การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12395
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/31
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1061 รหัสสำเนา 15273
คำถามอย่างย่อ
จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
คำถาม
เหตุใดมุสลิมเราจึงเชื่อว่าพระเจ้าไม่ให้กำเนิดและไม่ถือกำเนิด ในขณะที่คริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้า ความขัดแย้งระหว่างสองศาสนานี้จะชี้แจงอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใด ศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน เหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด แน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตร เพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุ ซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะ และแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้
ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้น ชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึ่งในโองการของซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ฯกล่าวว่า อัลลอฮ์คือเศาะมัด”(ผู้เป็นที่พึ่งของสรรพสิ่งทั้งปวง[1]) นักอธิบายกุรอานบางท่านเชื่อว่า لم یلد و لم یولد  (มิได้ให้กำเนิดและมิได้ถือกำเนิด) เป็นการขยายความคำว่าเศาะมัด[2] ซึ่งสื่อว่า พระองค์เป็นที่พึ่งสูงสุดเนื่องจากมิได้ถือกำเนิดและมิได้ให้กำเนิด.

ในเชิงสติปัญญาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์ผู้เป็นที่พึ่งสูงสุด จะมีบิดาหรือบุตร เนื่องจากการที่สิ่งๆหนึ่งจะให้กำเนิดอีกสิ่ง ย่อมแสดงว่าสิ่งนั้นสามารถแบ่งส่วนได้ และทุกสิ่งที่แบ่งส่วนได้ย่อมมีองค์ประกอบเชิงวัตถุ กล่าวคือ เมื่อมีสัดส่วน ก็ไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากสัดส่วนของตน เพราะหากสัดส่วนต่างๆไม่ครบถ้วน สิ่งนั้นย่อมไม่บังเกิดขึ้น สรุปคือ ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าให้กำเนิดนั้น ถือเป็นโมฆะในแง่ของสติปัญญา เนื่องจากความเชื่อเช่นนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าพระเจ้ายังต้องพึ่งพาสิ่งอื่น ซึ่งขัดกับสถานะความเป็นพระเจ้า อันแสดงว่าผู้ที่เชื่อเช่นนี้ยังไม่รู้จักพระเจ้าอย่างแท้จริง

