การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8537
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1808 รหัสสำเนา 17845
คำถามอย่างย่อ
การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
คำถาม
การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
คำตอบโดยสังเขป

คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่ง

การวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า “ฮุบูต” ตามรากศัพท์หมายถึง การลงมาจากที่สูงยังสถานที่ต่ำกว่าหรือสถานที่แย่กว่า มีความบกพร่องมากกว่า[1]

อัลกุรอานหลายโองการ, กล่าวถึงการเนรเทศอาดัมออกจากสวรรค์และสถานที่พำนักของเขา อยู่ในพื้นพิภพนี้เองโดยใช้คำจำกัดความว่า ขับลงมา :

1. «وقلنا اهبطوا بعضکم لبعض عدو و لکم فی الارض مستقر و متاع الی حین»؛

“และเราได้ประกาศว่า สูเจ้าทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ สูเจ้าต่างเป็นศัตรูกัน และสูเจ้าจะมีที่พักและสิ่งอำนวยประโยชน์จนถึงระยะเวลาหนึ่ง"[2]

2. «قلنا اهبطوا منها جمیعاً فاما یأتینکم منی هدی فمن تبع هدای فلاخوف علیهم ولا هم یحزنون»؛

“เราได้กล่าวว่า เธอทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ และถ้ามีการชี้นำจากฉันมายังสูเจ้า แล้วผู้ใดปฏิบัติตามการชี้นำของฉัน ก็จะไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และพวกเขาจะไม่เศร้าโศก”[3]

3. «قال اهبطوا بعضکم لبعض عدو و لکم فی الارض مستقر و متاع الی حین»؛

“พระองค์ตรัสว่า "พวกเจ้าจงลงกันไป โดยที่พวกเจ้าเป็นศัตรูต่อกัน (ชัยฏอนจะเป็นศัตรูกับเจ้าและเจ้าก็จะเป็นศัตรูกับชัยฎอน) และในแผ่นดินนั้นมีที่พำนัก และสิ่งอำนวยประโยชน์สำหรับพวกเจ้าจนถึงระยะเวลาหนึ่ง"[4]

 ด้วยเหตุนี้ บางครั้งคำว่า ฮุบูต ในอัลกุรอานจึงถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงถึงการปรากฏหรือการพำนักในสถานที่หนึ่ง (เมือง) ด้วยเช่นกัน. ซึ่งจะเห็นว่าเรื่องราวของศาสดามูซา (อ.) กับวงศ์วานอิสราเอลอัลกุรอานกล่าวว่า :

«... قال أتستبدلون الذی هو ادنی بالذی هو خیر اهبطوا مصراً فان لکم ماسألتم...»؛

"มูซาได้บอกว่า สูเจ้าต้องการเปลี่ยนเอาสิ่งที่เลวกว่า แทนสิ่งที่ดีกว่ากระนั้นหรือ?  ถ้าเช่นนั้น (เมื่อเป็นเช่นนี้ จงพยายามขวนขวายในทะเลทราย) จงเข้าเมืองเถิด! แล้วสูเจ้าก็จะได้สิ่งที่สูเจ้าต้องการ" [5]

การวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลก (พื้นโลกหรือบัรซัค) หรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, บนพื้นฐานดังกล่าว คำว่า ฮุบุต ของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร,อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวนี้ มีการวิพากในหมู่นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน และนักปรัชญา ซึ่งแต่ละฝ่ายได้แสดงทัศนะเอาไว้ ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอเฉพาะทัศนะของนักอรรถาธิบายอัลกุรอานเท่านั้น :

มัรฮูมเฎาะบัรซีย์ กล่าวไว้ในตัฟซีรมัจญฺมะอุลบะบายว่า : คำว่า ฮุบูต และนุซูล เป็นการเกิดที่คล้ายคลึงกัน (หมายถึงมีความหมายเดียวกัน) กล่าวคือ : เป็นการเคลื่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า ... และบางครั้งคำว่า ฮุบูต ถูกใช้ในความหมายว่าหมายถึง (การพำนักในสถานที่) ด้วยเช่นกัน เช่น อัลกุรอานโองการหนึ่งกล่าวว่า «اهبطوا مصراً» หมายถึง จงเข้าไปในเมือง[6]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอีย์ กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : ฮุบูต หมายถึงการออกจากสวรรค์และพำนักอยู่บนหน้าพื้นดิน พร้อมกับการใช้ชีวิตบนความยากลำบากบนหน้าแผ่นดิน” แน่นอน โดยทั่วไปโองการที่ว่า

