การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5600
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1426 รหัสสำเนา 19003
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามฮุซัยนฺและเหล่าสหายในวันอาชูทั้งที่มีน้ำอยู่เพียงน้อยนิด และฆุซลฺได้อย่างไร?
คำถาม
ตำราประวัติศาสตร์,และตำราอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันอาชูรอ, หลังจากกล่าวถึงเรื่องราวประการหนึ่งคือ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้นมาซซุบฮฺพร้อมกับเหล่าสหายเสร็จแล้ว ท่านได้จัดระเบียบทหารใหม่, ซึ่งตำราเหล่านี้กล่าวว่า : “أمر فضرب له فسطاط ، ثم أمر بمسک فمیث فی جفنة، ثم دخل الحسین فاستعمل النورة و" แสดงให้เห็นว่าท่านอิมาม (อ.) ได้ออกคำสั่งตั้งคัยมะฮฺ และสั่งให้นำสิ่งทำความสะอาดมาให้ท่าน ซึ่งสิ่งนั้นบรรจุอยู่ในภาชนะ, หลังจากนั้นท่านได้เข้าไปในคัยมะฮฺเพื่อขจัดขนที่ยาวรกรุงรัง โดยใช้ “นูเราะฮู” และยังมีสิ่งอื่นอีกโดยกล่าวว่า, มีสหายสองคนของท่านอิมามได้รีบเข้าไปในคัยมะฮฺหลังจากอิมาม เพื่อแข่งขันกับท่านอิมาม หลังจากนั้นท่านอิมามได้ออกมาข้างนอกคัยมะฮฺ และเข้าไปในคัยมะฮฺเพื่อทำความสะอาด ซึ่งบางส่วนได้ชำระล้างด้วยใบพุทรา ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายว่า อิมาม ได้ฆุซลฺชะฮาดัต ซึ่งพวกเราทั้งหมดทราบเป็นอย่างดีว่า ฆุซลฺ ชะฮาดัตนั้นไม่ต้องการ นูเราะฮฺ แต่อย่างใด
ซึ่งเหตุผลของการทำความสะอาดนั้นสามารถจับประเด็นได้จาก การสนทนาระหว่าง อับดุรเราะฮฺมาน บุตรของ อับดุร็อบบะฮฺ กับบุเรร บุตรขิง ฮะฎีรุลฮัมดานียฺ ...บุเรร ได้พูดคุยกับอับดุรเราะฮฺมาน ซึ่งอับดุรเราะฮมานกล่าวกับเขาว่า :
ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะพิถึพิถันอะไรอีก
บุเรรกล่าวว่า : ฉันขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺ ซึ่งเผ่าชนของฉันนับถือ, ทั้งชายหนุ่มและผู้อาวุโสต่างไม่ชอบเรื่องการพูดพร่ำ แต่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าฉัน และสิ่งที่ฉันได้รับแจ้งข่าวดีนั้น ฉันดีใจมาก ฉันขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺว่า ความห่างระหว่างเรากับนาวสวรรค์ผู้มีความงามเสมือนรุ่งอรุณในยามเช้าตรู่ อยู่แค่เพียงพวกเขา (ทหารของอุมมัร บิน สะอัด) ได้ชักดาบแล้วฟันลงมาบนเราเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตามสาเหตุนั้นไม่สำคัญเท่าไหร่นัก เพราะเกี่ยวข้องกับท่านอิมาม (อ.) กับสหายของท่าน, สิ่งที่เป็นคำถามหนักใจคือความขัดแย้งกันที่มีอยู่ระหว่างเรื่องราวต่างๆ ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซึ่งการจัดพิธีกรรมให้กับโศกนาฏกรรมของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งสิ่งที่เราได้ยินกันมาตั้งนมนานแล้วคือ ทุกคนต่างกล่าวกันถึงเรื่อง การไม่มีน้ำในคัยมะฮฺของท่านอิมาม จนกระทั่งประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกเอาไว้ด้วย
ประโยคที่ได้กล่าวตอนต้นนั้นคัดลอกมาจากหนังสือประวัติศาสตร์ “อัลกามิลฟิลตารีค” (พิมพ์ที่เบรูต 1987 ดารุลกุตุบ อัลอะละมียะฮฺ), อะซัร (อิบนุ อะซีรุลญัซรียฺ) เสียชีวิตเมื่อปี ฮ.ศ. 630, หน้าที่ 418.
ตำราบางเล่มที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวดังกล่าว ประกอบด้วย :
- มักตะลุลฮุซัยนฺ และเล่มที่ห้า เฏาะบะกอต อาซาร วากิดียฺ
- ตารีค อัฏฏ็อบรียฺ, มุฮัมมัด บิน ญะรีร อัฏฏ็อบรียฺ (ฮ.ศ. 224 – 310), เล่ม 5, หน้า 422 – 423, พิมพ์ครั้งที่ 2, กอเฮเราะฮฺ ปี 1967, ดารุลมะอาริฟ
- อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ, อิบนุกะซีร (ฮ.ศ. 701 – 774) เล่ม 11, หน้า 534, พิมพ์ครั้งแรก ดารุลฮิจญฺ 1998.
- ซีเราะฮฺมะอฺซูมอน, ซัยยิดมุฮฺซิน อะมีน ยะบัล ออมิลียฺ, แปลโดย อะลี ฮุจญฺตียฺ เกรมอนนียฺ, เล่ม 4, หน้า 152, และหนังสืออื่นๆ อีก
ดังนั้นเมื่อพิจารณาสิ่งที่กล่าวผ่านมา, จะพบว่าการขาดน้ำอย่างน้อยที่สุดจนถึงตอนเช้าของวันอาชูรอไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ เนื่องจากการจัดเตรียมน้ำไว้อย่างพอเพียงแล้ว โดยท่านอิมาม (อ.) กับสหายอีกสองคนของท่านยังได้ทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำนั้น แน่นอน ถ้าหากสภาพเป็นดังเช่นที่กล่าวมาจริงละก็ ปัญหาจะอยู่ที่ว่าเราต้องเผชิญหน้ากับความจริงที่ได้กล่าวกันมาอย่างช้านานในพิธีกรรมที่จัดขึ้น และทุกที่กล่าวเหมือนกันหมดว่า คัยมะฮฺ อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ปราศจากน้ำ ซึ่งท่านอิมามได้เก็บน้ำไว้แค่พอเพียงสำหรับเด็กๆ ที่จะดื่มเพื่อดับกระหายเท่านั้น ดังนั้น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ จะอธิบายอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

