การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8454
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
คำถามอย่างย่อ
ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
คำถาม
ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่

ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

วิลายะฮฺ ฮากิม มีรากที่มาเก่าแก่ที่สุด ซึ่งจะเห็นกระทบทางด้านบทบัญญัติได้เป็นอย่างดี, ธรรมชาติของบทบัญญัติอิสลาม และสาส์นอันยิ่งใหญ่ ที่อยู่เคียงข้างเหตุผลอื่นอีกจำนวนมากมาย อันเป็นสาเหตุทำให้ประเด็นดังกล่าวเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งในบทบัญญัติที่มีการกล่าวอ้างถึง

ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม

คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่[1]

ฮากิมคือใคร?

ฮากิมทุกคนมีอำนาจนี้อยู่ในมือหรือไม่ ในฐานะที่เป็นมุสลิมและได้ปกครองเหนือบรรดามุสลิมทั้งหลาย, เขาสามารถมีอำนาจนี้ไว้ในครอบครองได้หรือไม่? หรือวัตถุประสงค์คือ บุคคลหนึ่งมีความรู้ความสามารถและเข้าใจบทบัญญัติอิสลาม ทั้งปัญหาด้านการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติในอิสลามเป็นอย่างดี และมีความสันทัดพิเศษบนพื้นฐานปัญหาเหล่านั้น?

ในหนังสือ “กฎเกณฑ์ทางบทบัญญัติ” หลังจากได้ค้นคว้าอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความหมายของ ฮากิม ทั้งในรายงาน และคำพูดของบรรดานักปราชญ์แล้ว ได้เขียนว่า เมื่อพิจารณาประเด็นข้างเคียงในการนำคำว่า ฮากิม ไปใช่ในบทบัญญัติ ทำให้เข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของคำๆ นี้ในที่นี้หมายถึง “ฟะกีฮฺ ญามิอุล ชะรออิฏ” ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่พิพากษาตัดสินแล้ว ยังต้องเป็นทนาย และมีหน้าที่ตรวจสอบในความหมายทั่วไป และยังมีศักยภาพในการจัดการอย่างกว้างขวางอีกด้วย”[2]

เหตุผลด้านรายงาน

ก. เหตุผลทั่วไป (เหตุผลทางภูมิปัญญา) การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม สถาปนาความยุติธรรม สร้างขวัญและกำลังใจแก่มนุษย์ทุกคน, ดังนั้น สติปัญญาจึงตัดสินว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสถาปนาความยุติธรรมทำนองนี้ อีกด้านหนึ่งสังคมซึ่งมีการปฏิบัติตามกฎหมายและมีหน้าที่ตามกฎหมาย ในฐานะที่ได้รับการยอมรับเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด,ย่อมจะต้องปฏิบัติตามความถูกต้องเหมาะสมกับผู้ที่ประพฤติผิด, เพื่อว่าการละเมิดของพวกเขาจะได้ไม่เกินขอบเขตที่วางไว้ โดยด้านหนึ่งจาก มัรญิอฺผู้มีอำนาจออกกฎหมายจะไม่ทำให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมเกิดช่องว่างลง  เพื่อว่าจะเป็นการสนับสนุนให้คนอื่นกระทำความผิดต่อไป และด้วยข้อพิสูจน์ทางกฎหมายที่เรียบง่าย จึงก่อให้เกิดพื้นฐานที่สำคัญของกฎเกณฑ์ที่กำลังกล่าวถึง

ฉะนั้น นักปราชญ์ส่วนใหญ่, เมื่อเวลาอ้างถึงกฎดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องยกเหตุผล หรือนำเสนอข้อพิสูจน์ต่างๆ เนื่องจากกฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ไม่มีความขัดแย้ง หรือมีความเห็นตรงกันข้ามกันเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับ กฎการปกครองของฮากิมบนสิ่งต้องห้าม ความเร้นลับบนความเข้าใจนี้คือ ความชัดเจนของกฎและมีการสนับสนุนเหตุผลที่ชัดเจนของสติปัญญา หรืออาจเป็นเพราะว่าเหตุผลของ วิลายะตุลฟะกีฮฺ เพียงพอแล้วและไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผลอื่นมาอธิบายประเด็นดังกล่าวอีก[3]

ข. เหตุผลอันเฉพาะ : กล่าวคือ อัลฮากิม วะลียุลมุมตะนิอฺ มิได้มีกล่าวไว้ในรายงาน, แต่ความรวมโดยทั่วไปมีปรากฏอยู่ในบางรายงาน ซึ่งสามารถค้นได้จากบางรายงาน เช่น

