การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
15182
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1343 รหัสสำเนา 16882
คำถามอย่างย่อ
เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
คำถาม
กรณีที่หากมีผู้รับอิสลาม ทราบมาว่าเขาจะต้องศรัทธาในพระเจ้าและนบี(ซ.ล.) อีกทั้งศรัทธาในห้าหลักการ และจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่ง ปัญหาอยู่ที่ว่า หากเขามีศรัทธาต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด แต่สมมติว่าเขาไม่นมาซ ถามว่าเขายังคงสภาพความเป็นมุสลิมอยู่หรือไม่? และเคยอ่านมาว่าประชากรมุสลิมทั่วโลกมีถึงหนึ่งพันสองร้อยล้านคน แต่บางคนเชื่อว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงนัก เนื่องจากในจำนวนนี้มีผู้ที่มิได้เป็นมุสลิมในเชิงปฏิบัติมากมาย เนื่องจากเฉยเมยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามศาสนกิจอิสลาม ถามว่าคนเหล่านี้ยังนับว่าเป็นมุสลิมอยู่หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกัน ระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้น หมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า  اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันที อาทิเช่น ร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิส เขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้ สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภท ทรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษ ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนา เช่นการนมาซ ถือศีลอด ชำระคุมุส จ่ายซะกาต ประกอบพิธีฮัจย์ ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัย ยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรก ตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูต เหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่าน

นอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้ว การหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี
ยิ่งไปกว่านั้น คำสอนของกุรอาน นบี(..)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่าน ย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับ  อัลลอฮ์
นอกจากนี้ จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้ง เพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยาย และจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุก และต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ ฉะนั้น ประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคน แม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลาม โดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในเชิงคำศัพท์แล้ว อิสลามแปลว่าการยอมจำนนโดยดุษณี แต่สิ่งที่เป็นที่รับรู้ทั่วไปก็หมายถึง ศาสนาที่ท่านนบีมุฮัมมัด(..)นำเสนอจากพระผู้เป็นเจ้าในฐานะศาสนาอันถาวร(ไม่ถูกยกเลิกจวบจนวันโลกาวินาศ)และครอบคลุมทุกปัญหา
ปัจจัยสำคัญที่จำแนกอิสลามออกจากศาสนาอื่นก็คือ การศรัทธาต่อเตาฮี้ด(เอกานุภาพ)ของอัลลอฮ์ ภาวะศาสนทูตของนบี(..) และการยอมรับสารธรรมเตาฮี้ดอันบริสุทธิ
ความศรัทธาต่ออิสลามมีระดับขั้นที่แตกต่างกัน โดยขอนำเสนอดังต่อไปนี้
ก้าวแรกอันถือเป็นเงื่อนไขในการเข้าสู่อิสลามก็คือ การปฏิญาณตนยอมรับสองหลักการ(เตาฮี้ดและภาวะนบี) ประโยค لا اله الا الله เปรียบเสมือนแก่นของอิสลามที่เป็นศูนย์รวมทุกมิติเตาฮี้ด ส่วนการยอมรับภาวะศาสนทูตของท่านนบี(..)ก็คือการยอมรับในภาวะปัจฉิมศาสดาและปัจฉิมศาสนา รวมถึงเชื่อว่าแนวทางอื่นๆล้วนถูกยกเลิกไปแล้วทั้งสิ้น
ระดับที่สูงขึ้นอีกขั้นหนึ่งของอีหม่าน(ความศรัทธา)เริ่มตั้งแต่การจำนนต่อคำสอนสั่งของท่านนบี(..) โดยมีระดับขั้นที่สูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิญาณตนยอมรับในสองหลักการข้างต้นแล้วจะถือว่าหลุดพ้นสภาวะศาสนิกของศาสนาเก่า และเข้าร่วมในครอบครัวอิสลาม ซึ่งจะทำให้สิทธิหน้าที่บังเกิดแก่เขาในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง อาทิเช่น การที่สามารถแต่งงานได้ ทำธุรกรรมได้ การที่เนื้อตัวของเขาและลูกๆไม่เป็นนะญิส[1] นอกจากนี้ การดูแลรักษาทรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาก็เป็นหน้าเหนือรัฐบาลหรือสังคมอิสลาม นี่คืออีหม่านขั้นพื้นฐานที่ทำให้ไม่สามารถกล่าวหาเขาว่าเป็นกาเฟรมุชริกีนได้

