การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7111
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10359 รหัสสำเนา 21379
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
คำถาม
อยากทราบว่า“ฮะดีษร็อฟอ์”คืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(..) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภท รวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่ม
ฮะดีษแรก แม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้าง แต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง โดยอิมามศอดิก(.) และอิมามริฎอ(.)รายงานจากท่านนบี(..) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์
เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้
ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้ หนึ่ง. ความผิดพลาด สอง.การหลงลืม สาม. สิ่งที่ไม่รู้ สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือก หก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำ เจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดี แปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลก เก้า. ความริษยา ตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก[i]
ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ล และมุบัยยัน ในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่า مالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)
ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(.) และอาอิชะฮ์



[i] กุลัยนี, อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 463 และ เชคเศาะดู้ก,เตาฮี้ด,หน้า 353, และ เชคเศาะดู้ก,คิศ้อล,เล่ม 2,หน้า 417, และ มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 280,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต, ..1404

عن ابی عبدالله علیه السلام قال، قال رسول الله صلی الله علیه و آله: رفع عن امتی تسعة: الخطأ و النسیان، و ما اکرهوا علیه، و ما لا یطیقون، و ما لا یعلمون، و ما اضطروا الیه، و الحسد، و الطیرة و التفکر فی الوسوسة فی الخلق ما لم ینطق بشفة

คำตอบเชิงรายละเอียด

ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(..) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภท รวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่ม
ฮะดีษแรก แม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้าง แต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง โดยอิมามศอดิก(.) และอิมามริฎอ(.)รายงานจากท่านนบี(..) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์

เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้
ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้ หนึ่ง. ความผิดพลาด สอง.การหลงลืม สาม. สิ่งที่ไม่รู้ สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือก หก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำ เจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดี แปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลก เก้า. ความริษยา ตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก

อย่างไรก็ดี ยังมีฮะดีษบทอื่นๆที่ระบุว่ามีข้อผ่อนผันเพียงสามหรือสี่ประการ ซึ่งโดยรวมแล้วไม่แตกต่างกันเท่าใดนักในแง่เนื้อหา เนื่องจากฮะดีษที่ระบุข้อผ่อนผันน้อยกว่าอาจเจาะจงเพียงประการสำคัญที่สุดเท่านั้น
ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ล และมุบัยยัน ในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่า مالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)[1]

ข้อคิดแรกเกี่ยวกับฮะดีษข้างต้นก็คือ สำนวนฮะดีษสื่อถึงความเมตตาพิเศษ (อิมตินาน) ของอัลลอฮ์ที่ทรงผ่อนผันให้ประชาชาติของท่านนบี(..)เป็นการพิเศษ

ส่วนประเด็นที่ว่าการผ่อนผันในที่นี้หมายความว่าอย่างไร มีข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้:

บางท่านเชื่อว่า เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษ ทำให้ทราบว่าสิ่งที่ได้รับการผ่อนผันจะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะแห่งนุบูวะฮ์ นั่นหมายความว่าจะต้องเป็นประเด็นนิติบัญญัติทางศาสนา ที่ผู้บัญญัติ (อัลลอฮ์) สามารถกำหนดหรือเพิกถอนได้เนื่องจากอยู่ในฐานะผู้บัญญัติ ฉะนั้น การเพิกถอนในที่นี้จึงมิไช่การเพิกถอนการตำหนิเพราะการตำหนิเป็นลิขิตภาวะมิไช่ประเด็นนิติบัญญัติทางศาสนา จึงไม่น่าจะไช่จุดประสงค์ขององค์ผู้บัญญัติ นอกจากจะมองว่าพระองค์เพียงต้องการจะแจ้งให้ทราบซึ่งก็ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษ เว้นแต่จะมองว่าการเพิกถอนการตำหนิหมายถึงการเพิกถอนเหตุที่ทำให้ตำหนิ ซึ่งก็คือฮุก่มทางศาสนาที่พระองค์กำหนดนั่นเอง สรุปคือ สิ่งที่ถูกเพิกถอนนั้นมิไช่การตำหนิแต่เป็นฮุก่มชะรีอัต[2]

