้ว่าความตายได้ครอบงำเหนือมนุษย์ มิเช่นนั้นต้องกล่าวไว้ในอัลกุรอานแล้วว่า จิตวิญญาณได้ตาย เช่นเดียวกับที่ทูตสวรรค์ (มลัก) ไม่ได้ถูกกล่าวว่าตายเช่นกัน[6]

2. ประโยคหนึ่งของอัลกุรอานที่กล่าวถึงความตายโดยชึ้คำว่า ตะวัฟฟา[7] คำๆ นี้มาจากรากศัพท์คำว่า วะฟา ซึ่งหมายถึงการได้รับมอบสิ่งหนึ่งโดยปราศจากความขาดตกบกพร่อง ซึ่งกล่าวว่า เตาฟียะตุลมาล หมายถึง ได้รับทรัพย์พอดิบพอดีไม่ขาดไม่เกิน มีโองการอัลกุรอานประมาณ 14 โองการกล่าวถึงความตาย ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นแก่นแท้ความจริงที่ว่า ประการแรก: มนุษย์นั้นมีองค์ประกอบอื่นที่นอกเหนือจากวัตถุธาตุ และภายใต้มิติดังกล่าวนั้นจะไม่ตายและไม่สูญสิ้น อีกทั้งเมื่อถึงกำหนดวาระสิ่งนั้นจะถูกมอบแก่เจ้าหน้าที่อย่างคราบสมบูรณ์ ไม่มีสิ่งใดขาดหรือเกินเลย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้รับมอบมิติของจิตวิญญาณ แน่นอน มิติดังกล่าวนี้ไม่ได้อยู่ในภาวะของวัตถุ ดังที่อัลกุรอานหลายโองการกล่าวเรียกสิ่งนั้นว่า จิตวิญญาณ และในมิติของจิตวิญญาณ หรือมิติแห่งพระเจ้าจะทำให้มนุษย์พบกับชีวิตใหม่หลังจากตายไปแล้ว

ประการที่สอง : บุคลิกภาพที่แท้จริงของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกาย เพราะร่างกายจะค่อยๆ ถูกทำลายและสลายไป[8] ซึ่งจะไม่ถูกมอบไปที่ใดทั้งสิ้น สิ่งที่สนับสนุนประเด็นดังกล่าวอีกประการหนึ่งคือ โองการเหล่านี้การกระทำบางอย่างของชีวิต เช่น การพูดคุยกับมวลมลัก ความหวัง การต่อรอง ซึ่งได้สัมพันธ์ไปยังมนุษย์หลังจากที่เขาตายไปแล้ว ซึ่งบ่งบอกให้เห็นความจริงว่า แก่นแท้ของมนุษย์ทั้งหมดไม่ใช่ร่างกายที่ปราศจากความรู้สึก มิเช่นนั้นแล้ว การพูดคุย และอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจะไร้ความหมาย และสิ่งนี้คือ บุคลิกภาพที่แท้จริงของมนุษย์ ซึ่งหลังจากตายไปแล้วจะอยู่ภายใต้การควบคลุมของเจ้าหน้าที่แห่งความตาย (มะลาอิกะตุลเมาต์) ฉะนั้น จำเป็นต้องกล่าวว่าความตายคือ การเปลี่ยนสภาพ ไม่ใช่การสูญสิ้น[9] ดังนั้น ความตายจึงเป็นสิ่งมีอยู่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง อัลกุรอานจึงเรียกความตายว่าเป็น สิ่งถูกสร้างหนึ่ง[10]

อัลกุรอานบทซุมัร โองการที่ 42 กล่าวว่า:

اللَّهُ یَتَوَفَّى الْأَنفُسَ حِینَ مَوْتِهَا وَالَّتِی لَمْ تَمُتْ فِی مَنَامِهَا فَیُمْسِکُ الَّتِی قَضَى عَلَیْهَا الْمَوْتَ وَیُرْسِلُ الْأُخْرَى إِلَى أَجَلٍ مُسَمًّى إِنَّ فِی ذَلِکَ لَآیَاتٍ لِّقَوْمٍ یَتَفَکَّرُونَ

