การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5717
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1741 รหัสสำเนา 17103
คำถามอย่างย่อ
กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
คำถาม
ถ้าเป็นไปได้ กรุณาอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของเชคฏูซีพอสังเขป
คำตอบโดยสังเขป

ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมา เชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยม แนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้
ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมือง
ท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครอง ตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด
ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์ กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมาม หรือตัวแทนอิมาม ซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้
ในบริบททางวิชาการ ท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชน ความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูม ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด ย่อมแสดงว่าท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาออกจากการเมือง เพราะท่านถือว่าการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของสารธรรมศาสนา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนจะเข้าประเด็น เห็นควรที่จะเล่าประวัติของท่านโดยสังเขปของเชคฏูซีให้ทราบทั่วกัน
เชคุฏฏออิฟะฮ์ อบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บิน อลี ฏูซี หรือที่รู้จักในนาม"เชคฏูซี"  ถือกำเนิดในปีที่ ถือกำเนิดในปีฮ.. 385 ท่านศึกษาวิชาการศาสนาตั้งแต่วัยหนุ่ม ในยุคนั้น แคว้นฏูซ นีชาบู้ร ซับซะว้อร เรย์ และโดยเฉพาะกุมซึ่งเป็นศูนย์กลางชีอะฮ์และอุละมาอ์ ล้วนเป็นแหล่งวิชาการศาสนาทั้งสิ้น ยุคของท่านตรงกับระยะปกครองของสุลต่านมะฮ์มู้ด ฆัซนะวี ที่เมืองฆัซนะฮ์และแคว้นโครอซอน กษัตริย์ผู้นี้ให้ความสำคัญต่อการเผยแพร่แนวทางซุนหนี่ ในขณะที่ดินแดนเปอร์เซียส่วนที่เหลือ อาทิเช่น เรย์ ฟารส์ และแบกแดด เป็นศูนย์การปกครองของกษัตริย์ชีอะฮ์จากราชวงศ์อาลิบูยะฮ์[1]

เชคฏูซีได้เริ่มต้นการศึกษาที่แบกแดด โดยศึกษาจากอาจารย์อย่างเชคมุฟีด และศึกษาวิชาฟิกเกาะฮ์ อุศู้ล และเทววิทยาอิสลามจากซัยยิดมุรตะฎอเป็นเวลากว่า 23 ปี หลังจากอาจารย์เสียชีวิต เชคฏูซีได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำสูงสุดของชีอะฮ์ ชื่อเสียงทางด้านวิชาการและความสมถะของท่านได้ยินถึงหูเคาะลีฟะฮ์อับบาสิดนามว่า อัลกออิม บิอัมริ้ลลาฮ์ ซึ่งจากการสนับสนุนโดยราชวงศ์อาลิบูยะฮ์ทำให้ท่านได้รับโอกาสให้สอนเทววิทยาอิสลามในแบกแดด เมืองหลวงของอับบาสิด ต้องคำนึงว่าตำแหน่งดังกล่าวจะมอบให้เฉพาะผู้รู้ระดับสูงสุดเท่านั้น ความเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยปัญหาศาสนาของท่านสังเกตุได้จากหนังสือ "ตะฮ์ซีบุลอะห์กาม ฟีชัรฮิลมุกนิอะฮ์" ซึ่งท่านประพันธ์ไว้ขณะอายุเพียง27 ปี ซึ่งภายหลังได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในสี่ตำราหลักทางด้านฮะดีษของชีอะฮ์ ปราชญ์ระดับสูงอย่างอัลลามะฮ์ ฮิลลี ก็ได้กล่าวยกย่องความยิ่งใหญ่ทางวิชาการของท่าน ซึ่งไม่อาจนำเสนอได้หมด  ที่นี้[2]

