การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8346
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10521 รหัสสำเนา 20025
คำถามอย่างย่อ
กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
คำถาม
กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
คำตอบโดยสังเขป
ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมี มีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)
ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้ เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(..)บ่งบอกว่าตำแหน่งดังกล่าวว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกอะฮ์ลุลบัยต์มานั่งใต้ผ้าคลุมในสถานที่ๆมีเพียงบุคคลเหล่านี้เท่านั้น อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงอิมามอลีในฐานะผู้สืบทอดอีกด้วย และจบท้ายด้วยประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนบี(..)กับอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน
ส่วนภาวะปลอดบาปของบุคคลเหล่านี้ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยสำนวนที่ว่า وَ اَذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَ طَهِّرْهُمْ تَطْهیراً สรุปคือ ฮะดีษนี้มีความสำคัญในสองแง่มุม นั่นคือประเด็นอิมามัตและอิศมัต
คำตอบเชิงรายละเอียด

มีรายงานมากมายที่กล่าวถึงฮะดีษกิซาอ์โดยสังเขป[1] ทุกบทรายงานตรงกันว่า ท่านนบี(..) ได้เรียกอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.) มาอยู่ใต้ผ้าคลุมร่วมกับท่าน แล้วกล่าวว่า
โอ้อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้คือคนในครอบครัวของข้าพระองค์ ขอทรงขจัดมลทินให้ห่างจากพวกเขาทันใดนั้นเอง โองการนี้ก็ประทานแก่ท่าน إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ نازل گردید

ฮากิม ฮัสกานี ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้รายงานฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ชะวาฮิดุตตันซี้ล[2] และซัยยิด บิน ฏอวู้ส[3]ก็ได้รายงานฮะดีษดังกล่าวจากสายรายงานที่หลากหลาย
แต่สิ่งที่เราจะกล่าวถึง  ที่นี้ก็คือฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาส กุมี
รายงานชิ้นนี้มีความสำคัญในสองแง่มุมเป็นพิเศษ

1. พิสูจน์ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์
ในเบื้องต้น ฮะดีษกิซาอ์บ่งบอกถึงประเด็นอิมามัตและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ โดยได้จำกัดตำแหน่งนี้ไว้เฉพาะบุคคลดังกล่าว
. ความเป็นอิมามของอะฮ์ลุลบัยต์:  ท่านนบี(..)กล่าวถึงภาวะผู้นำของอิมามอลี(.)ในหลายเหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งฮะดีษกิซาอ์ก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์เหล่านั้น ท่อนหนึ่งของฮะดีษนี้ระบุว่าท่านนบี(..)กล่าวถึงอิมามอลี(.)ว่าเป็นน้องชาย เคาะลีฟะฮ์ และผู้ถือธงชัยของท่าน[4] ท่านต้องการจะให้ผู้คนทราบถึงฐานันดรและความสำคัญของอะฮ์ลุลบัยต์ เพื่อจะได้รักษาเกียรติยศของพวกเขาภายหลังจากท่าน จึงได้รวบรวมบุคคลดังกล่าวไว้ใต้ผ้าคลุมพร้อมกับกล่าวว่า บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นสมาชิกครอบครัว คนพิเศษ และวงศ์วานของฉัน เนื้อพวกเขาคือเนื้อของฉัน เลือดพวกเขาคือเลือดของฉัน ผู้ใดทำให้พวกเขาเจ็บปวดเท่ากับทำให้ฉันเจ็บปวด ผู้ใดทำให้พวกเขาโศกเศร้า เท่ากับทำให้ฉันโศกเศร้า ฉันรบกับผู้ที่ก่อสงครามกับพวกเขา และสันติกับผู้ที่สานสันติกับพวกเขา จึงขอให้พระองค์ทรงประสาทพร และมอบบะเราะกัตและความรัก และความอภัยโทษแก่ข้าพระองค์และพวกเขา

