การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7470
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/20
คำถามอย่างย่อ
ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
คำถาม
ทำอย่างไรจึงจะสามารถลดความรีบร้อนลงได้บ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ
เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความรีบร้อนถือเป็นลักษณะนิสัยด้านลบที่พบเห็นได้ในพฤติกรรมมนุษย์ อันหมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดทั้งที่ยังไม่ได้มีการเตรียมการให้พร้อม ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดหรือบกพร่องต่อภารกิจนั้นๆอยู่เสมอ ไม่ต่างจากการเด็ดผลไม้ก่อนจะสุกดี อันจะทำให้สิ้นเปลืองหรือเสียรสชาติที่แท้จริงไป หรืออาจเปรียบได้กับการหว่านเมล็ดพืชก่อนที่จะเตรียมหน้าดิน อันจะทำให้ไม่งอกเงยหรือมีลำต้นแคระแกร็นในที่สุด

ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า ผู้ที่แสวงผลลัพธ์ก่อนถึงเวลาอันควรไม่ต่างอะไรกับผู้ที่หว่านเมล็ดพันธุ์บนผืนดินที่ไม่เหมาะสม (สุดท้ายก็ต้องสูญเสียทุนทรัพย์และแรงกายไปโดยเปล่าประโยชน์)[1]

ไม่ว่าประสบการณ์ ปัญญา ศาสนา ก็ล้วนประณามและยืนยันถึงความน่ารังเกียจของการลนลานทั้งสิ้น รอฆิบ อิศฟะฮานี ถือว่าจิตไฝ่ต่ำคือต้นกำเนิดของการลนลาน และถือว่านี่คือสาเหตุที่กุรอานตำหนิอุปนิสัยดังกล่าวไว้[2]

ท่านอิมามอลี(อ.)ถือว่าการรีบร้อนเกิดจากความเบาปัญญา ท่านกล่าวว่า “การรีบร้อนก่อนความพร้อมคือความเขลา”[3]

ท่านนบี(ซ.ล.)มีทัศนคติเกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรีบร้อนและความสุขุมว่า ความสุขุมคือพฤติกรรมแห่งอัลลอฮ์ และการรีบร้อนคือพฤติกรรมแห่งชัยฏอน”[4]

เมื่อคำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการรีบร้อนก็จะช่วยทำให้เราหลีกเลี่ยงอุปนิสัยดังกล่าว และช่วยให้สามารถเสริมสร้างอุปนิสัยความสุขุมให้เป็นแนวทางชีวิต

ผลเสียของการรีบร้อน

อุปนิสัยที่น่ารังเกียจล้วนเป็นเหตุแห่งความเสียหายทั้งสิ้น ซึ่งนอกจากจะน่ารังเกียจแล้ว ยังมีผลเสียอันมหันต์ที่ยิ่งทำให้น่ารังเกียจมากขึ้นทวีคูณอีกด้วย เพื่อให้ทราบถึงผลเสียของการรีบร้อน เราขอนำเสนอคำคมจากท่านอิมามอลี(อ.)ดังต่อไปนี้

1. ทำให้เสียใจ إِيَّاك‏ وَ الْعَجَلَ فَإِنَّهُ عُنْوَانُ الْفَوْتِ وَ النَّدَم “จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนเถิด เพราะจะทำให้สูญเสียโอกาสและทำให้เสียใจภายหลัง[5]
ทุกกิจกรรมที่เริ่มต้นโดยปราศจากการวางแผนมักจะจบลงด้วยความล้มเหลวและความเสียใจเสมอ และยังจะทำให้พลาดโอกาสที่จะแก้ตัวในภายหลังอีกด้วย

2. ไม่ประสบความสำเร็จ قَلَّ مَا تَنْجَحُ حِيلَةُ الْعَجُولِ น้อยนักที่แนวทางของคนรีบร้อนจะนำสู่ความสำเร็จ[6]
ความรีบร้อนมักเป็นเหตุให้บุคคลไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดีเสียก่อน ทำให้เสียโอกาสและไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ใจหมาย

3. สั่นคลอนและพ่ายแพ้  كَثْرَةُ الْعَجَلِ يُزِلُّ “ความรีบร้อนเกินเหตุจะทำให้สั่นคลอน”[7] قَلَّ مَنْ عَجِلَ إِلَّا هَلَك “น้อยคนนักที่มีนิสัยรีบร้อนทว่าไม่พ่ายแพ้”[8]

ความรีบร้อนมักเป็นเหตุให้บุคคลมองไม่เห็นหลุมพรางที่อยู่เบื้องหน้า ทำให้เสี่ยงต่อความพลาดพลั้งและการปราชัยในที่สุด