«قلنا اهبطوا بعضکم لبعض عدو و لکم فی الارض مستقر و متاع الی حین»

และโองการที่กล่าวว่า

«قال فیها تحیون و فیها تموتون و منها تخرجون»،

หมายถึงสภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ภายหลังจากลงมาแล้วกับสภาพชีวิตก่อนหน้านั้น (ชีวิตในสวรรค์) ชีวิตบนโลกนี้ต้องเผชิญกับความยากลำบากและความทุกข์ต่างๆ นานา, แต่ชีวิตในสวรรค์คือชีวิตแห่งฟากฟ้า ในที่นั้นไม่หิวและไม่กระหาย

อัลลามะฮฺ กล่าวว่า สวรรค์ของอาดัมอยู่ในฟากฟ้า แม้ว่าจะไม่ใช่สวรรค์ในปรโลก หรือสวรรค์นิรันดร์ก็ตาม, (เนื่องจากไม่ว่าบุคคลใดก็ตามได้เข้าไปแล้วจะไม่ออกมาอีก)

ถูกต้อง ในสภาพเช่นนั้นยังคงเหลือคำถามที่ว่า : คำว่าฟากฟ้าหมายถึงอะไร? และสวรรค์แห่งฟากฟ้ามีความหมายว่าอย่างไร?[7]

อัลลามะฮฺได้อธิบายการถูกเนรเทศของชัยฏอนจากหมู่มลาอิกะฮฺ ภายหลังจากไม่ยอมกราบกรานอาดัมในโองการที่ว่า

«قال فاهبط منها فما یکون لک ان تتکبر فیها فاخرج انک من الصاغرین»

แล้วเราได้กล่าวว่า "พระองค์ตรัสว่า จงลงไปจากสวรรค์นั้น ไม่บังควรแก่เจ้าที่จะทำโอหังในนั้น จงออกไป แท้จริง เจ้านั้นอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย"[8] อัลลามะฮฺกล่าวว่า :

ประโยคที่กล่าวว่า «فاخرج انک من الصاغرین» จงออกไป แท้จริง เจ้านั้นอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย เท่ากับเป็นการเน้นย้ำให้ประโยคที่กล่าวว่า «فاهبط منها» จงออกไปจากสวรรค์นั้น เนื่องจาก ฮุบูต ก็คือการออกไปนั่นเอง แน่นอนคำๆ นี้จะแตกต่างจากคำว่า คุรูจญ์ (ออกไป) เพียงเล็กน้อยเท่านั้นกล่าวคือ คำว่า ฮุบูต หมายถึงการออกไปจากตำแหน่งหรือฐานันดรไปยังตำแหน่งที่ต่ำกว่า, ซึ่งความหมายนี้เป็นเหตุผลที่ยืนยันว่าวัตถุประสงค์ของ ฮุบูต มิได้เป็นการลงมาจากสถานที่สูงกว่า ทว่าหมายถึงเป็นการลงจากตำแหน่งหรือฐานันดรที่สูงส่งกว่า

แน่นอน คำพูดของอัลลามะฮฺเท่ากับเป็นการสนับสนุนคำกล่าวของเรา เนื่องจากเรากล่าวว่า คำสรรพนาม ในคำว่า มินฮา และฟีฮา นั้นย้อนกลับไปหา ตำแหน่งหรือฐานันดร มิใช่ฟากฟ้า หรือสวรรค์แต่อย่างใด