อัลลอฮฺ ทรงปลิดชีวิตทั้งหลายเมือครบกำหนดความตายของเขา และชีวิตที่ยังไม่ตายพระองค์จะปลิดขณะนอนหลับ แล้วจะทรงปลิดชีวิตที่ได้ถูกำหนดให้ตายแล้ว และทรงยืดชีวิตออกไปจนถึงเวลาที่ถูกกำหนดไว้ แท้จริงในการนั้นมีสัญญาณสำหรับกลุ่มชนผู้ใคร่ครวญ

คำสรรพนามในคำว่า เมาติฮา และ มะนามิฮา แม้ว่าภายนอกคำสรรพนามทั้งสองจะย้อนกลับไปหาคำว่า อันฟุซะ ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงบ่งชี้ให้เห็นถึง ร่างกายของมนุษย์ทั้งหลาย เนื่องจากสิ่งที่ตายคือ ร่างกาย ไม่ใช่จิตวิญญาณ ดังนั้น ความตายเปรียบเสมือนการนอนหลับที่ยาวนาน การนอนหลับคือความตายชั่วคราว อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าความตายกับการนอนหลับไม่มีสิ่งใดแตกต่างกัน เว้นเสียแต่ว่าการนอนหลับคือความตายที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวอนุญาตให้วิญญาณกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง[11]

อัลกุรอานบทอัลวากิอะฮฺ โองการที่ 60 และ 61 เข้าใจได้ว่าการเสียชีวิตคือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง หรือเป็นการเปลี่ยนการสร้างหนึ่งไปสู่อีกการสร้างหนึ่งไม่ใช่การสูญสลาย หรือการดับสูญแต่อย่างใด[12] ซึ่งสรุปได้ว่า ความตายคือ การเกิดใหม่ หรือการเกิดรอบสองนั่นเอง

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) กล่าวว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า: สูเจ้าไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการดับสูญ (ตาย) ทว่าได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการดำรงอยู่ เพียงแต่โยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเท่านั้น[13]

ท่นอิมามอะลี (.) กล่าวถึงความตายว่า ความตายคือการแยกออกจากบ้านที่สูญสลาย และอนิจกรรมไปยังบ้านที่ดำรงอยู่นิรันดร ดังนั้น ปวงผู้มีสติต้องตระเตรียมความพร้อมยังชาญฉลาด[14]  ท่านอิมามฮะซัน (.) ได้เปรียบเทียบความตายไว้ว่า เหมือกับสะพานและทางผ่าน โดยกล่าวว่า ปวงผู้ศรัทธาจะต้องผ่านสิ่งนั้นไปด้วยความทุกข์ทรมาน เพื่อไปสู่สถานที่กว้างไพศาล[15]

แต่มีคำถามว่าเราสามารถยืดเวลาความตายให้ล่าช้าออกไปได้หรือไม่ ? สามารถกล่าวได้ว่าตามหลักการของอิสลามได้กล่าวถึงความตายไว้ 2 ลักษณะด้วยกัน[16] อัลกุรอานกล่าวว่า : พระองค์คือผู้ ..ทรงกำหนดเวลาแห่งความตายไว้ และกำหนดที่ถูกระบุไว้อีกกำหนดหนึ่งอยู่ที่พระองค์[17] หมายถึงมนุษย์ยังมีความตายที่คลุมเครืออีกหนึ่งความตาย ซึ่งอยู่  พระองค์ความตายนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันใดทั้งสิ้น ซึ่งอัลกุรอาน บทยูนุส โองการที่ 49 กล่าวเมื่อเวลาของพวกเขามาถึง พวกเขาจะขอผ่อนผันให้ล่าช้าซักระยะหนึ่งไม่ได้ และจะร่นเวลาให้เร็วเข้าก็ไม่ได้"

แน่นอนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความตายที่ถูกกำหนด กับความตายที่ไม่ได้กำหนด เป็นความสัมพันธ์แบบสมบูรณ์แบบมีเงื่อนไข ด้วยเหตุนี้ เป็นไปได้ที่ว่าความตายนั้นจะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากไม่มีเงือนไข ซึ่งต่างไปจาก มุฏลักมุนัจญิซ ที่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เกิดขึ้น อัลกุรอานบท อัรเราะอ์ดุ โองการที่ 39 กล่าวว่า

"لکل اجل کتاب یمحو الله ما یشاء و یثبت و عنده ام الکتاب"،

อัลลอฮทรงยกเลิกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยืนหยัดให้มั่น (สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์) และที่พระองค์คือแม่บทแห่งคัมภีร์(อัลลูฮุลมะฮฟูซ)”

