การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9332
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/04
คำถามอย่างย่อ
ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
คำถาม
ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

บางฮะดีษระบุว่า ยาฮุวะ หรือ ยามันลาฮุวะ อิลลาฮุวะ คืออภิมหานามของพระองค์ (อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม) แน่นอนว่าข้อแตกต่างระหว่างลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ นั้น สืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง “ฮุวะ” และ “อัลลอฮ์”นั่นเอง
“ฮุวะ”ในที่นี้สื่อถึงคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ซึ่งอยู่พ้นนิยามและญาณวิสัย และจะเร้นลับตลอดไป ส่วนคำว่า “อัลลอฮ์” สื่อถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะอันไพจิตรและพ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ทั้งมวล ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แปลว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมิได้จะสื่อว่าอาตมันของพระองค์จำแนกจากคุณสมบัติทั้งมวล และเมื่อกล่าวว่า พระองค์ (ฮุวะ) คืออัลลอฮ์ (ในซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์) นั่นหมายถึงว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาตมันของพระองค์

คำตอบเชิงรายละเอียด

มีปรากฏในกุรอานว่า هو الله الذی لا اله الا هو [1](พระองค์คือพระเจ้าที่ไม่มีองค์สักการะอื่นใดเว้นแต่พระองค์)
แม้คำว่า “ฮุวะ”จะเป็นบุรุษสรรพนามในทางไวยากรณ์อรับ แต่ควรทราบว่าคำนี้ก็ถือเป็นพระนามหนึ่งของอัลลอฮ์เช่นกัน ส่วนจะเป็นพระนามของพระองค์ได้อย่างไร เราจะมาวิเคราะห์กัน

คุณลักษณะอันไพจิตรทุกประการนั้น หากเราเชื่อมโยงกับพระองค์ก็จะกลายเป็นพระนามของพระองค์ อาทิเช่น เมื่อเราเชื่อมโยงอิลม์ (ความรู้) กับอาตมันของพระองค์ อาลิม (ผู้ทรงหยั่งรู้) ก็จะกลายเป็นพระนามของพระองค์ กล่าวคือ ความรู้คือคุณลักษณะ ส่วนผู้ทรงหยั่งรู้คือพระนาม กุดเราะฮ์ (อำนาจ) คือคุณลักษณะ ส่วนกอดิร (ผู้ทรงอำนาจ) คือพระนาม เราะฮ์มะฮ์ (เมตตาธรรม) คือคุณลักษณะ ส่วนเราะฮ์มาน,เราะฮีม (ผู้ทรงเมตตา,ผู้ทรงกรุณาเสมอ) คือพระนาม แต่ทว่าคำว่า “ฮุวะ” ในที่นี้นั้น เราจะจำแนกได้อย่างไรว่าสิ่งใดคือคุณลักษณะ และสิ่งใดคือพระนาม?

สิ่งที่เป็นคุณลักษณะในที่นี้ก็คือ “ภาวะความเร้นลับอันไร้ขีดจำกัด” อันหมายถึงสัจธรรมที่ไม่มีผู้ใดสามารถจะหยั่งรู้ถึงความลึกซึ้งเชิงอาตมันดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดี การรู้จักพระเจ้าซึ่งมีหลายระดับขั้นนั้น แตกต่างจากการหยั่งรู้ถึงความลึกซึ้งเชิงอาตมันของพระองค์ในลักษณะที่สมบูรณ์ เพราะแม้ท่านนบี(ซ.ล.)ซึ่งเป็นผู้หยั่งรู้อันดับแรกของสากลโลก เมื่อพูดถึงความลึกซึ้งเชิงอาตมันของพระองค์ ท่านยังยอมรับว่า ما عرفناک حق معرفتک [2](เรายังไม่สามารถจะรู้จักพระองค์อย่างที่ควรจะเป็น)
ประโยคข้างต้นก็คือนัยยะของ “ฮุวะ” นั่นเอง อันหมายความว่า พระองค์มีสถานภาพที่แม้จะเป็น อันตะ (บุรุษสรรพนามที่สอง) สำหรับข้าพระองค์ แต่ในสถานภาพอื่นๆพระองค์ก็ยังเป็น ฮุวะ (บุรุษสรรพนามที่สาม-สื่อถึงความเร้นลับ-) ต้องการจะสื่อว่าไม่มีมนุษย์คนใดจะสามารถหยั่งรู้ถึงอาตมันของพระองค์ได้ จึงขนานนามพระองค์ว่าเป็น غیب الغیوب (องค์เร้นลับเหนือทุกสิ่งเร้นลับ) เนื่องจากไม่มีสิ่งมีชีวิตใดจะสามารถเข้าถึงอาตมันของพระองค์ได้นอกจากพระองค์เอง لا احصی ثناء علیک انت کما اثنیت علی نفسک (โอ้อัลลอฮ์ แม้ข้าฯจะสรรเสริญพระองค์อย่างไรก็มิอาจจะกระทำได้อย่างควรค่าแก่พระองค์ -ข้าฯกล่าวได้เพียงว่า-พระองค์คือผู้ดำรงสถานะดังที่พระองค์ได้พรรณาไว้) และนี่คือนัยยะของฮุวะในแง่พระนามของพระองค์[3]

แต่เมื่อกล่าวว่า لا اله الاالله นั่นหมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (ผู้ทรงมีอาตมันที่เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะอันไพจิตรและปลอดจากคุณลักษณะไม่พึงประสงค์) โดยมิได้จะสื่อถึงข้อคิดที่ว่าอาตมันของพระองค์นี้จะเป็นที่เร้นลับตลอดไป

 


[1] อัลฮัชร์,23

[2] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 66,หน้า 292,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1409

[3] มุเฏาะฮะรี,มุรตะฎอ,การรู้จักกุรอาน,เล่ม 6,หน้า 186-187,ศ็อดรอ,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สิบสี่,ปี 1378

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    5797 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    6957 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6153 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • อัล-กุรอาน, คือปาฏิหาริย์สุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานมา และความมหัศจรรย์ของ อัลกุรอานคืออะไร ?
    16463 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    สำหรับความมหัศจรรย์ของกุรอาน ถูกอธิบายไว้ 3 ลักษณะ : มหัศจรรย์ด้านวาจา, มหัศจรรย์ในแง่ของเนื้อหา และมหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา1) มหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอานถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนก.
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    9615 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5249 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10091 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    9593 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6686 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • ฮะดีษที่ว่า “วันที่มุสลิมจะจำแนกเป็น 73 จำพวกจะมาถึง” เชื่อถือได้หรือไม่?
    12581 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษชุด“การแตกแยกของอุมมะฮ์”มีบันทึกในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตามสายรายงานที่หลากหลายเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้ล้วนระบุถึงการที่มุสลิมจำแนกเป็นกลุ่มก้อนภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งถือเป็นเอกฉันท์ในแง่ความหมายส่วนในแง่สายรายงานก็มีฮะดีษที่เศาะฮี้ห์และสายรายงานเลิศอย่างน้อยหนึ่งบท ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...