บางทีบางคนอาจจะกล่าวว่า การย้อนกลับของคำสรรพนามอาจย้อนกลับไปที่คำว่า ฟากฟ้า และสวรรค์ จุดประสงค์ของเขาก็คือ ฐานันดรนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ความหมายของโองการจึงกล่าวว่า อัลลอฮฺตรัสว่า : มันเป็นความผิดอย่างมหันต์ เมื่อเราได้สั่งให้เจ้ากราบอาดัม แต่เจ้าปฏิเสธไม่ทำ ดังนั้นเจ้าจะต้องออกจากตำแหน่งนั้น และเนื่องจากตำแหน่งของเจ้าคือ การนอบน้อมและการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งเจ้าไม่บังควรที่จะแสดงความยโสโอหัง ดังนั้น เจ้าจงออกไปเสียเถิด เพราะเจ้าเป็นหนึ่งในพวกต่ำต้อย[9]

ในอีกที่หนึ่งอัลลามะฮฺได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญโดยกล่าวว่า : คำสั่งให้ลงไป หรือออกไปนี้เป็นคำสั่งในเชิง ตักวีนี (หน้าที่อันเป็นการกำหนด) หลังจากได้พำนักอยู่ในสวรรค์แล้ว แต่ได้เกิดพลาดพลั้งขึ้น ดังนั้น เมื่อฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระเจ้าและได้เข้าไปใกล้ต้นไม้ต้องห้าม ซึ่งยังไม่มีศาสนาใดๆ และยังไม่มีหน้าทางชัรอีย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ดังนั้น เท่ากับอาดัมไม่ได้กระทำความผิดอันใดทั้งปวง ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ และไม่มีบาปด้วย[10]

คำอธิบายของตัฟซีรอัลมีซาน ต้องกล่าวว่า การห้ามมิให้เข้าใกล้ต้นไม้เฉพาะ เป็นเพียงคำสั่งห้ามในเชิงของการแนะนำว่าอย่าทำเช่นนั้นเลยดีกว่า ประหนึ่งว่าแพทย์ได้กำชับแก่คนป่วยว่า : ถ้ารับประทานอาหารประเภทนี้จะทำให้ไม่สบายเป็นโรคนั้น โรคนี้ได้ ในที่นี้ก็เช่นเดียวกัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า เจ้าอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้นะและอย่าบริโภคผลไม้ดังกล่าวด้วย, เพราะถ้าเจ้าบริโภคผลไม้นั้น ผลลัพธ์คือเจ้าต้องออกจากสวรรค์นี้ไป, ซึ่งจากคำพูดนี้อัลลามะฮฺได้ตีความคำว่า ฮุบูต และวัตถุประสงค์ของ ฮุบูต ได้อย่างชัดเจนที่สุด

อายะตุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี ยอมรับว่าสถานพำนักของอาดัมและฮะวาคือ สวรรค์แห่งบัรซัค ท่านกล่าวว่า : อาดัมได้ถูกย้ายที่จากสถานที่กว้างและเหนือธรรมชาติ ไปสู่ธรรมชาติที่มีความจำกัด ซึ่งการย้ายลักษณะนี้ก็คือ การลงจากสถานที่ๆ มีอยู่ – ดังเช่นการลงอัลกุรอานจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อชี้นำมวลมนุษย์ – มิใช่เป็นการลงทางกายภายหรือสถานที่แต่อย่างใด นอกจากนั้น การฮุบูต ได้มาพร้อมกับการเตาบะฮฺและการหลีกเลี่ยงของท่านศาสดาอาดัม (อ.) ดังนั้น สิ่งนี้จึงชี้ให้เห็นถึงการลงมาของวิลายะฮฺและคิลาฟะฮฺ[11]

การลงมาของชัยฏอนก็เป็นการลงจากฐานันดรด้วยเช่นกัน, แตกต่างกันตรงที่ว่า การลงมาของอาดัม เป็นการลงมาอย่างมีเกียรติบนหน้าพื้นดิน, กล่าวคือการมาพำนักของอาดัมบนโลกนี้ได้พำนักร่วมกับ

อิบลิส, ส่วนอิบลิสได้ลงมาอย่างไร้เกียรติก่อนหน้านั้นยังพื้นโลก ส่วนอาดัมได้พำนักด้วยการคงเกียรติก่อนหน้านั้นไว้[12] 

ดังนั้น ชัยฏอนจึงมีการลงมา 2 ลักษณะ กล่าวคือ :

1. การลงจากตำแหน่งและฐานันดรที่มีอยู่ หลังจากได้แสดงความยโสโอหังโดยไม่ยอมกราบกรานอาดัม ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับการลงจากสวรรค์ในฐานะที่เป็นสถานพำนักและเป็นเกียรติยศอันสูงส่งของชัยฏอน อัลกุรอานกล่าวว่า

«قال فاهبط منها فما یکون لک ان تتکبر فیها فاخرج انک من الصاغرین».