. จำกัดกรอบตำแหน่งอิมามัต:  หลังจากที่อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน  อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (.) เข้าพบท่านนบี(..) ท่านได้คลุมบุคคลเหล่านี้ด้วยผ้าคลุมเยเมน และขอพรจากพระองค์ให้พวกเขาหลุดพ้นจากมลทินทั้งปวง เป็นเหตุให้อัลลอฮ์ทรงประทานโองการลงมา คำถามก็คือ พฤติกรรมดังกล่าวของท่านนบี(..) มีเหตุผลรองรับหรือไม่? หรือว่าปราศจากเหตุผลใดๆรองรับ?
แน่นอนว่าบุคคลที่ยิ่งใหญ่อย่างท่านนบี(..)ย่อมไม่กระทำสิ่งใดโดยปราศจากเหตุผลอย่างแน่นอน[5] เมื่อพิจารณาถึงประโยคก่อนและหลังโองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ... จะพบว่าท่านประสงค์จะจำแนกอะฮ์ลุลบัยต์ออกจากบุคคลทั่วไป และต้องการจะสื่อว่าโองการดังกล่าวจำกัดเฉพาะบุคคลเหล่านี้เท่านั้น เพื่อไม่ให้ผู้ใดเข้าใจผิดคิดว่าสมาชิกครอบครัวของท่านนบีทั้งหมดทุกคนเป็นอะฮ์ลุลบัยต์  ทั้งนี้ ถ้าหากท่านนบีไม่ได้จำแนกเช่นนั้น อาจทำให้บางคนเข้าใจว่าภรรยานบีและเครือญาติคนอื่นๆของท่านอยู่ในกรอบความหมายของโองการด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีรายงานว่า ท่านนบี(..) กล่าวย้ำถึงสามครั้งว่าโอ้ อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพระองค์ ขอทรงขจัดมลทินจากพวกเขาเทอญ[6]
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากตำราอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ว่า ท่านนบี(..) แวะมาเคาะประตูบ้านของอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) โดยพร่ำกล่าวว่า 

السلام علیکم أهل البیت و رحمة الله و برکاته ، الصلاة رحمکم الله »، إنما یرید الله لیذهب عنکم الرجس أهل البیت و یطهرکم تطهیرا[7] [8]

2. พิสูจน์ภาวะปลอดบาป (อิศมัต)
อีกแง่มุมหนึ่งที่สะท้อนจากฮะดีษกิซาอ์ก็คือภาวะปลอดมลทินของอะฮ์ลุลบัยต์และบรรดาอิมาม ทั้งนี้ จากการที่ฮะดีษดังกล่าวเป็นเหตุที่โองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ ประทานลงมา ฉะนั้น ในเมื่อโองการดังกล่าวบ่งบอกถึงภาวะปลอดบาป ฮะดีษนี้ก็บ่งบอกในทำนองเดียวกัน
นักอรรถาธิบายบางคนจำกัดความหมายของริจส์เพียงแค่การตั้งภาคี หรือบาปใหญ่ที่น่ารังเกียจเช่น ซินา...ฯลฯ ทว่าจริงๆแล้วไม่มีเหตุผลใดรองรับการจำกัดความหมายเช่นนี้ ความหมายเชิงกว้างของ ริจส์ (เมื่อคำนึงว่ามีอลีฟลามที่ให้ความหมายเชิงกว้าง) ครอบคลุมถึงมลทินและบาปกรรมทั้งปวง เนื่องจากบาปทุกชนิดล้วนถือเป็นมลทินทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้กุรอานจึงใช้คำนี้กับการตั้งภาคี การดื่มสุราเมรัย การพนัน การหน้าไหว้หลังหลอก และเนื้อสัตว์ที่ผิดบทบัญญัติ[9]

อีกมุมหนึ่ง ด้วยเหตุที่พระประสงค์ทุกประการของอัลลอฮ์จะต้องบังเกิดขึ้น ฉะนั้น ประโยค إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ จึงบ่งบอกถึงพระประสงค์ที่ต้องบังเกิดขึ้น โดยเฉพาะการที่มีคำว่า انّما ปรากฏอยู่ ซึ่งให้ความหมายเชิงเจาะจง ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะต้องบันดาลให้อะฮ์ลุลบัยต์หลุดพ้นจากมลทินทั้งปวง และนี่ก็คือภาวะปลอดบาปนั่นเอง

