การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8520
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/17
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1626 รหัสสำเนา 26994
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
คำถาม
ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
คำตอบโดยสังเขป

อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า “ดีน” คือคำภาษาอะรับ โดยความหมายแล้วหมายถึง “ความเชื่อที่มีต่อพระผู้ทรงสร้างโลกและมนุษย์” ซึ่งมีคำสั่งอันเหมาะสมเป็นหลักปฏิบัติเคียงคู่กับหลักความเชื่อ”[1] เมื่อพิจารณาคำนิยามและการตีความคำว่า ดีน แล้ว เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทุกศาสนาจะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ กล่าวคือ :

1.หลักความศรัทธา หรือหลักความเชื่อซึ่งเป็นกฎระเบียบอันเป็นรากฐานสำคัญของศาสนานั้น

2.บทบัญญัติในการปฏิบัติ ซึ่งมีความเหมาะสมกับรากฐาน หรือเป็นรากฐานต่างๆ ทางความเชื่อ ซึ่งได้รับการตีความมาจากความเชื่ออีกทีหนึ่ง[2]

คำว่า “อุซูลลุดดีน” ถือเป็นส่วนแรก (หลักความศรัทธา) คำว่า “ฟุรูอิดีน” เป็นส่วนที่สอง (หลักปฏิบัติ)[3] ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอุซูลุดดีน เนื่องจากเป็นแก่นหรือ อัซร์ นั่นเอง อยู่ในขอบข่ายของความคิดและความศรัทธา หมายถึง สิ่งที่เป็นรากฐาน และพื้นฐานหลักของศาสนา, ดังนั้น ทั้งในแง่ของคุณภาพและปริมาณของคนๆ หนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับหลักปฏิบัติทางศาสนา ก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางความเชื่อของเขาที่มีต่อหลักศรัทธา ว่ามั่นคงหรือเข้มแข็งมากน้อยเพียงใด[4]

อุซูลลุดดีน มีนิยามอยู่ 2 อย่าง กล่าวคือ นิยามทั่วไปและนิยามเฉพาะ ซึ่งอุซูลลุดดีนที่ใช้เคียงคู่กับบทบัญญัติของศาสนา ถือว่าเป็น อุซูลลุดดีนในนิยามทั่วไป แต่สำหรับอุซูลลุดดีน ที่ครอบคลุมหลักความเชื่อหนึ่งหรือสองประการ อันเป็นสัญลักษณอันเฉพาะสำหรับศาสนา (ซึ่งนอกจากจะครอบคลุมอุซูลในนิยามทั่วไปแล้ว) ยังหมายถึง อุซูลในความหมายเฉพาะจำกัดอีกด้วย[5]

อุซูลลุดดีนของอิสลาม (ในความหมายทั่วไป) ครอบคลุมประเด็น เตาฮีด, นบูวัต, และมะอาด, ส่วนอุซูลลุดดีนในความหมายจำกัดเฉพาะ (อุซูลของนิกาย) นอกจากจะครอบคลุมปัญหา เตาฮีด นบูวัต และมะอาดแล้ว ยังครอบคลุมเรื่อง อัดล์ และอิมามัตอีกด้วย

จากคำอธิบายดังกล่าวนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า อุซูลลุดดีน นั้นหมายถึงอะไร และครอบคลุมเหนือภารกิจอันใดบ้าง, ในทำนองเดียวกันเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า วัตถุประสงค์จากฟุรูอิดีน หมายถึงบทบัญญัติในการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม, ระดับของอุซูลลุดดีน เนื่องจากมาจากภาคของความรู้ จึงอยู่ก่อนหลักฟุรูอิดีน ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ กล่าวคือตราบที่ยังไม่มีความรู้และความเชื่อ การปฏิบัติก็ไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น แน่นอน ความรู้ในหลักความเชื่อหรือหลักศรัทธา มิได้หมายถึงความรู้เรื่องภาษา, ทว่าหมายถึง ความรู้ที่มาพร้อมกับความเชื่อมั่น หรือที่เรียกว่า อิลมุลยะกีน นั่นเอง

มัรฮูม เฟฎกาชานียฺ (รฮ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ความประเสริฐของทั้งสอง (ความรู้และการปฏิบัติ) คือความรู้ ความรู้ประหนึ่งต้นไม้ ส่วนอิบาดะฮฺประหนึ่งผลไม้ของต้นไม้นั้น”[6]

ท่านยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอีมาน (ยะกีน) ที่ย้อนกลับของอีมานคือความรู้, เนื่องจากอีมานคือการยอมรับต่อสิ่งหนึ่ง และนำไปสู่การมโนภาพของสิ่งนั้น ซึ่งได้แก่ความรู้นั่นเอง อีมานจะมีคุณค่าก็ขึ้นอยู่กับ ความรู้[7]