อัลลามะฮ์ มัจลิซีกล่าวว่าการเพิกถอนในที่นี้อาจหมายถึงการเพิกถอนการตำหนิหรือลงโทษ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าในบางประการหมายถึงการเพิกถอนสิ่งนั้นๆ หรือผลลัพธ์ หรือฮุก่มของมันเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ทำการศึกษาเนื้อหาฮะดีษข้างต้นทีละข้อในหมวดว่าด้วยหลักบะรออะฮ์แต่สิ่งที่เป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ก็คือนัยยะของการเพิกถอนทั้งนี้หากเราจะถือว่าประการเหล่านี้ถูกเพิกถอนจากประชาชาติอย่างสิ้นเชิง ในลักษณะที่จะไม่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาตินี้อีกต่อไป ย่อมไม่ถูกต้องนักเนื่องจากเป็นที่ทราบดีว่ายังมีสภาวะเหล่านี้อยู่ในสังคม 

บางท่านเชื่อว่าการเพิกถอนในที่นี้ครอบคลุมผลลัพธ์ของฮุก่ม (ทั้งศาสนบัญญัติและสถานะทางศาสนา) อย่างไรก็ดี ในกรณีพิเศษเช่น การฆ่าโดยไม่เจตนา หรือการสุญูดซะฮ์วีซึ่งมีฮุก่มระบุไว้ก่อนแล้วนั้น อยู่นอกนัยยะของการเพิกถอนที่เรากำลังกล่าวถึง

อนึ่ง ประเด็นหลักที่มักจะศึกษากันในวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ก็คือสำนวน ما لایعلمون ซึ่งได้บทสรุปว่า เราไม่มีหน้าที่ใดๆต่อฮุก่มที่เราคลางแคลง แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเพียรพยายามศึกษาอย่างเต็มที่แล้วเสียก่อน อัลลามะฮ์มัจลิซีกล่าวว่า ข้อคิดอีกประการหนึ่งของฮะดีษนี้ก็คือ ความเป็นประชาชาติของท่านนบีอาจมิไช่เงื่อนไขสำหรับข้อเพิกถอนทุกประการในฮะดีษนี้ แต่หมายความว่าภาพรวมของสภาวะเหล่านี้เจาะจงเฉพาะประชาชาตินบีเท่านั้น แม้บางประการจะเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมระหว่างประชาชาติของนบี(..)กับประชาชาติอื่นๆก็ตาม...[3]

ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นฮะดีษที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(.) และอาอิชะฮ์ เนื้อหาฮะดีษนี้ระบุว่า เมื่อเคาะลีฟะฮ์ที่สองพิพากษาให้เฆี่ยนหญิงวิกลจริตเนื่องจากกระทำผิดบางประการ ท่านอิมามอลี(.)ได้อ้างฮะดีษของท่านนบี(..)ที่ว่า สามบุคคลได้รับการเพิกถอน 1.เด็กจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ 2.คนวิกลจริตจนกว่าจะคืนสติ 3.คนหลับจนกว่าจะตื่น[4]

 

 



[1] ดูในหมวด บะรออะฮ์

[2] มุนตะซะรี,ฮุเซนอลี,นิฮายะตุ้ลอุศู้ล, บันทึกวิชาอุศู้ลอายะตุลลอฮ์บุรูเญรดี,เล่ม 1,2,หน้า 583-584 ,สำนักพิมพ์ตะฟักกุร,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1415

[3] ดู: บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 280

[4] เชคเศาะดู้ก,อัลคิศ้อล,เล่ม 1,หน้า 93-94, อลีอักบัร ฆิฟารี,กุม,1362 และ ฮุร อามิลี,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 28,หน้า 24,สถาบันอาลุ้ลบัยต์,กุม,..1409 และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 30,หน้า 681,

و روینا عن علی ع أنه قال قال رسول الله ص رفع القلم عن ثلاثة عن النائم حتى یستیقظ و عن المجنون حتى یفیق و عن الطفل حتى یحتلم

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...