การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7989
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17054 รหัสสำเนา 19935
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
คำถาม
สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวางเรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ), อิมามซัจญาดและอิมามซอดิก (.),ท่านเชคซะดูกได้บันทึกบันทึกรายงานนี้ไว้ในหนังสือ อุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ แต่ท่านได้บันทึกเรื่องราวไว้อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงในคำตอบโดยละเอียด.ผู้ที่ให้การความสนใจเฝ้าสังเกตว่าเรื่องราวนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ท่านอิมามริฎอ (.) ได้ชะฮีดไปประมาณ 2- 3 ปี ดังที่กล่าวไปแล้วว่า, เรื่องเล่าคล้ายๆ กันได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของอิมามมะอฺซูมท่านอื่น แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นด้วยเหมือนกัน คือ เชคซะดูกได้เชื่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่รายงานเรื่องเล่านี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึ่งในฉายานามอันลือชื่อของท่านอิมามริฎอ (.) คือ ซึ่งสาเหตุของการตั้งฉายานามนี้แก่ท่านอิมาม (.) มีที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์โดยกล่าวสรุปได้เชนนี้ว่า :

นักล่าสัตว์กลางทะเลทรายได้ตั้งใจออกล่ากวาง แล้วเขาได้มองเห็นกวางเหยื่อตัวน้อยของเขาตั้งแต่ไกลแล้ว เขาจึงได้ไล่ล่ามาติดๆ สุดท้ายกวางตัวนั้นได้เข้าไปซ่อนอยู่ในผ้าคุมของท่านอิมามริฎอ (.) ที่เผอิญอยู่บริเวณนั้นพอดี นักล่าสัตว์ได้ตรงเข้าไปเพื่อขอกวางจากท่านอิมามริฎอ (.) แต่ท่านอิมามได้ขอร้องเขาว่าให้ปล่อยกวางไปเถิด, นักล่าสัตว์คนนั้นไม่ยอมเพราะเขาถือว่ากวางนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขา และเขาก็ล่าอย่างถูกต้องตามหลักชัรอียฺด้วย, เขาจึงได้อ้างหลักการเพื่อขอกวางจากท่านอิมามริฎอ (.), ท่านอิมาม (.) ได้ขอไถ่กวางตัวนั้นด้วยราคาค่อนข้างแพงกว่าราคากวาง, และพร้อมที่จะจ่ายจำนวนเงินดังกล่าวด้วยเพื่อจะไถ่กวางให้เป็นอิสระ, แต่นักล่าสัตว์คนนั้นไม่ยอมรับ เขากล่าวขึ้นว่า : ขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺว่า, ฉันต้องการกวางตัวนี้เพราะเป็นสิทธิของฉัน และไม่ต้องการสิ่งอื่นใดเป็นการแลกเปลี่ยนด้วย ... เวลานั้นกวางได้กล่าวกับท่านอิมามริฎอ (.) ว่า ฉันมีลูกที่ต้องดูแลให้นมอีกสองตัว กำลังหิวและดวงตาของเจ้าสองตัวนั้นก็ยังมองไม่เห็น ขอให้ฉันไปให้นมลูกให้อิ่มเสียก่อนได้ไหม ซึ่งสาเหตุที่ฉันวิ่งหนีเขาก็เพราะเรื่องนี้นั่นเอง ดังนั้น ฉันยากให้ท่านช่วยเป็นผู้คำประกันฉันกับนักล่าคนนี้ด้วย และขออนุญาตให้ฉันไปให้นมลูกก่อน หลังจากนั้นฉันจะมายอมจำนนกับเขาได้หรือไม่

