การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8845
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18616 รหัสสำเนา 19936
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
คำถาม
ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่นหรือญาติใกล้ชิด และสุดท้ายก็เป็นมุอฺมินผู้ศัรทธา, แต่มีอัลกุรอานบางโองการเช่นที่กล่าวว่า “อะลัยกุมอันฟุซะกุม” ประกอบกับมีรายงานบางบท เช่น ที่กล่าวว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ขณะดุอาอฺ จะดุอาอฺให้คนอื่นก่อน หลังจากนั้นจึงดุอาอฺให้แก่ตัวเองและครอบครัว สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งภายนอก และจะมีวิธีอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? และเราสมควรทำอย่างไรก่อน?
คำตอบโดยสังเขป

ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่น เพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้ว การชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของ ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, มีรายงานฮะดีซจำนวนมากของเราได้บ่งชี้และเน้นย้ำถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้อย่างมาก, เนื่องจากการกระทำอย่างนี้นอกจากจะไม่ทำให้ความปรารถนาล่าช้าออกไปแล้ว, ทว่ายังเป็นสาเหตุทำให้ความปรารถนาของตนสัมฤทธิผลโดยเร็วอีกต่างหาก และสิ่งนั้นก็จะทวีคูณมากยิ่งขึ้นไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

ระหว่างตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณ และการห่างไกลออกจากความผิด ตำแหน่งของการดุอาอฺ หรือการวิงวอนขอสิ่งปรารถนาจากพระเจ้า เกิดความสับสนและผสมปนเปรในคำถาม, เนื่องจากตำแหน่งแรก , กล่าวคือปัญหาเรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจิตใจ และการออกห่างไกลจากบาปกรรมนั้น สิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากอัลกุรอาน และรายงานต่างๆ ก็คือ, มนุษย์ต้องคำนึงและคิดถึงตัวเองก่อนคนอื่นเป็นสำคัญ, อัลกุรอาน ขณะที่สาธยายถึงความห่างไกลจากไฟนรก และการขัดเกลาจิตใจตนให้สะอาดจากความอนาจารด้านศีลธรรม ด้วยการผ่านขบวนการขัดเกลาจิตวิญญาณ, อัลกุรอาน ได้กล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายไว้เช่นนี้ว่า : โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! ดูแลตัวพวกเธอเองให้ดี (ให้รอดพ้นจากการหลงผิด การหลงทาง และการหลงลืม) ผู้ที่หลงผิดนั้นจะไม่เป็นอันตรายแก่พวกเธอดอก หากพวกเธอได้รับทางนำแล้ว ยังอัลลอฮฺคือการกลับคืนของพวกเธอทั้งหมด แล้วพระองค์ก็จะทรงบอกแก่พวกเธอในสิ่งที่พวกเธอเคยกระทำ[1] หรืออัลกุรอาน โองการอื่นได้กล่าวทำนองนี้ว่า :โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาจงคุ้มครองตัวของเองและครอบครัวของสูเจ้า ให้พ้นจากไฟนรกเพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน[2] (กล่าวคือจงอย่าทำให้ตนเองต้องโทษในไฟนรกด้วยบาปกรรมเหล่านี้)

ทำนองเดียวกันถ้าหากพิจารณา, โองการเหล่านี้ซึ่งกำลังวิภาษอยู่นี้มิได้กล่าวถึง ดุอาอฺและการสรรเสริญแต่อย่างใด, ทว่าตำแหน่งของมัน คือ ตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณ และการออกห่างไกลจากบาปและจริยธรรมไม่ดีทั้งหลาย ซึ่งในที่นั้นสิ่งจำเป็นคือ มนุษย์ต้องให้ความสำคัญต่อคนอื่นหรือเครือญาติก่อนตัวเอง, และแน่นอนสิ่งนี้มิได้หมายความว่า เป็นการละเว้นการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่วแต่อย่างใด, เนื่องจากตนได้กระทำสิ่งวาญิบต่างๆ โดยผ่านขบวนการขัดเกลาจิตวิญญาณ ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะมีข้ออ้างแล้วละเลยปัญหาเรื่องการขัดเกลาตนเอง