การพิจารณาและวิเคราะห์รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกระหายของเหล่าสหาย และบรรดาอธฮฺลุลบัยตฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และรายงานที่กล่าวถึง การฆุซลฺ (อาบน้ำตามหลักการ) การชำระล้าง และวุฎูอ์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) กับสหายของท่านในตอนเช้าของวันอาชูรอ, จำเป็นต้องกล่าวว่าตรงนี้คือ หนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและเป็นความเชื่อถือทางประวัติศาสตร์คือ การห้อมล้อมกองคาราวานของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เพื่อมิได้สัมผัสกับน้ำ และอีกประการหนึ่งคือความหิวกระหายของท่านอิมาม (.) ในช่วงสุดท้ายของการเป็นชะฮาดัต, แต่มีคำกล่าวอย่างอื่นอีกในหนังสือประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่มีสิ่งใดเชื่อถือได้ทั้งสิ้น ประกอบกับสายรายงานก็ไม่หน้าเชื่อถือแต่อย่างใด

และถ้าเราไม่ใส่ใจในสายรายงานฮะดีซ โดยจับประเด็นต่างๆ ที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้มาตีความและสรุป ถ้ากระทำเช่นนั้นจริงต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย :

1.ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) กับสหายของท่านต่างมีความเชื่อมั่นในเรื่องการเป็น ชะฮีด ตั้งแต่แรกแล้ว และท่านก็ได้เตรียมพร้อมตัวเองเพื่อชะฮีดมาก่อนแล้ว, ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมาม (.) จึงปรารถนาที่จะให้การชะฮีดในครั้งนี้มีความสวยงามที่สุดทั้งภายนอกและภายใน มีความสะอาดบริสุทธิ์ที่สุดในรายละเอียดปลีกย่อยของการเป็นชะฮีดครั้งนี้, และเราทุกคนต่างทราบกันเป็นอย่างดีว่า การฆุซลฺ นั้นเป็นการชำระล้างภายนอกร่างกายให้สะอาด อันเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการชำระล้างภายในและจิตวิญญาณให้สะอาดตามไปด้วย, แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ (การฆุซลฺที่ไม่ใช่กิจวัตร) ไม่ต้องใช้น้ำจำนวนมากมายอะไร ทว่าน้ำเพียงเล็กน้อยก็สามารถฆุซลฺได้แล้ว

