การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6821
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10087 รหัสสำเนา 20024
คำถามอย่างย่อ
ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
คำถาม
ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ในซิยารัตอาชูรอ มีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการ ซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัต เพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่า บนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขา อันหมายถึงผู้กระทำผิด ผู้วางเฉย ผู้ปีติยินดี ... ฯลฯ ต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวก หากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอ ก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์ และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก
ฉะนั้น ในทางวิชาอุศู้ลแล้ว เราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้น เป็นการยกเว้นประเภทตะค็อศศุศมิไช่ตัคศี้ศหมายความว่า คำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำถามข้างต้นมีสองแง่มุม หนึ่ง ต้องการทราบความคิดและพฤติกรรมของบุตรชายยะซีด สอง ทำความเข้าใจขอบเขตละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ในซิยารัตอาชูรอ
ต้องเรียนชี้แจงเกี่ยวกับบุตรชายยะซีดว่า การที่เขายอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ถือเป็นการกระทำที่เหมาะสม เนื่องด้วยยอมรับว่าตำแหน่งดังกล่าวได้มาอย่างไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เราแน่ใจว่าเขาเตาบะฮ์อย่างครบถ้วนทุกเงื่อนไข (ทดแทนสิ่งที่เคยละเมิด) แล้วหรือยัง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะได้รับพระเมตตาจากอัลลอฮ์และหลุดพ้นจากบ่วงละอ์นัตของพระองค์ 

การยึดครองตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์แม้จะด้วยระยะเวลาสั้นๆ ก็ถือเป็นบาปมหันต์ที่ต้องมีเงื่อนไขบางประการจึงจะได้รับอภัยโทษ ดังที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีนกล่าวถึง อุมัร บิน อับดุลอะซีซว่าเขาเสียชีวิตลงโดยมีชาวโลกร่ำไห้ไว้อาลัย แต่ชาวฟ้าประณามละอ์นัตเขาอยู่[1] ทั้งนี้ก็เนื่องจากเขาครองตำแหน่งที่ตนไม่มีสิทธิ แม้ว่าเขาจะมีความประพฤติที่ดีกว่าเคาะลีฟะฮ์คนอื่นๆก็ตาม อย่างไรก็ดี เรามิได้ฟันธงว่าทั้งมุอาวิยะฮ์ บุตรของยะซีด และอุมัร บิน อับดุลอะซีซ ไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์[2] พระองค์เท่านั้นที่ทรงทราบ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีคนดีๆในเชื้อตระกูลบนีอุมัยยะฮ์อยู่ ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยนิดก็ตาม อาทิเช่น คอลิด บิน สะอี้ด บิน อาศ, อบุลอาศ บิน เราะบี้อ์, สะอ์ดุ้ลค็อยร์ และคนอื่นๆ ฉะนั้น เมื่อทราบแล้วว่ายังมีบางคนในตระกูลนี้ที่ไม่ควรถูกละอ์นัตจากอัลลอฮ์ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ในสำนวนซิยารัตอาชูรอ  ที่นี้

ความหมายของการละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ทั้งตระกูล
ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียด จำเป็นต้องชี้แจงเบื้องต้นก่อนว่าหนึ่งในคำสอนอันชัดเจนของกุรอานก็คือ การที่บุคคลจะไม่ถูกประณามหรือลงโทษทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยกับความผิดของผู้อื่น[3] เว้นเสียแต่ว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจกับความผิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ห้ามปราม ซึ่งการวางเฉยของเขานี่แหล่ะที่นำมาซึ่งอะซาบ มิไช่อะซาบที่มาจากการกระทำของผู้อื่น ดังกรณีอูฐของนบีศอลิห์ที่ถูกฆ่าโดยชายคนเดียว[4] แต่กุรอานโยงความผิดครอบคลุมทั้งชนเผ่าษะมู้ด[5]อันสมควรได้รับโทษร่วมกัน[6] ทั้งนี้ก็เพราะกลุ่มชนษะมู้ดพึงพอใจกับพฤติกรรมฆ่าอูฐดังกล่าว ซึ่งอิมามอลี(.)ถือว่า ความยินดียินร้ายร่วมกันของชาวษะมู้ดคือสาเหตุที่ต้องประสบชะตากรรมร่วมกัน[7]

