การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9231
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1708 รหัสสำเนา 19008
คำถามอย่างย่อ
มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
คำถาม
ทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺเกี่ยวกับอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คืออะไร? และปัญหานี้ชีอะฮฺและซุนนะฮฺมีทัศนะแตกต่างกันหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลาม บนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ซึ่งมีอยู่ในคำสอนของทุกนิกายอิสลาม. รายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) มีปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงของฝ่ายอะฮฺลุซซุนนะฮฺจำนวนมากมาย ซึ่งถ้าพิจารณาให้ละเอียดนิดหน่อยก็จะพบว่าระหว่าง 2 นิกายอิสลามระหว่างซุนนีย์ และชีอะฮฺมีจุดคล้ายเหมือนกันมากมายเกี่ยวกับประเด็นอิมามมะฮฺดียฺ (.) ซึ่งจุดร่วมและจุดคล้ายเหมือนเหล่านั้นได้แก่

1.การปรากฏกายแน่นอนและการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

2.สายตระกูลของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

- ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) เป็นอะฮฺลุลบัยตฺและเป็นบุตรหลานของท่านศาสดา (ซ็อล )

- ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) สืบเชื้อสายมาจากท่านอิมามอะลี (.)

- ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) สืบเชื้อสายมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (.)

3. คุณสมบัติทางกายภาพของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

- เป็นผู้มีแสนยานุภาพขณะปรากฏกาย

- มีใบหน้าเปล่งรัศมีเรืองรอง

- เป็นผู้มีใบหน้าสง่างาม รูปหน้าวงรี จมูกโด่ง

- มีลักษณะท่าทางคล้ายศาสดา (ซ็อล ) และมีไฝที่หัวไหล่

4. มีนามชื่อเดียวกันกับท่านศาสดา (ซ็อล ).

5.ปฐมบทในการปรากฏกาย

- การสิ้นหวังโดยสิ้นเชิงของประชาชน

- ความอธรรมได้ครอบครองโลก

6. สัญลักษณ์ของการปรากฏกาย

- มีเสียงเรียกร้องจากฟากฟ้า

- การออกมาของซุฟยาน

- การหลบซ่อนตัวของแผ่นดินนามว่า บีดาอฺ

- การสังหารชีวิตบริสุทธิ์

7. ภารกิจเกี่ยวข้องกับการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

- คำสั่งในการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) ในช่วงคืนเดียว

- สถานที่ปรากฏกาย

- การให้สัตยาบันกับท่านอิมามมะฮฺดีย. (.)

- การลงมาของมลาอิกะฮฺ เพื่อช่วยเหลือท่าน

- การปรากฏกายของศาสดาอีซา (.) เพื่อปฏิบัติตามท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

อย่างไรก็ตามอะฮฺลิซซุนนะฮฺกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อขัดแย้งกับชีอะฮฺ- พวกเขาไม่ยอมรับว่าอิมามมะฮฺดียฺ (.) ประสูติในปี .. 255 และอยู่สภาพเร้นกายที่ยาวนานเหมือนปัจจุบัน, ทว่าพวกเขามีความเชื่อว่าท่านอิมาม (.) จะประสูติในระยะเวลาใกล้เคียงกับการปรากฏกาย (40 ปีก่อนการปรากฏกาย) ซึ่งท่านจะทำให้แผ่นดินเต็มเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรม และผู้ที่ได้รับสัญญานี้คือบุตรหลานที่สืบเชื้อสายมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (.)

คำตอบเชิงรายละเอียด

ปัญหาเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) และความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในหมู่บรรดามุสลิมทั้งหลาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิได้จำกัดวงแคบอยู่เพียงสังคมชีอะฮฺเท่านั้น, ทว่าอะฮฺลิซซุนนะฮฺโดยทั่วไปก็มีความเห็นพร้องกับชีอะฮฺในเรื่องนี้ ซึ่งมีรายงานอยู่ในขั้นมุตะวาติร (เชื่อถือได้จำนวนมาก) กล่าวเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺเอาไว้

รายงานฮะดีซเกี่ยวกับเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) ซึ่งรายงานมาจากฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ เป็นรายงานที่เชื่อถือได้ (มุตะวาติร) มีมากเกินกว่า 100 รายงาน ซึ่งฮะดีซเหล่านั้นทั้งหมดต่างพูดถึงเรื่องการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) ทั้งสิ้น สายรายงานที่มีชื่อเสียงซึ่งมีจำนวนเกินกว่า 20 คน ล้วนเป็นเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดาทั้งสิ้น ซึ่งพวกเขาได้รายงานเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) โดยตรงจากปากของท่านศาสดา (ซ็อล ) และรายงานฮะดีซเหล่านี้ล้วนบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซที่มีชื่อเสียงของซุนนียฺทั้งสิ้น : ไม่ว่าจะเป็น สุนัน, มะอาญิม, มะซานีด, เช่น : สุนันอบูดาวูด, สุนันติรมีซีย์, สุนันอิบนุมาญะฮฺ, มุสนัดอะฮฺมัด, เซาะฮียฺฮากิม, บะซอซ, มุอฺญิมฏ็อบลอนนียฺ และอื่นๆ ..