"พระองค์ตรัสว่า จงลงไปจากสวรรค์นั้น ไม่บังควรแก่เจ้าที่จะทำโอหังในนั้น จงออกไป แท้จริง เจ้านั้นอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย"[13]

2.การลงจากสวรรค์ในฐานะที่เป็นสถานที่พำนักชั่วคราว ซึ่งมารได้เข้าไปในสถานที่นั้นเนื่องจากเจตนาร้ายที่มีต่ออาดัมและฮะวา และการลงมาของมารนั้นได้เกิดขึ้นหลังจากได้หยุแหย่อาดัมและฮะวาแล้ว และได้ลงมาพร้อมกับทั้งสองนั้นเอง[14]

ตัฟซีร เนะมูเนะฮ์ ได้ตั้งคำถามว่าสวรรค์ของอาดัมอยู่ที่ไหน? คำตอบกล่าวว่า : แม้ว่าบางคนจะมีความเชื่อว่าสวรรค์แห่งนั้นคือสวรรค์ที่ได้รับการสัญญาเอาไว้ สำหรับผู้ประกอบกรรมดีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากภายนอกแล้วจะพบว่า นั่นมิใช่สวรรค์ที่ได้รับการสัญญาเอาไว้, ทว่าเป็นหนึ่งในส่วนที่อุดมไปด้วยความโปรดปราน เป็นหนึ่งในท้องทุ่งที่เขียวขจีบนโลกนี้, เนื่องจากว่า

หนึ่ง : สวรรค์ที่ได้ถูกสัญญาเอาไว้นั้น, จะอุดมไปด้วยความโปรดปรานนิรันดร ซึ่งอัลกุรอาน หลายโองการได้กล่าวถึงความเป็นอมตะของความโปรดปรานเหล่านั้น, และการที่จะออกไปจากสถานที่นั้นก็ไม่อาจเป็นไปได้.

 สอง : อิบลิสคือสิ่งสกปรก และไม่มีศรัทธาไม่มีวันจะได้เข้าสวรรค์อันบรมสุขอย่างแน่นอน, เนื่องจากในสถานที่นั้นจะไม่มีเสียงกระซิบกระซาบของมารร้าย และจะไม่มีการฝ่าฝืนอย่างเด็ดขาด

สาม : มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง เช่น.

รายงานบทหนึ่งกล่าวว่า : รอวี (ผู้รายงานฮะดีซ) ได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ถึงสวรรค์ของอาดัม อิมาม (อ.) กล่าวว่า : เป็นหนึ่งในสวนทั้งหลายบนโลกนี้ แสงตะวันและแสงเดือนได้ฉายสาดส่องไปทั่ว, ถ้าหากเป็นสวรรค์อมตะแล้วละก็ อาดัมจะไม่มีวันออกมาจากที่นั้นอย่างเด็ดขาด[15]

จากจุดนี้เองเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าจุดประสงค์ของการ ฮุบูต และการลงมาของอาดัม (อ.) ยังพื้นโลกนั้น เป็นการลงมาด้านตำแหน่งและฐานันดร, มิใช่เป็นการลงมาด้านสถานที่, กล่าวคือได้ลงจากตำแหน่งและฐานันดรอันมีเกียรติยิ่ง และลงจากสถานที่เขียวขจี