ส่วนที่ว่าพระเจ้ามิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดนั้น ก็เนื่องจากผู้ที่ถือกำเนิดย่อมต้องพึ่งพาผู้ให้กำเนิด นั่นหมายความว่า หากเราเชื่อว่าอัลลอฮ์ถือกำเนิดจากผู้อื่น แสดงว่าต้องพึ่งพาผู้นั้น ซึ่งเราได้อธิบายไปแล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระผู้เป็นปฐมเหตุที่ทุกสรรพสิ่งต้องพึ่งพา กลับต้องพึ่งพาผู้อื่นเสียเอง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงไม่อาจจะยอมรับได้ว่าพระเจ้าถือกำเนิด หรือให้กำเนิดผู้อื่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากพบคำสอนในศาสนาใดที่ขัดต่อหลักสติปัญญาที่ว่าพระเจ้าย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด และทุกสิ่งต้องพึ่งพาพระองค์ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถือว่าศาสนาที่มีคำสอนดังกล่าวถูกบิดเบือนจากแนวทางดั้งเดิม(แห่งเตาฮีด)เสียแล้ว
เราเชื่อว่าท่านนบีอีซา(.)และศาสนทูตทุกท่านเชื่อในเตาฮีด และเชิญชวนประชาชาติสู่หลักการแห่งลัมยะลิด วะลัมยูลัดทั้งสิ้น  กุรอานเล่าว่า ในวัยแบเบาะ ท่านนบีอีซา(.)ได้เอ่ยถ้อยคำปาฏิหารย์ที่ว่าฉันคือบ่าวของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แก่ฉัน และแต่งตั้งให้ฉันเป็นนบี[3] ฉะนั้น การที่คนกลุ่มหนึ่งมองข้ามเหตุผลทางสติปัญญาและถือว่าท่านเป็นบุตรของพระเจ้านั้น เกิดจากสาเหตุที่มีการเบี่ยงเบนแนวทางของศาสนาดังกล่าว ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าการเบี่ยงเบนเริ่มโดยนักบุญเปาโล
ในอดีต นักบุญเปาโลเคยเป็นยิวกลุ่มฟารีสี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับชาวคริสเตียนอย่างชัดเจนด้วยการทรมานและสังหารกลุ่มชาวคริสต์ ในช่วงเวลานี้เองที่นักบุญเปาโลเข้ารีตเป็นคริสเตียน และได้กลายเป็นนักเผยแพร่มือฉมัง เขาเผยแพร่คำสอนของพระเยซูในลักษณะที่สอดคล้องกับรสนิยมของบุคคลทั่วไปในยุคนั้น และพยายามอธิบายเหตุผลที่ตนเองเข้ารีตเป็นคริสเตียนด้วยเหตุผลจากคัมภีร์โตร่าห์(เตารอต) เขาเผยแพร่คริสตศาสนาเป็นเวลายี่สิบปี และใช้เวลาหลายปีในการเรียบเรียงมุขปาฐะและคำสอนต่างๆจากพระเยซูคริสต์
หลักคำสอนสำคัญของนักบุญเปาโลได้แก่
1. คริสตศาสนาเป็นศาสนาแห่งโลก
2. ตรีเอกานุภาพ อันส่งผลให้ต้องเชื่อว่าพระเยซูและพระจิตก็คือพระเจ้า
3. พระเยซูในฐานะพระบุตร อาสาลงมาไถ่บาปแทนมนุษย์
4. พระเยซูฟื้นคืนชีพจากสุสาน และขึ้นสู่ฟากฟ้าเคียงข้างพระบิดา
นักบุญเปาโลคือผู้วางรากฐานความเชื่อที่ว่าพระเยซูคือพระเจ้าคนแรก เขากล่าวว่าพระเยซูผู้ปลดปล่อย ได้สถาปนาอาณาจักรแห่งพระเจ้าบนพื้นพิภพ และหลังจากฟื้นคืนชีพแล้ว พระองค์จะกลับมาอีกครั้ง ฉะนั้น พระเยซูจึงเป็นผู้ปลดปล่อยโลกนี้และโลกหน้า พระองค์คือพระเจ้า ผู้มีอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งล้วนมาจากพระองค์[4]
ชาวคริสต์บางคนไม่สามารถยอมรับความเชื่อที่เบี่ยงเบนของนักบุญเปาโลได้ อัครสาวกของพระเยซูบางท่านแสดงท่าทีคัดค้านนักบุญเปาโลอย่างชัดเจน ความเชื่อที่นักบุญเปาโลพยายามเผยแพร่ว่าพระเยซูคือพระบุตรและเป็นพระเจ้านั้น อ่อนแอถึงขั้นที่คัมภีร์ไบเบิ้ลเองก็ไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อดังกล่าวได้เลย[5] ซ้ำร้ายยังสามารถที่จะใช้คัมภีร์ไบเบิ้ลหักล้างความเชื่อดังกล่าวได้ด้วย[6]

คัมภีร์ไบเบิ้ลประกอบด้วยพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมก็คือคัมภีร์ของชาวยิวที่เรียกว่าโตร่าห์(เตารอต)ซึ่งประกอบด้วย 39 บท ส่วนพันธสัญญาใหม่ก็คือคัมภีร์ ไบเบิ้ลอันเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งสองส่วนนี้ประกอบเป็นพระคัมภีร์ อันเป็นที่ยอมรับของชาวคริสเตียน
ในพันธสัญญาเดิมไม่มีเนื้อหาที่บ่งบอกว่าพระเยซูคือบุตรของพระเจ้าเลย ส่วนพันธสัญญาใหม่(ที่ชาวคริสเตียนอ้างว่ามีระบุไว้ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า)นั้น บางที่ก็มีนัยยะว่าพระเยซูคือมนุษย์ธรรมดา(และมิได้เป็นพระเจ้าหรือบุตรของพระเจ้า) และบางที่ก็มีนัยยะว่าพระเยซูคือพระเจ้าหรือพระบุตรของพระองค์
เราขอนำเสนอและวิพากษ์วิจารณ์ดังนี้
. พระเยซูในฐานะมนุษย์ปุถุชน
1. นี่คือบ่าวของข้า ซึ่งข้าได้คัดเลือกเขา และเป็นผู้ที่ข้ารักและพึงพอใจ[7]
2. ในหนังสือภารกิจ(ส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิ้ล)มีอยู่ว่าพระเจ้าของอับราม และอิสอัคและยาค็อบ พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเรา ได้เทิดเกียรติแก่เยซูผู้เป็นบ่าวของพระองค์[8]
เนื้อหาเหล่านี้ระบุชัดเจนว่าพระเยซูคือบ่าวที่ได้รับการคัดสรรโดยพระเจ้า