จากตำราอ้างอิงและคำพูดของอุละมาอฺฝ่ายซุนนียฺ เข้าใจได้ว่า ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) เป็นบุตรหลานที่สืบเชื้อสายมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (.) และท่านต้องปรากฏกายอย่างแน่นอนในวันหนึ่ง

ผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺ ได้แสดงทัศนะต่างๆ มากมายเกี่ยวกับประเด็นการปรากฏกาย เช่น :

เกี่ยวกับการปรากฏกายของผู้ที่จะมาปรับปรุงโลกในยุคสุดท้าย ในหมู่เซาะฮาบะฮฺและตาบิอีนนับตั้งแต่ศตวรรษแรก และหลังจากนั้นจวบจนถึงปัจจุบันไม่มีความขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งอุละมาอฺซุนนียฺทั้งหมด มีความเห็นพร้องต้องกันถึงเรื่องการปรากฏกายของท่าน ถ้าหากบุคคลใดมีความคลางแคลงใจในความถูกต้องของฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ) เกี่ยวกับการปรากฏกายของท่านอิมามแล้วละก็, จะนำเอาฮะดีซเหล่านั้นไปกำกับความที่ว่า ไม่มีการยืนหยัดในประเด็นนี้หรือการไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้วยเหตุนี้เองจวบจนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดปฏิเสธเรื่องการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) แม้แต่คนเดียว

เกี่ยวกับประเด็นนี้ สุวัยดี กล่าวว่า : สิ่งที่ทุกคนเห็นพร้องต้องกันก็คือ มะฮฺดียฺคือบุคคลหนึ่งที่จะปรากฏกายและยืนหยัดต่อสู้ในยุคสุดท้าย เขาจะทำให้โลกนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยควมยุติธรรม[1]

ค็อยรุดดีน อาลูซียฺ เป็นอุละมาอฺที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งของซุนนียฺ กล่าวว่า : บนพื้นฐานความถูกต้องที่สุดที่นักปราชญ์และผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺได้กล่าวเกี่ยวกับการปรากฏกายของมะฮฺดียฺคือ การปรากฏกายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันกิยามะฮฺ แม้ว่าจะมีผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺบางคนปฏิเสธทัศนะของเขาก็ตาม แต่นั่นก็ไม่มีคุณค่าเพียงพอต่อการเชื่อถือแต่อย่างใด[2]

ตำราจำนวนมากมายที่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺ ในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.), ถึงขั้นที่ว่าเชคมุฮัมมัด อีระวานียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านนามว่า อัลอิมามุลมะฮฺดียฺ (.) ว่า : ชาวซุนนียฺ,ได้เขียนตำรามากมายเกี่ยวกับการรวบรวมรายงานฮะดีซ เกี่ยวข้องกับการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) ว่า ในยุคสุดท้ายจะมีบุคคลหนึ่งนามว่า มะฮฺดียฺ (.) ปรากฏกายออกมา, ฉันมีข้อมูลถูกต้องว่าผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺได้เขียนตำราในหัวข้อดังกล่าวมากเกินกว่า 30 เล่ม[3] แม้ว่าประเด็นดังกล่าวนี้จะมีความเห็นพร้องต้องกันระหว่างชีอะฮฺ และซุนนียฺ, แต่ก็มีซุนนียฺบางกลุ่มจำนวนน้อยนิดพยายามที่จะกล่าวว่า รายงานฮะดีซเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) อ่อนแอเชื่อถือไม่ได้, เช่น อิบนุคัลดูน ได้บันทึกไว้ในตำราประวัติศาสตร์ของตนว่าฮะดีซเหล่านี้อ่อนแอเชื่อถือไม่ได้[4] หรือระชีดริฎอ (ผู้เขียนตัฟซีรอัลมินาร) ได้อธิบายตอนอธิบายโองการที่ 32 บทอัตเตาบะฮฺโดยระบุว่าฮะดีซเกี่ยวกับมะฮฺดียฺ ล้วนเป็นฮะดีซที่อ่อนแอเชื่อถือไม่ได้[5] อย่างไรก็ตามผู้รู้ทั้งสองท่านไม่ได้นำเหตุผลมาสนับสนุนคำกล่าวอ้างของตนแต่อย่างใด เพียงแค่กล่าวว่าฮะดีซเชื่อถือไม่ได้เท่านั้นเอง แต่ไม่มีเหตุผลอธิบายว่าเพราะอะไร ขณะเดียวกันคำพูดของผู้รู้ทั้งสองท่านนี้ได้รับการวิจารณ์และหักล้างอย่างรุนแรงจากผู้รู้ฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺท่านอื่น

