การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6826
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10135 รหัสสำเนา 20041
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
คำถาม
ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่? ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ
เท่าที่ดิฉันทราบมา เรื่องราวดังกล่าวมิได้มีการกล่าวถึงในแหล่งอ้างอิงที่เรารู้จัก (อย่างเช่นอัลอิรช้าด) ยิ่งไปกว่านั้น อิมาดุดดีน เฏาะบะรี ผู้ประพันธ์หนังสือ “กามิล บะฮาอี” ผู้รายงานเรื่องนี้เองก็รายงานอย่างกำกวมและมิได้ระบุชื่อของเด็กหญิงดังกล่าว (ในกรณีที่เราเชื่อถือนักรายงานคนนี้ /เนื่องจากไม่ทราบว่าสายรายงานน่าเชื่อถือหรือไม่)
อีกด้านหนึ่ง แหล่งอ้างอิงอย่าง เฏาะบะกอตุ้ลกุบรอ ... ฯลฯ ยืนยันว่าสะกีนะฮ์บุตรสาวของอิมามฮุเซน(อ.) รอดชีวิตกลับมาและได้แต่งงานมีบุตร เมื่อได้อ่านเช่นนี้ดิฉันจึงฉงนใจอย่างยิ่ง คุณคิดว่ามีหลักฐานที่หนักแน่นพอหรือไม่ที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของเด็กหญิงคนดังกล่าวในเรื่องนี้?
คำตอบโดยสังเขป

แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(.) ที่มีนามว่า รุก็อยยะฮ์ หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอ ฯลฯ แต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้  ซากปรักหักพังในแคว้นชาม
เราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่ม อาทิเช่น
. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(.) ผู้เป็นพี่ชาย นางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่าโอ้พี่จ๋า โปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิด เพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย
. เมื่อถึงวาระสุดท้ายของอิมามฮุเซน(.) ท่านกล่าวขณะที่ชิมร์ (ฆาตกร) อยู่เบื้องหน้าท่านว่าซัยนับของพี่ สะกีนะฮ์ของพ่อ โอ้บุตรหลานของฉัน ผู้ใดจะดูแลพวกเธอภายหลังจากฉันเล่า? รุก็อยยะฮ์ของพ่อ อุมมุกุลษูมของพี่ พวกเธอคืออะมานะฮ์ของพระองค์ เวลาแห่งสัญญาใกล้จะมาถึงแล้ว
เชคมุฟี้ดกล่าวว่า สะกีนะฮ์คือหนึ่งในบุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) มารดาของเธอชื่อรุบ้าบ
เชคเฏาะบัรซีเล่าวา สะกีนะฮ์บุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) มีอายุสิบปีในวันอาชูรอ
สรุปคือ มีตำรามากมายกล่าวถึงสะกีนะฮ์บุตรสาวของอิมามฮุเซน(.)

จึงทราบได้ว่าท่านอิมาม(.)มีบุตรสาวอีกคนที่ชื่อสะกีนะฮ์ ซึ่ง  เวลานั้น (ก่อนเหตุการณ์กัรบะลา) เจริญวัยและสามารถมีครอบครัวได้แล้ว
จากข้อมูลที่นำเสนอมาทำให้เข้าใจได้ว่า บุตรสาวคนหนึ่งของอิมามฮุเซน() (รุก็อยยะฮ์/ฟาฏิมะฮ์) เสียชีวิตเคียงข้างศีรษะของพ่อ  ซากปรักหักพังในเมืองชาม โดยเด็กหญิงคนนี้มิไช่สะกีนะฮ์ที่มีชีวิตอยู่หลังเหตุการณ์กัรบะลา

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักประวัติศาสตร์และนักประพันธ์จดหมายเหตุอสัญกรรม(มักตัล) ระบุถึงบุตรสาวสองคนที่ชื่อ ฟาฏิมะฮ์ และสะกีนะฮ์ ในหมู่บุตรธิดาของท่านอิมามฮุเซน(.)[1] บางคนก็เพิ่มชื่อซัยนับเข้าไปด้วย[2] ส่วนบางคนก็เล่าถึงเรื่องราวอันน่าเวทนาของบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(.)  ซากปรักหักพังในเมืองชาม[3] ซึ่งนักเขียนชุดหลังล้วนรายงานเรื่องราวดังกล่าวจากหนังสือ กามิล บะฮาอี (ประพันธ์ในศตวรรษ ..ที่เจ็ด) ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดี เราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์และตำราฮะดีษบางเล่ม อาทิเช่น
เมื่อท่านหญิงซัยนับ(.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(.) ผู้เป็นพี่ชาย นางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่าโอ้พี่จ๋า โปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิด เพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย[4] แสดงถึงการมีอยู่จริงของเด็กหญิงที่อิดโรยเนื่องจากพรากจากพ่อ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ระเบียน รุก็อยยะฮ์ บุตรสาวของอิมามฮุเซน เลขที่ (เว็บไซต์- 7318)