กล่าวคือ มาตรฐานของกุรอานและฮะดีษในการโยงบุคคลไปยังกลุ่มหรือชนเผ่าก็คือ ความสอดคล้องทางความคิดและพฤติกรรม ดังที่อัลลอฮ์ไม่ทรงถือว่าบุตรชายของนบีนู้ห์เป็นอะฮ์ล” (สมาชิกครอบครัว) นบีนู้ห์ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับบิดา[8] ในขณะที่ท่านนบี(..)กลับถือว่าซัลมาน ฟารซี เป็นสมาชิกครอบครัวของท่าน[9]
ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม(.)จึงไม่นับว่าคนดีในสายตระกูลบนีอุมัยยะฮ์เป็นเทือกเถาเหล่ากอของบนีอุมัยยะฮ์ อย่างเช่นกรณีของสะอ์ดุ้ลค็อยร์ ที่เข้าพบอิมามมุฮัมมัด บากิร(.) พลางร้องไห้เสียงดัง อิมามถามว่า ท่านเป็นอะไรจึงร้องไห้เช่นนี้? เขาตอบว่า จะไม่ให้กระผมร้องไห้ได้อย่างไร ในเมื่อกระผมเป็นเทือกเถาของต้นไม้ที่ถูกละอ์นัตในกุรอาน อิมาม(.)กล่าวว่า لَسْتَ مِنْهُمْ أَنْتَ أُمَوِی مِنَّا أَهْلَ الْبَیت ท่านมิไช่พวกเขา ท่านคือเชื้อสายอุมัยยะฮ์ทว่าเป็นสมาชิกครอบครัวเรา ท่านไม่เคยได้ยินดอกหรือว่า อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า และผู้ใดที่ปฏิบัติตามฉัน เขาคือพรรคพวกของฉัน [10]

สรุปคือ นัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ในสำนวนซิยารัตครอบคลุมเฉพาะบุคคลที่มีความคิดสอดคล้องกับกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ อันประกอบด้วยผู้เบิกทาง ผู้ลงมือ ผู้นิ่งเฉย และผู้ยินดีปรีดาต่อการแย่งชิงตำแหน่งผู้นำและการสังหารบรรดาอิมาม(.) และเหล่าสาวก
หากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอ ก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์ และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก
ฉะนั้น ในทางวิชาอุศู้ลแล้ว เราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้น เป็นการยกเว้นประเภทตะค็อศศุศมิไช่ตัคศี้ศหมายความว่า คำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ

มัรฮูม มีรซอ อบุลฟัฎล์ เตหรานีอธิบายซิยารัตอาชูรอโดยย้ำประเด็นนี้ และเสริมข้อสังเกตุอีกสองประการคือ:
1
. คำว่าบนีเชื่อมกับคำว่าอุมัยยะฮ์ซึ่งการเชื่อมคำเช่นนี้มักมีการเจาะจงเป็นการเฉพาะ  กล่าวคือ บนีอุมัยยะฮ์หมายถึงลูกหลานของอุมัยยะฮ์กลุ่มหนึ่งที่เกลียดชังและเป็นศัตรูกับอะฮ์ลุลบัยต์
2. บางฮะดีษ อิมาม(.)เอ่ยคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ แต่ก็ได้ระบุถึงอบูซุฟยาน มุอาวิยะฮ์ และลูกหลานมัรวานด้วย[11]

สรุปคือ ในกรณีที่มุอาวิยะฮ์ บุตรของยะซีดไม่สมควรจะถูกละอ์นัต  แต่ด้วยกับเบาะแสในแง่ความหมาย บนีอุมัยยะฮ์จึงถูกจำกัดให้หมายถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่รวมถึงคนอย่างบุตรชายยะซีด[12]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ คำตอบที่ 854 และ 2795



[1] ศ็อฟฟ้าร,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, บะศออิรุดดะเราะญ้าต, หน้า 170, ห้องสมุดอ.มัรอะชี นะญะฟี,กุม,พิมพ์ครั้งที่สอง,..1404

[2] ด้วยเหตุนี้ ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมีรซอ อับดุลลอฮ์ อะฟันดีจึงกล่าวในหนังสือ ริยาฎุ้ลอุละมา ว่า ไม่แน่ชัดว่าสามารถละอ์นัตและสาปแช่งอุมัร บิน อับดุลอะซีซได้ และซัยยิดมุรตะฎอก็ยกตัวอย่างจากกวีอุมัร บิน อับดุลอะซีซในลักษณะที่ยกย่องเขา

[3] อันนัจม์,38-41 สำนวน لا تزر وازرة وزر اخری ในโองการซูเราะฮ์ อันอาม,164 อิสรอ,15 ฟาฏิร,18  ซุมัร.7

[4] เกาะมัร, อิมามอลี(.)กล่าวว่า แท้จริงมีเพียงชายษะมู้ดคนเดียวที่ฆ่าอูฐ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ศุบฮี ศอลิห์, คุฏบะฮ์ 201, หน้า 319

[5] อะอ์รอฟ,77 ฮูด,65 อัชชุอะรอ,157 อัชชัมส์,14

[6] และพวกเขาได้ฆ่าอูฐ และอัลลอฮ์ได้ลงโทษตามความผิดของพวกเขา และทำให้ราพณาสูรอัชชัมส์,14

[7] โอ้กลุ่มชน ความยินดีและความโกรธาเท่านั้นที่รวบรวมผู้คนได้ เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ฆ่าอูฐ ทว่าอัลลอฮ์ทรงลงทัณฑ์ทั้งกลุ่มชน เพราะพวกเขายินดีปรีดานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 201, หน้า 319

[8] قالَ یا نُوحُ إِنَّهُ لَیْسَ مِنْ أَهْلِکَ إِنَّهُ عَمَلٌ غَیْرُ صالِحٍ فَلا تَسْئَلْنِ ما لَیْسَ لَکَ بِهِ عِلْمٌ إِنِّی أَعِظُکَ أَنْ تَکُونَ مِنَ الْجاهِلینَ ฮู้ด,46