ท่านอิมามริฎอ (.) ได้เป็นผู้ค้ำประกันกวางตัวนั้นต่อนักล่าสัตว์ โดยยอมมอบตัวเองเป็นตัวประกันอยู่ในความดูแลของนักล่าสัตว์, กวางได้รีบไปและรีกกลับมาอย่างเร่งด่วนและยอมมอบตัวเองต่อนักล่าสัตว์, เมื่อนักล่าสัตว์ได้เห็นความซื่อสัตย์ของกวางที่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนั้น, เขาได้เปลี่ยนใจและเวลานั้นเขาเพิ่งจะเข้าใจว่าตัวประกันของเขาคือ อะลี บุตรของมูซา อัรริฎอ (.) เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้รีบปล่อยกวางอย่างรวดเร็ว แล้วรีบจุมพิตมือและเท้าของท่านอิมามริฎอ (.) ทันที เขาได้วอนขออภัยจากท่านอิมาม, ท่านอิมาม (.) ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งแก่เขา และสัญญาว่าเขาจะได้รับชะฟาอะฮฺจากท่านตาของท่านในวันฟื้นคืนชีพ ท่านได้ทำให้นักล่าสัตว์คนนั้นดีใจเป็นอย่างยิ่งและเขาก็ได้ลาจากไป, กวางเมื่อได้รับอิสรภาพแล้วก็ดีใจจึงได้ขออนุญาตท่านอิมามกลับไปยังลูกของมัน

เกี่ยวกับเรื่องเล่านี้มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่สองสามประเด็นกล่าวคือ :

1.แม้ว่าเรื่องเล่าดังกล่าวนี้มิได้มีกล่าวไว้ในตำราเชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺก็ตาม, แต่มีเรื่องเล่าอื่นที่คล้ายคลึงกับเรื่องเล่านี้ ซึ่งเป็นที่โจษขานกันในฝ่ายซุนนียฺ, เกี่ยวกับปาฏิหาริย์หนึ่งโดยพาดพิงไปถึงท่านศาสดา (ซ็อล ),[1] ท่านอิมามซัจญาด (.)[2] และท่านอิมามซอดิก (.)[3]

2.ท่านเชคซะดูก ได้บันทึกเรื่องเล่านี้ไว้ในหนังสือ อัลอุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ (.) โดยบันทึกเรื่องเล่าไว้เช่นนี้ว่า :

อบุลฟัฏล์ มุฮัมมัด บินอะฮฺมัน บิน อิสมาอีล สะลีฏียฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินจากฮากิม รอซีย์ สหายของท่านญะอฺฟัร อะตะบีย์ ซึ่งเขาได้พูดว่า ฉันได้ถูกส่งตัวไปจาก อบูญะอฺฟัร ในฐานะของผู้ถือสาส์น ไปยังอบูมันซูร บิน อับดุลเราะซาก, และวันพฤหัสฉันได้ขอลาเขาเพื่อไปซิยารัตท่านอิมามริฎอ (.), เขาได้ตอบฉันว่า สิ่งที่ได้เกิดในมัชฮัดใกล้กับหลุมฝังศพของอิมามริฎอ ซึ่งได้เกิดกับฉันนั้น ฉันจะเล่าให้เธอฟัง : วันหนึ่งขณะที่ฉันยังเป็นวัยรุ่นอยู่นั้น ฉันไม่เคยมีความคิดดีๆ เกี่ยวกับผู้ที่รักใคร่และหลงใหลมัชฮัดเลย ในระหว่างทางฉันชอบปล้นสะดม ทรัพย์สินผู้เดินทางมาซิยารัตมัชฮัด,ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เงินทอง จดหมาย หรือเงินทำบุญของพวกเขา, แต่มาในวันหนึ่งฉันได้ออกไปล่าสัตว์ข้างนอก ฉันได้เห็นเสื้อชีต้าตัวหนึ่งกำลังวิ่งไล่ล่ากวางตัวน้อย และฉันก็วิ่งตามไป จนในที่สุดกวางตัวนั้นได้ไปหลบอยู่ข้างๆ ผนังหนึ่ง ซึ่งเสื้อชีต้าก็ยืนอยู่ตรงหน้ามัน แต่ไม่ได้เข้าไปใกล้หรือทำอันตรายกวางแต่อย่างใด ฉันพยายามทำเพื่อจะให้เสือชีต้าเข้าไปใกล้กวางตัวนั้น, แต่มันก็ไม่เข้าไปใกล้กวางและไม่กระดุกกระดิกไปไหนด้วย, แต่เมื่อกวางค่อยๆ ขยับหายพ้นไปจากผนัง เสือชีต้าก็มิได้ไล่ล่าอีกต่อไป, แต่การที่กวางได้เข้าไปหลบที่ผนัง, เสือชีต้าได้กลับออกมา จนกระทั่งกวางได้หายเข้าไปในซอก, ซึ่งภายในผนังนั้นพบว่ามีหลุมฝังศพอยู่ และฉันได้เดินเข้าไปป้อมยาม[4] ถามเขาว่า : ท่านเห็นกวางตัวหนึ่งที่เพิ่งจะเดินผ่านป้อมยามไปหรอไม่? พวกเขากล่าวว่า : พวกเราไม่เคยเห็นกวางเลย.