โองการกล่าวว่า ความตายแน่นอน ก็คือสิ่งที่พระองค์บันทึกไว้ใน อัลลูฮุลมะฮฟูซ

คำว่า อุมมุลกิตาบ สามารถนำไปเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน หมายถึงเหตุการณ์เมื่อสัมพันธ์ไปยังสาเหตุโดยทั่วไปแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนคำว่า แผ่นบันทึกที่ทรงยกเลิกและทรงยึดมั่น สามารถนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่มีสาเหตุไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ได้ หรืออาจมีอุปสรรคอย่างอื่นขัดขวางไม่ให้เกิด ด้วยเหตุนี้ บางครั้งความตายที่ถูกำหนดกับไม่ถูกกำหนดอาจจะเข้ากัน หรืออาจไม่เข้ากันก็ได้ ส่วนความตายที่เกิดขึ้นจริงเรียกว่า ความตายที่ถูกำหนด[18]

อย่างไรก็ตาม ความตายที่รอเวลา นั้นมีศักยภาพพอที่จะยืดเวลาให้ล่าช้าออกไปได้ โดยมีอุปสรรคอย่างอื่นมาขัดขวาง ดังจะเห็นได้ว่ารายงานบางบทกล่าวว่า การกระทำภารกิจบางอย่าง จะทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวนานออกไป ซึ่งชี้ให้เห็นประเด็นดังกล่าวนี้เอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการงานดังกล่าวนั้นได้เป็นอุปสรรคกีดขวางไม่ให้ความตายเกิดขึ้น

รายงานกล่าวว่า

"یعیش الناس باحسانهم اکثر مما یعیشون باعمارهم و یموتون بذنوبهم اکثر مما یموتون بآجالهم"؛

ประชาชนได้ดำรงชีวิตด้วยความดีงามต่างๆ ของตน จะมีอายุขัยยืนยาวกว่าบุคคลที่ดำรงชีวิตด้วยอายุขัยธรรมชาติ และมีประชาชนบางกลุ่มตายเนื่องจากบาปกรรมของตน พวกเขาจะมีอายุขัยสั้นกว่าบุคคลที่ตายในเวลากำหนด[19]

บางครั้งกล่าวว่า การบริจาค (เซาะดะเกาะฮฺ) จะหยุดยั้งความตายที่รอคอย หมายถึงยืดเวลาความตายให้ล่าช้าออกไป[20] ซึ่งจะทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวนานขึ้น ในอีกที่หนึ่งกล่าวว่า การทำความดีกับเครือญาติก็จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวนานออกไป[21]

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ (อายุขัยที่ยืนยาวนาน) สามารถศึกษาได้จากหนังมีซานุลฮิกมะฮฺ[22] ภายใต้หัวข้อว่า "ما یدفع الاجل المعلق" و یا "ما یزید فى العمر"



[1] เชค อัรเราะอีส ริซาละตุชชิฟาอ์ มินเคาฟิลเมาต์, หน้า. 340-345

[2] มุลลาซ็อดรอ อัซฟาร เล่ม 9 หน้า 238

[3] ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายถูกตัดขาด ซึ่งต่อไปจะไมมีการควบคุมร่างกายอีก เราเรียกสิ่งนั้นว่า ความตาย

[4] อัลกุรอานบทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 28

[5] อัลกุรอานบทอันนะฮฺลุ โองการที่ 21

[6] ตัฟซีรมีซาน เล่ม 14 หน้า 286

[7]  อัลกุรอานบทอันนะฮฺลุ 32, บทอันฟาล 50, บทอันอาม 60, บทซุมัร 42

[8]  อัลกุรอาน บทอันอาม โองการที่ 60 กล่าวว่าพระองค์คือผู้ที่ทรงให้พวกเจ้าตายคำว่า พวกเจ้า ก็คือสิ่งที่มาจากพระองค์ ที่เรียกว่า ฉัน หรือตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้จะคงอยู่ตลอดไป

[9] ญะวาดออมูลี อับดุลลอฮฺ ตัฟซีรเมาฏูอีกุรอาน เล่ม 3 หน้า 388 , 397, เล่ม 2 หน้า 497, 509