ฉะนั้น แม้บางสำนักคิดอย่างพวกค่อวาริจจะมองว่าผู้กระทำบาปใหญ่คือกาเฟรและสามารถหลั่งเลือดได้ หรือกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ที่มองว่าคนจำพวกนี้ไม่ไช่ทั้งมุอ์มินและกาเฟร หรือกรณีของกลุ่มวะฮาบีที่ถือว่าการสุญูดบนดินและจุมพิตเอาบะรอกัตจากดินสุสานอิมาม(.)ถือเป็นชิริก แนวคิดเหล่านี้ทั้งหมดถือเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ทัศนะของชีอะฮ์สิบสองอิมาม(ญะอ์ฟะรียะฮ์)ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของกุรอานและฮะดีษจากบรรดาอิมาม(.) ถือว่าอีหม่านและอะมั้ลอิบาดะฮ์(การบำเพ็ญศาสนบัญญัติ)จะได้รับการยอมรับ  พระองค์ก็ต่อเมื่อเคียงข้างด้วยการยอมรับอิมามสิบสองท่านในฐานะผู้นำและตัวแทนนบี(..)เท่านั้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากภาระผูกพันของการยอมรับนบี(..)และกุรอานในฐานะที่เป็นวิวรณ์บริสุทธิจากพระองค์ก็คือ การปฏิบัติตามคำสอนของนบี(..)และกุรอานทุกกระเบียดนิ้ว และหนึ่งในคำสอนของท่านนบีก็คือการรณรงค์ให้ยึดเหนี่ยวและปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์(.) ซึ่งหากมองในมุมกลับ การเพิกเฉยต่ออะฮ์ลุลบัยต์ก็นับเป็นการเพิกเฉยต่อคำสั่งของอัลลอฮ์และนบี(..)ได้เช่นกัน ดังที่กุรอานระบุว่าระดับขั้นอีหม่านอยู่เหนือระดับขั้นการรับอิสลาม 

ระดับขั้นอีหม่านเองก็แบ่งออกเป็นหลายระดับด้วยกัน กุรอานได้แจกแจงมาตรวัดอีหม่านไว้ดังนี้ "ความดีงามคือการศรัทธาต่อพระเจ้า และวันพิพากษา และมลาอิกะฮ์ และคัมภีร์ และบรรดานบี"[2] โดยถือว่าการปฏิเสธ การเสแสร้ง และการตั้งภาคี ล้วนเป็นเหตุให้สิ้นสภาพมุสลิมและต้องทนทรมานในนรกชั่วกัปชั่วกัลป์[3] ฉะนั้น มุสลิมที่มีอีหม่านแนระดับที่ต่ำสุดต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้เป็นอย่างน้อย
1.ศรัทธาต่อเอกานุภาพทุกประเภทของพระองค์
2. ศรัทธาต่อสถานะศาสนทูตท่านสุดท้ายของนบีมุฮัมมัด(..)
3. เชื่อฟังคำสั่งนบี(..)อาทิเช่นคำสอนเกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์
4. ศรัทธาต่อชีวิตหลังความตาย ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยที่กุรอานและฮะดีษจากนบี(.(..)และอิมาม(.)ระบุไว้

แต่เนื่องจากอีหม่านที่แท้จริงย่อมมีผลพวงในแง่ศาสนบัญญัติ ฉะนั้น การกล่าวอ้างว่ารับอิสลามแต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์และนบี(..) ย่อมไม่ทำให้เขาพบกับทางนำและความผาสุก แม้จะทำให้เขาได้รับสิทธิทางสังคมในแง่กฏหมายอิสลามก็ตาม ดัวยเหตุนี้เองที่กุรอานถือว่าการบรรลุสู่ชีวิตอันผาสุกจำเป็นต้องมีอีหม่านและอะมั้ลอิบาดะฮ์เคียงคู่กันเสมอ[4]
ผู้ที่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อ้างอีหม่านโดยไม่ปฏิบัติศาสนกิจ หรือประพฤติดีแต่ไม่ศรัทธา เปรียบเสมือนนกที่มีปีกข้างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถที่จะโผบินสู่ความผาสุกได้เด็ดขาด เว้นแต่จะปรับปรุงตนเองโดยการเติมเต็มอีหม่านและอะมั้ลซอและฮ์ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้ใกล้ชิด  พระองค์และได้รับสรวงสววรค์ ทั้งนี้เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับอิสลาม อีหม่าน ตลอดจนคำบัญชาของอัลลอฮ์และนบี(..)สูงขึ้น กอปรกับมีความบริสุทธิใจในการปฏิบัติศาสนกิจมากขึ้น ย่อมส่งผลให้อีหม่านของเขาได้รับการยกระดับให้สูงยิ่งขึ้นตามลำดับ

