การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9763
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17579 รหัสสำเนา 21627
คำถามอย่างย่อ
จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
คำถาม
อัสลามุอลัยกุม ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงบาปประเภทใดในดุอากุเมลที่ว่า
اَللّهُمَّ اغْفِرْ لِىَ الذُّنُوبَ الَّتى تَهْتِکُ الْعِصَمَ؛ اَللّهُمَّ اغْفِرْ لِىَ الذُّنُوبَ الَّتى تُنْزِلُ النِّقَمَ؛ اَللّهُمَّ اغْفِرْ لِىَ الذُّنُوبَ الَّتى تُغَیِّرُ النِّعَمَ؛ اَللّهُمَّ اغْفِرْ لىَ الذُّنُوبَ الَّتى تَحْبِسُ الدُّعاَّءَ؛ اَللّهُمَّ اغْفِرْ لىَ الذُّنُوبَ الَّتى تَقطَعُ الرَّجاءَ؛ اَللّهُمَّ اغْفِرْ لِىَ الذُّنُوبَ الَّتى تُنْزِلُ الْبَلاَّءَ.
คำตอบโดยสังเขป

โดยปกติแล้ว บาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลา ยับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้น เหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาป ซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้ อย่างไรก็ดี บางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะ อาทิเช่น การกดขี่ข่มเหงผู้อื่น การงดทำดีกับผู้อื่น ลำเลิกบุญคุณและไม่ขอบคุณเนี้ยะมัตของพระองค์อันจะทำให้เนียะมัตถูกปรับเปลี่ยน ส่วนบาปที่จะนำพาอะซาบโดยตรงก็ได้แก่ การกดขี่ทั้งที่รู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี การเยาะเย้ยหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น ส่วนปัจจัยที่จะระงับริซกีก็ได้แก่ การเผยความยากจนให้ผู้คนทราบ การนอนช่วงนมาซอิชากระทั่งไม่ได้นมาซ ส่วนปัจจัยที่จะฉีกม่านแห่งความละอายลงก็ได้แก่ การดื่มเหล้า, การพนัน, การหยอกล้อกับผู้คนเกินงาม, คำพูดที่ไร้สาระ การจ้องจับผิดผู้อื่น การคบค้าสมาคมกับผู้ประพฤติชั่ว ส่วนปัจจัยที่จะนำพาให้บะลากระหน่ำลงได้แก่ การระงับความช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ การละเลยผู้เดือดร้อน การไม่กำชับสู่ความดี และไม่ห้ามปรามความชั่ว
สรุปคือ การอิสติฆฟ้ารของท่านอิมามอลี(.)ในดุอากุเมลนั้น ครอบคลุมถึงบาปทั่วไป มิได้เจาะจงประเภทใดประเภทหนึ่ง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ต้องเรียนชี้แจงว่า บาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลา ยับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้น เหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาป ซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้ มีฮะดีษกล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงตรัสว่าบางครั้งบ่าวได้ขอความช่วยเหลือจากข้า ซึ่งข้าก็ได้ประทานให้สมปรารถนา ทว่าเขากลับทำบาป ข้าจึงปรารภแก่มลาอิกะฮ์ว่า บ่าวผู้นี้ได้นำพาตนเองสู่ความกริ้วของข้าด้วยการทำบาป อันจะทำให้สูญเสียเนียะมัตที่ข้าประทานให้ จากนี้ไป เขาจะไม่ได้ดังที่ปรารถนา จนกว่าจะยอมภักดีต่อข้าเสียก่อน[1]
ท่านอิมามอลี(.)ก็เคยกล่าวว่าขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ไม่มีเนียะมัตใดถูกริบไปจากผู้คน เว้นแต่เกิดจากสาเหตุที่พวกเขาทำบาป[2]