2. การห้อมล้อมของฝ่ายศัตรูที่ได้กระทำอย่างเข้มแข็งเพื่อมิให้กองคาราวานของท่านอิมาม (.) ได้สัมผัสกับน้ำ, ประกอบกับอากาศที่ร้อนระอุ, และยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ อากาศก็จะยิ่งร้อนเป็นทวีคูณ, ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า เวลาที่อิมาม (.) สั่งให้ฆุซลฺ หรือชำระล้างทำความสะอาดนั้นอาจตรงกับช่วงเวลาที่พอจะหาน้ำได้ ไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม แต่หลังจากนั้นฝ่ายศัตรูได้จำกัดพื้นที กดดัน และบีบบังคับมากยิ่งขึ้น ประกอบกับอากาศก็ทวีความร้อนรุอุรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้กองคาราวานของท่านอิมามต้องเผชิญกับความหิวกระหายอย่างรุนแรงในตอนบ่าย

3.อาจเป็นไปได้ว่าน้ำที่ใช้ฆุซลฺนั้น เป็นน้ำที่ไม่สามารถดื่มกินได้.

ด้วยเหตุนี้เอง สามารถกล่าวได้ว่ารายงานทั้งสองกลุ่มที่มีอยู่สามารถยอมรับได้ โดยไม่ขัดแย้งกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

พยานหลักฐานที่มีอยู่เกี่ยวกับความหิวกระหายของท่านอิมามฮุซัยน (.) กับเหล่าสหาย และการปิดห้อมล้อมกองคาราวานของท่านเพื่อไม่ให้มีน้ำ สิ่งที่ตกทอดมาถึงมือเราปัจจุบันคือ

1.บันทึกทางประวัติศาสตร์ทั้งหมด ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่าประมาณ 3 วันก่อนการชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และสหาย น้ำได้ถูกปิดล้อมไปแล้ว, โดยอิบนุซิยาด ได้มีคำสั่งแก่อัมรุสะอัด (ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งเขา) ว่า จงกีดกั้นขวางทางระหว่างกองคาราวานของท่านฮุซัยนฺ บิน อะลีกับน้ำเอาไว้ และจงอย่าให้พวกเขาได้มีโอกาสสัมผัสน้ำเลยแม้แต่น้อย และในการนี้อุมะริบสะอัด กับอุมัร บินฮัจญาจญฺ ได้ใช้ทหารถึง 500 คน

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่อพิจารณาโองการต่างๆ และรายงานฮะดีซแล้ว ช่วยชี้แนะด้วยว่าระหว่างเกียรติยศและความประเสริฐของอัลกุรอานกับอะฮฺลุลบัยตฺ สิ่งไหนสูงกว่ากัน?
    6227 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/21
    รายงานต่างๆจำนวนมากมายเช่นฮะดีซซะเกาะลัยนฺและอิตรัต, ได้ถูกแนะนำว่าเป็นสองสิ่งหนักที่มีความเสมอภาคกัน, ใช่แล้วบางรายงานฮะดีซเฉกเช่นสิ่งที่กล่าวไว้ในฮะดีซซะเกาะลัยนฺ
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6783 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    6706 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    8568 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีบุคลิกภาพด้านใดบ้าง?
    10998 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/09/22
    มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจความรู้และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคมขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้1. ท่านหญิงใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอใจวิถีชีวิตสมถะทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด2. บริจาคของรักของตนมากมายทั้งที่ยังจำเป็นต้องใช้3. ทำอิบาอะฮ์และวิงวอนต่ออัลลอฮ์สม่ำเสมอด้วยความบริสุทธิใจ4. เป็นภาพลักษณ์แห่งจริตกุลสตรีและความเหนียมอาย5. แบบฉบับที่สมบูรณ์ด้านการสวมฮิญาบตามวิถีอิสลาม6. มีความรู้อันกว้างขวางซึ่งประจักษ์ได้จากการรับทราบเนื้อหาในตำรา"มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"7.
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5319 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4259 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56816 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8658 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6346 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56816 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38384 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...