ในจุดนี้ขอเน้นบางประเด็นเป็นพิเศษ
1. อีหม่านและอะมั้ลซอและฮ์มีความเชื่อมโยงกันโดยตรง หากอีหม่านแข็งแกร่ง ปริมาณและประสิทธิผลของอะมั้ล ตลอดจนความสามารถในการหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามก็จะเพิ่มขึ้นโดยปริยาย ในทำนองเดียวกัน หากปฏิบัติอะมั้ลซอและฮ์และหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามเป็นนิจสิน อีหม่านก็จะหยั่งรากลึกในหัวใจมากยิ่งขึ้น กระทั่งทำให้มนุษย์บรรลุความผาสุกสูงสุดของความเป็นมนุษย์อย่างเต็มภาคภูมิ ในทางตรงกันข้าม การทำบาปบ่อยๆก็จะค่อยๆลบเลือนอีหม่านให้อันตรธานไปจากหัวใจ ซึ่งการกระทำบาปเป็นผลพวงมาจากอีหม่านที่อ่อนแอ

2. การศรัทธาต่อนบีท่านอื่นๆตลอดจนคัมภีร์ของพวกท่าน มิได้หมายความว่าเราจะต้องปฏิบัติตามศาสนกิจของท่านเหล่านั้น เนื่องจากศาสนกิจเหล่านี้บางข้อบังคับใช้ในกลุ่มชนบางกลุ่มเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะถูกยกเลิกเมื่อมีศาสนกิจใหม่มาแทนที่เสมือนกฏหมายที่หมดอายุความ ฉะนั้น การศรัทธาต่อบรรดานบีจึงหมายถึงการเชิดชูเกียรติภูมิในฐานะศาสนทูตที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่ออัลลอฮ์ มิได้หมายรวมถึงการที่ต้องปฏิบัติตามศาสนบัญญัติในยุคของศาสดาเหล่านั้น

3. หลักปฏิบัติที่สำคัญๆ ซึ่งจำแนกมุสลิมออกจากต่างศาสนิกในภาคปฏิบัติ เราเรียกว่า"ฟุรูอุดดีน"  โดยผู้ที่มีเงื่อนไขทางศาสนาครบถ้วนจำเป็นต้องเรียนรู้และนำสู่การปฏิบัติ
และหากผู้ใดไม่ถึงขั้นปฏิเสธในหลักการแต่กลับดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติ ก็จะทำให้สูญเสียโอกาสที่จะได้เข้าสรวงสวรรค์ และหากไม่แก้ไขให้ดีขึ้นจนถึงบั้นปลายชีวิต ก็จะต้องถูกทรมานชั่วกัปชั่วกัลป์

4. อีหม่านจะต้องมีลักษณะครอบคลุม เพราะความศรัทธาไม่อาจเลือกได้ตามใจชอบ ฉะนั้น มุสลิมที่มีศรัทธาอย่างแท้จริงไม่ได้รับอนุมัติให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนศาสนาเฉพาะบางส่วน กุรอานให้เหตุผลว่าพฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นการถือตามกิเลสของตนเอง และนับเป็นการปฏิเสธประเภทหนึ่ง หาไช่ความศรัทธาต่ออัลลอฮ์ นบี และวันพิพากษาไม่[5]

5. อีหม่านและอะมั้ลที่ซอและฮ์มีหลายระดับขั้น ผู้ศรัทธาที่บำเพ็ญความดีมิได้มีสถานภาพที่เท่ากันเสมอไป ระดับขั้นบนสรวงสวรรค์ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน  พระองค์ ฉะนั้นจึงจะต้องยกระดับอะมั้ลอิบาดะฮ์ไม่ว่าในแง่ปริมาณและคุณภาพด้วยการเรียนรู้ ระมัดระวัง และมุ่งมั่นปฏิบัติตามคำสอนอิสลาม เพื่อจะได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก[6]

