การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5999
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1580 รหัสสำเนา 26989
คำถามอย่างย่อ
จะมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เพื่อให้บุตรหลานรักการอิบาดะฮฺ?
คำถาม
บุตรชายของดิฉันมีความอ่อนแอมากในเรื่องอิบาดะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องนะมาซ, บางเขาได้ทำนะมาซเพราะคำอ้อนวอนของบิดา, แต่บางครั้งแม้บิดาจะอยู่ด้วยแต่เขาก็ไม่นะมาซ ซึ่งดิฉันเป็นห่วงอนาคตของเขามาก ตอนนี้เขามีอายุ 23 ปี ซึ่งดิฉันเพิ่งจะหมั้นหมายผู้หญิงให้เขา ดังนั้น อยากทราบว่าหน้าที่ของฉัน ในฐานะมารดาคืออะไร? ถ้าหากบิดาของเขารู้ว่า เขาตั้งใจไม่นะมาซ เขาจะต้องโกรธและไล่ออกจากบ้านอย่างแน่นอน และสิ่งนี้ก็ไม่อาจปกปิดเขาได้ ซึ่งเขาพอรู้บ้างแล้ว ฉันรู้สึกหนักใจและเป็นห่วงอย่างยิ่ง โปรดให้คำแนะนำด้วย
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้ปฏิบัติข้อบังคับของศาสนา เบื้องต้นสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการวิเคราะห์ความคิดของเขา หลังจากนั้นจึงจะหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมต่อไป, ทัศนะของบุคคลและความเชื่อที่มีต่ออัลลอฮฺ, โลกทัศน์ของพระเจ้า,มนุษย์, วันฟื้นคืนชีพ และ...  เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเชื่อ เพราะจะช่วยทำให้เขามั่นคงต่อการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติข้อบังคับต่างๆ และความประพฤติ การโน้มน้าวทางความเชื่อ การมีวิสัยทัศน์ที่ดี และการมีความคิดดีกับฝ่ายตรงข้าม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน)  ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดมรรคผลในทางที่ดี การอบรมสั่งสอนและการส่งเสริม จึงจำเป็นต้องเริ่มจากความคิดของเขาก่อน แน่นอน การที่บิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตร โปรแกรมการอบรมสั่งสอนย่อมไม่ได้ผล หรือล้มเหลวแน่นอน

โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมด้านการอบรม สามารถสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนได้ บางวิธีการเป็นวิธีที่มีความจำเป็นและเหมาะสม ดังเช่น :

1 ให้เกียรติบุตร: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า "จงให้เกียรติลูกๆ ของตนและจงอบรมสั่งสอนให้ดี"

2 รู้ถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในช่วงวัยรุ่น (เช่นความเป็นอิสระ, อารมณ์, ฯลฯ) เป็นการรู้จักทั่วไปถึงสภาพจิตใจอันเฉพาะของลูกแต่ละคน และพยายามจัดหาสิ่งพวกเขารอคอย และความต้องการอันเป็นที่ยอมรับทางชัรอียฺ ในช่วงวัยรุ่นของพวกเขา

3 เป็นจุดสำคัญของสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ให้เป็นวัฒนธรรมความรัก ความสงบ ความมั่นคงทางความรู้สึก

4 เห็นคุณค่าของความสำเร็จ และให้ความชื่นชมตามความเหมาะสม

5 ประกาศความไม่พอใจ เมื่อเขาได้กระทำการที่น่ารังเกียจ (แม้จะฝืนใจทำในบางครั้งก็ตาม)

6 เสนอความต้องการของตน ในลักษณะของการเรียกร้องของพวกเขา ให้คำแนะนำ หรือผ่านคนที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา เช่น คู่หมั้น

7 หลีกเลี่ยงการสั่งหรือห้ามมากเกินไปและซ้ำๆ กัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

