การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7927
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/07/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8669 รหัสสำเนา 27683
คำถามอย่างย่อ
มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
คำถาม
: ผมเคยแสดงความอากัปกิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าภรรยา ทำให้เธอไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ไม่ว่าจะย้ำแล้วย้ำเล่าว่าผมสำนึกผิดแล้ว (ซึ่งเธอก็ทราบดี) เธอกลับบอกผมว่าความรักระหว่างเรากลายเป็นเถ้าถ่านไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผมและลูกๆมีชีวิตที่ไม่ต่างจากตกนรกทั้งเป็น ผมพยายามอดทนเพื่อพระองค์ แต่ก็เริ่มที่จะหมดกำลังใจที่จะรั้งเธอไว้ต่อไป กรุณาช่วยผมด้วยครับ เข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานของเธอพยายามยุแหย่ให้เราหย่าร้างกัน อาจจะมีการพึ่งพาคุณไสยด้วย เพราะทุกครั้งที่เราเริ่มปรับความเข้าใจกันใหม่ ความวุ่นวายก็ย้อนกลับมาแทบทุกครั้ง กรุณาแนะนำผมหน่อยว่าจะต้องทำอย่างไร ขณะนี้เธอไม่ยอมละหมาดและไม่ยอมสวมฮิญาบเลย อีกทั้งมีปากเสียงกับผมเป็นประจำ
คำตอบโดยสังเขป

ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ครอบครัวที่อยู่ใต้ร่มเงาแห่งความซื่อสัตย์ย่อมไม่เหลือช่องว่างสำหรับความบาดหมาง ส่งผลให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการได้โดยง่าย แต่เมื่อใดที่สามีหรือภรรยาเริ่มปิดบังหรือหลอกลวงคู่รักตนเอง ก็ย่อมจะทำให้ความไว้วางใจเลือนลางลงกระทั่งฝ่ายตรงข้ามไม่รับฟังข้อเท็จจริงใดๆอีกเลย และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของความร้าวฉานและการทะเลาะเบาะแว้งอย่างไม่สิ้นสุด

จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ทำให้มองไม่เห็นความสำคัญของคำสัญญาหรือข้อตกลงใดๆทั้งสิ้น อันดับแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้เจอ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่รากเหง้าปัญหาอยู่ที่ตัวคุณเอง ก็จะได้แก้ไขโดยไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น เพราะไม่ยังประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น เว้นแต่จะเป็นการปิดบังสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แต่ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสาเหตุมาจากการยุแยงของผู้อื่น คุณก็จะได้ทราบและไม่ตำหนิตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี จะต้องหาต้นสายปลายเหตุของความไม่ไว้วางใจให้พบแล้วรีบแก้ไขเสียโดยเร็ว

สรุปก็คือ ตราบใดที่คุณยังไม่อาจจะกอบกู้ความไว้วางใจให้คืนสู่ครอบครัวได้ ปัญหาก็จะไม่มีวันได้รับการแก้ไข แต่หากสร้างความไว้วางใจกันได้อย่างสนิทใจแล้ว ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่สามารถจะกล้ำกรายชีวิตคู่ของคุณได้แม้แต่น้อย