4. ทำให้เศร้าหมอง الْعَجَلُ قَبْلَ الْإِمْكَانِ يُوجِبُ الْغُصَّة “ความรีบร้อนกระทำก่อนความพร้อมจะนำมาซึ่งความอาดูร”[9]
ความร่าเริงแจ่มใสถือเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตมนุษย์ แน่นอนว่ามนุษย์ไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายได้ด้วยความโศกาอาดูร ฉะนั้น จึงไม่ควรแลกความร่าเริงแจ่มใสกับความเศร้าหมองอย่างเด็ดขาด

ท่านอิมามอลี(อ.)ยังได้กล่าวถึงผลเสียอื่นๆของการรีบร้อนไว้มากมาย แต่เพื่อรักษาเนื้อหาให้กระชับ จึงขอแนะนำให้ผู้สนใจหาอ่านฮะดีษในหนังสือ “ฆุเราะรุลฮิกัม” ตามหมวดว่าด้วยการรีบร้อน

ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จุดตรงข้ามของการรีบร้อนก็คือ “ความสุขุม” “การตรึกตรอง” อันหมายถึงการกระทำกิจใดๆโดยไตร่ตรองและชั่งใจไว้ก่อน
มีฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)ระบุว่า “ผู้คนต่างก็พินาศด้วยความรีบร้อน มาตรแม้นผู้คนตรึกตรองก่อนลงมือกระทำ จะไม่มีใครพินาศอีกเลย”[10]

ฮะดีษข้างต้นเป็นเครื่องยืนยันว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์มากที่สุดคือการรีบร้อน
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามศอดิก(อ.)จึงกล่าวว่า “ผู้ที่เริ่มกิจใดในเวลาที่ไม่เหมาะสม กิจนั้นก็จะยุติลงในเวลาที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน”[11]

จากที่นำเสนอทั้งหมดได้ข้อสรุปว่า หากต้องการจะได้รับความผาสุก ควรตรึกตรองให้ดีก่อนที่จะคิดกระทำการใดให้ดีโดยไม่รีบร้อน วิธีแก้อุปนิสัยรีบร้อนก็คือการคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา อีกทั้งพิจารณาผลดีของการวางตัวอย่างสุขุมอันเป็นอุปนิสัยของเหล่าศาสดาและกัลยาณชน อันจะทำให้สามารถตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะกระทำการทุกอย่างด้วยความสุขุม ความอดทน และการตรึกตรองเสมอ และหากพยายามกระทำได้เช่นนี้ระยะหนึ่ง ความสุขุมก็จะกลายเป็นอุปนิสัยแทนที่ความรีบร้อนในที่สุด

ท้ายนี้ไคร่ขอเน้นย้ำว่า การรีบร้อนต่างจากความฉับไวอย่างถูกกาลเทศะอย่างสิ้นเชิง ความฉับไวคือการกระทำการอย่างรวดเร็วเมื่อทุกเงื่อนไขพร้อมสรรพ ด้วยเหตุนี้ เหล่าผู้นำอิสลามจึงสนับสนุนการช่วงชิงโอกาสในการกระทำที่ดีงาม

ท่านนบี(ซ.ล.): “จงชิงโอกาสห้าประการก่อนห้าประการ วัยรุ่นก่อนวัยชรา สุขภาพก่อนความป่วยไข้ ความมั่งมีก่อนความยากจน โอกาสก่อนอุปสรรค ลมหายใจก่อนความตาย”[12]

อิมามอลี(อ.) “โอกาสจะผ่านพ้นไปประดุจดั่งเมฆที่ล่องลอย”[13]

อิมามอลี(อ.) “การประวิงเวลาเป็นสิ่งที่ดีเสมอ ยกเว้นกรณีความดีงาม”[14]

อิมามบากิร(อ.) “เมื่อเธอกำลังจะทำความดี จงรีบเร่งเถิด เพราะเธอไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในภายหลัง”[15]

อิมามศอดิก(อ.) “ผู้ใดดำริที่จะทำความดี ควรรีบเร่งโดยไม่ประวิงเวลา เพราะเมื่อบ่าวจะกระทำความดี อัลลอฮ์จะทรงตอบความดีของเขาว่า ข้าได้อภัยให้เจ้าแล้ว และจะมองข้ามความผิดพลาดในภายหลังด้วยเช่นกัน”[16]

 

 


[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,หน้า 52,คุฏบะฮ์ที่ 5, สำนักพิมพ์ดารุลฮิจเราะฮ์,กุม

[2] รอฆิบ อิศฟะฮานี, ฮุเซน บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟเราะด้าต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน,หน้า 548,ดารุชชามียะฮ์,เบรุต,ฮ.ศ.1412

