การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8107
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
คำถาม
ชัยฏอนและพลพรรคทั้งหลายของมาร เป็นญินประเภทหนึ่งซึ่งได้เผ้าโจมตีปวงผู้ศรัทธาทั้งหลาย มาอย่างช้านานแล้ว เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาปฏิเสธและตั้งภาคีกับพระเจ้า และจนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร? ขอบคุณสำหรับคำตอบ
คำตอบโดยสังเขป

ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่

1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา

2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ

3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ

4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ และจะช่วยให้เขาออกห่างจากการหยุแหย่ของชัยฏอน อีกทั้งได้ปิดกั้นแนวทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

5. ตักว่า : ผลของความเคยชินของตักวา และการทำเสริมสร้างให้แข็งแรง, จะช่วยให้ตาใจเปิดสว่างไม่หลงกลต่อการหยุแหย่ของชัยฏอน และจะป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากบ่วงของชัยฏอน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ได้. ทั้งที่ชัยฏอนได้สาบานว่ามันจะลวงล่อปวงบ่าวทั้งหมดให้หลงทาง นอกเสียจากบ่าวที่บริสุทธิ์ อัลกุรอานกล่าวว่า

"قَالَ فَبِعِزَّتِكَ لَأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ ‏‏ إِلاَّ عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِينَ"؛

“ชัยฏอนพูดว่า ฉันขอสาบานต่ออำนาจของพระองค์ว่า ฉันจะหลอกลวงพวกเขาทั้งหมดให้หลงทาง เว้นเสียแต่บ่าวผู้บริสุทธิ์ของพระองค์”

หรือบางที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า

" إِنَّ عِبادي لَيْسَ لَكَ عَلَيْهِمْ سُلْطانٌ إِلاَّ مَنِ اتَّبَعَكَ مِنَ الْغاوينَ "؛

"แท้จริง ปวงบ่าวของข้า เจ้าจะไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือพวกเขา เว้นแต่ผู้ที่เชื่อฟังเจ้าในหมู่ผู้หลงผิดเท่านั้น"[1]

จากโองการทั้งสองที่กล่าวมาจะเห็นว่า กลุ่มที่เป็นมุคละซีน[2] จะอยู่นอกเหนืออำนาจและบ่วงของชัยฏอน, และสิ่งนี้คือวความสัตย์จริงที่แม้แต่ชัยฏอนก็สารภาพและยอมรับ, อีกทั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำชับไว้พระองค์ตรัสว่า :

"إِنَّ عِبَادِي لَيْسَ لَكَ عَلَيْهِمْ سُلْطَانٌ"

"แท้จริง ปวงบ่าวของข้า เจ้าจะไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือพวกเขา”

แนวทางยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอน

มุคละซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่

1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา:

‏"إِنَّهُ لَيْسَ لَهُ سُلْطَانٌ عَلَى الَّذِينَ آمَنُواْ وَ..."؛

“แท้จริงมารไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา ...”[3]

2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัล มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ :

إِنَّهُ لَيْسَ لَهُ سُلْطَانٌ عَلَى الَّذِينَ ... وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

“แท้จริงมารไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย (การงาน) ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา”[4]

ดังนั้น อีมานต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และบรรดาโองการต่างๆ ของพระองค์คือ อุปสรรคสำคัญที่กีดขวางอำนาจการควบคุมของชัยฏอนที่มีเหนือมนุษย์ จะปกป้องพวกเขาให้อยู่ภายในกำบังแห่งความปลอดภัยของอีมาน โดยมอบหมายภารกิจทั้งหมดแด่อัลลอฮฺ, ซึ่งไม่มีช่องให้อำนาจของมารมีอิทธิพลเหนือเขาแม้เพียงเล็กน้อย แน่นอน อำนาจของชัยฏอน จะมีเฉพาะแต่บุคคลที่ยอมรับอำนาจของชัยฏอนเท่านั้น โดยพวกเขาจะตั้งภาคีและปฏิเสธพระเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า :

