การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7152
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11465 รหัสสำเนา 19927
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
คำถาม
ต้องการทราบว่า ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า 6 คน

รายชื่อเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ประกอบด้วย

1.ท่านหญิงชะฮฺริบานู, 2.ท่านหญิงลัยลา, 3. ภรรยาท่านหนึ่งที่มาจากชนเผ่า เกาะฎออียะฮฺ, ซึ่งเธอได้เสียชีวิตไปตั้งแต่สมัยที่ท่านอิมามยังมีชีวิตอยู่, 4. ท่านหญิงรุบาบ, 5.ท่านหญิงอุมมุอิสฮาก,

ภรรยาคนเดียวของท่านอิมาม (.) ที่อยู่ในเหตุการณ์กัรบะลาอฺอย่างแน่นอน คือ, ท่านหญิงรุบาบมารดาของอะลี อัซฆัร, ซึ่งหลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺแล้วเธอได้ถูกจับเป็นเชลย และถูกส่งตัวไปยังมะดีนะฮฺ, ส่วนท่านหญิงชะฮฺริบานูกับท่านหญิงลัยลานั้น ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าทั้งสองท่านได้อยู่ในกัรบะลาอฺหรือไม่.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ปัญหาดังกล่าวนี้สามารถพิจารณ์ได้ใน 2 ประเด็น   :

) จำนวนภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .)

) อธิบายสถานภาพเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .)

นักประวัติศาสตร์ผู้อาวุโสส่วนใหญ่   เช่น   ท่านเชคมุฟีดได้บันทึกไว้ในหนังสือ   เอรชาด   ของท่านว่าจำนวนภรรยาของท่านอิมมฮุซัยนฺ ( .) มีทั้งสิ้น 5 คน   ประด้วย   :

1. ท่านหญิงชะฮฺริบานู , 2. ท่านหญิงลัยลา , 3. ภรรยาท่านหนึ่งที่มาจากชนเผ่า   เกาะฎออียะฮฺ , 4. ท่านหญิงรุบาบ , 5. ท่านหญิงอุมมุอิสฮาก , [1]

ส่วนสถานภาพของเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ  

ตามประวัติศาสตร์สภาพชีวิตของเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) การเข้าร่วมในเหตุการณ์กัรบะลาอฺ   และหลังจากนั้น , มิได้มีบันทึกอยู่ในตำราทางประวัติศาสตร์   หรือในตำราอ้างอิงอื่นมากเท่าใดนัก , แต่จะของกล่าวในลักษณะกว้างๆ   ทั่วไปจากสถานภาพชีวิตของท่านเหล่านั้น

1. ท่านหญิงชะฮฺริบานู   : ท่านหญิงเป็นมารดาของท่านอิมามซัจญาด ( .) เกี่ยวกับสถานที่ถือกำเนิดและเชื้อชาติเดิมของท่านนั้นมีความขัดแย้งกันอยู่มาก , บางกลุ่มกล่าวว่านามชื่อของท่านหญิงคือ   เจ้าหญิง , ราชินี , ชะฮฺริบานู , และชะฮฺริบานูวียะฮฺ . ดังนั้น   ตามคำกล่าวของคนกลุ่มนี้จะเห็นว่าท่านหญิงคือ   ธิดาของ   Yazdegerd มหาจักรพรรดิองค์ที่ 3 ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง จักรวรรดิซาสซานิยะห์   ซึ่งมีรายงานที่กล่าวว่าหลังจากคลอดท่านอิมามซัจญาด ( .) แล้วเธอไม่สะบายอย่างหนักและเสียชีวิตในเวลาต่อมา [2]

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้จาก   หัวข้อการแต่งงานของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) กับท่านหญิงชะฮฺริบานู , คำตอบลำดับที่   19870 (ไซต์ : 19220)

2. ท่านหญิงลัยลา : มารดาของท่าน   อะลีอักบัร ( .) ซึ่งการเข้าร่วมเหตุการณ์กัรบะลาอฺและเหตุการณ์หลังจากนั้น   สำหรับท่านหญิงแล้วยังมีความเคลือบแคลงอยู่   ดังนั้นเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้   ศึกษาได้จากหัวข้อการปรากฏตัวของท่านหญิงลัยลามารดาของอะลีอักบัรในกัรบะลา , คำตอบลำดับที่   11901 ( ไซต์ : 11671)

3. ภรรยาท่านหนึ่งจากชนเผ่า   เกาะฎออียะฮฺ

4. ท่านหญิงอุมมุอิสฮาก : บุตรีของฏ็อลฮะฮฺ   บิน   อุบัยดิลลาฮฺ : เธอมาจากเผ่าตัยยิม   เธอเป็นมารดาของฟาฏิมะฮฺบุตรีของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ซึ่งมิได้อยู่ในเหตุการณ์กัรบะลาอฺ