เมื่อพิจารณาตำราประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุอสัญกรรมอย่างละเอียดก็จะพบว่า นักประวัติศาสตร์ทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างก็ระบุว่าอิมามฮุเซน(.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อสะกีนะฮ์
เชคมุฟี้ดกล่าวว่า สะกีนะฮ์คือหนึ่งในบุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) มารดาของเธอชื่อรุบ้าบ[5]
เชคเฏาะบัรซีกล่าวเสริมว่า อิมามฮุเซน(.)ได้ทำการสมรสเธอกับอับดุลลอฮ์ บิน ฮะซัน (ลูกพี่ลูกน้องของเธอเอง) โดยอับดุลลอฮ์ได้เป็นชะฮีดในวันอาชูรอ[6]
หนังสือ มักตะลุ้ลฮุเซนระบุว่า เธอสมรสกับลูกผู้พี่ (อับดุลลอฮ์ บิน ฮะซัน) แต่เขาเสียชีวิตในวันอาชูรอก่อนที่จะได้อยู่ด้วยกัน ทำให้ไม่มีบุตรธิดา[7]
นอกจากนี้ เชคเฏาะบัรซียังเล่าว่า สะกีนะฮ์ บินติ ฮุเซน(.) มีอายุสิบปีในวันอาชูรอ[8]
ซะฮะบีกล่าวไว้ในหนังสือ ตารีคุลอิสลามว่าสะกีนะฮ์เป็นบุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) จากนั้นก็ได้นำเสนอรายชื่อหนังสือราวยี่สิบเล่มที่กล่าวถึงเธอไว้[9] จึงทราบได้ว่ามีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงสะกีนะฮ์ บุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) โดยเราได้เพิ่มเติมแหล่งอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถแล้ว[10]

เกี่ยวกับอายุของเธอนั้น นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน แต่จากการสังเคราะห์ทัศนะต่างๆจะได้ข้อสรุปว่าเธอถึงวัยที่สามารถสมรสได้ (หรืออาจจะสมรสแล้ว) ในวันอาชูรอ
จึงทราบได้ว่าท่านอิมาม(.)มีบุตรสาวอีกคนที่ชื่อสะกีนะฮ์ ซึ่ง  เวลานั้น (ก่อนเหตุการณ์กัรบะลา) เจริญวัยและสามารถมีครอบครัวได้แล้ว[11]
จากข้อมูลที่นำเสนอมาทำให้เข้าใจได้ว่า บุตรสาวคนหนึ่งของอิมามฮุเซน() (รุก็อยยะฮ์/ฟาฏิมะฮ์) เสียชีวิตเคียงข้างศีรษะของพ่อ  ซากปรักหักพังในเมืองชาม โดยเด็กหญิงคนนี้มิไช่สะกีนะฮ์ที่มีชีวิตอยู่หลังเหตุการณ์กัรบะลา



[1] มุฟี้ด, มุฮัมมัด บิน นุอ์มาน, อัลอิรช้าด, รวมผลงานของเชคมุฟี้ด,เล่ม 2,หน้า 135, ดารุลมุฟี้ด, เบรุต,..1414
อิบนุ ชะฮ์รอชู้บ,มะนากิบ อาลิ อบีฏอลิบ, เล่ม 4,หน้า 77, สำนักพิมพ์ อัลลามะฮ์,กุม
เฏาะบัรซี, อะอ์ลามุ้ลวะรอ, เล่ม 1,หน้า 478, สถาบันอาลุลบัยต์, พิมพ์ครั้งแรก,..1417
อัซซุบัยรี, มุศอับ, นะซับกุร็อยช์,หน้า 59,ดารุลมะอาริฟ,ไคโร,พิมพ์ครั้งที่สาม
บะลาซุรี, อันซาบุลอัชร้อฟ,เล่ม 3,หน้า 1288, ดารุลฟิกร์, เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,..1417
สิบฏ์ บิน เญาซี, ตัซกิเราะตุ้ลเคาะว้าศ, หน้า, 249, สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์,เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,..1401