การอบรมสั่งสอนบุตรถือเป็นภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาร และมีวิธีการต่างๆ ที่ละเอียดอ่อนมากมาย ซึ่งจำเป็นต้องเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างดี และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาให้ดีและเร็วขึ้น ในกรณีที่เป็นไปได้ให้ปรึกษาศูนย์ให้คำแนะนำที่เชื่อถือได้ (เช่น ศูนย์ให้คำแนะนำทางวัฒนธรรมและศาสนา) เพื่ออย่างน้อยให้เราได้คุ้นเคยกับคำแนะนำต่างๆ ของผู้ให้คำปรึกษาด้านศาสนา ขณะเดียวกันจะได้เรียนรู้ทีจะใช้ประโยชน์ด้านจิตวิทยา และการอบรมสั่งสอน

แต่ก่อนอื่นใดสิ่งจำเป็นต้องเอาใจใส่ก่อนคือ แนวความคิดของลูกๆ แนวคิดด้านความศรัทธาของบุคคลเกี่ยวกับพระเจ้า โลกแห่งการมีอยู่ มนุษย์ วันฟื้นคืนชีพ และ ...เหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงกับความศรัทธา และเป็นรากฐานสำคัญในการยืนหยัดของเขา ต่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นข้อบังคับ การปฏิบัติ และความประพฤติ[1]

ตรงนี้จะขอนำเสนอวิธีการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้อง บางวิธีกล่าวคือ มนุษย์ทุกคนนั้นมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน ดังนั้น จำเป็นที่เราต้องรู้จักคุณลักษณะพิเศษเหล่านั้น และพยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับคุณลักษณะพิเศษของเขา ในทุกด้านและทุกขั้นตอนการดำเนินชีวิตของเขา เพราะกี่มากน้อยแล้วที่บางคนได้นำวิธีการอบรมสั่งสอนสมัยเด็ก มาใช้ช่วงที่เขาเติบโตเป็นวัยรุ่น ซึ่งนอกจากจะไม่เหมาะสมและไม่เข้ากันแล้ว ยังสร้างปัญหาอีกต่างหาก

คุณสมบัติบางประการช่วงวัยรุ่นและช่วงเป็นเยาวชน ประกอบด้วย[2]

ก) การลดความสำคัญของรูปแบบ และพฤติกรรมในครอบครัว แต่จะยอมรับมากกว่าจากเพื่อน หรือผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน ในเรื่องเสื้อผ้า การแสดงออก ทรงผม และ ...หรือแม้แต่แนวโน้มด้านวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งบางครั้งพวกเขาก็ยอมรับเรื่องศาสนา ซึ่งในหมู่เพื่อนด้วยกันแล้วถือว่าเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง[3]

ข) การสื่อสารทางสังคมนอกบ้านบ่อยครั้ง กับเพื่อน และกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม กีฬา การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา และ ...ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้เวลาของเขาเหลือน้อย ที่จะอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัว และในบางครั้งบิดามารดาก็มีความรู้สึกว่า บุตรกลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับตน[4]

ค) รักความเป็นอิสระส่วนตัว และปล่อยวางข้อจำกัดของบุคลิกภาพในวัยเด็ก และเข้าร่วมกับกลุ่มเด็กโต ซึ่งในกรณีที่ไม่ประสบความสำเร็จ ในทิศทางนี้โดยปรกติจะประท้วงด้วยการแสดงความดื้อรั้น และแสดงความอวดดีออกมา นอกจากนั้นจะกระทำในภารกิจที่ไม่ปรกติธรรม จะแสดงพฤติกรรมไม่ดีใจร้อน และในความเป็นจริงจะพูดด้วยภาษาของตนว่า จงให้เกียรติฉันบ้าง เคารพในความเป็นส่วนตัว และความอิสระของฉัน[5]

