การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5599
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1297 รหัสสำเนา 16538
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดอิสลามต้องบริหารโดยบรรดาฟุกอฮาอ์?
คำถาม
เหตุใดอิสลามจึงบริหารโดยบรรดาฟุกอฮาอ์?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามเป็นศาสนาสุดท้าย บทบัญญัติต่างๆของอิสลามล้วนมีลักษณะถาวร และดังที่อิสลามสามารถตอบโจทก์ได้ในอดีต ก็ย่อมจะต้องตอบทุกโจทก์ในอนาคตได้เช่นกัน
อีกด้านหนึ่ง นับวันก็ยิ่งจะมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นรายวัน ซึ่งล้วนไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต เมื่อต้องพิจารณาปัญหาใหม่ๆโดยอ้างอิงหลักการที่เปรียบเสมือนกฏหมายแม่ อิสลามจึงกำหนดวิธีการเฉพาะกิจโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญปัญหาศาสนาที่รู้ทันสถานการณ์โลก ทำการค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆ โดยจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขและความจำเป็นต่างๆของสังคมและประชาคมโลก เพื่อให้ได้มาซึ่งปรัชญา แนวคิด และระบอบอิสลามอย่างแท้จริง

อุละมาอ์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาถึงความจำเป็นในแต่ละยุคสมัยและแต่ละสังคมในการวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆบนพื้นฐานของบทบัญญัติแม่ที่มีลักษณะถาวร อาทิเช่น อิมามโคมัยนี, ชะฮีดมุเฏาะฮะรี, อายะตุ้ลลอฮ์ชะฮีดศ็อดร์ ฯลฯ โดยหากบรรดาปราชญ์ศาสนามิได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เราคงไม่มีโอกาสได้สัมผัสอิสลามที่แท้จริงในปัจจุบัน
โดยทั่วไปแล้ว ทุกแนวคิดย่อมจะสนับสนุนให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและเชื่อมั่นในอุดมการณ์มากที่สุด เป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการบังคับใช้กฏระเบียบต่างๆ ผู้ที่จะนำแนวทางอิสลามมาประยุกต์ใช้ในสังคมก็ย่อมต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับปรัชญาและระบอบอิสลาม การจะเข้าถึงปรัชญาจะต้องผ่านเทววิทยาอิสลาม และการจะเข้าถึงระบอบอิสลามก็ย่อมต้องผ่านวิชาฟิกเกาะฮ์เชิงวิเคราะห์ ซึ่งล้วนนำเสนอโดยบรรดาฟะกีฮ์ผู้ครบถ้วนด้วยเงื่อนไขที่จำเป็น ส่วนเครื่องมือในการประยุกต์บทบัญญัติให้ทันยุคสมัยถือเป็นหน้าที่ของมนุษยศาสตร์แขนงต่างๆ ซึ่งยิ่งศาสตร์เหล่านี้กว้างไกลเท่าใดก็ยิ่งส่งผลให้เครื่องมือเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในจุดนี้ไม่ถือเป็นหน้าที่โดยตรงของบรรดาฟะกีฮ์ แต่ต้องประสานกับผู้เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงอื่นๆด้วย
เมื่อกล่าวถึงฟะกีฮ์ในฐานะนักบริหารผู้เชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้บทบัญญัติ เราหมายถึงบรรดาฟะกีฮ์ที่รอบรู้และครบถ้วนด้วยเงื่อนไขที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนฟะกีฮ์ที่ไม่มีความรอบรู้ นอกจากจะไม่มีคุณค่าใดๆในทัศนะอิสลามแล้ว ในเชิงคำศัพท์ยังปราศจากนัยยะใดๆอีกด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

โดยทั่วไปแล้ว ทุกแนวคิดย่อมจะสนับสนุนให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและเชื่อมั่นในอุดมการณ์มากที่สุด เป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการบังคับใช้กฏระเบียบต่างๆ
เนื่องจากอิสลามเป็นศาสนาสุดท้าย ซึ่งมีบทบัญญัติที่มีลักษณะถาวรและครอบคลุมทุกชนชั้นของสังคม อันทำให้สามารถแก้ไขปัญหาของทุกสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังที่มีฮะดีษกล่าวว่าฮะล้าลของนบีมุฮัมมัดจะฮะล้าลจวบจนกิยามะฮ์ และฮะรอมของนบีมุฮัมมัดจะฮะรอมจวบจนกิยามะฮ์[1]
ในอีกด้านหนึ่ง เป็นธรรมดาของกาลเวลาที่จะแปรผันและก่อให้เกิดประเด็นใหม่ๆที่แตกต่างจากสภาวะในอดีตโดยสิ้นเชิง ในกรณีเช่นนี้ ถามว่าเป็นไปได้อย่างไรที่ศาสนาที่มีบทบัญญัติถาวรจะสอดประสานกับยุคสมัยที่แปรผันอยู่ตลอดเวลา?