"إِنَّمَا سُلْطَانُهُ عَلَى الَّذِينَ يَتَوَلَّوْنَهُ وَالَّذِينَ هُم بِهِ مُشْرِكُونَ"؛

“แท้จริง อำนาจของมารจะมีเหนือบรรดาผู้เป็นมิตรกับมัน และบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีกับพระองค์เท่านั้น”[5]

3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งสถานพักพิงนี้,บางครั้งเป็นตักวีนียฺ และบางครั้งก็เป็นตัชรีอียฺ, ดังนั้น สำหรับการกำจัดความเลวร้ายทางธรรมชาติ จำเป็นต้องพึ่งพิงสถานพำนักที่เป็นตักวีนียฺของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นได้แก่ : ประมวลกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งจะมาในลักษณะของสาเหตุและปัจจัยทางธรรมชาติ ในระบบแห่งการสร้างสรรค์ของพระองค์, ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจากความชั่วร้ายแห่งจิต ดังที่อัลกุรอาน บทนาสได้กล่าวถึง จึงจำเป็นต้องอาศัยสถานพำนักที่เป็นตัชรีอียฺของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นได้แก่ : ประมวลคำสอนของพระเจ้า ซึ่งอยู่ในฐานะของพื้นฐานสำคัญของความเชื่อศรัทธา และโครงการอบรมสั่งสอนต่างๆ ในศาสนา ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้แล้ว :

" وَ إِمَّا يَنْزَغَنَّكَ مِنَ الشَّيْطانِ نَزْغٌ فَاسْتَعِذْ بِاللَّهِ إِنَّهُ سَميعٌ عَليم‏"

“และหากมีการยั่วยุใด ๆ จากชัยฏอนกำลังยั่วยุเจ้าอยู่ ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้"[6]

โดยทั่วไป เตาฮีด จะเป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์หากต้องการประโยชน์และความดีต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ และเริ่มต้นทุกภารกิจการงานด้วยคำว่า “บิสมิลลาฮฺ” นอกจากนั้นเพื่อขจัดอันตรายและความเลวร้ายทั้งหลายให้พ้นไปจากตัวเอง ก็จงขอความช่วยเหลือจากพระองค์ และเริ่มต้นภารกิจต่างๆ ด้วยการกล่าวว่า “อะอูซุบิลลาฮฺ” เนื่องจากตามทฤษฎีแห่งเตาฮีดแล้วไม่มีสิ่งใดจะก่อผลกระทบให้เกิดกับโลกได้นอกจาก เตาฮีด เท่านั้น

4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ และจะช่วยให้เขาออกห่างจากการหยุแหย่ของชัยฏอน อีกทั้งได้ปิดกั้นแนวทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

تَذَكَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُون "

“พวกเขาจะรำลึกได้ แล้วทันใดพวกเขาก็จะมองเห็น”[7]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ชัยฏอนไม่มีอำนาจอันใดที่จะหยุแหย่มนุษย์ได้,เว้นเสียแต่ว่าเมื่อเขาได้ละเว้นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ”[8]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่าว่า การรำลึกถึงอัลลอฮฺ คือ สาเหตุของการปฏิเสธชัยฏอน "ذکرالله مطردة الشیطان."[9]

5. ตักว่า : ผลของความเคยชินของตักวา และการทำเสริมสร้างให้แข็งแรง, จะช่วยให้ตาใจเปิดสว่างไม่หลงกลต่อการหยุแหย่ของชัยฏอน และจะป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากบ่วงของชัยฏอน :

" إِنَّ الَّذينَ اتَّقَوْا إِذا مَسَّهُمْ طائِفٌ مِنَ الشَّيْطانِ تَذَكَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُون‏"

“แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความสำรวมตน เมื่อมีการยุยงใด ๆ จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึก (ถึงอัลลอฮฺ รางวัล และการลงโทษ) ได้ (และในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาก็จะพบความจริง) แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น”[10]