1.รายงานจาก ซัลละมะฮฺ บิน กุฮีล : ซัลละมะฮฺ บิน กุฮีล รายงานว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับชะรีฮฺว่า : เกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ยอมจ่ายหนี้สินของเจ้าหนี้ ทั้งที่มีความสามารถและมีทรัพย์พอที่จะจ่าย แต่เขากับไม่สนใจ จงพิจารณาและเอาใจใส่ประเด็นนี้ให้ดี สิทธิของประชาชนจะต้องจ่ายคืนแม้ว่าจะต้องขายทรัพย์สินบางชนิดของพวกเขาไปก็ตาม, เนื่องจากฉันได้ยินจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า การวางเฉยไม่สนใจของบุคคลที่มีความสามารถ คือการอธรรมอย่างหนึ่งที่มีต่อบรรดามุสลิมที่เป็นเจ้าหนี้”[4]

แม้ว่าบางครั้งการไม่ใส่ใจจะดูว่าเป็นความอ่อนแอบางอย่างก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากสาระของรายงานแล้ว เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป[5]

2.รายงานจากฮุซัยฟะฮฺ : รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ประสบภัยธรรมชาติทำให้สังคมขาดข้าวสาลี, บรรดามุสลิมได้มาหาท่าน และกล่าวว่า : โอ้ ท่านเราะซูลแห่งพระเจ้าตอนนี้สังคมปราศจากข้าวสาลี นอกเสียจากมีที่คนๆ หนึ่งเท่านั้น โปรดสั่งให้เขาขายข้าวสาลีด้วยเถิด ท่านเราะซูลได้กล่าวกับบุรุษผู้นั้นว่า : บรรดามุสลิมได้มารายงานว่าตอนนี้ข้าวสาลีขาดตลาด นอกเสียจากข้าวสาลีจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ที่เจ้า, ดังนั้น จงนำออกมาขายในตลาดเถิดแม้ว่าเจ้าจะไม่พอใจเท่าใดนัก แต่ก็จงอย่าเก็บรักษาไว้เลย[6]

อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระของรายงานข้างต้น มิได้ระบุถึงขั้นตอนการขัดขวางแต่อย่างใด เพื่อว่าจะได้นำเอากฎของวิลายะฮฺมาปฏิบัติ กล่าวคือการขายข้าวสาลีโดยตรงโดยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) แต่ลักษณะที่คล้ายคลึงกันสิ่งที่รายงานได้สาธยายไว้คือ, การขัดขวางไม่ขายอาหารโดยผู้มีอาหารอยู่ในครอบครอง ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ส่วนการร้องเรียนของบรรดามุสลิมต่อท่านศาสดา โดยขอให้ท่านออกคำสั่งให้เขาขายข้าวสาลี ก็ถือว่าอยู่ในเงื่อนไขที่เปิดเผยและสมควรได้รับการปฏิบัติ[7]

3. รายงานจากอบูบะซีร : ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามที่หลีกเลี่ยงการจัดหาเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวของภรรยา, ดังนั้น อิมาม (อ.) มีสิทธิ์ที่จะทำการหย่าร้างเขาทั้งสอง, รายงานดังกล่าวแม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับความไร้สามารถในการจ่ายค่าเลี้ยงดู หรือการขัดขวางไม่ยอมจ่ายก็ตาม สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ การหลีกเลี่ยงการหย่าร้างทั้งสอง[8]

4.การอิจญฺมาอ์ : จากคำพูดของนักปราชญ์ผู้อาวุโสบางท่านเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวคือ คำกล่าวอ้างด้านอิจญฺมาอ์[9] การอิจญฺมาอ์ดังกล่าวนี้ แม้ว่าจะไม่ได้ออกมาในฐานของกฎก็ตาม แต่อย่างน้อยก็เป็นการสำทับให้เห็นถึงตัวอย่างของคำกล่าวอ้างได้อย่างชัดเจน[10]

เมื่อพิจารณาสิ่งที่กล่าวผ่านมาจะเห็นว่า ทั้งความหมายของกฎและเหตุผลเป็นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น, แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบทบัญญัติได้อย่างมากมาย ซึ่งแต่ละประเด็นเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นเอกเทศและมีการอธิบายรายละเอียดอย่างกว้างขวาง

 


[1]ชะฮีด ตับรีซียฺ, ฟะตาฮฺ, ฮิดายะตุลฏอลิบ อิลา อัสรอร อัลมะกาซิบ, เล่ม 3, หน้า 605, พิมพ์ อิฎลาอาต, ตับรีซ, ปี ฮ.ศ. 1375.

[2] มุฮักกิก ดามอด, ซัยยิดมุสตะฟา, กะวาอิด ฟิกฮฺ, เล่ม 3, หน้า 213, นัชร์ อุลูมอิสลามมี, เตหะราน, ปี ฮ.ศ. 1406.

