การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6545
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1231 รหัสสำเนา 15063
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
คำถาม
กล่าวกันว่ามุฮ์ยิดดีน อะเราะบี เชื่อในเรื่องอิมามมะฮ์ดี กรุณาอธิบายได้มั้ยครับ?
คำตอบโดยสังเขป

 หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบี ก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือฟุตูฮาต อัลมักกียะฮ์บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่าอัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุข ท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผอง และแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียว อัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครอง ท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(..) และฮุเซน บิน อลี(.)คือปู่ทวดของท่าน
อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่าอัลวิอาอุ้ลมัคตูม อะลัซซิรริลมักตูมซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี ในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้าย และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วย
ทัศนะของอิบนิ อะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่ง ดังที่เขายืนยันว่าท่านมะฮ์ดี(.)คือบุตรของท่านฮะซัน อัลอัสกะรี(.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี 255 .. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน
นอกจากนี้ อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรม และเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ชื่อจริงของมุฮ์ยิดดีน อะเราะบี ก็คือ มุฮัมมัด บิน อลี บิน อะฮ์มัด บิน อับดุลลอฮ์ ฮาตัม ฏออี ซึ่งมีสมญานามว่า มุฮ์ยิดดีน. เป็นนักวิชาการมุสลิมที่มีผลงานมากมาย และมีความโดดเด่นที่สุดในแวดวงอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) ผลงานส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิรฟาน ภวังค์ และประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ นอกจากนี้ยังมีผลงานเกี่ยวกับวิชาฮะดีษ, ตัฟซีร, จริยวัตร, ฟิกเกาะฮ์, เคมี, วิชาญัฟร์, ดาราศาสตร์, บัญชี, ไวยากรณ์อรับ ซึ่งจนถึงปัจจุบันค้นพบแล้วกว่า 500 ผลงาน[1]
ด้วยความเชี่ยวชาญในสหวิทยาการนี้เอง ทำให้เขาได้รับการยกย่องและเป็นที่สนอกสนใจของเหล่านักวิชาการศาสนาทุกยุคสมัย
ชะฮีด อายะตุลลอฮ์ กอฎี บันทึกไว้ในเชิงอรรถของหนังสืออะนีสุ้ล มุวะฮิดีนว่า อุละมาทั้งในสายชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเห็นเกี่ยวกับอิบนิอะเราะบีสามประเภทด้วยกัน กลุ่มหนึ่งอย่างเช่น อัลลามะฮ์ ตัฟตาซานีได้ฟันธงว่าเขาตกศาสนาไปแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเขาเป็นวลีระดับสูงของอัลลอฮ์ และยกย่องให้เป็นอาริฟผู้สมบูรณ์ และเป็นนักวินิจฉัยศาสนาชั้นแนวหน้า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเขาเป็นวลีของอัลลอฮ์ก็จริง แต่ได้สั่งห้ามไม่ให้อ่านตำราที่เขาประพันธ์ขึ้น[2]
อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี ได้ให้ทัศนะไว้ว่านับตั้งแต่อิบนิอะเราะบีเริ่มมีชื่อเสียง ผู้เชี่ยวชาญด้านสาขามัซฮับก็มักจะตัดสินเกี่ยวกับแนวคิดของเขาด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน บ้างก็ยกย่องเขาให้เป็นผู้ปราศจากความผิดพลาด  บ้างก็ก่นด่าประณามเขาว่าเป็นกาฟิร[3]
ชะฮีด มุเฏาะฮะรี กล่าวว่ามุฮ์ยิดดีน อะเราะบี เป็นชาวอันดาลูเซีย(สเปนยุคมุสลิม) และชาวอันดาลูเซียในยุคนั้นไม่ไช่ซุนหนี่ธรรมดา แต่มีความอาฆาตพยาบาทต่อชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าอุละมาอ์ซุนหนี่ที่อาฆาตมาดร้ายชีอะฮ์ส่วนใหญ่เป็นชาวอันดาลูเซีย เป็นไปได้ว่าในดินแดนนี้คงจะไม่มีชีอะฮ์อาศัยอยู่เลย หรืออาจจะมีจำนวนน้อย อิบนิอะเราะบีถือกำเนิดและใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ แต่ด้วยความนิยมในแนวทางอิรฟานและตะเซาวุฟ จึงทำให้เขาเชื่อมั่นว่า โลกนี้จะไม่มีวันปราศจากวะลีผู้เป็นข้อพิสูจน์ของอัลลอฮ์เด็ดขาด ซึ่งก็ตรงกับความเชื่อของชีอะฮ์ นอกจากนี้เขายังลำดับรายชื่อบรรดาอิมามและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) จนถึงท่านอิมามมะฮ์ดี(.) โดยเขาอ้างว่าได้มีโอกาสพบกับท่านในราวๆปีฮ..ที่หกร้อย [4]
อัลลามะฮ์ ฮะซันซอเดะฮ์ ออโมลี กล่าวว่าอิบนิอะเราะบีเขียนไว้ในหนังสือ อัดดุรรุ้ลมักนูน วัสสิรรุ้ล มักตูม ว่าภายหลังท่านนบี(..) เนื้อหาเชิงลึกของกุรอานสถิต  ท่านอลี(.) หลังจากนั้นเขาได้ลำดับรายชื่ออิมามทีละท่านจนกระทั่งถึงท่านอิมามมะฮ์ดี(.)[5]
นอกจากนี้ อิบนิอะเราะบียังพรรณาถึงคุณสมบัติของวะลียุลลอฮ์ท่านสุดท้ายไว้ในหนังสืออุนะกออุ มัฆริบ ฟีค็อตมิล เอาลิยาอิ วะชัมซิ้ล มัฆริบซึ่งหากพิจารณาแล้ว ก็คงไม่พบผู้ใดมีคุณสมบัติเหล่านี้นอกจากอิมามมะฮ์ดี(.) ผู้เป็นอิมามท่านที่สิบสองของชีอะฮ์ เขายังได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวว่าไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าอิมามมะฮ์ดีสืบเชื้อสายจากท่านนบี(..)”[6]
อิบนิอะเราะบียังกล่าวไว้ในบทที่ 366 (ว่าด้วยกัลญาณมิตรและเหล่ามุขมนตรีของท่านอิมามมะฮ์ดี(.)ในยุคสุดท้าย)ว่าอัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนที่ขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุข ท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผอง และแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียว อัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะได้ขึ้นปกครอง ท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(..) และฮุเซน บิน อลี บิน อบีฏอลิบ(.)คือปู่ทวดของท่าน

อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่าอัลวิอาอุ้ลมัคตูม อะลัซซิรริลมักตูมซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี ในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้าย และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วย[7]
ทัศนะของอิบนิ อะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่ง ดังที่เขายืนยันว่าท่านมะฮ์ดี(.)คือบุตรของท่านฮะซัน อัลอัสกะรี(.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี 255 .. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน[8]
นอกจากนี้ อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรม และเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์.[9]

อย่างไรก็ดี ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์มักจะอ้างอิงผลงานของอิบนิอะเราะบีในข้อเขียนของตนบ่อยครั้ง อาทิเช่น อัลลามะฮ์ อะมีนี ได้นำเสนอฮะดีษของท่านนบีที่ว่าฉันคือนครแห่งศาสตรา และอลีคือประตูนครโดยอ้างจากหนังสืออัดดุรรุ้ลมักนูนของอิบนิอะเราะบี[10]



[1] ดู: มุฮ์ยิดดีน อิบนุ อะเราะบี,หน้า 572-576.

[2] อะนีซุ้ลมุวะฮิดีน,.มะฮ์ดี นะรอกี,หน้า 170.

[3] สุรเสียงแห่งเตาฮี้ด,.ญะวาดี ออโมลี,หน้า 83,84.

[4] รวมผลงานชะฮีดมุเฏาะฮะรี,เล่ม 4,หน้า 944.

[5] สนทนาธรรมกับอ.ฮะซัน ซอเดะฮ์ ออโมลี,มุฮัมมัด บะดีอี,หน้า 202.

[6] ฮิดายะตุ้ลอุมัม,อิบนิอะเราะบี,หน้า 25(บทนำ).

[7] ตัฟซีร ฟาติฮะตุ้ลกิตาบ,บทนำโดยซัยยิดญะลาลุดดีน ออชทิยอนี

[8] ฮิดายะตุ้ลอุมัม,หน้า 25.

[9] ฟุตูฮาต อัลมักกียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 50-66.

[10] อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 6,หน้า 93.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...