งานเขียนของผู้รู้ฝ่ายชีอะฮฺก็ได้ตอบข้อครหาของผู้รู้ทั้งสองไว้เช่นกัน, ในส่วนของอิบนุคัลดูนได้เขียนเกี่ยวกับความเชื่อของมุสลิมในเรื่องมะฮฺดียฺ (.) ไว้ว่า : เป็นที่รับทราบกันเป็นอย่างดีในหมู่มุสลิมทั้งหลายว่า ในยุคสุดท้ายจะมีชายคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺของเราะซูลปรากฏกายออกมา เขาจะปกป้องศาสนาและสถาปนาความยุติธรรม และมุสลิมทั้งหลายจะเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา และเขาจะได้ครอบครองอาณาจักรอิสลาม ซึ่งบุคคลนั้นมีนามชื่อว่า มะฮฺดียฺ (.)[6] ด้วยเหตุนี้เอง, การที่อิบนุคัลดูน กล่าวว่า ฮะดีซที่เกี่ยวกับอิมามมะฮฺดียฺ ล้วนเป็นฮะดีซที่อ่อนแอเชื่อถือไม่ได้ทั้งสิ้น จึงขัดแย้งอย่างรุนแรงกับความเชื่อส่วนใหญ่ของผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺในเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ แต่ก็ไม่สามารถหักล้างความเชื่อเหล่านั้นได้ เนื่องจากความเชื่อในเรื่องนี้มาจากฮะดีซจำนวนมาก ซึ่งได้รายงานไว้โดยสายงานซุนนียฺ

ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงรายงานฮะดีซของผู้รู้บางท่าน ที่ได้บันทึกฮะดีซเหล่านี้ไว้ในตำราของตน แม้ว่าจะประมาณการได้คร่าวๆ ว่าคำกล่าวอ้างเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซของฝ่ายซุนนียฺ อย่างน้อยที่สุดเพียงสองสามรายงาน เช่น :

1.อิบนุสะอฺด์ (เสียชีวิตเมื่อ .. 230), 2. อิบนุอบีชัยบะฮฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 235), 3. อะฮฺมัดบินฮันบัล (เสียชีวิตเมื่อ .. 241), 5.มุสลิม (เสียชีวิตเมื่อ .. 261), 6.อิบนุมาญะฮฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 273), 7.อบูบักรฺ อัสกาฟียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 273), 8.ติรมีซียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 279), 9.ฏ็อบรียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 280), 10. อิบนุกุตัยบะฮฺ ดีนวะรียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 276), 11.ฮากิม เนชาบูรียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 405), 12.บัยฮะกียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 458), 13.เคาะฏีบ บัคดาดียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 463), 14.อิบนุ อะซีร ญุซรียฺ (เสียชีวิตเมื่อ .. 606),[7]

ผู้รู้ฝ่ายซุนนีย์อีกท่านหนึ่งเขียนว่า : มีรายงานจำนวนมากมายเกี่ยวกับเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) ซึ่งรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นของ มุตะวาติร (เชื่อถือได้) ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่รับรู้กันดีในหมู่ผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺ, ถึงขั้นที่ว่าเป็นความเชื่อของพวกเขาทีเดียว, ผู้รู้ฝ่ายซุนนียฺอีกท่านหนึ่งเขียนว่า : รายงานฮะดีซเกี่ยวกับมะฮฺดียนั้นได้ถูกรายงานไว้โดยสายรายงานที่แตกต่างกัน ซึ่งได้รายงานมาจากเซาะฮาบะฮฺเสียเป็นส่วนใหญ่ และลำดับต่อจากนั้นได้รายงานมาจาตาบิอีน, ถึงขั้นที่ว่ากลุ่มฮะดีซเหล่านั้นให้ประโยชน์อันเชื่อถือได้ทางวิชาการ, ด้วยเหตุนี้เองการเชื่อเกี่ยวกับการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) เป็นวาญิบ, ดังเช่นที่ว่าวาญิบนี้เป็นที่พิสูจน์แล้วในหมู่นักวิชาการฝ่ายซุนนียฺ และเป็นหลักความเชื่อที่ได้รับการยอมรับในหมู่ซุนนียฺด้วย[8] อิบนุกะซีร กล่าวไว้ในหนังสือ อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ ว่า : มะฮฺดียฺ (.) จะปรากฏกายในยุคสุดท้าย เขาจะทำให้โลกเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมและคุณธรรม ดุจดังเช่นที่โลกเคยเปี่ยมไปด้วยความอธรรมและบายมุข. เราได้เรียบเรียงฮะดีซเกี่ยวกับมะฮฺดียฺ (.) โดยแยกเล่มไว้ต่างหาก ดังเช่นที่อบูดาวูด ได้แยกฮะดีซไว้ในหนังสือสุนันของท่าน[9] ประเด็นนี้ได้รับการรายงานโดยผู้รู้ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายซุนนียฺ, ซึ่งทำให้ประจักษ์ว่าปัญหาเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) และการเชื่อเรื่องการปรากฏกายของท่านนั้น ถือเป็นความเชื่อที่ได้รับการพิสูจน์และเป็นความเชื่อมั่นคงในฝ่ายซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ และฮะดีซที่รายงานเกี่ยวกับการปรากฏกายของท่านนั้นในหมู่พวกเขาอยู่ในขั้นของ มุตะวาติร (เชื่อถือได้).