[2] อัลอิรบิลี, กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์ ฟีมะอ์ริฟะติลอะอิมมะฮ์, เล่ม 2,หน้า 38,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยเราะซูลี,ตับรีซ,ตลาดมัสญิดญามิอ์

[3] กุมี, เชคอับบาส, นะฟะซุลมะฮ์มูม,หน้า 415,416, สำนักพิมพ์มักตะบะฮ์ฮัยดะรียะฮ์,พิมพ์ครั้งแรก,1379
อัลอีก้อด,ชาฮ์ ดับดุลอะซีมี,หน้า 179,สำนักพิมพ์ฟีรู้ซออบอดี,พิมพ์ครั้งแรก,..1411
ฮาอิรี, มะอาลิสซิบฏ็อยน์,เล่ม 2,หน้า 170,สำนักพิมพ์อันนุอ์มาน,เบรุต,..1412
กุมี,เชคอับบาส, มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 1,หน้า 807,สำนักพิมพ์ฮิจรัต,พิมพ์ครั้งที่สี่,..1411
เฏาะบะรี,อิมาดุดดีน, กามิล บะฮาอี,เล่ม 2,หน้า 179,สำนักพิมพ์มุศเฏาะฟะวี

[4] มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 45,หน้า 115 …یا اخی فاطم الصغیرة کلمّا فقد کاد قلبها ان یذوبا
อัลกุนดูซี,ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์,เล่ม 2,หน้า 421,สำนักพิมพ์ชะรีฟเราะฎี,พิมพ์ครั้งแรก,1371

[5] มุฟี้ด,มุฮัมมัด บิน นุอ์มาน, อัลอิรช้าด,เล่ม 2,หน้า 37, สำนักพิมพ์อิลมียะอ์อิสลามียะฮ์

[6] เฏาะบัรซี,อะอ์ลามุ้ลวะรอ,เล่ม 1,หน้า 418, สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์ และ มุฟี้ด,มุฮัมมัด บิน นุอ์มาน, อัลอิรช้าด,หน้า 25 และ อัลอิรบิลี,กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์,หน้า 157

[7] มูซะวี, อับดุรร็อซซ้าก, มักตะลุลฮุเซน(.), หน้า 397, สำนักพิมพ์บะศีเราะตี

[8] เพิ่งอ้าง

[9] ซะฮะบี, ตารีคุ้ลอิสลาม,เล่ม 7,หน้า 371, ดารุลกิตาบิลอะเราะบี,เบรุต,เลบานอน

[10] อบุลฟะร็อจ อิศฟะฮานี,มะกอติลุฏฏอลิบียีน, หน้า 94,119,133,167,   และ บะลาซุรี, อันซาบุลอัชร้อฟ,เล่ม 3,หน้า 362, และ อิบนิ ฮันนาน, อัษษิก้อต, เล่ม 4,หน้า 351, สำนักพิมพ์กุตุบุษษิกอฟะฮ์, และ อัลบุคอรี,ตารีคิสเศาะฆี้ร,เล่ม 1,หน้า 273, ดารุลมะอ์ริฟะฮ์,เลบานอน,เบรุต และ อัลอัศฟะรี,ตารีค เคาะลีฟะฮ์ บิน ค็อยยาฏ,หน้า 274, ดารุลฟิกร์,เบรุต และ มุฮัมมัด บิน สะอ์ด, เฏาะบะกอตุ้ลกุ้บรอ,เล่ม 8,หน้า 475,เบรุต และ อัลมัซนี,ตะฮ์ซีบุ้ลกะมาล,เล่ม 6,หน้า 397, สำนักพิมพ์ริซาละฮ์, และ อิบนิ อามิร,ตารีคุลมะดีนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 52 และ เล่ม 29,หน้า 69, ดารุลฟิกร์, ดามัสกัส, และ อิบนิ มากูลา, อิกมาลุ้ลกะมาล,เล่ม 4,หน้า 316, และ เล่ม 7,หน้า 107,ดารุลกิตาบิลอิสลามี,ไคโร และ มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 45,หน้า 47และหน้า 169,เบรุต และ กุมี, เชคอับบาส, มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 1,หน้า 547, สำนักพิมพ์ฮุซัยนี