อาจเป็นไปได้ว่าสวรรค์ดังกล่าวนั้นอาจเป็นหนึ่งดาวดวงหนึ่งของจักรวาลนี้ก็ได้. แม้ว่าจะไม่ใช่สวรรค์ชั้นอมตะก็ตาม, รายงานบางบทก็ได้บ่งชี้ให้เห็นว่าสวรรค์ดังกล่าวอยู่ในฟากฟ้า, และก็อาจเป็นไปได้ว่าคำว่า สะมาอฺ (ท้องฟ้า) ในรายงานเหล่านี้อาจบ่งชี้ให้เห็น ตำแหน่งอันสูงส่งของท่านศาสดา มิใช่สถานที่เบื้องบนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามยังมีหลักฐานอีกจำนวนมากมาย บ่งบอกให้เห็นว่าสวรรค์ดังกล่าวนอกเหนือไปจากสวรรค์อันบรมสุข, เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สุดท้ายสำหรับการเดินทางของมนุษย์ และนี่คือการเริ่มต้นเดินทางของอาดัม. และนี่เป็นบทนำของการงานและโครงการต่างๆ ของอาดัม ส่วนสวรรค์คือบทสรุปของการงานและโครงการต่างๆ ของเขา[16]

ตัฟซีรดังกล่าวยังได้กล่าวอีกที่หนึ่งว่า : คำว่า ฮุบูต ตามหลักภาษาแล้วหมายถึงการถูกบังคับให้ลงมาข้างล่าง, เช่น การตกของก้อนหินจากด้านบน แต่เมื่อนำมาใช้กับมนุษย์หมายถึง การถูกขับลงไปข้างล่าง ซึ่งเป็นการใช้ในความหมายที่ไม่แท้จริง

ด้วยการพิจารณาในกรณีที่ว่า อาดัม ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีชีวิตบนโลกนี้ และสวรรค์ในตรงนั้นก็เป็นเพียงสถานที่เขียวขจี ที่อุดมไปด้วยความโปรดปราน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นดินบนโลกนี้ ดังการ การลงมา (ฮุบูต) ของอาดัมในที่นี้จึงหมายถึง การลงมาในแง่ของตำแหน่งหรือยศถา มิใช่เป็นการลงมาในแง่ของสถานที่. กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลดฐานันดรของเขา เนื่องจากเขาได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า จึงถูกกีดกันจากสถานที่ๆ อุดมไปด้วยความโปรดปรานต่างๆ มากมาย และได้เผชิญกับความยากลำบากบนโลกนี้[17] และ[18]



[1] อิลญีล,อัลอัยน์, เล่ม 4, หน้า 44, หน้า 21, ลิซานุลอาหรับ, เล่ม 7, หน้า 412, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 4, หน้า 279

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 36.

[3] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 38.

[4] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 24,

[5] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 61.

[6] แน่นอน การขับอาดัมและฮะวาออกจากสวรรค์ และถูกส่งลงมายังโลก มิใช่เป็นการลงโทษอันใดทั้งสิ้น, ด้วยเหตุผลที่ว่าบรรดาศาสดาของพระเจ้าจะไม่กระทำสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือการทำความผิดอย่างเด็ดขาด และบุคคลใดก็ตามที่เชื่อว่าศาสดาของพระเจ้าถูกพระองค์ลงโทษเนื่องจากกระทำผิด เท่ากับได้ดูถูกเหยียดหยามสิทธิของพวกเขา มิหนำซ้ำยังเป็นการใส่ร้ายที่เลวร้ายที่สุด ที่มีต่ออัลลอฮฺอีกด้วย ดังที่พระองค์ขับอาดัมออกจากสวรรค์ เนื่องจากอาดัมได้กินผลไม้จากต้นไม้ต้นหนึ่งที่ได้ถูกห้ามเอาไว้, ดังนั้น เหตุการณ์จึงเปลี่ยนไปวิทยปัญญาและการบริบาลของพระเจ้าได้กำหนดว่า ต้องนำเขาไปไว้ยังโลกเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่และเผชิญกับความยากลำบากทางโลก, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 1, หน้า 196-197.

[7] อัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 135, มีฉบับแปล, เล่ม 1 หน้า 208.

[8] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 13.

[9] มีซานฉบับแปล, เล่ม 8, หน้า 35.

[10] อ้างแล้ว, หน้า 137.

[11] ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม 3 หน้า 383.