คำว่า “ฏออิฟ” หมายถึง ผู้ที่เวียนว่ายอยู่รอบๆ ประหนึ่งเสียงหยุแหย่ของชัยฏอนที่เวียนวนอยู่รอบ ราวกับว่าเป็นผู้เวียนรอบอยู่เหนือจิตวิญญาณ และความคิดของมนุษย์ จนกระทั่งว่ามารได้พบหนทางที่จะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

แน่นอน ชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือบุคคลที่มีจิตวิญญาณและความสำรวมตนเข้มแข็งได้, แต่มิได้หมายความว่า ชัยฏอน จะละเลยเขา มันยังคงรอโอกาสเหมาะที่จะโจมตีเขา ซึ่งบางครั้งอารมณ์และอำนาจฝ่ายต่ำ เช่น ราคะตัณหา, ความโมหะ, ความอิจฉา, และการแก้แค้นต่างๆ ได้ลุกโชติช่วงขึ้นมา จนกระทั่งว่าได้สบโอกาสเหมาะชัยฏอนจะสร้างอิทธิพลเหนือพวกเขาโดยทันที และจะทำให้เขาหลงทาง

บางคนได้แนะนำหนทางยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนเอาไว้ ซึ่งได้แก่ : การรำลึกถึงบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.), การสร้างความเป็นมิตรกับอะฮฺลุลบัยตฺ, หรือการพยายามที่จะนำเอารหัสยะของบุคคลที่มิได้อยู่ภายใต้อิทธิพลอของมาร ..

บทสรุป :

ความเชื่อศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ, คือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกีดขวางมนุษย์ เพื่อป้องกันเขาให้ห่างไกลจากความชั่วร้าย และการทำบาป นอกจากนั้นการใส่ใจต่ออำนาจและวิทยปัญญาของพระเจ้า พร้อมกับการนำภารกิจการงานทั้งหมดกลับคืนสู่อาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่สนับสนุน จิตวิญญาณของบ่าวคนหนึ่งให้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจของชัยฏอน, นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมอีมาน การมอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ และความสำรวมตนที่มีอยู่ในตัว ยังช่วยส่งเสริมให้มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอ และการปฏิบัติภารกิจที่สร้างความลำบาก เป็นตัวการสำคัญที่ปฏิเสธชัยฏอน และในบั้นปลายการขอความช่วยเหลืออย่างแท้จริง เมื่อไปถึงยังความชั่วร้ายและความเสื่อมทรามที่มาจากชัยฏอนมารร้าย, เหล่านี้ล้วนเป็นย่างก้าวที่สำคัญเพื่อเตรียมตัวป้องกันการมีอิทธิพลของชัยฏอน มีคำกล่าวว่าเหล่านี้ทั้งหมดถ้าปราศจากการตะวัซซุลกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และความการุณย์จากพวกเขาแล้ว ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอน

หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง :

แนวทางการมีอิทธิพลของชัยฏอนที่มีเหนือมนุษย์, 165 (ไซต์ : 1052)

วัตถุประสงค์และโครงการต่างๆ ของชัยฏอน, 13586 (ไซต์ : th13412)

 


[1] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์ 42.

[2] มุคละซีน ได้แก่บุคคลที่ได้ปล่อยวางจิตใจให้ว่างเว้นจากความมืดมัวตามธรรมชาติ ทรัพย์สิน และวัตถุปัจจัยต่างๆ ชำระขัดเกลาจิตใจของเขาให้สะอาดจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งเขาได้เติมเต็มความรักในอัลลอฮฺ (ซบ.) จนเต็มล้นหัวใจ

[3] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 99.

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 99.

[5] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 100.

[6] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 200, บทฟุซซิลัต, 36.

[7] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 201.

[8] มุฮัมมัด นูรียฺ, มุสตัดร็อกวะซาอิล, เล่ม 1, หน้า 178, สถาบันอาลุลบัยตฺ, กุม, 1408,มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 72, หน้า 124, สถาบัน อัลวะฟาอฺ, เบรูต 1404.