แต่ในส่วนของ ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขอสิ่งต้องการจากอัลลอฮฺ ตรงนี้สิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานจำนวนมากของเราก็คือ, สิ่งตรงข้ามกันกับปัญหาเรื่องการขัดเกลา, เนื่องจากตามคำแนะนำของบรรดามะอฺซูมผู้บริสุทธิ์ (.) ในกรณีนี้ดีกว่าให้นึกถึงบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ทำนองเดียวกันเรื่องราวของท่านอิมามฮะซัน (.) เกี่ยวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มารดาของท่านซึ่งได้กล่าวถึงในตอนแรกของคำถามว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (.) ได้ตอบคำถามของท่านอิมามฮะซัน (.) เกี่ยวกับการดุอาอฺว่า : «الجار ثم الدار»؛ เพื่อนบ้านต้องมาก่อนคนในบ้าน[3] หรือในที่อื่นมีรายงานจากท่านอิมามซัจญาด (.) กล่าวว่า: แท้จริงมวลมลาอิกะฮฺหากได้ยินว่ามุอฺมินคนหนึ่งได้ดุอาอฺให้กับพี่น้องมุอฺมินอีกคนหนึ่งที่หายหน้าไป หรือกล่าวถึงความดีงามของเขา จะมีคำพูดกล่าวแก่เขาว่า : ช่างเป็นพี่น้องร่วมสายศรัทธาที่ดีเสียเหลือกิน,เขากำลังดุอาอฺสิ่งที่ดีให้แก่พี่น้องมุอฺมินด้วยกัน, ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้อยู่ต่อหน้าตนเองด้วย แต่กลับพูดถึงสิ่งดีๆ ของเขา, แน่นอน อัลลอฮฺ จะทรงตอบแทนให้ท่านเป็นสองเท่า ในสิ่งที่ท่านได้วอนขอให้กับพี่น้องผู้ศรัทธาด้วยกัน[4]

รายงานทำนองนี้มีอยู่ในตำราฮะดีซเป็นจำนวนมาก, ตัวอย่าง, หนังสือวะซาอิลุชชีอะฮฺ ภายใต้หัวข้อว่า

«بَابُ اسْتِحْبَابِ اخْتِیَارِ الْإِنْسَانِ الدُّعَاءَ لِلْمُؤْمِنِ عَلَى الدُّعَاءِ لِنَفْسِهِ»

มุสตะฮับให้ดุอาอฺให้แก่บุคคลอื่นก่อนที่จะดุอาอฺให้แก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งในที่นั้นจะมีรายงานจำนวนมากที่กล่าวเกี่ยวกับการขอดุอาอฺให้คนอื่นก่อนตนเอง

เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติมศึกษาได้จากหัวข้อ การดุอาอฺให้แก่คู่ครองที่หลงทางและเครือญาติคำถามที่ 14979 (ไซต์ : 14755)



[1] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ, 105.

[2] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม, 6.

[3] เชค โฮรอามีลียฺ, วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 7, หน้า 112, بَابُ اسْتِحْبَابِ اخْتِیَارِ الْإِنْسَانِ الدُّعَاءَ لِلْمُؤْمِنِ عَلَى الدُّعَاءِ لِنَفْسِهِ มุอัซซะซะฮฺ อาลัลบัยตฺ, กุม