เวลานั้นฉันได้กลับไปตรงบริเวณที่กวางเดินเข้าไปฉันได้เห็นมูลและรอยปัสสาวะของกวาง, แต่กลับมองไม่เห็นตัวกวาง, หลังจากนั้นฉันได้สัญญาต่อพระเจ้าว่าหลังจากนี้ต่อไป ฉันจะไม่ปล้นสะดมผู้เดินทางมาซิยารัตอีก แต่ฉันจะประพฤติดีกับพวกเขาทุกคน หลังจากนั้นเรื่อยมา,เมื่อใดก็ตามที่ฉันประสบกับอุปสรรคปัญหาความยุ่งยาก หรือประสบทุกข์ในชีวิต, ฉันจะไปมัชฮัด, เพื่อซิยารัตและวอนขอสิ่งที่เป็นความยุ่งยาก ตลอดจนความต้องการอื่นๆ จากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบรับและขจัดความทุกข์ยากเหล่านั้นให้พ้นไปจากฉัน ฉันได้วอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า ขอพระองค์โปรดประทานบุตรชายแก่ฉัน, และแล้วพระองค์ก็ประทานบุตรชายให้ฉัน, แต่ต่อมาเมื่อบุตรชายของฉันได้เติบโตเป็นหนุ่มแล้ว เขาก็ได้ตายจากฉันไป, ฉันได้ย้อนกลับไปมัชฮัดอีกครั้งหนึ่ง และวอนขอบุตรชายต่ออัลลอฮฺ เหมือนเดิม และพระองค์ทรงเมตตาให้บุตรชายแก่ฉันอีกคนหนึ่ง,และฉันไม่เคยขอสิ่งใดจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วจะไม่ได้รับการตอบสนองจากพระองค์เลย และเหล่านี้คือสิ่งที่ตัวฉันได้ประสบในมัชฮัด นับว่าเป็นความสิริมงคลของมัชฮัด ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดสำหรับฉันมาก และฉันก็เชื่อถือต่อสิ่งเหล่านี้[5]

ผู้สนใจได้ให้การสังเกตเรื่องเล่านี้และพบว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านอิมามริฎอ (.) ได้ชะฮีดไปแล้วสองสามปี และดังที่กล่าวไปแล้ว, ว่ามีเรื่องเล่าทำนองคล้ายๆ กันนี้ที่เกิดกับบรรดาอิมามมะอฺซูม (.) มากมาย, แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นด้วยเหมือนกัน คือ เชคซะดูกได้เชื่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่รายงานเรื่องเล่านี้.



[1] เฏาะบัรซียฺ, ฟัฎลิบนิฮะซัน, อิอฺลามุลวะรอ, หน้า 25,ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน.

[2] กุฏบุดดีน รอวันดี, อัลเคาะรออิจญฺ วัลญะรออิจญฺ, เล่ม 1 หน้า 261, สถาบันอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) กุม ปี ฮ.ศ.1409.