เพื่อทำความเข้าใจสถานภาพทางสังคมและการเมืองของท่าน เราขอเล่าสถานการณ์ทางการเมืองและศาสนาในยุคนั้นเล็กน้อย ศตวรรษที่ห้า(..) เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูวิทยาการและการเมืองของแบกแดด ในเมืองนี้มีนักวิชาการระดับอัจฉริยะด้านฮะดีษและเทววิทยาอิสลามอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งท่านเชคฏูซีก็ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษหลังจากเข้าพำนักในเมืองนี้ในปีฮ..408 

ชนชั้นปกครองยุคอับบาสิด (โดยเฉพาะยุคอัลมุตะวักกิ้ล ..232-247)ล้วนให้ความสำคัญแก่กลุ่มสะละฟีสุดโต่ง ซึ่งพยายามกดดันฝ่ายอื่นๆเช่นมุอ์ตะซิละฮ์ ชีอะฮ์ และทุกแนวคิดที่ให้ความสำคัญต่อสติปัญญา
อาลิบูยะฮ์ได้พิชิตนครแบกแดดในปีฮ.. 334  แม้คนกลุ่มนี้จะเป็นชีอะฮ์ แต่ก็มิได้พยายามยกพวกพ้องตนเองขึ้นเหนือพี่น้องซุนหนี่แต่อย่างใด ทำให้ยังสามารถควบคุมความเรียบร้อยภายในเมืองได้ดังเดิม ในยุคของอาลิบูยะฮ์ สังคมมุสลิมพัฒนาด้านวิทยาการอย่างก้าวกระโดด และถือเป็นยุคทองของเสรีภาพทางวิชาการศาสนาเช่นกัน
ราชวงศ์อาลิบูยะฮ์ให้ความสำคัญต่ออุละมาอ์ชีอะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชคมุฟี้ดและเชคฏูซี ซึ่งแน่นอนว่าเคาะลีฟะฮ์อับบาสิดก็จำยอมต้องให้เกียรติตามไปด้วย[3]

แนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซี
ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมา เพื่อให้ได้คำตอบที่สอดคล้องกับแต่ละยุคสมัย เชคฏูซีก็เป็นนักนิติศาสตร์และนักเทววิทยาวิถีอิสลามท่านหนึ่งในยุคของราชวงศ์บุวัยฮิด(ฮิจเราะฮ์ศตวรรษที่สี่และห้า) ที่ได้ตอบคำถามที่เกิดขึ้นในยุคนั้นด้วยมุมมองทางฟิกเกาะฮ์และเทววิทยาชีอะฮ์

กระบวนทัศน์ด้านการเมืองของท่านเน้นย้ำถึงประเด็นการปกครองและปัจจัยต่างๆที่จำเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและราษฎร์ และวิธีเผชิญหน้ากับนักปกครองที่ไม่พึงประสงค์
สามารถสรุปแนวคิดทางการเมืองการปกครองของท่านได้ดังนี้:

1. ความจำเป็นต้องมีรัฐ
เชคฏูซีได้ใช้หลักสติปัญญาพิสูจน์ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐ ระบอบการปกครอง และนักปกครอง แล้วจึงเสริมด้วยหลักฐานทางฮะดีษ ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อัลอิ๊กติศอดุ้ลฮาดี"ว่า
"
นอกจากกลุ่มอิมามียะฮ์ มุอ์ตะซิละฮ์แห่งแบกแดด และนักวิชาการรุ่นหลังบางท่านแล้ว กลุ่มอื่นๆไม่เชื่อว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐและผู้นำตามหลักสติปัญญา อย่างไรก็ดี หลักสติปัญญาดังกล่าวแฝงไว้ด้วยสองวิธีคิด
1. เน้นความจำเป็นที่จะต้องมีระบอบปกครองอิสลามตามหลักสติปัญญา โดยไม่พิสูจน์หรือหักล้างด้วยหลักฐานอันเป็นตัวบทศาสนา
2. เน้นความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำด้วยตัวบททางศาสนา และใช้หลักสติปัญญาพิสูจน์ถึงคุณลักษณะเฉพาะของผู้นำ ในฐานะผู้พิทักษ์ศาสนาและบทบัญญัติอิสลาม[4]
หลังจากที่ท่านนำเสนอและแจกแจงวิธีการดังกล่าวแล้ว ท่านก็ได้แสดงเหตุผลอันบ่งชี้ว่าคล้อยไปทางวิธีการแรกดังนี้
. คนทั่วไปย่อมทำผิดทำบาปกันได้ หรืออาจละเมิดข้อบังคับทางศาสนาไปบ้าง หากมีผู้นำที่มีความชอบธรรมทางการเมืองและได้รับความนิยมจากประชาชน ก็จะได้กำราบศัตรูของประชาชน ลงทัณฑ์อาชญากร และช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจากเงื้อมมือผู้กดขี่ ผลก็คือ สังคมจะได้รับความสงบร่มเย็นปราศจากภัยคุกคามใดๆ[5]
. หลักการุณยตาของพระเจ้าบ่งชี้ว่า พระเจ้าย่อมจะทรงแต่งตั้งผู้นำที่เหมาะสมสำหรับสังคม สังเกตุว่าท่านเชคฏูซีถือว่าการปกครองประชาชนเป็นเรื่องจำเป็นต่อมนุษย์ และกล่าวอีกว่า ในเมื่อพระองค์จะไม่ทรงปฏิบัติสิ่งไม่ดี และไม่เคยบกพร่องในสิ่งที่ดี พระเจ้าที่ได้ประทานบทบัญญัติแก่มนุษย์บนพื้นฐานของฮิกมะฮ์(วิทยปัญญา)ของพระองค์ ไฉนเลยจะไม่ทรงกำหนดผู้ที่จะทำหน้าที่บังคับใช้บทบัญญัติของพระองค์ และนี่คือบทสรุปจากหลักการุณยตานั่นเอง"[6]

2. ผู้ใดคือนักปกครอง
เชคฏูซีเชื่อว่า ในเมื่อพระเจ้าสร้างโลกด้วยวิทยปัญญา และในเมื่อประชาชนทั่วไปไม่สามารถที่จะเฟ้นหาผู้นำที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากยังมีบาป โดยหลักแห่งการุณยตาแล้ว พระเจ้าจะทรงแต่งตั้งผู้นำและผู้ปกครองรัฐอย่างแน่นอน ในอันดับแรกทรงแต่งตั้งในรูปของรัฐบาลนบี(..) โดยพระองค์ตรัสว่า "นบีมีสิทธิเหนือมุอ์มินยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง"[7] นักตัฟซี้รได้อธิบายว่าการมีสิทธิเหนือกว่าในที่นี้หมายถึงสิทธิในการบริหารกิจการประชาชน และยังเป็นการรณรงค์ให้เชื่อฟังท่านนบี(..) ภายหลังจากท่าน ไม่มีผู้ใดเหมาะแก่สิทธินี้ไปกว่าผู้ที่มีสถานะเป็นอิมาม ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องเชื่อฟัง[8]

3. อำนาจปกครองของอิมาม(.)
เช่นเดียวกับนักนิติศาสตร์อิสลามฝ่ายชีอะฮ์ท่านอื่นๆ เชคฏูซีก็เชื่อว่าอำนาจปกครองของอิมาม(.)คือด้านหนึ่งของตำแหน่งอิมามและผู้นำกิจการทั่วไป ซึ่งจะต้องฟื้นฟูดูแลราษฎรทั้งทางโลกและทางธรรม ส่วนประชาชนก็ต้องเคารพเชื่อฟังอิมาม(.) เพื่อให้บังเกิดรัฐขึ้นในสังคม[9]