[10] อัลกุรอาน บทมุลก์ โองการที่ 1,2 กล่าวว่า พระผู้ทรงให้มีความตายและให้มีความเป็น ,พัยยอมกุรอาน เล่ม 5 หน้า 430

[11]  ฟัยยอมกุรม เล่ม 5 หน้า 433

[12]  ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 19 หน้า 133, เล่ม 20 หน้า 356

[13] บิฮารุลอันวาร เล่ม 6 หน้า 249

[14]  นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิ ซอลิฮฺ หน้า 493, โลกคือทางผ่านไปสู่ปรโลก ซึ่งเจ้าถูกเตรียมพร้อมเพื่อโยกย้ายไปที่นั่นตลอดเวลา, อัลกุรอานบทกิยามะฮฺ 26-30

[15] บิฮารุลอันวาร เล่ม 6 หน้า 154, มะอานี อัลอัคบาร หน้า 274, มีซานอัลฮิกมะฮ เล่ม 9 หน้า 234,

[16] บิฮารุลอันวาร เล่ม 5 หน้า 139

[17]  อัลกุรอานบทอันอาม โองการที่ 2

[18] อัลมีซาน เฎาะบาเฎาะบาอี เล่ม 7 หน้า 8, 10

[19]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 5 หน้า 140, มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 1 หน้า 30

[20]  มุฮัมมัดเรย์ ชะฮฺริ,มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 1 หน้า 30

[21] มุฮัมมัดเรย์ ชะฮฺริ,มีซานุลฮิกมะฮฺ บาบ 1464 และบาบ 1467

[22] มุฮัมมัดเรย์ ชะฮฺริ,มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 6 หน้า 549 บาบ 2932

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใด อัลลอฮฺทรงรังเกลียดการหย่าร้างอย่างรุนแรง?
    10953 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ถ้าหากพิจารณาสิ่งตรงข้ามกันระหว่างการหย่าร้าง กับการแต่งงาน,เพื่อค้นคว้าปรัชญาของความน่ารังเกลียดในการหย่าร้าง, อันดับแรกจำเป็นต้องกล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานก่อน[1] อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นมาเป็นคู่ มนุษย์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายและเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้า อันเป็นเหตุของความสงบและความสันติ[2] รายงานฮะดีวจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานไว้ว่า เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง, ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานว่า : ไม่มีรากฐานอันใดได้ถูกวางไว้ในอิสลาม ซึ่งเป็นทีรักและมีเกียรติยิ่ง ณ พระองค์อัลลอฮฺ เหนือไปจากการแต่งงาน”[3] หนึ่งในประโยชน์อันสำคัญยิ่งของการแต่งงานคือ การขยายและดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ, ด้วยเหตุนี้เอง การหย่าร้างคือการทำลายการแต่งงาน ทำให้ครอบครัวต้องแตกแยก เด็กๆ ที่เกิดมาสมควรได้รับการดูแลจากมืออันอบอุ่นของบิดามารดา ร่มเงาของทั้งสองสมควรที่จะถอดเบียดบังพวกเขาให้ได้รับความปลอดภัย และมีความรู้สึกว่าได้รับความอบอุ่นเสมอ การปราศจากผู้ปกป้องดูแลคือ การขาดที่พำนักพักพิง ...
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6761 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    7281 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6511 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6250 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6670 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ขัดวาง การห้ามมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม?
    6452 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    การขัดขวางหรือห้ามมิให้นำปากกาและกระดาษมาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (เพื่อที่จะเขียนพินัยกรรมบางอย่างก่อนที่ท่านจะจากไป) เป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, การนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว มิได้เป็นเหตุผลที่มายืนยันหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท่านอิมามมีเหตุผลอะไรถึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านอิมามขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่? เมื่อศึกษาเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสืออื่นๆ ทำให้ได้บทสรุปว่า 1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถูกกล่าวร้ายว่า เป็นคนพูดจาเพ้อเจ้อ ศาสดาผู้ซึ่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า: »ท่านจะไม่พูดจากด้วยอารมณ์ ทว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นวะฮฺยูที่ได้ประทานลงมายังท่านเท่านั้น« ขณะที่เรื่องพินัยกรรม ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการประกาศสาส์นของท่าน 2.การเริ่มต้นความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประกอบกับท่านป่วยอยู่ด้วยในขณะนั้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    9177 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7897 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59308 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41584 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33396 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27490 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27172 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25139 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...