. พระเยซูในฐานะพระเจ้า
1. ในพระวรสารของนักบุญมาระโก 16:37-39 มีอยู่ว่าแท้ที่จริงแล้ว ชายผู้นี้(พระเยซู)คือบุตรของพระเจ้า[9]
สามารถวิเคราะห์ได้ว่า แม้ข้อความนี้จะระบุว่าเป็นพระบุตร แต่ต้องถือว่าบุตรในที่นี้เป็นความหมายเชิงอุปมาอุปไมย มิไช่ความหมายตรงตัว เนื่องจากในไบเบิ้ลยังมีระบุไว้ว่าแต่ส่วนบรรดาผู้ที่ต้อนรับพระองค์ พระองค์ทรงประทานอำนาจให้เป็นบุตรของพระเจ้า คือคนทั้งหลายที่เชื่อในพระนามของพระองค์

ซึ่งมิได้เกิดจากเลือด หรือความประสงค์ของเนื้อหนัง หรือความประสงค์ของมนุษย์ แต่เกิดจากพระเจ้า[10]
และอีกแห่งได้กล่าวว่าท่านที่รักทั้งหลาย ขอให้เรารักซึ่งกันและกัน เพราะว่าความรักมาจากพระเจ้า และทุกคนที่รักก็บังเกิดจากพระเจ้า และรู้จักพระเจ้า[11]

ฉะนั้น หากคุ้นเคยกับสำนวนของไบเบิ้ลจะทราบว่า ผู้ศรัทธาและผู้บำเพ็ญความดีทุกคนล้วนได้รับฐานะบุตรของพระเจ้าทั้งสิ้น แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่เคยมีใครประกาศว่าเหล่าผู้ศรัทธาก็เป็นคณะพระบุตรเสียที บุตรที่ระบุในโองการต่างๆเหล่านี้หาได้แตกต่างจากโองการที่ระบุว่าพระเยซูเป็นพระบุตรไม่  นอกจากผู้ศรัทธาแล้ว บุคคลบางคนยังได้รับการระบุว่าเป็นพระบุตรเช่นกัน อาทิเช่น โองการที่พระเจ้ากล่าวเกี่ยวกับศาสดาโซโลมอน(สุลัยมาน)ว่าเราจะเป็นบิดาของเขา และเขาจะเป็นบุตรของเรา[12] แต่ก็ไม่มีใครกล่าวอ้างว่าท่านศาสดาโซโลมอนเป็นพระบุตรแต่อย่างใด
ฉะนั้น แม้สมมติว่าไบเบิ้ลปัจจุบันเป็นคัมภีร์อินญีลของพระเยซู  แต่ก็ไม่สามารถจะใช้ยืนยันได้ว่าพระเยซูคือพระบุตรและพระเจ้าเป็นพระบิดา  ชี้ให้เห็นว่าการบิดเบือนดังกล่าวเกิดขึ้นในภายหลัง