จ) ไม่ให้เกียรติ ความประพฤติไม่เหมาะสม การตำหนิ และการดูถูก สิ่งเหล่านี้จะนำเขาไปสู่การมีความประพฤติไม่ดี การคิดแก้แค้น และบางครั้งจะนำไปสู่อาชญากรรมอย่างอื่นด้วยซ้ำไป[6] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ความสุดโต่งในการตำหนิและการต่อต้านและความดื้อรั้น (บุคลที่สอง) จะเป็นชนวนไปสู่หนทางไม่ดี”[7]ท่านอิมามได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า “จงเหลีกเลี่ยงจากการตำหนิซ้ำซาก เพราว่าสิ่งที่พวกเขาตำหนิ ผู้กระทำผิดก็จะทำการงานที่ไม่ดีซ้ำซากอยู่เช่นนั้น (อีกด้านหนึ่ง) การตำหนิจะทำลายชื่อเสียงและลดคุณค่าตัวเอง”[8]

ฉ) การอบรมเด็กและโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าคนอื่น เท่ากับทำให้เขาอับอายขายหน้า และเป็นการทำลายบุคลิกภาพ ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “การอบรมต่อหน้าคนอื่นคือ ทำลายและบทขยี้บุคลิกของเขา”[9]

สำหรับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับบุตรของตน สิ่งสมควรคือ

1) ในการอบรมสั่งสอนควรเอาใจใส่ในแบบฉบับ และรายงานของบรรดามะอฺซูม (อ.) ทีสำคัญควรสนใจเป็นพิเศษด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจะต้องพิจารณาอย่างถูกต้องว่า บรรดามะอฺซูม (อ.) มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับเยาวชน

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวเกี่ยวกับช่วงวัยรุ่นว่า “เนื่องจากความไม่รู้ของคนหนุ่มสาว ดังนั้น ความรู้น้อยและการไม่รู้ของเขาจึงถูกยกเว้น”[10]

เมื่อพิจารณาคำกล่าวของท่านอิมาม และคำสั่งอื่นๆ ของท่าน อันเป็นสาเหตุนำไปสู่ความอดทนมากขึ้น และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ของหนุ่มสาวขณะที่พวกเขาทำความผิดพลาด

2) ในการอบรม จะต้องหลีกเลี่ยงการอธิบาย เรื่องการหมดหวังในด้านความเชื่อทางศาสนา แต่จำเป็นต้องกล่าวถึงความเมตตา ความปรานี และความเอ็นดูของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว นักจิตวิทยาจำนวนมาก เช่น โรเจอร์ส และคนอื่นๆ เชื่อว่าพฤติกรรมได้รับอิทธิพลมาจากอารมณ์ความรู้สึก ทัศนะคติ การรับรู้ และความอารมณ์ความรู้สึกคือ ตัวกำหนดพฤติกรรม ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากผู้สอนศาสนา นำเสนอเฉพาะในรูปแบบที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว สิ้นหวัง และการปฏิเสธ ดังนั้น เป้าหมายอันสูงส่งและมีความจำเริญยิ่งของศาสนา จะไม่มีวันบรรลุเด็ดขาด[11] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ความชอบนั้นดีกว่าความกลัวมากมายนัก”[12]

3) ด้วยความรัก ความสนใจ และการให้ของขวัญในโอกาสต่างๆ ที่เหมาะสม เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้หัวใจของเด็กมีแนวโน้มมายังให้มากที่สุด เพื่อชดเชยการขาดหายไปของความรักของตน ซึ่งพวกเขาจะแทนที่ด้วยเพื่อนนอกบ้านที่ไม่ดี ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงการให้เกียรติต่อบุตรว่า “จงให้เกียรติบุตรของตน และจงอบรมสั่งสอนให้ดีที่สุด”[13]

4)จงหลีกเลี่ยงการมีนิสัยที่ไม่ดีและความรุนแรง ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “การมีนิสัยไม่ดีจะทำให้ทั้งญาติและมิตรหนีออกห่าง คนแปลกหน้าก็จะไม่สนใจต่อเขา”[14]

