การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8396
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1428 รหัสสำเนา 19004
คำถามอย่างย่อ
การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
คำถาม
การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหา หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ ถือว่ไม่อนุญาต และมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน

แต่ถ้าติดต่อกันเนื่องจากเป็นอาชีพ เช่น, เพื่อนร่วมงาน วิชาการการ และการศึกษา, ถ้าหากการติดต่อกันนั้นมิได้เป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหาย หรือข้อครหาในทางไม่ดี ประกอบกับได้ใส่ใจในเรื่องกฏเกณฑ์อยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นไร

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตามทัศนะของหลักการอิสลามการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างชายหนุ่ม และหญิงสาวก่อนการสมรส, ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกันโดยตรง หรือผ่านสื่อทางอ้อมอื่นๆ, ถ้าหากมีเจตนาเพื่อตัณหาราคะ (เพศสัมพันธ์) หรือกลัวว่าจะเกิดข้อครหานินทา หรือกลัวว่าการติดต่อกันนั้นจะนำไปสู่การทำความผิดอื่น, ถือว่าไม่อนุญาและผิดหลักการแน่นอน. ดังนั้น ลองพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดต่อไปนี้ ซึ่งคำวินิจฉัยบางบทจะทำให้ประเด็นดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น :

คำถามที่ 1 : ในการพูดคุยกันระหว่างชายหนุ่ม กับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม,มีความแตกต่างกันหรือไม่ ระหว่างพูดคุยโดยตรงกับผ่านสื่อทางอ้อมอื่น?

มัรญิอฺทั้งหมด : ไม่, ไม่มีความแตกต่างกันเลยในแง่ของกฏเกณฑ์ และทั้งสองกรณี, ถ้าหากมีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ และเกรงว่าจะเป็นฮะรอม ถือว่าขัดกับชัรอียฺ[1]

คำถามที่ 2 : แชดกับเพศตรงข้าม หรือพูดคุยกันทั่วๆ ไป มีกฏเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?

มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือนำไปสู่ความบาป ถือว่าไม่อนุญาต[2]

คำถามที่ 3 : การให้สลามระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ถือว่าอนุญาตหรือไม่?

มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากมิได้มีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ หรือมิได้เกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรม, ไม่เป็นไร[3]

คำถามที่ 4 : การล้อเล่นกับเพศตรงข้ามที่เป็นนามะฮฺรัมมีกฏเกณฑ์เป็นอย่างไร?

มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากมมีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรม, ไม่อนุญาต[4]

คำถามที่ 5 : การติดต่อกันอย่างใกล้ชิดระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวขณะร่วมงานกัน หรือขณะเป็นแขกผิดหลักการหรือไม่?

มัรญิอฺทั้งหมด : การเป็นเพื่อนหรือกิ๊กระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว ถือว่าไม่อนุญาต, เนื่องเกรงว่าจะนำไปสู่การกระทำผิดในระหว่างติดต่อกัน, แต่ถ้าเป็นการติดต่อกันเพราะเป็นอาชีพ หรือหน้าที่, ถ้าหากไม่ได้เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหาย, หรือใส่ใจต่อหลักการเป็นพิเศษอยู่แล้ว, ถือว่าไม่เป็นไร.[5]

คำถามที่ 6: การเขียนจดหมายติดต่อกับนามะฮฺรัม หรือการติดต่อในเชิงชู้สาวผ่านทางอีเมล์ มีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง?

มัรญิอฺทั้งหมด : การติดต่ออันเป็นสาเหตุนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือเป็นสาเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหายอย่างอื่น ถือว่าขัดต่อหลักชัรอียฺ ไม่อนุญาต[6]

จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดและปัญหาที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ ได้บทสรุปว่า : การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว ก่อนการแต่งงาน ไม่ว่าจะติดกันโดยตรงหรือผ่านสื่อ, ถ้ามีเจตนาเพื่อสนองตอบตัณหาราคะ (เพศสัมพันธ์) หรือเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรมแล้วละก็ ถือว่าไม่อนุญาตและขัดต่อหลักชัรอียฺ.

แต่การติดต่อระหว่างเพื่อนร่วมงาน ติดต่อด้านวิชาการ หรือเพื่อการศึกษา, ถ้าหากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือรักษาหลักการชัรอียฺระหว่างการติดต่อ ถือว่าไม่เป็นไร[7]