4. อำนาจปกครองของตัวแทนอิมาม(.)
เชคฏูซีกำหนดบรรทัดฐานความเป็นผู้ไร้บาปเฉพาะสำหรับท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.) ส่วนกรณีของการเป็นผู้นำของตัวแทนอิมาม(.)นั้น แม้จะไม่ได้เป็นผู้ไร้บาป แต่ท่านยังถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากจะต้องธำรงไว้ซึ่งระบอบและกฏหมายอิสลามสืบไป

"ทุกครั้งที่เชคฏูซีกล่าวถึงประเด็นอิมาม(.)ในฐานะที่เป็นผู้นำทางการเมือง ท่านมักจะเอ่ยถึงคุณลักษณะต่างๆที่ผู้นำรัฐพึงมีเสมอ นอกจากนี้ท่านยังกล่าวถึงรัศมีอำนาจหน้าที่อันกว้างขวางของบรรดาฟะกีฮ์(ผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติศาสนา)ไม่ว่าจะในด้านการวินิจฉัย การพิพากษา การบังคับใช้บทบัญญัติศาสนา และการบริหารทรัพย์สินทางศาสนา โดยท่านถือว่าบุคคลเหล่านี้มีอำนาจหน้าที่เท่าเทียมกับอิมามแทบทุกเรื่อง ยกเว้นบางกรณีที่เป็นอำนาจหน้าที่อันเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของบรรดาอิมาม ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้เชคฏูซีจะไม่ได้ระบุว่าบรรดาฟะกีฮ์เป็นตัวแทนของอิมามในเรื่องกิจการทั่วไปก็จริง แต่สิ่งที่ท่านนำเสนอทั้งหมดล้วนเป็นกรณีตัวอย่างของกิจการทั่วไปทั้งสิ้น อันถือว่าได้รับมอบสิทธิในการปกครองแทนอิมามโดยปริยาย[10]

แนวคิดทางการเมืองที่สามารถพบได้ในกระบวนทัศน์ของเชคฏูซีมีมากมาย อาทิเช่น ประเด็นขอบข่ายอำนาจของนักปกครองในทัศนะอิสลาม เป้าหมายของรัฐอิสลาม ความสัมพันธ์ระหว่างนักปกครองกับราษฎร ทรราชย์กับราษฎร ฯลฯ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของบทความนี้ จึงไม่สามารถนำเสนอได้อย่างครบถ้วน โปรดติดตามจากบทความชิ้นอื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้[11]



[1] อลี ดะวอนี, ครบรอบพันปีเชคฏูซี, เล่ม1,หน้า 3-4

[2] ซัยยิดมุฮัมมัด ริฎอ มูซะวียอน, แนวคิดทางการเมืองของเชคฏูซี,หน้า 18- 25 (ย่อความ)

[3] อ้างแล้ว,หน้า 27- 31 (ย่อความ)

[4] เชคฏูซี, อัลอิ๊กติศอดุ้ลฮาดี,หน้า 183

[5] อ้างแล้ว

[6] อ้างแล้ว, หน้า 112

[7] ซูเราะฮ์ อัลอะห์ซาบ, 6

[8] อัรร่อซาอิ้ล อัลอัชร์,หน้า 112

[9] อ้างแล้ว,หน้า 103

[10] แนวคิดทางการเมืองของเชคฏูซี,หน้า 58

[11] โปรดอ่านคำถามที่ 1740 ระเบียน: คุณสมบัติของรัฐในทัศนะทางการเมืองของเชคฏูซี.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5867 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8381 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6485 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13338 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7122 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8717 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • ประชาชนชาวเมืองกุมไม่ว่าจะกระทำผิดเพียงใดก็จะไม่ถูกลงโทษในไฟนรกกระนั้นหรือ?
    5258 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    1.รายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับเมืองกุม, ที่ว่าประชาชนชาวกุมจะไม่ตกนรกนั้นไม่ถูกต้อง.2.การรู้จักมักคุ้นกับลูกหลานของท่านศาสดา (ซ็อล
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5236 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6187 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8664 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59364 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56819 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41642 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38391 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38387 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27519 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27213 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27107 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25178 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...