5) พยายามลืมเลือนการกระทำบางอย่าง อันเป็นความผิดพลาดของพวกเขา และแสร้งทำเป็นไม่มีข้อมูลในบางเรื่องของความผิดพลาดของเขา เนื่องจากถ้าไม่กระทำเช่นนี้แล้ว ความละอาย และความยับยั้งชั่งใจของเขา ที่มีมายังท่านจะลดน้อยลงไป ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “บุคคลที่ชาญฉลาดครึ่งหนึ่งของเขาคือ ความอดทนและขันติ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคือ การละลืมไม่ใส่ใจ”[15]

6) หลีกเลี่ยงการแนะนำโดยตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพยายามเสนอความต้องการของตนในทางอ้อม ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า “ฉันได้ยินจากบิดาของฉันว่า การอบรมอย่างหยาบคาย ยากที่คนอื่นจะยอมรับ”[16]

7.การยึดมั่นและความจริงใจที่จะเข้าร่วมกับครอบครัว (โดยเฉพาะบิดาผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวทุกคนอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพราะจะทำให้เกิดความรัก ความเมตตา และความใกล้ชิดกันในครอบครัว

8) การเข้ากันโดยสมบูรณ์ ระหว่างคำและการกระทำของผู้เป็นพ่อแม่และครูผู้ให้การอบรม เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งสิ่งที่เราต้องการจากคนอื่น ตัวเราเองต้องมั่นคงต่อสิ่งนั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “จงชวนเชิญประชาชนไปสู่การทำความดี ที่นอกเหนือจากคำพูด (ด้วยการกระทำ)”[17]

9) หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาเชิงของการบังคับ ข่มขู่ แต่จงใช้ภาษในเชิงการวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจ และอธิบายบทบัญญัติด้วยวิทยปัญญา เนื่องจากถ้าหากไม่ได้อธิบายอิสลามด้วยเหตุผล ย่อมมีผลกระทบในทางเสียหายแน่นอน และในที่สุดจะเป้นสาเหตุทำให้เยาวชนหลีกหนีออกจากศาสนา ดังเช่นที่ชาวคริสเตียนได้หนีห่างออกจากอีซามะซีฮฺ ดังนั้น ถ้าไม่มีเหตุผลในการเชิญชวน พวกเขาก็จะมีแนวโน้มหนีออกจากอิสลามศาสนาของพวกเขา[18]

10) ความพยายามที่สมเหตุสมผล ที่จะสร้างบรรยากาศให้เขาเข้าร่วมในสถานที่อันมีพิธีกรรมทางศาสนา (โดยปราศจากความบิดเบือน หรือการกระทำที่ไม่มีเหตุผล) การได้พบกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จทางศาสนา สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความมุ่งมั่นทางศาสนาของเขาแข็งแกร่งขึ้น หรือท่านจัดพิธีการทางศาสนาลักษณะนี้ในบ้านของท่านเอง และมอบหมายให้เขารับผิดชอบบางหน้าที่ แน่นอน สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลต่อตัวเขา

11) สุดท้ายของการบำบัดคือ การสร้างความเร้าร้อน[19] ถ้าหากวิธีการต่างๆ ได้ปฏิบัติไประยะหนึ่งแล้ว ไม่บังเกิดผล หรือไม่ได้รับความสนใจ เวลานั้นสามารถใช้วิธีบังคับ หรือแสดงความไม่พอใจตอบโต้ แต่ต้องเข้าใจว่าวิธีการนี้ก็เหมือนกับวิธีการอื่น กล่าวคือต้องไม่สุดโต่งหรือเลยเถิดในการปฏิบัติ เนื่องจากจะได้รับผลในทางตรงกันข้าม อีกด้านหนึ่งตราบที่ไม่มั่นใจว่าวิธีการนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์จริง ไม่ขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้เด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าการขับไล่บุตรออกจากบ้าน มิใช่การกระทำที่ดีแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้ให้การอบรมสั่งสอน โดยเฉพาะบิดามารดา ถ้าหากท่านไม่เคยเพิกเฉย ไม่เคยละเลย ไม่เคยที่จะไม่เอาใจใส่ดูแล กระนั้นสิ่งที่ท่านกระทำก็ยังไม่บังเกิดผลเท่าที่ควร ก็จงอย่าตำหนิตนเอง เนื่องจากมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาให้มีอิสระ การตัดสินใจของเขาก็มีอิสระ[20] และแต่ละคนต้องตอบการกระทำของตนเอง