[1] อิมาม,อิสติฟตาอาต,เล่ม 3, คำถามที่ 52, บะฮฺญัติ,เตาฎีฮุลมะซาอิล, ข้อที่ 1936, มะการิมชีรอซียฺ, อิฟติฟตาอาต, เล่ม 1, คำถามที่ 819, ตับรีซีย์, อิสติฟตาอาต, 1622, ซอฟีย์, ญามิอุลอะฮฺกาม, เล่ม 2, หน้า 1673, นูรีย์, อิสติฟตาอาต, เล่ม 2, คำถามที่ 565, ฟาฏิล, ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1,หน้า 1718, คอเมเนอีย์, อัจญฺวะบะตุลอิสติฟตาอาต, คำถามที่ 1145, อัลอุรวะตุลวุฟกอ, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อที่ 3, ซิตตานีย์, sistani.org, อินเทอร์เน็ต, ตับรีซีย์, tabrizi.org,อินเทอร์เน็ต, ดัฟตัร ทั้งหมด

[2]ซิตตานีย์, sistani.org, อินเทอร์เน็ต, ตับรีซีย์, tabrizi.org,อินเทอร์เน็ต, ดัฟตัร ทั้งหมด

[3] อัลอุรวะตุลวุฟกอ, เล่ม 2,อันนิกาฮฺ, ข้อที่ 39 และ 41.

[4] อ้างแล้ว, ข้อที่ 31, 39, ฟาฏิล ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1, คำถามที่ 1720, คอเมเนอีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 782.

[5] คอเมเนอีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 779, 651, และตัฟตัรทั้งหมด.

[6] อิมาม,อิสติฟตาอาต, เล่ม 3, คำถามต่างๆ, คำถามที่ 127, และตัฟตัรทั้งหมด.

[7] สรุปย่อมาจากหนังสือ ริซาละฮฺ ดอเนชญู, ดัฟตัร 16, หน้า 191, 195, สรุปมาจากคำถามที่ 1222 (แชดระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
    8140 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่มเนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่นนมาซศีลอด ...ฯลฯและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(
  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    7255 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8324 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
    6690 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อขอให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วยอิบนิ อับบาสเล่าว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7741 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    5781 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
  • การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
    13116 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/09
    ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน” สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรู้จักบุคคลสำคัญในสวรรค์และนรก?
    6224 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    มีหลายโองการในกุรอานที่กล่าวถึงบทสนทนาระหว่างชาวสวรรค์และชาวนรก ซึ่งทำให้พอจะทราบคร่าวๆได้ว่าชาวสวรรค์สามารถที่จะรับรู้สภาพและชะตากรรมของบุคคลต่างๆในนรกได้ นอกจากนี้ เหล่าบุรุษชาวอะอ์ร้อฟรู้จักสีหน้าของชาวสวรรค์และชาวนรกเป็นอย่างดี มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าเหล่าบุรุษแห่งอะอ์ร้อฟนั้น ตามนัยยะเชิงแคบก็คือบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ.) ส่วนนัยยะเชิงกว้างก็หมายถึงบรรดามนุษย์ที่ได้รับการเลือกสรร ซึ่งจะอยู่ในลำดับถัดจากบรรดาอิมาม โดยบุคคลเหล่านี้อยู่เหนือชาวสวรรค์และชาวนรกทั้งมวล เราขอนำเสนอความหมายของโองการเหล่านี้ดังต่อไปนี้ 1. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ อัศศ้อฟฟ้าต “ในสรวงสวรรค์ ผู้คนต่างหันหน้าเข้าหากันแล้วถามไถ่กันและกัน โดยหนึ่งในนั้นเอ่ยขึ้นว่า แท้จริงฉันมีสหายคนหนึ่งที่ถามฉันว่า เธอเชื่อได้อย่างไรที่ว่าหลังจากที่เราตายและกลายเป็นธุลีดินแล้ว จะถูกนำไปพิพากษา (ชาวสวรรค์กล่าวว่า) ท่านรับรู้สภาพปัจจุบันของเขาหรือไม่? เมื่อนั้นก็ได้ทราบว่าเขาอยู่ ณ ใจกลางไฟนรก (ชาวสวรรค์)กล่าวแก่เขาว่า ขอสาบานต่อพระองค์ เจ้าเกือบจะทำให้ฉันหลงทางแล้ว หากปราศจากซึ่งพระเมตตาของพระองค์ ฉันคงจะอยู่(ในไฟนรก)เช่นกัน”[1] 2. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ มุดดัษษิร “ทุกคนย่อมค้ำประกันความประพฤติของตนเอง นอกจากสหายแห่งทิศขวาซึ่งจะถามไถ่กันในสรวงสวรรค์ ...
  • ฮะดีษที่ว่า “วันที่มุสลิมจะจำแนกเป็น 73 จำพวกจะมาถึง” เชื่อถือได้หรือไม่?
    12566 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษชุด“การแตกแยกของอุมมะฮ์”มีบันทึกในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตามสายรายงานที่หลากหลายเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้ล้วนระบุถึงการที่มุสลิมจำแนกเป็นกลุ่มก้อนภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งถือเป็นเอกฉันท์ในแง่ความหมายส่วนในแง่สายรายงานก็มีฮะดีษที่เศาะฮี้ห์และสายรายงานเลิศอย่างน้อยหนึ่งบท ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11154 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38389 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...