[12] ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม 3, หน้า 374, 408, 466

[13] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 13.

[14] ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม 3 หน้า 371 – 375.

[15] ตัฟซรี นูรุซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 1, หน้า 62.

[16] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 187.

[17] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 13, หน้า 333.

[18] ศึกษาหัวข้อ : สวรรค์ของอาดัม, คำถามที่ 273 (ไซต์ : 112)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ชาวสวรรค์และชาวนรกมีอายุราวๆกี่ปี?
    15415 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    ความเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามอายุขัยถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้ ทว่าในโลกหน้าโดยเฉพาะในสวรรค์ เราไม่อาจจะมโนภาพว่ามนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในลักษณะที่บางกลุ่มเป็นเด็ก บางกลุ่มอยู่ในวัยกลางคน บางกลุ่มเป็นคนชราได้ แม้สมมุติว่าเราจะเชื่อว่าโลกหน้ายังเป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ความแตกต่างในแง่อายุขัยอย่างที่เราเคยชินในโลกนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในโลกหน้าอย่างแน่นอน มีฮะดีษระบุว่าผู้ที่จะเข้าสรวงสวรรค์จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีรูปลักษณ์อันงดงาม یدخلون الجنة شبابا منورین و قال إن أهل الجنة جرد مرد مکحلون
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5625 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6511 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...
  • จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?
    8722 ปรัชญาของศาสนา 2554/07/16
    ผู้ที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะปรับเข้าหากันได้แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมชาติของศาสนาเทวนิยมโดยเฉพาะศาสนาอิสลามอีกทั้งไม่เข้าใจว่าพื้นที่คำสอนของศาสนาและพื้นที่ความรู้ของวิทยาศาสตร์ก็แยกออกเป็นเอกเทศ เมื่อพื้นที่ต่างกันก็ย่อมไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นคำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในสามพื้นที่ด้วยกันนั่นคือความสัมพันธ์กับตนเองความสัมพันธ์กับผู้อื่น(สังคมและสิ่งแวดล้อม) และความสัมพันธ์กับพระเจ้า และในฐานะที่อิสลามถือเป็นศาสนาที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดได้สนองตอบความต้องการของมนุษย์ทุกยุคสมัยด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อิจญ์ติฮาด”ซึ่งได้รับการวางรากฐานโดยวงศ์วานศาสดามุฮัมมัดส่วนเทคโนโลยีนั้นมีอิทธิพลเพียงในพื้นที่แห่งประสาทสัมผัสและมีไว้เพื่อค้นพบศักยภาพของโลกและจักรวาลที่ซ่อนอยู่ตลอดจนเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยแผ่ขยายพื้นที่ในการตรากฏเกณฑ์ศาสนาให้กว้างยิ่งขึ้นเพราะในทัศนะอิสลามแล้วสามารถจะวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆได้โดยใช้กระบวนการอิจญ์ติฮาดและอ้างอิงขุมความรู้ทางฟิกเกาะฮ์. ...
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7893 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6348 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12623 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6200 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • เพราะอะไรจึงเรียกชาวยะฮูดียฺทั้งหลายว่า ยะฮูด?
    12385 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    เกี่ยวกับสาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่ชน อิสราเอล ว่ายะฮูด, มีความเห็นแตกต่างกัน, บางคนกล่าวว่า “ยะฮูด” หมายถึงผู้ที่ได้รับการชี้นำทางแล้ว ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ การกลับตัวกลับใจ (เตาบะฮฺ) ของหมู่ชนมูชา (อ.) จากการเคารพสักการลูกวัว[1] บางคนกล่าวว่าสาเหตุของการเรียกหมู่ชนอิสราเอลว่า “ยะฮูด” ก็เนื่องจากบุตรคนที่ 4 ของศาสดายะอฺกูบ ซึ่งมีชื่อว่า “ยะฮูดา” ซึ่งคำว่า “ยะฮูด” ได้ผันมาจากคำว่า “ยะฮูซ” จุดบนตัว ซาล ได้ตัดขาดหายไป[2] [1] ฏอละกอนียฺ, ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59365 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...