[11] มุฟี้ด, มุฮัมมัด บินนุอ์มาน, อัลอิรช้าด,เล่ม 2,หน้า 22, แปลโดย เราะซูลี มะฮัลลอที,สำนักพิมพ์อิลมียะฮ์อิสลามียะฮ์, ดูระเบียน: บุตรธิดาของอิมามฮุเซน(.)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5123 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
    6303 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/20
    มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนักได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)ฉะนั้น
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6099 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6361 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    7659 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ใครคือผู้ฝังร่ายอันบริสุทธ์ของอิมามฮุเซน (อ.)
    6998 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    บรรดาผู้รู้มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันออกไปแต่ทัศนะที่สอดคล้องกับริวายะฮ์และตำราทางประวัติศาสตร์ก็คือทัศนะที่ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีนบุตรชายของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เป็นผู้ฝังศพของท่านณแผ่นดินกัรบะลากล่าวคือ  ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ล่องหนจากคุกของอิบนิซิยาดในกูฟะฮ์มายังกัรบาลาโดยใช้พลังเร้นลับเพื่อมาทำการฝังศพท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้เป็นบิดาของท่านและบรรดาชะฮีดเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ที่ว่า“ไม่มีใครสามารถอาบน้ำศพห่อกะฝั่นและฝังอิมามมะอ์ศูมได้นอกจากจะต้องเป็นอิมามมะอ์ศูมเช่นกัน”อิมามริฏอ (อ.) ได้กล่าวขณะถกปัญหากับบุตรของอาบูฮัมซะฮ์ว่า“จงตอบฉันว่าฮุเซนบินอลี (อ.) เป็นอิมามหรือไม่? เขาตอบว่า“แน่นอนอยู่แล้ว” อิมามได้กล่าวว่า“แล้วใครเป็นผู้ฝังศพของท่าน?”เขาได้กล่าวว่า“อลีบินฮุเซน (อ.)” อิมามได้ถามต่อว่า“ในเวลานั้นอลีบินฮุเซน (อ.) อยู่ที่ไหน?” เขาตอบว่า“อยู่ที่กูฟะฮ์และเป็นเชลยที่ถูกบุตรของซิยาดควบคุมตัวอยู่แต่ท่านได้ลอบเดินทางยังกัรบาลาโดยที่ทหารที่เฝ้าเวรยามไม่รู้ตัว  ท่านได้ทำการฝังร่างของบิดาหลังจากนั้นจึงได้กลับมายังคุกเช่นเดิมอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่าผู้ที่มอบอำนาจพิเศษแก่อลีบินฮุเซน (อ.) เพื่อให้สามารถเดินทางไปฝังบิดาของท่านที่กัรบะลาพระองค์ย่อมสามารถช่วยให้ฉันล่องหนไปยังแบกแดดเพื่อห่อกะฝั่นและฝังบิดาได้เช่นกันทั้งๆที่ในขณะนั้นฉันไม่ได้ถูกจองจำและไม่ได้ตกเป็นเชลยของใคร[1]ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงเนื้อหาฮะดิษดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) คือผู้ที่ฝังศพบิดาด้วยตัวของท่านเอง
  • ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
    8457 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    6248 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ
  • คำว่าศ็อฟในโองการ جَاء رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفّاً صَفّاً หมายความว่าอย่างไร?
    6235 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    คำดังกล่าวและคำอื่นๆที่มีรากศัพท์เดียวกันปรากฏอยู่ในหลายโองการ[1] คำว่า “ศ็อฟ” หมายถึงการเรียงสิ่งต่างๆให้เป็นเส้นตรง อาทิเช่นการยืนต่อแถว หรือแถวของต้นไม้[2] “ศ็อฟฟัน” ในโองการดังกล่าวมีสถานะเป็น ฮาล (ลักษณะกริยา)ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานได้ให้ความหมายไว้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้ หนึ่ง. มวลมะลาอิกะฮ์จะมาเป็นแถวที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามฐานันดรศักดิ์ของแต่ละองค์[3] สอง. หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮ์แต่ละชั้นฟ้า โดยจะมาทีละแถว ห้อมล้อมบรรดาญินและมนุษย์[4] สาม. บางท่านเปรียบกับแถวนมาซญะมาอะฮ์ โดยมะลาอิกะฮ์จะมาทีละแถวจากแถวแรก แถวที่สอง ฯลฯ ตามลำดับ[5]
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    13555 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59390 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33449 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...