5.   ท่านหญิงรุบาบ   : ตามคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์   ท่านหญิงรุบาบ , บุตรีของอัมเราะอุลเกส   บุตรของอะดีย์ , เธอเป็นภรรยาท่านหนึ่งของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) และเป็นมารดาของสุกัยนะฮฺ   และอะลีอัซฆัร ( อับดุลลอฮฺ ) เธอได้ร่วมเดินทางไปกัรบะลาอฺ   และถูกจับเป็นเชลยไปยังเมืองชาม , หลังจากนั้นถูกส่งตัวไปกลับไปยังมะดีนะฮฺ   เธอได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) เป็นเวลานานถึง 1 ปี   เธอได้แต่งบทกวีเกี่ยวกับท่านอิมามฮุซัยนฺ   มีผู้ร่ำรวยและเป็นผู้อาวุโสมีหน้าทีตาชาวกุเรชหลายคนได้สู่ขอเธอแต่งงาน   แต่เธอปฏิเสธทั้งหมดโดยไม่พร้อมจะแต่งงานกับชายใดอีก   เธอได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมาม ( .) และร่ำไห้อยู่นาน   เธอไม่เคยเข้าไปอยู่ในร่มเลย   และเป็นเพราะความเสียใจและความทุกข์ทรมานใจที่ได้รับจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺ   และการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) หนึ่งปีหลังจากนั้น ( ปีฮ . . 62) เธอได้อำลาจากโลกไป [3]

ตัวอย่างบทกวีของท่านหญิงรุบาบ   ที่กล่าวถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ซึ่งเธอได้เริ่มต้นเช่นนี้ว่า   :

انّ الذى کانَ نورا یُستَضاءُ به             فى کَربلاء قتیل غیرُ مَدفونِ‏

سِبطُ النبىّ جَزاکَ اللّه صالِحة             عَنّا و جُنّبتَ خُسرانَ المَوازین...

ผู้ซึ่งส่งประกายรัศมีอันเจิดจรัส   ถูกสังหาร     แผ่นดินกัรบะลาอฺโดยมิได้ถูกฝังร่าง

โอ้   หลานรักของท่านศาสดา   อัลลอฮฺทรงประสงค์จากเราให้ท่านเป็นรางวัลของความดี   และให้ความเสียหายห่างไกลไปจากท่าน [4]

สำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ได้มีการกล่าวถึงภรรยาคนอื่นของท่านไว้ด้วย   ซึ่งเธอกำลังตั้งครรภ์บุตรคนหนึ่งของท่านอิมาม ( .) นามว่า มุฮฺซิน แต่นางได้แท้งบุตรเสียก่อนในบริเวณใกล้ๆ   กับเมือง   ฮะลับ   ในสถานที่หนึ่งนามว่า   เญาชัน   ซึ่งเป็นบริเวณที่มีแร่ธาตุทองแดงมากเป็นพิเศษ , และอาจเป็นไปได้ว่าภรรยาคนนี้ของท่านอาจเป็นภรรยาคนหนึ่งซึ่งเราได้อธิบายไปแล้ว , ฮัมมะวีย์   ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลบุลดาล ว่า   : เญาชันคือ   ภูเขาหนึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมืองฮะลับ , เมื่อเชลยแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ ( .) ได้ถูกต้อนผ่านบริเวณนั้น   ภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่   ได้ขอน้ำและอาหารจากพวกเขา   แต่พวกเขากล่าวคำพูดไม่ดีกับเธอ   และขัดขวางไม่ให้น้ำและอาหารแก่เธอ , หลังจากนั้นภรรยาของพวกเขาได้สาปแช่งพวกเขา   และแผ่นดินก็สูญสิ้นแร่ธาตุ , และสถานที่นั้นก็กลายมีชื่อเรียกว่า   สถานที่แท้ง   หรือ   มัชฮะดุดดะกะฮฺ [5]



[1]   เชคมุฟีด , มุฮัมมัด   บุตรของมุฮัมมัด   บุตรของนุอฺมาน , เอรชาด , เล่ม 2, หน้า 135, สัมมนาอัตรชิวประวัติเชคมุฟีด , กุม , . . 1413

[2]   รอวันดี , กุฎบุดดีน , อัลเคาะรอญิอฺ   วัลบะรอญิฮฺ , เล่ม 2, หน้า 750, สถาบันอิมามมะฮฺดียฺ ( .), กุม , ปีฮ . . 1409

[3]   อิบนุ   อะซีร , อิซซุดดีน , อัลกามิล , เล่ม 4, หน้า 88, ดารุลซอดิร , เบรูต , ปีฮ . . 1385.