[9] ออมะดี ตะมีมี, อับดุลวาฮิด, ฆอรรุลฮิกัม วะดุรรุลกะลิม, หน้า 188, มักตับอัลอิอฺลามุลอิสลามียฺ, กุม 1366.

[10] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 201.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18272 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8486 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ประสบความสำเร็จในการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ท่านจะได้จัดตั้งรัฐบาล แล้ววันนี้โลกอิสลามจะอยู่ในสถานภาพอย่างไร?
    8168 تاريخ بزرگان 2555/09/08
    สาเหตุหลักในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยน (อ.) คือ การฟื้นฟูตำสอนศาสนา และการกำชับความดี ห้ามปรามความชั่วร้าย ต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดอิสลามให้สิ้นซาก ซึ่งความคิดอันเลวร้ายนั้นได้ลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมอิสลาม โดยมีความเชื่อว่าเคาะลีฟะฮฺหรือฮากิมอิสลาม จะเป็นใครก็ตาม และไม่ว่าจะก่ออาชญากรรมมากน้อยเพียงใดก็ตาม เขาก็คือเคาะลิฟะฮฺของอัลลอฮฺ วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา การยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ในแง่นี้ประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และถือว่าบรรลุเป้าหมายด้วย แม้ว่าเป้าหมายอันสูงส่งของอิสลาม ความสำเร็จของสังคมขึ้นอยู่การทำความดีต่างๆ และนำเอาบทบัญญัติมาดำเนินใช้ในสังคม การได้จัดตั้งรัฐอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า รูปแบบการจัดตั้งรัฐอิสลามโดยท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พร้อมกับการโค่นล้มการปกครองของผู้อธรรม ซึ่งผลที่จะได้รับนอกจากจะได้รับรัฐอิสลาม และความสำเร็จของสังคมแล้ว เราก็จะได้เห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของอิสลาม แน่นอนว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อันอเนกอนันต์แก่ประชาชาติอิสลาม และถือว่านั้นคือความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลาม แต่น่าเสียดายว่าสิ่งนั้นมิได้เกิดขึ้นจริง ...
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    13519 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • จำเป็นต้องสวมแหวนทางมือขวาด้วยหรือ ?
    13684 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    หนึ่งในแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์คือการสวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาซึ่งมีรายงานกล่าวไว้ถึงประเภทของแหวนรูปทรงและแบบ. นอกจากคำอธิบายดังกล่าวที่ว่าดีกว่าให้สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาแล้วบทบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวเกี่ยวกับแหวนก็จะเน้นเรื่องการเป็นมุสตะฮับและเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ห้ามสวมแหวนทอง (และเครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากทองคำ) ซึ่งได้ห้ามในลักษณะที่เป็นความจำเป็นด้วยเหตุนี้
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7122 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5446 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • มีดุอาอฺขจัดความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชาบ้างไหม?
    11250 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    ภารกิจบางอย่างที่คำสอนศาสนาปฏิเสธไม่ยอมรับคือ ความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชา, บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) กล่าวตำหนิคุณสมบัติทั้งสองนี้ และขอความคุ้มครองจากพระเจ้าให้พ้นไปจากทั้งสอง ดังจะเห็นว่าบทดุอาอฺบางบทจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ เช่น : 1. มุสอิดะฮฺ บุตรของ ซิดเกาะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้วอนขอให้ท่านอิมามซอดิก (อ.) ดุอาอฺต่ออัลลอฮฺเกี่ยวกับภารกิจการงานใหญ่ๆ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ฉันจะสอนดุอาอฺของคุณปู่ของฉันท่านอิมามซัจญาด (อ.) แก่เธอ ซึ่งดุอาอฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้วอนขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ เพื่อให้พ้นไปจากความความเกลียดคร้าน กล่าวว่า : : "...وَ أَعُوذُ بِكَ مِنَ ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6901 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    9583 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...