. คัมภีร์ไบเบิ้ลมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันเอง ทำให้ไม่อาจจะยอมรับได้ว่าเป็นคัมภีร์จากฟากฟ้าทั้งหมด ดังตัวอย่างที่นำเสนอไปแล้วว่า บางโองการระบุว่าพระเยซูเป็นบ่าว แต่บางโองการระบุว่าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า(ในกรณีที่ยังยืนกรานจะตีความคำว่าบุตรในลักษณะการให้กำเนิด)
ความไม่ชอบมาพากลเหล่านี้เองที่ทำให้บาทหลวงคริสต์บางคนวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อดังกล่าว ดังที่บาทหลวงเอเรียสแห่งอเล็กซานเดรียได้แย้งความเชื่อนี้ในปีคศ. 325 ว่าพระเจ้าย่อมจำแนกจากสิ่งถูกสร้างทั้งปวง จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเยซูที่ถือกำเนิดเหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป และอาศัยบนโลก จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้าที่ท่านเพิ่งจะรู้จัก[13]
ข้อท้วงติงดังกล่าวส่งผลให้มีการประชุมสังคายนาใหญ่ที่นครนีเซีย ในที่สุดก็มีมติให้ความเชื่อเรื่องบุตรของพระเจ้ากลายเป็นหลักศรัทธาที่คริสตศาสนิกชนทุกคนต้องยึดถือ จึงกล่าวได้ว่า แม้ความเชื่อนี้จะนำเสนอโดยนักบุญเปาโลก็จริง แต่การประชุมดังกล่าวได้ตราให้ทัศนะของนักบุญเปาโลกลายเป็นหลักศรัทธาที่มิอาจปฏิเสธได้ อันส่งผลให้ทัศนคติดังกล่าวยังคงแพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนถึงทุกวันนี้
สรุปว่าไม่มีข้อขัดแย้งใดๆระหว่างศาสนาเทวนิยม แต่ศาสนาคริสต์ปัจจุบันได้ออกห่างจากคำสอนของนบีอีซา(.) เพราะมิเช่นนั้น เราจะได้เห็นว่าคำสอนของนบีอีซา(.)หาได้ผิดแผกไปจากอิสลามไม่ และจะประจักษ์ว่าอิสลามคือศาสนาที่สมบูรณ์ ที่จะเติมเต็มแก่ศาสนาทุกศาสนาในอดีต



[1] อัลอิคลาศ,2 แปลโดยอ.มะการิม ชีรอซี

[2] อัลมีซานฉบับแปล,เล่ม 20,หน้า 27, และ ตัฟซีรเนมูเนะฮ์,เล่ม 27,หน้า 439.

[3] มัรยัม,30 قالَ إِنِّی عَبْدُ اللَّهِ آتانِیَ الْکِتابَ وَ جَعَلَنی‏ نَبِیًّا

[4] ประวัติศาสนาและนิกาย,อับดุลลอฮ์ มุบัลลิฆี,เล่ม 2,บทชีวประวัตินักบุญเปาโล. และ ดู เว็บไซต์อิมามญะว้าด(.)

[5] แม้เราจะไม่สามารถยอมรับได้ว่าไบเบิ้ลปัจจุบันคือคัมภีร์อินญีลที่ประทานแก่นบีอีซา(.)

[6] รู้จักและศึกษาคริสตศาสนา,ฝ่ายเผยแพร่ของเฮาซะฮ์,หน้า 25.

[7] พระวรสาร นักบุญมัทธิว 12:18

[8] หนังสือกิจการอัครสาวก 3:13

[9] พระวรสาร นักบุญมาระโก 16:37-39

[10] พระวรสาร นักบุญยอห์น, 1:12,13

[11] จดหมายนักบุญยอห์น ฉบับที่หนึ่ง 4:7

[12] หนังสือพงศาวดาร 17:13

[13] http://en.wikipedia.org/wiki/First_Council_of_Nicaea

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7986 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • ความเชื่อคืออะไร
    17266 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6346 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
    8434 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม ...
  • มีการประทานโองการที่เกี่ยวกับอิมามอลี(อ.)ในเดือนใดมากที่สุด?
    7120 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทราบข้อสังเกตุดังต่อไปนี้ 1. โดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษที่กล่าวถึงเหตุแห่งการประทานโองการกุรอานมีสองประเภท หนึ่ง. เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ สอง. เล่าถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยมิได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ อย่างเช่นโองการที่เกี่ยวกับฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และอิมาม(อ.)ท่านอื่นๆ[1] 2. โองการกุรอานประทานลงมาสู่ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นระยะๆตามแต่เหตุการณ์ วันเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ทว่ามีบางโองการเท่านั้นที่มีฮะดีษช่วยระบุถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าว หรืออาจจะมีฮะดีษที่ระบุไว้แต่มิได้ตกทอดถึงยุคของเรา 3. มีโองการมากมายที่กล่าวถึงฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และมะอ์ศูมีน(อ.)ท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพิสูจน์และตีแผ่หลักการสำคัญอย่างเช่นหลักอิมามะฮ์ (ภาวะผู้นำภายหลังนบี) หากพิจารณาเหตุแห่งการประทานโองการต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าโองการที่กล่าวถึงฐานันดรภาพและภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)มักจะประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นโองการต่อไปนี้ หนึ่ง. يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ ...
  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    6689 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    9749 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6533 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5721 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56816 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38384 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...