[4] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 111

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8624 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8364 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...
  • ความเชื่อคืออะไร
    17279 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • เหตุใดอิสลามต้องบริหารโดยบรรดาฟุกอฮาอ์?
    5593 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/11
    อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายบทบัญญัติต่างๆของอิสลามล้วนมีลักษณะถาวรและดังที่อิสลามสามารถตอบโจทก์ได้ในอดีตก็ย่อมจะต้องตอบทุกโจทก์ในอนาคตได้เช่นกัน อีกด้านหนึ่งนับวันก็ยิ่งจะมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นรายวันซึ่งล้วนไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตเมื่อต้องพิจารณาปัญหาใหม่ๆโดยอ้างอิงหลักการที่เปรียบเสมือนกฏหมายแม่อิสลามจึงกำหนดวิธีการเฉพาะกิจโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญปัญหาศาสนาที่รู้ทันสถานการณ์โลกทำการค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆโดยจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขและความจำเป็นต่างๆของสังคมและประชาคมโลกเพื่อให้ได้มาซึ่งปรัชญา
  • ในสังคมอิสลามมีสตรีศึกษาในสถาบันศาสนาแล้วถึงขั้นมุจญฺตะฮิดมีบ้างหรือไม่?
    5778 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    การให้ความร่วมมือกันของนักปราชญ์และนักวิชาการอิสลาม, ประกอบกับเป็นข้อบังคับเหนือตัวมุสลิมทั้งชายและหญิง, สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้สตรีได้เข้าศึกษาศาสนาจนถึงระดับชั้นของการอิจญฺติฮาดหรือมุจญตะฮิดตัวอย่างสุภาพสตรีที่ศึกษาถึงขั้นอิจญฺติฮาดมุจญฺตะฮิดะฮฺอะมีนเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1403 (1362) หรือมุจญฺตะฮิดะฮฺซะฟอตียฺซึ่งปัจจุบันท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันสอนศาสนาเฉพาะสตรีซึ่งสองท่านนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของสตรีที่ประสบความสำเร็จสูง ...
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7262 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5995 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7921 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • ถูกต้องแล้วหรือ ที่บางคนปวารณาตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆเพื่อให้เกียรติบรรดาอิมาม(อ.)? (อย่างเช่นเรียกตัวเองว่าเป็นสุนัขของอิมามฮุเซน(อ.))
    7282 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/16
    กุรอานและฮะดีษจากนบีและบรรดาอิมามล้วนกำชับให้เห็นถึงความสำคัญของการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะมุอ์มินนอกจากนี้ยังได้สอนว่าการตั้งชื่ออันไพเราะและการเรียกขานผู้อื่นด้วยชื่ออันไพเราะนั้นนับเป็นการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ประการหนึ่งเช่นในซูเราะฮ์ฮุญุรอตได้กล่าวว่า“จงอย่าเรียกขานกันและกันด้วยชื่ออันน่ารังเกียจ” ยิ่งไปกว่านั้นอิสลามสอนเราว่าผู้ศรัทธามีเกียรติยิ่งกว่าวิหารอัลกะอ์บะฮ์ ผู้ศรัทธาทุกคนจึงไม่ควรจะทำลายศักดิ์ศรีของตนเองหรือผู้อื่นท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ก็คงจะไม่ยินดีปรีดาหากต้องเห็นกัลญาณมิตรดูถูกตนเองเพื่อเทิดเกียรติแด่ท่านอย่างไรก็ดีการจะตัดสินว่าพฤติกรรมใดขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ ชื่อบางชื่อในวัฒนธรรมหนึ่งอาจเป็นการดูหมิ่นแต่สำหรับอีกวัฒนธรรมหนึ่งนอกจากจะไม่น่ารังเกียจแล้วกลับจะเป็นที่ภาคภูมิใจด้วยซ้ำแน่นอนว่าเขาภูมิใจในความหมายเชิงอุปมาอุปไมยและความหมายประเภทนี้ไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาแต่อย่างใด ...
  • ฮะดีษ“หากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”มีสายรายงานอย่างไร? กรุณาชี้แจงความหมายด้วยครับ
    6902 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    ผู้เขียนหนังสือ“ญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์”ได้อ้างอิงฮะดีษนี้จากหนังสือ“กัชฟุ้ลลิอาลี”ประพันธ์โดย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56836 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38414 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27126 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...