 


[1] ซีดีวิชาการ โพรเซมอน

[2] ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ การเจริญเติบโตด้านจิตวิทยา

[3] สถาบันอิมามโคมัยนี, ตักวียัต เนซอม คอนนะวอเดะฮฺ วะออซีบ เชนอซี, เล่ม 1, หน้า 40

[4] ฟัลซะเฟะ มุฮัมมัด ตะกี โกฟตอร ฟัลซะเฟะ, โบโซรกซอน วะ ญะวอน อัซ นะซัร อัฟฆอร วะตะมอยุลลอต, เล่ม 1, หน้า 38

[5] ฟัลซะเฟะ มุฮัมมัด ตะกี โกฟตอร ฟัลซะเฟะ, โบโซรกซอน วะ ญะวอน อัซ นะซัร อัฟฆอร วะตะมอยุลลอต, เล่ม 1, หน้า 55

[6] ฟัลซะเฟะ มุฮัมมัด ตะกี โกฟตอร ฟัลซะเฟะ, โบโซรกซอน วะ ญะวอน อัซ นะซัร อัฟฆอร วะตะมอยุลลอต, เล่ม 1, หน้า 55

[7] ตะฮฺฟุลอุกูล, หน้า 84

[8] ฆอรรอรุลฮิกัม,หน้า 278

[9] อิบนุอบิลฮะดีด, ชัรฮฺนุญุลบะลาเฆาะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 341, «النصح فی الملاء تقریع»

[10] ฆอรรอรุลฮิกัม,หน้า 76 «جهل الشباب معذور و علمه محصور»

[11] ตักวียัตเนซอมคอนนะวอเดะ, เล่ม 1, หน้า 266.

[12] เชคกุลัยนียฺ อัลกาฟียฺ เล่ม 8, หน้า 128.

[13] มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 15, หน้า 168  «اکرموا اولادکم واحسنوا آدابهم»

[14] ฆอรรอรุลฮิกัม,หน้า 435.

[15] มุฮัมมัดดี เรย์ ชะฮฺรี, มีซานอัลฮิกมะฮฺ ฮะดีซ 14915.

[16] กัชฟุลฆอมมะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 84.

[17] มุฮัซดิซนูรียฺ, มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 8, หน้า 456.

[18] ดร.ซายิดี, ดีนกุรีซียฺ เฌะรอ ดีน กะรอียฺ เฌะซอน, หน้า 226.

[19] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซี, บิฮารุลอันวาร เล่ม 31, หน้า 503.

[20] อินซาน, 3, แท้จริง เราได้ชี้แนะแนวทางแก่เขาแล้ว บางคนก็กตัญญู และบางคนก็เนรคุณ

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงบิดเบือน
    6844 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    สำหรับความกระจ่างในประเด็นดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้1. ถ้าหากวัตถุประสงค์ของท่านจากคำว่าชีอะฮฺหมายถึงความประพฤติที่ผิดพลาดซึ่งชีอะฮฺบางคนได้กระทำลงไปแล้วนำเอาความประพฤติเหล่านั้นพาดพิงไปยังนิกายชีอะฮฺถือว่าไม่มีความยุติธรรมสำหรับชีอะฮฺเอาเสียเลยเนื่องจากอิสลามโดยตัวตนแล้วไม่มีข้อบกพร่องอันใดทั้งสิ้นทุกข้อบกพร่องนั้นมาจากมุสลิมของเรา2. ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14568 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    8910 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14729 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    5810 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9064 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    9855 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12322 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    11418 วิทยาการกุรอาน 2557/05/20
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...