[4]   ซัยยิด   มุฮฺซิน   อะมีน , เล่ม 6, หน้า 449, ดารุลตะอารีฟ , เบรูต , ปีฮ . . 1406.

[5]   ฮะมะวีย , ยากูต , มุอฺญิมบุลดาล , เล่ม 2, หน้า 186, ดารุลซอดิร , เบรูต , . . 1995.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7259 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
    22981 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์ ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร ...
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    6943 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่านซูเราะฮ์ต่าง ๆ ที่มีสุญูดวาญิบในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถทำการสุญูดได้อย่างไร?
    6974 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
     มัรญะอ์ตักลีดทุกท่านมีความเห็นว่าเป็นวาญิบสำหรับทุกคนที่จะต้องสุญูดหลังจากการอ่านหรือฟังอายะฮ์ที่วาญิบจะต้องสุญูดท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “ในซูเราะฮ์ “อันนัจม์, อัลอะลัก, อลีฟลามมีมตันซีลและฮามีมซัจดะฮ์” จะมีหนึ่งอายะฮ์ที่หากใครก็ตามได้อ่านหรือฟังอายะฮ์เหล่านี้จะต้องทำการสุญูดทันทีหลังจากที่อายะฮ์ดังกล่าวจบลงและหากหลงลืมจะต้องทำการสุญูดเมื่อนึกขึ้นได้[1]มัรญะอ์บางท่านได้กล่าวว่า “แม้หากได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจหรือได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวอย่างผิวเผินเป็นอิฮ์ติญาดวาญิบที่จะต้องทำการสุญูด[2]อนึ่งในการสุญูดวาญิบของกุรอานไม่สามารถสุญูดบนอาหารหรือเครื่องแต่งกายแต่ไม่จำเป็นที่จะทำตามเงื่อนไขข้ออื่นๆ[3]ของการสุญูดในนมาซเช่นไม่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำละหมาดหรือหันหน้าไปทางกิบลัตอีกทั้งไม่วาญิบที่จะต้องอ่านอะไรและหากกระทำเพียงแตะหน้าผากบนพื้นโดยมีเจตนาที่จะสุญูดโดยไม่ได้อ่านอะไรก็ถือว่าเพียงพอแล้ว[4]ดังนั้นหากไม่สามารถสุญูดเช่นนี้ได้จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเช่นขอร้องไม่ให้นักกอรีอ่านซูเราะฮ์ที่มีสุญูดวาญิบในงานเช่นนี้หรือผู้จัดงานจะต้องหาสถานที่จัดงานที่ผู้เข้าร่วมในงานสามารถทำสุญูดได้เมื่อมีการอันเชิญอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบและหากไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้ฟังจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะได้ยินอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบเองเช่นเมื่อจะมีการอ่านอายะฮ์หรือซูเราะฮ์ดังกล่าวให้รีบเดินออกจากงานทันทีเพื่อไม่ต้องสุญูด[1]
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11874 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    6564 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • ขณะลงซัจญฺดะฮฺ จะต้องเอาอวัยวะส่วนใดลงพื้นก่อนซัจญฺดะฮฺ?
    5868 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    การซัจญฺดะฮฺเป็นหนึ่งในวาญิบของนมาซ, ซึ่งมีองค์ประกอบและเงื่อนไขวาญิบและมุสตะฮับหลายประการ, เช่น หนึ่งในบางประการที่ถือว่าเป็นมุสตะฮับของซัจญฺดะฮฺ, กล่าวคือ ชาย ขณะลงซัจญฺดะฮฺให้เอาฝ่ามือลงก่อน, ส่วนหญิงให้เอาเข่าลงก่อน[1] [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัชชี), ผู้ตรวจทานและค้นคว้า : บนีฮาชิมมี โคมัยนี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยน, เล่ม 1, หน้า 591, ดัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้ง 8, ปี ฮ.ศ. 1424
  • บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
    9283 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม อบูดัรดาอฺ คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.), ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน เพื่อสงครามการนองเลือดจะได้สิ้นสุดลง แล้วทั้งสองก็กลับมาหาท่านอิมามอะลี แต่ท่านมาลิกอัชตัรได้พบกับพวกเขาก่อน และได้ประณามพวกเขาอย่างรุนแรง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลีแล้ว, วันที่สองเมื่อความต้องการของพวกเขาได้แจ้งให้ท่านอิมามอะลี ได้รับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6309 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    5793 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38416 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...