ที่น่าสนใจก็คือ พระประสงค์ในโองการนี้มิไช่พระประสงค์ประเภทเดียวกับบทบัญญัติฮะล้าลฮะรอม (พระประสงค์เชิงขะรีอัต) เนื่องจากบทบัญญัติศาสนาครอบคลุมถึงบุคคลทั่วไปมิได้เจาะจงอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ที่มีการใช้คำว่า انّما
ฉะนั้น พระประสงค์อันต่อเนื่องนี้จึงหมายถึงการช่วยเหลือประเภทหนึ่งจากอัลลอฮ์ ที่ทำให้อะฮ์ลุลบัยต์สามารถรักษาภาวะปลอดบาปไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มิได้ขัดต่อหลักอิสรภาพของมนุษย์ในการเลือกกระทำ

อันที่จริงนัยยะของโองการดังกล่าวก็ปรากฏในบทซิยารัตญามิอะฮ์เช่นกันอัลลอฮ์ทรงปกป้องพวกท่านจากความเฉไฉ และให้พ้นจากความเสื่อมเสีย และชำระให้ปลอดจากมลทิน และผลักไสราคะให้ห่างไกลจากพวกท่าน เพื่อให้บริสุทธิหมดจด[10]
ด้วยคำอธิบายที่นำเสนอไปแล้ว คงไม่เหลือข้อกังขาใดๆเกี่ยวกับภาวะปลอดบาปของอะฮ์ลุลบัยต์อีกต่อไป[11]
ฉะนั้น จึงกระจ่างแล้วว่าฮะดีษกิซาอ์มีความสำคัญต่อการพิสูจน์หลักอิมามัตและภาวะปลอดบาปของอะฮ์ลุลบัยต์เพียงใด



[1] ฮะละบี,ฮะซัน บิน ยูซุฟ, นะฮ์ญุลฮักก์ วะกัชฟุศศิดก์, หน้า 228-229, สถาบันดารุลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407 ในหนังสือมุสนัด อะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้รายงานฮะดีษจากหลากสายรายงาน ส่วนหนังสือ อัลญัมอ์ บัยนัศ ศิฮาฮิส ซิตตะฮ์ รายงานจากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ว่า ฟาฏิมะฮ์ได้เข้าพบท่านนบี(..) ท่านกล่าวว่า เธอจงเรียกสามีและลูกชายทั้งสองคนมาด้วย ขณะที่ทั้งหมดอยู่ใต้ผ้าคลุม โองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَیْتِ وَ یُطَهِّرَکُمْ تَطْهِیراً ก็ประทานลงมา ท่านนบีจับปลายผ้าคลุมแล้วชี้ไปที่เบื้องบนพร้อมกับกล่าวว่า คนเหล่านี้แหล่ะคืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพระองค์ ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์เล่าว่า ฉันได้ก้มศีรษะเพื่อจะเข้าไปอยู่ใต้ผ้าคลุมด้วย แล้วถามท่านนบีว่า ดิฉันเป็นอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยหรือไม่คะ? ท่านตอว่า เธออยู่ในสถานะที่ดี (ทว่ามิได้อยู่ในกรอบอะฮ์ลุลบัยต์) เนื้อหาเดียวกันนี้รายงานในเศาะฮี้ห์ อบี ดาวู้ด และ มุวัฏเฏาะอ์ มาลิก, และเศาะฮี้ห์มุสลิม โดยอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน

[2] ฮัสกานี, ฮากิม, ชะวาฮิดุตตันซี้ล ลิกอวาอิดุตตัฟฎี้ล, เล่ม 2,หน้า 17, เตหราน,..1411

[3] ซัยยิด บินฏอวู้ส, อัฏเฏาะรออิฟ ฟี มะอ์ริฟะติล มะซาฮิบิฏ เฏาะวาอิฟ,เล่ม 1,หน้า 124, สำนักพิมพ์คัยยอม,..1400