[3] อามะดี,อับดุลวาฮิด,ฆุเราะรุลฮิกัม,หน้า 266,สำนักพิมพ์ศูนย์เผยแผ่ศาสนา,กุม,ปี 1366
ฎ็อบเราะซี, อลี บิน ฮะซัน,มิชกาตุลอันว้าร,เล่ม 1,หน้า 334,หอสมุดฮัยดะรียะฮ์,นะญัฟ,ฮ.ศ.1385

[4] ฆุเราะรุลฮิกัม,หน้า 267

[5] เพิ่งอ้าง

[6] เพิ่งอ้าง

[7] เพิ่งอ้าง

[8] เพิ่งอ้าง

[9] เพิ่งอ้าง

[10] บัรกี, อะฮ์มัด บิน มุฮัมมัด อัลมะฮาซิน, หน้า 215,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,กุม,ฮ.ศ.1371

[11] เศาะดู้ก, มุฮัมมัด บิน อลี, อัลคิศอล, เล่ม 1,หน้า 100,สำนักพิมพ์สมาคมมุดัรริซีน,กุม,ฮ.ศ.1403

[12] ฏูซี, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, อัลอะมาลี,หน้า 525,สำนักพิมพ์ดารุษษิกอฟะฮ์,กุม,ฮ.ศ.1414

[13] ฆุเราะรุลฮิกัม,หน้า 473

[14] เพิ่งอ้าง

[15] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ, อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 142,ฮะดีษที่ 3,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1365

[16] เพิ่งอ้าง, ฮะดีษที่ 6

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    9922 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • บรรดาเชลยแห่งกัรบะลาอฺมุฮัรรอม ได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺไปยังเมืองชามวันอะไร?
    6250 تاريخ کلام 2554/06/22
    ตามรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และมะกอติล, กองคาราวานเชลยแห่งกัรบะลาอฺได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺในวันที่ 11 เดือนมุฮัรรอมและวันที่ 12 เดือนมุฮัรรอมได้มาถึงเมืองกูฟะฮฺและเคลื่อนออกจากเมืองกูฟะฮฺไปยังเมืองชามในวันที่ 19 เดือนมุฮัรรอมและถึงเมืองชามในวันที่ 1 เดือนเซาะฟัร[1]
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6404 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6138 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6455 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9362 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์ที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญเทียบกับทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์ อย่างใดสำคัญกว่ากัน?
    7135 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/13
    เกี่ยวกับเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:1. ไม่ไช่ว่าฮะดีษทุกบทจะเชื่อถือได้ทั้งหมด2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อฮุก่ม(กฎศาสนา)3. ในจำนวนฮุก่มทั้งหมดมีฮุก่มวาญิบและฮะรอมเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว4. จะต้องพิจารณาแหล่งอ้างอิงให้ถี่ถ้วนตัวอย่างเช่นกรณีของการร้องไห้นั้นยังมีข้อถกเถียงกันได้เพราะแม้ว่าวะฮาบีจะฟัตวาห้ามร้องไห้แก่ผู้ตายแต่ในแง่สติปัญญาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้นอกจากนี้ฮะดีษทั้งสายซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ปรากฏเหตุการณ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ร้องไห้ให้กับผู้ตายหรือบรรดาชะฮีดเช่นท่านฮัมซะฮ์หรือมารดาท่านนบี(ซ.ล.) ตลอดจนกรณีอื่นๆอีกมาก 5. อุละมาอ์และผู้รู้ระดับสูงสอนว่ามีบางพฤติกรรมที่ผู้ไว้อาลัยไม่ควรกระทำซึ่งบางกรณีอาจทำให้ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ด้วยฉะนั้นจะต้องแยกแยะระหว่างพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนาของผู้คนที่ไม่รู้ศาสนากับคำสอนที่แท้จริงของอิสลามและบรรดาอุละมาอ์ ...
  • เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
    7915 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึงมิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่น “การตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า”
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6329 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ทำอย่างไรจึงจะฝันเห็นท่านเราะซูล(ซ.ล.)
    11255 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    ในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(เล่มสมบูรณ์)มีซิเกรและอะมั้ลที่ทำให้สามารถฝันเห็นเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ได้อย่างไรก็ดีวิธีเหล่านี้ไม่อาจจะเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ที่ทำให้สามารถฝันเห็นบุคคลที่เราต้องการเสมอไปกล่าวคือไม่ไช่ว่าทุกคนจะสามารถฝันเห็นท่านศาสดาด้วยอะมั้ลเหล่านี้ได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากทักษะดังกล่าวจำเป็นต้องควบคู่กับการหยุดทำบาปและปฏิบัติศาสนกิจภาคบังคับอย่างเคร่งครัดตลอดจนต้องมีจิตใจอันบริสุทธิเพียงพอเสียก่อน. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59365 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27109 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...