[9] سلمان منا اهلَ البیت ซัลมานเป็นสมาชิกครอบครัวเรา มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 65,หน้า 55, สถาบันวะฟา,เบรุต..1404

[10] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 46,หน้า 337, และเชคมุฟี้ด,อัลอิคติศ้อศ,หน้า 85 สัมมนาเชคมุฟี้ด,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1413

[11] เตหรานี,มีรซอ อบุลฟัฎล์, ชิฟาอุศศุดู้ร ฟี ชัรฮิ ซิยาเราะติลอาชู้ร, เล่ม 1,หน้า 255-263, สำนักพิมพ์มุรตะเฎาะวี,พิมพ์ครั้งแรก

[12] อ่านเพิ่มเติม ดู: ทัรคอน, กอซิม, บุคลิกภาพและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)ในปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา,หน้า 279-291

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7248 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...
  • โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
    6204 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา
  • อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
    6345 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกันกล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมาซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมายและรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรมความสงบสุข
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5953 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์ที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญเทียบกับทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์ อย่างใดสำคัญกว่ากัน?
    7135 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/13
    เกี่ยวกับเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:1. ไม่ไช่ว่าฮะดีษทุกบทจะเชื่อถือได้ทั้งหมด2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อฮุก่ม(กฎศาสนา)3. ในจำนวนฮุก่มทั้งหมดมีฮุก่มวาญิบและฮะรอมเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว4. จะต้องพิจารณาแหล่งอ้างอิงให้ถี่ถ้วนตัวอย่างเช่นกรณีของการร้องไห้นั้นยังมีข้อถกเถียงกันได้เพราะแม้ว่าวะฮาบีจะฟัตวาห้ามร้องไห้แก่ผู้ตายแต่ในแง่สติปัญญาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้นอกจากนี้ฮะดีษทั้งสายซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ปรากฏเหตุการณ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ร้องไห้ให้กับผู้ตายหรือบรรดาชะฮีดเช่นท่านฮัมซะฮ์หรือมารดาท่านนบี(ซ.ล.) ตลอดจนกรณีอื่นๆอีกมาก 5. อุละมาอ์และผู้รู้ระดับสูงสอนว่ามีบางพฤติกรรมที่ผู้ไว้อาลัยไม่ควรกระทำซึ่งบางกรณีอาจทำให้ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ด้วยฉะนั้นจะต้องแยกแยะระหว่างพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนาของผู้คนที่ไม่รู้ศาสนากับคำสอนที่แท้จริงของอิสลามและบรรดาอุละมาอ์ ...
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8516 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8830 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ แตกต่างกันอย่างไร?
    8482 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/18
    ความหมายของสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ ในพจนานุกรมอรับและความหมายเฉพาะทางคือ:1. คำว่า “ฮัมด์” (สรรเสริญ) หมายถึงการสดุดีและสรรเสริญ[1] ส่วนความหมายเฉพาะทางก็คือ การกระทำที่เหมาะสม หรือคุณลักษณะดีเด่นที่กระทำโดยสมัครใจ
  • เซาบานมีบุคลิกเป็นอย่างไร? บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับเขาและรายงานของเขา?
    6846 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    “เซาบาน” ในฐานะที่ถูกกล่าวขานถึงว่าเป็น “เมาลาของท่านเราะซูล” ทั้งที่เขาคือทาสคนหนึ่ง ซึ่งได้รับความเป็นไทโดยการไถ่ตัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เขาได้กลายเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นผู้จงรักภักดีกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับความจงรักภักดีและความรักที่เขาทีต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และครอบครัวของท่านนั้น ตำราบางเล่มได้สาธยายถึงรายงานฮะดีซเกี่ยวกับเขาเอาไว้ ...
  • อัลกุรอาน บทใดขณะประทานลงมามีมลาอิกะฮฺ จำนวน 70,000 ท่าน รายล้อมอยู่?
    8457 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตามรายงานที่บันทึกไว้, สิ่งที่กล่าวมาเป็นความพิเศษเฉพาะบทอันอาม ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : บทอันอามมีประโยคคล้ายกัน ซึ่งได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน, ขณะที่มีมลาอิกะฮฺจำนวน 70,000 ท่าน ห้อมล้อมและแบกอัลกุรอาน บทนี้เอาไว้ จนกระทั่งไปนำอัลกุรอานบทนี้มาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังนั้น จงให้เกียรติและแสดงความเคารพอัลกุรอาน บทนี้ให้มากเถิด เนื่องจากในบทนี้มีพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวซ้ำถึง 70 ครั้ง และถ้าหากประชาชนทราบถึงความยิ่งใหญ่และความจริงของบทนี้ เขาจะไม่มีวันปล่อยอัลกุรอานบทนี้ไป[1] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด.

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59364 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56819 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41642 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38391 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38387 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27519 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27213 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27107 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25178 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...