[4] قالَ لَهُ وَعَلَیْکَ السَّلامُ یا اَخى یا وَصِیّى وَخَلیفَتى وَصاحِبَ لِواَّئى

[5] อันนัจม์, 3,4 และเขา(นบี) ไม่พูดบนพื้นฐานของกิเลส ทุกวาจานั้นมิไช่อื่นใดนอกจากวะฮีย์

[6] اللهم هؤلاء أهل بیتی و خاصتى فاذهب عنهم الرجس و طهرهم تطهیر เชคเศาะดู้ก, อะมาลี, สำนักพิมพ์อะอ์ละมี, เบรุต ..1400

[7] อะฮ์ซาบ,33

[8] ฏ็อบรอนี, อัลมุอ์ญัม อัลเอาสัฏ, เล่ม 17,หน้า 438, ฮะดีษที่ 8360

[9] ฮัจญ์,30 มาอิดะฮ์,90 เตาบะฮ์,125 อันอาม,145

[10] عصمکم اللَّه من الذلل و آمنکم من الفتن، و طهرکم من الدنس، و اذهب عنکم الرجس، و طهرکم تطهیرا

[11] มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์, เล่ม 17,หน้า 298, ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งแรก,..1374

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
    9164 เทววิทยาใหม่ 2554/07/07
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
    5921 تاريخ کلام 2555/03/18
    มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้ อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย” สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง” ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    5960 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    7318 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • อะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงบุคคลกลุ่มใด?
    11559 ปรัชญาอิสลาม 2554/06/28
    คำว่า“อะฮ์ลุลบัยต์”เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอานฮะดีษและวิชาเทววิทยาอิสลามอันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(ซ.ล.) ความหมายนี้มีอยู่ในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์33ซูเราะฮ์อะห์ซาบ).นักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมดและฝ่ายซุนหนี่บางส่วนแสดงทัศนะฟันธงว่าโองการดังกล่าวประทานมาเพื่อกรณีของชาวผ้าคลุมอันหมายถึงตัวท่านนบีท่านอิมามอลีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน. อะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้จึงหมายถึงบุคคลเหล่านี้ (อ้างจากฮะดีษที่รายงานจากอิมามอลีอิมามฮะซันอิมามฮุเซนอิมามซัยนุลอาบิดีนและอิมามท่านอื่นๆรวมทั้งที่รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์อาอิชะฮ์อบูสะอี้ดคุดรีอิบนุอับบาสฯลฯ) นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ระบุว่าอะฮ์ลุลบัยต์หมายรวมถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดี(อ.)ด้วยเช่นกัน. ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7922 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9128 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • อะไรคือสัญญาณของพระเจ้า ที่อยู่ในท้องฟ้าและแผ่นดิน?
    11204 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ท้องฟ้าและแผ่นดิน และทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในนั้น ทว่าทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดเป็นสัญญาณ ที่บ่งบอกให้เห็นพลานุภาพของพระเจ้า สัญญาณต่างๆ นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถคำนวณนับได้หมดสิ้น อัลกุรอาน ได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเรียนรู้จักสัญญาณเหล่านั้น ทั้งความกว้างไพศาล จำนวนกาแลคซี่ต่างๆ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์, หมู่ดวงดาวต่างๆ และสิ่งมหัศจรรย์อีกจำนวนมากในนั้น การประสานกันของมวลเมฆ การเกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และฟ้าแลบ พร้อมประโยชน์มหาศาลของมัน การสร้างมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ ที่สลับซับซ้อนที่สุด ในขบวนการสร้างของพระองค์ การดำรงชีพและวัฎจักรชีวิตของผึ้ง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งสัญญาณของพระองค์ ที่บ่งบอกให้เห็นความรู้ วิทยญาณ และความปรีชาญาณของพระองค์ ...