เมื่อพิจารณาเนื้อหาที่กล่าวมาแล้วได้บทสรุปดังนี้ว่า ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (.) ระหว่างชีอะฮฺ กับซุนนียฺมีจุดร่วมที่คล้ายเหมือนกัน ดังนั้นตรงนี้จึงใคร่ขอนำเสนอจุดร่วมเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ ของสองนิกายอิสลามชีอะฮฺ และซุนนียฺ ไว้ดังนี้ :

1.การปรากฏกายแน่นอนและการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

2.สายตระกูลของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.)

สายตระกูลของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) ในทัศนะชีอะฮฺเป็นที่ประจักษ์แน่นอนอยู่แล้ว, ส่วนในทัศนะของซุนนียฺนั้นจะชี้ให้เห็นบางประเด็นดังนี้

2.1 ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) เป็นอะฮฺลุลบัยตฺและเป็นบุตรหลานของท่านศาสดา (ซ็อล ) อิบนุมาญะฮฺ ได้กล่าวไว้ในสุนันของท่านว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : มะฮฺดียฺมาจากพวกเราอะฮฺลุลบัยตฺ อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรทรงให้เขาปรากฏในยามกลางคืน[10]

"المهدی ]عج[ منا اهل البیت یصلحه الله عزوجل فی لیلة"

2.2 ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) สืบเชื้อสายมาจากท่านอิมามอะลี (.), ซุยูฏียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ อุรฟุลวัรดียฺ ว่า ท่านเราะซูล (ซ็อล ) ได้จับมือท่านอะลี (.) พร้อมกับกล่าวว่า : [11]จะมีชายหนุ่มออกมาจากไขสันหลังของชายหนุ่มคนนี้ ซึ่งเขาจะทำให้แผ่นดินเต็มเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมและดุลยภาพ

"سیخرج من صلب هذا فتی یملأ الارض قسطاً و عدلاً"

2.3 ท่านอิมามมะฮฺดียฺ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6567 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • ภาพรวม, คำสอนหลักของอัลกุรอาน บทบนีอิสราเอลคืออะไร?
    8510 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    ตามทัศนะของนักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่,กล่าวว่า บทบนีอิสราเอล (อิสรออฺ)[1] ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ และถือว่า[2]เป็นหนึ่งในบทมักกียฺ โดยสรุปทั่วไปแล้ว, บทเรียนอันเป็นคำสอนหลักของอัลกุรอาน บทนบีอิสราเอล วางอยู่บนประเด็นดังต่อไปนี้ : 1.เหตุผลของนบูวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) 2.ปัญหาเกี่ยวกับ มะอาด, การลงโทษ, ผลรางวัล, บัญชีการงาน และ .. 3.บางส่วนจากประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องราวของหมู่ชนบนีอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่บทจนกระทั่งจบบท 4.ปัญหาเรื่องความอิสระทางความคิด ความประสงค์ และเจตนารมณ์เสรี และทุกภารกิจที่เป็นการกระทำดีและไม่ดี ซึ่งทั้งหมดย้อนกลับไปสู่มนุษย์ทั้งสิ้น
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7106 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    5960 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7952 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    14707 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7265 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7318 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5618 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • อาริสโตเติลเป็นศาสดาแห่งพระเจ้าหรือไม่?
    8914 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    อาริสโตเติล, เป็นนักฟิสิกส์ปราชญ์และนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโตและเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...