ประหนึ่งว่าท่านอิมามอลี(.)ต้องการจะย้ำเตือนถึงข้อคิดดังกล่าวในช่วงแรกของดุอากุเมล โดยพร่ำวิงวอนพระองค์ว่า โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงอภัยบาปทุกประการที่จะเป็นเหตุให้ม่านความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ ฯลฯ และดังที่ตอนท้ายได้กล่าวว่า ขอทรงอภัยบาปและความผิดพลาดทุกประการที่ข้าฯกระทำไป

ภัยพิบัติ (บะลา) มีความเกี่ยวโยงกับการทำบาปถึงขั้นที่กุรอานถือว่าภยันตรายทุกประเภทที่มนุษย์ประสบ ล้วนเกิดจากการทำบาปทุกภัยพิบัติและเคราะห์กรรมที่สูเจ้าประสบ ล้วนเกิดจากการกระทำของสูเจ้าเอง และอัลลอฮ์ทรงอภัยบาปเหล่านี้จำนวนมาก[3]

ฉะนั้น คำสอนศาสนาไม่ว่าจะเป็นกุรอานหรือฮะดีษล้วนสอนว่า การทำบาปมีผลชักนำภัยพิบัติมาสู่มนุษย์ ดังที่ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลต้องอาศัยน้ำฝน และหากฝนทิ้งช่วง ทั้งแผ่นดินและท้องทะเลก็ได้รับผลเสียอย่างมหันต์ ภาวะฝนแล้งจะเกิดในช่วงที่มีการทำบาปอย่างแพร่หลาย[4]

ที่กล่าวไปแล้วนั้น เป็นฮะดีษที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการทำบาปในภาพรวม แต่ยังมีฮะดีษบางบทที่ระบุถึงผลเสียของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะ ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอฮะดีษประเภทนี้เพียงบทเดียว
อบูคอลิด กาบุลี เล่าว่า ฉันเคยได้ยินอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)กล่าวว่าบาปที่จะเปลี่ยนแปลงเนียะมัตได้แก่ การกดขี่ผู้อื่น การงดทำดีกับผู้อื่น ลำเลิกและไม่ขอบคุณเนี้ยะมัตของพระองค์ อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

[5] إِنَّ اللَّهَ لا یغَیرُ ما بِقَوْمٍ حَتَّى یغَیرُوا ما بِأَنْفُسِهِمْ

(แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในกลุ่มชนหนึ่ง เว้นแต่พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆของพวกตน)
ส่วนบาปที่จะนำมาซึ่งอะซาบ ได้แก่ การกดขี่ทั้งที่รู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี การเยาะเย้ยหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น ส่วนปัจจัยที่จะระงับริซกีก็ได้แก่ การเผยความยากจนให้ผู้คนทราบ การนอนช่วงนมาซอิชากระทั่งไม่ได้นมาซ ส่วนปัจจัยที่จะฉีกม่านแห่งความละอายลงก็ได้แก่ การดื่มเหล้า, การพนัน, การหยอกล้อกับผู้คนเกินงาม, คำพูดที่ไร้สาระ การจ้องจับผิดผู้อื่น การคบค้าสมาคมกับผู้ประพฤติชั่ว ส่วนปัจจัยที่จะนำพาให้บะลากระหน่ำลงได้แก่ การระงับความช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่ การละเลยผู้เดือดร้อน การไม่กำชับสู่ความดี และไม่ห้ามปรามความชั่ว ปัจจัยที่จะทำให้ศัตรูมีชัยเหนือเรา ได้แก่ การกดขี่และการทำบาปต่อหน้าธารกำนัล การละเมิดบทบัญญัติศาสนา ไม่เชื่อฟังคำสอนของคนดีแต่กลับคล้อยตามคนชั่ว ส่วนบาปที่จะปลิดอายุขัยอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การตัดญาติขาดมิตร การสาบานเท็จ การพูดยกเมฆ การผิดประเวณี การกีดขวางการเดินทางของผู้ศรัทธา และการอ้างตำแหน่งผู้นำทั้งที่ไม่มีความเหมาะสม
ส่วนบาปที่จะทำให้ความหวังสูญสลาย ได้แก่ การสิ้นหวังในเมตตาของพระองค์ การมั่นใจในคำมั่นของผู้อื่นนอกเหนือจากพระองค์ การกล่าวหาว่าสัญญาของพระองค์เป็นเรื่องเท็จ
ส่วนปัจจัยที่จะสกัดกั้นมิให้ดุอาได้รับการตอบรับ ได้แก่ การประสงค์ร้าย  การคงความต่ำทรามในหัวใจ การไม่จริงใจต่อพี่น้อง การไม่ช่วยเหลือผู้อื่น การปล่อยให้เวลานมาซผ่านไปโดยมิได้นมาซ การไม่บำเพ็ญกุศลในหนทางพระองค์ การงดบริจาคทาน การละทิ้งการทำดี การผรุสวาทด่าทอผู้อื่น ฯลฯ[6]