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่อสามีและภรรยาหย่าขาดจากกัน ใครคือผู้มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร?
    12474 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามบิดามีหน้าที่จะต้องจ่ายนะฟาเกาะฮ์ (ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู) แก่บุตรทุกคนแต่ทว่าสิทธิในการดูแลและอบรมเลี้ยงดูบุตรนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของลูกๆท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “มารดาถือครองสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตรชายจนถึงอายุ๒
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    9596 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (
  • อุมัรได้ทำทานบนหรือลงโทษอบูฮุร็อยเราะฮฺหรือไม่ ในฐานะที่อุปโลกน์ฮะดีซขึ้นมา?
    7038 ริญาลุลฮะดีซ 2555/04/07
    บุคอรียฺ,มุสลิม,ซะฮะบียฺ, อิมามอบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ, มุตตะกียฺ ฮินดียฺ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺที่ 2 ได้ลงโทษเฆี่ยนตีอบูฮุร็อยเราะฮฺอย่างหนักจนสิ้นยุคการปกครองของเขา เนื่องจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ปลอมแปลงฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จำนวนมากและกล่าวพาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ฯ) สามารถกล่าวได้ว่า สาเหตุที่อุมัรคิดไม่ดีต่ออบูฮุร็อยเราะฮฺ อาจเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้ หนึ่ง เขาชอบนั่งประชุมเสวนากับ กะอฺบุลอะฮฺบาร ยะฮูดียฺคนหนึ่ง และรายงานฮะดีซจากเขา สอง เขาได้รายงานฮะดีซโดยไม่มีรากที่มา ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรงกับฮะดีซที่อุปโลกน์ขึ้นมา และในความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดนอกจากการอุปโลกน์ สาม รายงานฮะดีซที่ขัดแย้งกับฮะดีซที่เล่าโดยเซาะฮาบะฮฺ สี่ เซาะฮาบะฮฺ บางคนเช่นอบูบักร์ และอิมามอะลี (อ.) จะขัดแย้งกับเขาเสมอ ...
  • อาริสโตเติลเป็นศาสดาแห่งพระเจ้าหรือไม่?
    8918 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    อาริสโตเติล, เป็นนักฟิสิกส์ปราชญ์และนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโตและเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก
  • การลงโทษชาวบนีอิสรออีลข้อหาบูชาลูกวัวเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ความผิดหรือไม่?
    7666 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/23
    นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ “1. สิ่งนี้เป็นบททดสอบ และเมื่อพวกเขาได้เตาบะฮ์และสำนึกผิดแล้ว สิ่งนี้ก็ได้ถูกยกเลิก 2. ความหมายของการฆ่าในที่นี้คือการตัดกิเลศและแรงยั่วยุของชัยตอน 3. ความหมายของการฆ่าในโองการนี้ คือการฆ่าจริง ๆ กล่าวคือจะต้องฆ่ากันเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือทั้งหมดของประเด็นต่อไปนี้ก็เป็นได้: ก. ชำระจิตใจชาวบนีอิสรออีลให้ผ่องแผ้วจากการตั้งภาคี ข. ยับยั้งไม่ให้บาปใหญ่หลวงเช่นนี้อีก ค. ต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการหันเหจากหลักเตาฮีด และการหันไปสู่การกราบไหว้เจว็ด อย่างใดก็ตาม การรับการลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดก็ถือว่าคุ้มค่าหากแลกกับการหลุดพ้นจากไฟนรก ...
  • เป็นไปได้ไหมที่จะอธิบาย อัรบะอีน, อิมามฮุซัยนฺ ให้ชัดเจน?
    8221 تاريخ بزرگان 2555/05/20
    เกี่ยวกับพิธีกรรมอัรบะอีน, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรฒศาสนาของเรา, คือการรำลึกถึงช่วง 40 วัน แห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดุชชุฮะดา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เดือนเซาะฟัร, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา »มุอฺมิน« ไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : การดำรงนมาซวันละ 51 เราะกะอัต, ซิยารัตอัรบะอีน, สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวา, เอาหน้าซัจญฺดะฮฺแนบกับพื้น และอ่านบิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม ในนมาซด้วยเสียงดัง[1] ทำนองเดียวกันนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ,พร้อมกับอุฏ็อยยะฮฺ เอาฟีย์ ประสบความสำเร็จต่อการเดินทางไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากถูกทำชะฮาดัตในช่วง 40 วันแรก
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5484 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    5959 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11011 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • มีดุอาอฺขจัดความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชาบ้างไหม?
    11269 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    ภารกิจบางอย่างที่คำสอนศาสนาปฏิเสธไม่ยอมรับคือ ความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชา, บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) กล่าวตำหนิคุณสมบัติทั้งสองนี้ และขอความคุ้มครองจากพระเจ้าให้พ้นไปจากทั้งสอง ดังจะเห็นว่าบทดุอาอฺบางบทจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ เช่น : 1. มุสอิดะฮฺ บุตรของ ซิดเกาะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้วอนขอให้ท่านอิมามซอดิก (อ.) ดุอาอฺต่ออัลลอฮฺเกี่ยวกับภารกิจการงานใหญ่ๆ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ฉันจะสอนดุอาอฺของคุณปู่ของฉันท่านอิมามซัจญาด (อ.) แก่เธอ ซึ่งดุอาอฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้วอนขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ เพื่อให้พ้นไปจากความความเกลียดคร้าน กล่าวว่า : : "...وَ أَعُوذُ بِكَ مِنَ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38431 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27542 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27240 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27137 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...