[3] เซาะฟาร,มุฮัมมัด บุตรของฮะซัน,บะซออิรุดดะเราะญาต, หน้า 349, ห้องสมุดอายะตุลลอฮฺมัรอะชียฺ, กุม ปี ฮ.ศ. 1404.

[4] คำว่า “รุบาฏ” ความหมายเดิมหมายถึง บริเวณเก็บดูแลม้า หรือเรียกอีกอย่างว่า คอกม้า เพื่อรักษาม้าเหล่านั้นไว้ออกศึกสงคราม หรือหมายถึงพรมแดนรักษาเขตของมุสลิม, แต่ต่อมาได้นำคำนี้ไปใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น หมายถึงจุดพักของกองคาราวานที่เดินทางมา หรือสถานปฏิบัติตนของพวกซูฟียฺ

[5] เชคซะดูก, อุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ, เล่ม 2 หน้า 285, เฌะฮอน, ปี ฮ.ศ. 1378.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อัล-กุรอาน, คือปาฏิหาริย์สุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานมา และความมหัศจรรย์ของ อัลกุรอานคืออะไร ?
    16433 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    สำหรับความมหัศจรรย์ของกุรอาน ถูกอธิบายไว้ 3 ลักษณะ : มหัศจรรย์ด้านวาจา, มหัศจรรย์ในแง่ของเนื้อหา และมหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา1) มหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอานถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนก.
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9672 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ จึงไม่ตอบรับดุอาอฺขอฉัน?
    16572 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/30
    ดุอาอฺ คือหัวใจของอิบาดะฮฺ, ดุอาอฺคือการเชื่อมน้ำหยดหนึ่งกับทะเล และด้วยการเชื่อมต่อนั่นเองคือ การตอบรับ.ความสัมฤทธิ์ผลจากอัลลอฮฺต่างหาก ที่มนุษย์ได้มีโอกาสดุอาอฺต่อพระองค์, การตอบรับดุอาอฺนั้นมีมารยาทและเงื่อนไขอยู่ในตัว, ต้องเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านั้น และต้องขจัดอุปสรรค์ที่ขวางกั้นให้หมดไป, อุปสรรคสำคัญอันเป็นเหตุให้ดุอาอฺไม่ถูกตอบรับคือ บาปกรรม,การรู้จักอัลลอฮฺก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ดุอาอฺถูกตอบรับ ...
  • ถ้าหากไม่รู้ประเด็นปัญหา ได้ฝังศพไปโดยไม่ได้ใส่พิมเสนบนอวัยวะทั้งเจ็ดแห่ง หน้าที่เราควรจะทำอย่างไร?
    5898 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    หลังจากฆุซลฺมัยยิตแล้ว,วาญิบต้องฮุนูตให้แก่มัยยิต,หมายถึงให้เอาพิมเสนใส่ไปที่หน้าผาก, ฝ่ามือทั้งสองข้าง, หัวเข่าทั้งสองข้าง, และที่ปลายหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง[1] แต่หลังจากฝังเรียบร้อยแล้ว เพิ่งจะนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ใส่พิมพ์เสนให้มัยยิต กรณีที่ศพที่อยู่ในหลุมยังมิได้เน่าเปื่อย หรือยังมิได้ส่งกลิ่นเหม็น, วาญิบต้องขุดศพและใส่พิมเสนในหลุมนั้นเลย โดยไม่จำเป็นต้องนำมัยยิตออกมาจากหลุม, แต่ถ้าเป็นสาเหตุนำไปสู่การไม่ให้เกียรติมัยยิต (เช่น มีกลิ่นเหม็นโชยออกมา หรือร่างเน่าเปื่อยแล้วบางส่วน และ ...) ไม่วาญิบต้องใส่พิมเสนอีกต่อไป[2] คำถามข้อนี้, ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัดชี), ค้นคว้าและแก้ไขโดย, บนีฮาชิมมี โคมัยนี้, ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน, ...
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    6934 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6270 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5955 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    12846 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8337 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    5984 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38395 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...