6. การปฏิเสธหลักศรัทธาอิสลาม ตลอดจนการปฏิเสธข้อบังคับทางศาสนาที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งให้กระทำหรือคำสั่งห้ามมิให้กระทำ เท่ากับการปฏิเสธหลักเบื้องต้นของศาสนา และหากตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็จะทำให้พ้นจากสภาพความเป็นมุสลิม หรือที่เรียกว่าตกมุรตัด

สรุปคือ ระหว่างการรับอิสลามกับการศรัทธาในอิสลามมีความแตกต่างกัน และดังที่ได้นำเสนอไปแล้วว่าอิสลามและอีหม่านมีหลายระดับขั้นด้วยกัน และประชากรมุสลิมกว่าพันสองร้อยล้านคนที่ปฏิญาณตนด้วยกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์ ทั้งหมดล้วนถือเป็นมุสลิมและได้รับสิทธิหน้าที่ในฐานะมุสลิม แม้ว่าจะมีระดับขั้นในแง่อิสลามค่อนข้างต่ำก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาสนาบางข้อ มิได้ทำให้บุคคลพ้นจากสภาพความเป็นมุสลิม

เพื่อศึกษาเพิ่งเติม กุรณาอ่านคำตอบต่อไปนี้
1. รู้จักผู้ศรัทธาที่แท้จริง,คำถามที่ 863
2.
ความไม่ตรงกันระหว่างคำสอนอิสลามและพฤติกรรมมุสลิม,คำถามที่ 798
3.
กุรอานและการนิยามอิสลามและมุสลิมีน,คำถามที่ 829

หนังสืออ้างอิง
อัลมิลัลวันนิฮัล,.ญะอ์ฟัร ซุบฮานี,เล่ม2 หน้า 53
มิลัลวันนิฮัล,อับดุลกะรีน ชะฮ์ริสตานี,สนพ.อัลอันญะโล อิยิปต์,เล่ม 1,2 หน้า 46
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม,เล่ม 1 หน้า161-163 เล่ม 2 ,หน้า 135
กัชฟุ้ลมุร้อด,คอญะฮ์นะศีรุดดีน ฏูซี, หน้า 454
บทเรียนหลักศรัทธา,มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี,เล่ม3 หน้า 126-163,บทที่ 54-58
อัคล้ากในกุรอาน,มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี,เล่ม1 หน้า 122-145



[1] ทว่าอุละมาอ์อาจมีความเห็นแตกต่างกันเล็กน้อยในกรณีความเป็นนะญิสของร่างกายต่างศาสนิก(ไม่ว่าเป็นชาวคัมภีร์หรือไม่ก็ตาม) โปรดอ่านหนังสือประมวลศาสนบัญญัติของแต่ละท่าน

[2] อัลบะเกาะเราะฮ์,177,285 และ อันนิซาอ์,136

[3] อันนิซาอ์, 140,145

[4] อันนะฮ์ลิ, 97 และอัลบะเกาะเราะฮ์, 103 อันนิซาอ์, 57,122

[5] อัลบะเกาะเราะฮ์, 85 อันนิซาอ์, 150,151

[6] ย่อความจากคำถามที่ 888(ความเชื่อเบื้องต้นของมุสลิม)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20485 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
    11620 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/12/20
    บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้ามการทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม,
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7385 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7859 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์
  • หนังสือดุอามีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่?
    5864 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/09
    มีสามประเด็นที่ควรพิจารณา1. ตำราที่ยกมาทั้งหมดล้วนเป็นที่ไว้วางใจของผู้ประพันธ์ทั้งสิ้นดังจะทราบได้จากอารัมภบทของหนังสือ"มะซ้ารกะบี้ร"และ"บะละดุ้ลอะมีน"อัลลามะฮ์มัจลิซีเองก็ให้การยอมรับตำราเหล่านี้และกล่าวถึงผู้ประพันธ์อย่างให้เกียรติ2. แนวปฏิบัติของบรรดาฟุก่อฮาอ์(ปราชญ์ทางนิติศาสตร์อิสลาม)คือการพิสูจน์ความถูกต้องของสายรายงานฮะดีษเสียก่อน
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10072 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8692 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    8287 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9362 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...