[3] เอสฟาฮานนี, มุฮัมมัด ฮุเซน, คำอธิบายหนังสือมะกาซิบ, เล่ม 2, หน้า 399, อันวารุลฮุดา, กุม, พิมพ์ใหม่ ปี ฮ.ศ. 1418.

[4] กุลัยนียฺ, มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, เล่ม 7, หน้า 412, ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ, เตหะราน ปี ฮ.ศ. 1407.

[5] กะวาอิดฟิกฮฺ, เล่ม 3, หน้า 205.

[6] อัลกาฟียฺ, เล่ม 5, หน้า 164.

[7] เกาะวาอิด ฟิกฮฺ, เล่ม 3, หน้า 206.

[8] ซะดูก,มุฮัมมัด บิน อะลี, มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ, เล่ม 3, หน้า 441, ตัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามมี,กุม ปี ฮ.ศ. 1413

[9] นะญะฟี, มุฮัมมัดฮะซัน, ญะวาเฮรุลกะลาม, เล่ม 22, หน้า 485, ดาร อะฮฺยาอฺ อัตตุรอษ อัลอะเราะบียฺ, เบรูต, บีทอ

[10] มัรฮูม เชค มุฮัมมัดฮะเซน ฆัรวี เอซฟาฮานี เกี่ยวกับประเด็นนี้ท่านกล่าวว่า : วิลายัต ฮากิม เกี่ยวกับประเด็นข้างต้น มีการอิจญ์มาอ์ อย่างมากมาย ซึ่งคำพูดของอัซฮาบถือว่าเป็น แก่นที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อพิสูจน์หรือหลักฐานอันใดอีก สามารถนำมาเป็นข้ออ้างอิงได้, ฮาชียะฮฺ กิตาบมะกาซิบ, เล่ม 2, หน้า 399 พิมพ์ใหม่

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ในทัศนะของรายงานและโองการต่างๆ มีการกระทำใดบ้าง ที่ทำลายการงานที่ดี อันเป็นที่ยอมรับ?
    5944 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ทั้งอัลกุรอานและรายงานกล่าวว่า, การมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺและการห่างไกลจากการตั้งภาคีและการตกศาสนาคือเงื่อนไขแรกในการตอบรับการกระทำดังนั้นถ้าปราศจากสิ่งนี้จะไม่มีการงานที่ดีอันใดถูกยอมรับณ
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    15194 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5290 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11101 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6686 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    6663 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7383 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • เราเชื่อว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ยังมีชีวิตอยู่และสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเราเสมอมา กรุณาพิสูจน์ความคงกระพันของท่านให้ทราบหน่อยค่ะ
    6125 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/19
    การพิสูจน์เกี่ยวกับอายุขัยและสถานะความเป็นอิมามของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นประเด็นหนึ่งในหลักอิมามัตเชิงจุลภาคลำพังสติปัญญาไม่อาจจะพิสูจน์ความเชื่อดังกล่าวได้สติปัญญาจะต้องพิสูจน์หลักอิมามัตเชิงมหภาคให้ได้เสียก่อนแล้วจึงใช้เหตุผลทางฮะดีษตลอดจนรายงานทางประวัติศาสตร์เข้าเสริมเพื่อพิสูจน์ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เท่านั้นที่ดำรงตำแหน่งอิมามสำหรับยุคสมัยนี้ความจำเป็นที่จะต้องมีมนุษย์ผู้ปราศจากบาปที่เป็นฮุจญัต(ข้อพิสูจน์)ของพระองค์ในทุกยุคสมัยนั้นพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลทางสติปัญญาเกี่ยวกับหลักอิมามัตเชิงมหภาคอาทิเช่นการให้เหตุผลว่าศาสนทูตและอิมามถือเป็นเมตตาธรรมของอัลลอฮ์และโดย"หลักแห่งเมตตาธรรม"แล้วเมตตาธรรมของพระองค์ย่อมมีอยู่ตราบชั่วนิรันดร์มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าณเวลานี้มนุษย์ผู้ปราศจากบาปดังกล่าวมีเพียงท่านอิมามมะฮ์ดี(
  • เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
    7020 เทววิทยาใหม่ 2554/10/22
    แม้ว่าความสัตย์จริงของศาสนาต่างๆในปัจจุบันบนโลกนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม, แต่รูปธรรมโดยสมบูรณ์และความจริงแท้แห่งความเป็นเอกะของพระเจ้ามีเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งท่านสามารถพบสิ่งนี้เฉพาะในคำสอนของอิสลาม, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้, ประกอบกับการสังคายนาและภาพความขัดแย้งกันทางสติปัญญาที่ปรากฏในคำสอนของศาสนาอื่น
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12327 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...