  • ฮะดีษที่ระบุว่า ในยุคของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะมีผู้คนบางกลุ่มสูญเสียศรัทธา ส่วนกาฟิรบางกลุ่มรับอิสลามนั้น หมายถึงบุคคลกลุ่มใดบ้าง?
    7794 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/04/02
    ฮะดีษที่คุณอ้างอิงจากหนังสือมีซานุลฮิกมะฮ์นี้ รายงานมาจากหนังสือ“อัลฆ็อยบะฮ์”ของท่านนุอ์มานี ซึ่งต้นฉบับดังกล่าวระบุถึงสถานภาพของเหล่าสาวกในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ว่า “รายงานจากอิบรอฮีมเล่าว่า มีผู้รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)แก่ฉันว่า เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ กลุ่มผู้ที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสหายของท่านจะออกจากภารกิจนี้(การเชื่อฟังอิมาม) ส่วนกลุ่มที่คล้ายผู้บูชาสุริยันและจันทราจะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่านแทน”[1] แม้ว่าสายรายงานของฮะดีษนี้จะน่าเชื่อถือ แต่ยังถือว่าเป็นสายรายงานที่“มุรซั้ล”(ขาดตอน) เนื่องจากผู้รายงาน (อิบรอฮีม บิน อับดิลฮะมี้ดซึ่งเป็นสหายของอิมามกาซิม(อ.))นั้น กล่าวว่ารายงานจากบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ยินจากอิมามศอดิก(อ.) โดยผู้รายงานมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ฮะดีษข้างต้นจึงถือว่าขาดตอนในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหานั้น ฮะดีษข้างต้นมีใจความว่า ในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกายนั้น เหล่าสหายที่คิดว่าตนเองเป็นพรรคพวกของท่านจะบิดพริ้วไม่เชื่อฟังท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มิไช่ผู้ศรัทธา(ซึ่งฮะดีษใช้สำนวนว่า “เปรียบดังผู้บูชาสุริยันจันทรา”) กลับเลื่อมใสและเข้าสวามิภักดิ์ต่อท่าน และกลายเป็นสาวกแท้จริงที่ช่วยเหลือภารกิจต่างๆของท่าน กล่าวได้ว่าฮะดีษข้างต้นต้องการจะตำหนิกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าศรัทธาและภักดีต่อท่าน แต่แล้วเมื่อประสบกับการทดสอบในภาคปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะทนอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่านได้อีกต่อไป บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) แต่กลับต้องประสบกับความวิบัติอีกด้วย ซึ่งอาจจะหนักข้อถึงขั้นลุกขึ้นต่อต้านท่านอิมาม ทว่าในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เคยมีความศรัทธาบกพร่อง (กาฟิรและมุชริกีนบางกลุ่ม) อาจจะเอือมระอาต่อการอยู่ใต้อาณัติของผู้กดขี่ เมื่อได้เห็นรัฐบาลที่เที่ยงธรรมของอิมามก็อาจจะเข้ารับอิสลามและสวามิภักดิ์ต่อท่านก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษนี้ตามสายรายงานเดียวกันนี้ ทว่ามีข้อแตกต่างในเนื้อหาเล็กน้อยว่า: “เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้ บุคคลบางกลุ่มที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสาวกของท่านจะออกจากแนวทางของท่าน และแปรสภาพประดุจเหล่าผู้บูชาสุริยันและจันทรา”[2] กล่าวคือผู้ที่มีศรัทธาสั่นคลอนนั้น ...
  • กรุณาอธิบายสาเหตุและเงื่อนไขของวะลียุลฟะกีฮ์ ตลอดจนเหตุผลที่เลือกพณฯอายะตุลลอฮ์ อุซมา คอเมเนอี ขึ้นดำรงตำแหน่งวะลียุลฟะกีฮ์.
    6358 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    ในทัศนะของชีอะฮ์, วิลายะฮ์ของฟะกีฮ์(ผู้เชี่ยวชาญศาสนา)ในยุคที่อิมามเร้นกายนั้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากวิลายะฮ์ของบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ) กล่าวคือในยุคที่อิมามมะอ์ศูม(อ)ยังไม่ปรากฏกายหน้าที่การปกครองดูแลประชาคมมุสลิมจะได้รับการสืบทอดสู่บรรดาฟะกีฮ์ซึ่งฟุก่อฮา(พหูพจน์ฟะกีฮ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56838 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38416 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27129 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...