ประเด็นนี้เองที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทความสำคัญของปราชญ์นักวินิจฉัยทางศาสนา(ฟะกีฮ์)ในฐานะที่จะทำการเชื่อมประสานปัจจัยอันถาวรเข้ากับปัจจัยที่ผันแปรอย่างลงตัว
บรรดาฟะกีฮ์ใช้วิธีการทางเทววิทยาในการค้นหาคำตอบที่ครอบคลุม และการเข้าถึงแก่นปรัชญาของศาสนา และใช้วิธีการทางวิชาฟิกเกาะฮ์เชิงวิเคราะห์ในการสถาปนาประมวลกฏหมายและระบอบอิสลาม[2] โดยบรรดาฟะกีฮ์ทำหน้าที่นี้อย่างมีประสิทธิภาพทุกยุคสมัย

ประเด็นผู้นำสังคมก็เช่นกัน แน่นอนว่าทุกสังคมย่อมต้องมีผู้นำ อิสลามได้มอบหมายหน้าที่ชี้นำสังคมแก่เหล่าฟะกีฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าประเด็นการเมืองการปกครองมิได้อยู่นอกปริมณฑลคำสอนทางศาสนาอิสลาม และคำสอนอันกว้างไกลของอิสลามได้นำเสนอระบอบที่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้ว ซึ่งนอกจากสติปัญญาจะไม่ค้านแล้ว ยังเล็งเห็นความสำคัญเชิงปรัชญาของกระบวนการดังกล่าวอีกด้วย

หากเราจะมองการเมืองในมุมมองของศาสนา และหากถือว่ารัฐมีหน้าที่ปกป้องคุณค่า อุดมการณ์อิสลาม และบทบัญญัติศาสนาแล้ว สติปัญญาย่อมกำหนดว่าผู้เชี่ยวชาญด้านบทบัญญัติศาสนาเท่านั้นที่ควรดำรงตำแหน่งสูงสุดของรัฐ ซึ่งหากมีบุคคลที่ปราศจากบาป(มะอ์ศูม)ก็ถือว่าเหมาะสมแก่ตำแหน่งผู้นำมากที่สุด แต่หากไม่มีบุคคลเช่นนี้ ฟะกีฮ์ผู้ทรงธรรมและเชี่ยวชาญการบริหารคือผู้ที่เหมาะสมที่สุดรองลงมา
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สติปัญญากำหนดว่าผู้ที่จะอยู่  จุดสูงสุดของรัฐแห่งศรัทธาในอุดมคตินั้น จะต้องเป็นผู้ที่รอบรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์มากที่สุด และโดยบทบัญญัติอิสลามแล้ว ฟะกีฮ์ผู้ทรงธรรมคือผู้ที่มีความเหมาะสมสูงสุดในยุคสมัยที่ผู้เป็นมะอ์ศูมยังอยู่ในภาวะเร้นกาย



[1] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 58 ฮะดีษที่19, عَلِیُّ بْنُ إِبْرَاهِیمَ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عِیسَى بْنِ عُبَیْدٍ عَنْ یُونُسَ عَنْ حَرِیزٍ عَنْ زُرَارَةَ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع عَنِ الْحَلَالِ وَ الْحَرَامِ فَقَالَ حَلَالُ مُحَمَّدٍ حَلَالٌ أَبَداً إِلَى یَوْمِ الْقِیَامَةِ وَ حَرَامُهُ حَرَامٌ أَبَداً إِلَى یَوْمِ الْقِیَامَةِ لَا یَکُونُ غَیْرُهُ وَ لَا یَجِی‏ءُ غَیْرُهُ وَ قَالَ قَالَ عَلِیٌّ ع مَا أَحَدٌ ابْتَدَعَ بِدْعَةً إِلَّا تَرَکَ بِهَا سُنَّةً

[2] ดู: รากฐานทางเทววิทยาของกระบวนการอิจติฮาด,หน้า 383-405 และ ระบอบเศรษฐกิจอิสลาม,.ฮาดะวี,หน้า 21-44.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56843 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38424 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...