ดังนั้น วัตถุประสงค์จาก อุซูลลุดดีน หมายถึงหลักอุซูลซึ่งมนุษย์จะต้องมีความรู้ และเชื่อมั่นต่อสิ่งนั้นตั้งแต่แรกเสียก่อน เพื่อจะได้เข้าไปสู่ อิสลาม เวลานั้นโดยตัวของมันจะเรียกร้องไปสู่ การเรียนรู้บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม[8] เมื่อ “ความรู้อยู่ก่อนการอิบาดะฮฺ”[9] ความประเสริฐของความรู้จึงมาก่อนการปฏิบัติ, ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกภารกิจลักษณะนี้ว่า เป็นหลัก (อัซรฺ) บุคคลหนึ่งหลังจากได้เข้ารับอิสลามแล้ว เขาจะได้พบกับหลักอิบาดะฮฺแบบเปิดเผย เช่น (นะมาซ, ซะกาต, ศีลอด, และ ..และอิบาดะฮฺที่แฝงอยู่ภายใน เช่น การตะวักกัลป์ ตักวา การขอบคุณ และ ...)[10] ซึ่งเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า หลักฟุรูอิดีน, ดังเป็นที่ประจักษ์ว่า นิยามของฟุรูอิดีน จึงไม่มีวันขัดแย้งกับนิยามของ อิบาดะฮฺ หรืออิบาดะฮฺที่เป็นเสาหลักของศาสนา ถ้าหากเปรียบอิสลามเหมือนกับบ้านหลังหนึ่ง หลักอุซูล ก็เหมือนกับกุญแจที่ไขประตูเข้าบ้าน และเป็นที่รู้กันดีว่า บ้านหลังนี้มีเสาต่างๆ คอยค้ำจุนให้บ้านตั้งอยู่ได้ ดังนั้น การอธิบายลักษณะนี้เทียบได้กับ อิบาดะฮฺบางอย่าง ซึ่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้ตีความไว้ เช่น ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า “อิสลามวางอยู่บนรากฐานสำคัญ 5 ประการ ได้แก่นะมาซ, ซะกาต, ฮัจญฺ, ศีลอด, และวิลายะฮฺ, และคำตอบที่ท่านได้ตอบซุรอเราะฮฺ กล่าวว่า : วิลายะฮฺคือรากฐานที่สำคัญที่สุดในหมู่รากฐานทั้งห้า[11] ดังนั้น ทั้งห้าประการนี้ เวลานั้นอิบาดะฮฺจะมีความหมายสมบูรณ์ก็ต่อเมือ คนเราได้เข้าไปสู่อิสลามทั้งด้านความเชื่อ และการปฏิบัติ ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวถึงคุณค่าและความประเสริฐของ ความรู้ การรู้จัก หลังจากนั้นเป็นหลักการปฏิบัติ ท่านกล่าวว่า “สิ่งที่สูงส่งที่สุดที่นำพามนุษย์ไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคือ การรู้จัก หลังจากนั้น นะมาซ”[12]

ใช่แล้ว นะมาซ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ.) จึงได้เปรียบนะมาซว่า เป็นเสาหลักของศาสนา[13] ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : ถ้าหากนะมาซของบุคคลหนึ่งถูกตอบรับ[14] การงานอื่นของเขาจะถูกตอบรับโดยปริยาย แต่ถ้านะมาซไม่ถูกตอบรับ การงานอื่นก็จะไม่ถูกตอบรับโดยปริยาย[15] ซึ่งการให้ความสำคัญมากมายขนาดนี้ มิได้ขัดแย้งกันเลยที่ว่า นมาซเป็นหนึ่งในหลัก ฟุรูอิดีน

 


[1] ออมูเซซอะกออิด, อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, หน้า 11

[2] อ้างแล้ว, หน้า 12

[3] อ้างแล้ว

[4] อุซูล อิอฺติกอดอต, เชคอะลี อัสฆัร กออิมี, หน้า 5

[5] ออมูเซซอะกออิด ด้วยการกล่าวเชิงสรุปอธิบายความ

[6] อิลมุลยะกีน ฟี อุซูลลุดดีน, มุลลา มุฮฺซิน เฟฎกาชานียฺ, เล่ม 1, หน้า 4-5, สำนักพิมพ์ บีดอร

[7] อ้างแล้ว, หน้า 6-8

[8] มัสลัก อิมามียะฮฺ ดัร อุซูล อะกออิด, ซัยยิดมะฮฺมูด มัรอะชี ชูชตะรียฺ, หน้า 11, สำนักพิมพ์ ญามิอฺมุดัรริซีน

[9] อิลมุลยะกีน ฟี อุซูลลุดดีน, หน้า 12.

[10] อ้างแล้ว

[11] สะฟีนะตุล บิฮาร, เชคอับบาซ กุมมี, เล่ม 3, หน้า 109.

[12] อ้างแล้ว

[13] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 4, หน้า 27, عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ الصَّلَاةُ عَمُودُ الدِّينِ.

[14] เป็นที่ชัดเจนว่า การที่นะมาซไม่ถูกตอบรับ การอิบาดะฮฺอื่นๆ ในอิสลาม ซึ่งรายงานได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านั้นไว้ก็จะไม่ถูกตอบรับตามไปด้วย เช่น บางรายงานกล่าวว่า เงื่อนไขที่นะมาซจะถูกตอบรับคือ การยอมรับในวิลายะฮฺ “เงื่อนไขที่การงานจะถูกตอบรับคือ วิลายะฮฺ” มะนากิบ คอรัซมียฺ, 19, 252.

[15] สะฟีนะตุลบิฮาร, เชคอับบาซกุมมี, เล่ม 3, หน้า 109.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8833 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    19779 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    8966 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20172 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9672 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    13438 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    6959 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8878 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    11420 วิทยาการกุรอาน 2557/05/20
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7626 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38391 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...