อนึ่ง แต่ละหมวดดังกล่าวอาจมีข้อปลีกย่อยมากกว่าที่กล่าวมา แต่เพื่อมิให้เยิ่นเย้อ ฮะดีษจึงระบุไว้เพียงกรณีเหล่านี้ ทั้งนี้เนื่องจากมีฮะดีษบางบทระบุว่าสาเหตุที่ทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับมีถึงสามสิบประการ อาทิเช่น การบริโภคอาหารต้องห้าม การนินทา การริษยา การทรนงตน การมีใจที่แข็งกระด้าง การกินดอกเบี้ย ฯลฯ

 



[1] ดัยละมี, ฮะซัน,อิรชาดุ้ลกุลู้บ อิลัศเศาะว้าบ,เล่ม 1,หน้า 150,สำนักพิมพ์ชะรีฟเราะฎี,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1412

[2] เพิ่งอ้าง

[3] อัชชูรอ, 30

[4] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร,เล่ม 70,หน้า 349,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,.. 1409

[5] อัรเราะอ์ด,11

[6] ดู: ฮุร อามิลี,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 16,หน้า 282-283 ,สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์,กุม,..1409

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ฉันต้องการฮะดีซสักสองสามบท ที่ห้ามการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สามารถแต่งงานกันได้?
    5940 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ความสัมพันธ์ระหว่างนามะฮฺรัม 2 คน, กว้างมากซึ่งแน่นอนว่าบางองค์ประกอบของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดจากคำถามที่ได้ถามมานั้นยังมีความเคลือบแคลงอยู่แต่จะขอตอบคำถามนี้ในหลายสถานะด้วยกัน
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6702 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • มัซฮับมาลิกีหรือฮะนะฟีไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ?
    8349 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/03
    คุณควรหาคำตอบให้ได้ว่าความชอบดังกล่าวเกิดจากความนิยมชมชอบทั่วไปหรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล  หากตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลนั่นหมายความว่ามัซฮับอื่นๆยังมีข้อบกพร่องอยู่แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนที่แนวทางชีอะฮ์มีเหนือมัซฮับอื่นๆในอิสลามกล่าวคือชีอะฮ์ถือว่าอิมามมีภารกิจเสมือนนบีทุกประการ
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6490 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5616 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11874 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • จะพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ได้อย่างไร?
    6220 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/20
    อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลังตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบจากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรงถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาลวิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติและไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9377 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    10977 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตผีปีศาจ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น?
    8775 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/11
    ญิน คือสิ่งมีชีวิตที่กุรอานกล่าวว่า “และเราได้สร้างญินจากไฟอันร้อนระอุก่อนการสรรสร้าง(อาดัม)” ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งต้องได้รับการชี้นำโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์ ญินจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์ ซึ่งอิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง การทำอันตรายโดยการอนุมัติของพระองค์ในที่นี้ หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าทุกๆพลังอำนาจที่มีอยู่ในโลกล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่อานุภาพความร้อนและคมมีดก็ไม่อาจทำอะไรได้หากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะคานอำนาจของพระองค์ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้ กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยมนุษย์บางคนใช้ประโยชน์ในทางที่ดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41666 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33446 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...