การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7397
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/04/17
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
คำถาม
ชีอะฮฺกล่าว่า มุอาวิยะฮฺเป็นการเฟร แต่เรากลับเห็นว่าท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี (อ.) ตามคำกล่าวของชีอะฮฺ เขาเป็นอิมามมะอฺซูม ได้ทำสัญญาสันติภาพกับมุอาวิยะฮฺ และถอนตัวจากการดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ดังนั้นชีอะฮฺจำเป็นต้องพูดว่า อิมามฮะซัน (อ.) ได้ถอนตัวจากตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ เพื่อประโยชน์ของกาเฟรคนหนึ่ง แน่นอนสิ่งนี้ย่อมขัดแย้งกับการเป็นมะอฺซูมของท่าน หรือไม่ก็ต้องยอมรับว่ามุอาวิยะฮฺเป็นมุสลิมคนหนึ่ง
คำตอบโดยสังเขป

มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป

อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.)  (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

แทนคำถามนี้ ซึ่งผู้ถามผู้ที่เกียรติกรุณาถามมานั้น เป้าหมายของการถามที่ได้ถามมานั้นคืออะไร เนื่องจากวิธีอธิบายคำถาม จึงเป็นลักษณะของคำสั่งให้ตอบ? ท่านต้องการลบใบหน้าอันเลวร้าย และความชั่วที่มุอาวิยะฮฺได้กระทำไว้ให้หมดไปหรือ หรือต้องการต้องการทราบเหตุผลที่แท้จริงของการทำสัญญาสันติภาพ ระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) บุตรชายของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เป็นไปได้ไหมว่า เพื่อสิ่งที่สูงกว่าถ้าจะทำสัญญาสันติภาพตามที่ได้ถามมาข้างต้น กับบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความเชื่อศรัทธาเลย? อย่างไรก็ตามชีอะฮฺมีความเชื่อว่า เพียงแค่การคำปฏิญาณ (ชะฮาดะตัยนฺ) ภายนอกเท่านั้น ก็สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าเขาผู้นั้นเป็นมุสลิม แต่สิ่งนี้มิได้เป็นเหตุผลว่าทุกคนที่ยอมรับอิสลามแล้ว เขาจะยืนหยัดมั่นคงอยู่กับหลักความศรัทธา และคุณค่าของอิสลาม เกี่ยวกับมุอาวิยะฮฺนั้น มีรายงานจำนวนมากทั้งจากฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺที่ยืนยันว่า เขาไม่เขายึดมั่นอยู่กับหลักการอิสลามเลย

ณ โอกาสนี้ขอนำเสนอรายงานที่มาจากฝ่ายซุนนียฺ ดังนี้ :

อะฮฺมัด บิน ฮันบัล รายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน บุรีดะฮฺว่า “ฉันและบิดาของฉันได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺ เขาได้เรียกให้เรานั่งบนพรหม และได้นำเอาอาหารมาเลี้ยง พวกเราได้กินอาหารนั้น หลังจากนั้นเขาได้นำเอาสุรามาเลี้ยง มุอาวิยะฮฺดื่มสุราเหมือนเรื่องปรกติ เขาได้เชิญให้บิดาของฉันดื่มด้วย แต่บิดาของฉันพูดว่า นับตั้งแต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ห้ามดื่มสุรา ฉันก็ไม่เคยดื่มอีกเลย[1] ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้ที่ดื่มสุราประหนึ่งผู้ที่กำลังสักการะเจว็ดรูปปั้นทั้งหลาย[2] เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮฺของท่านศาสดา เขายังเป็นคนแรกที่ได้ให้อะซานในนะมาซอีดทั้งสอง เขาได้สร้างบิดอะฮฺต่างๆ มากมายในศาสนา[3] ขณะที่ตามชัรอียฺแล้วมิได้มีการอนุญาตให้อะซาน นอกจากในนะมาซวาญิบประจำวันเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับของมุสลิมทุกคน และของทุกมัซฮับ ท่านอิบนุอับบาส และญาบิร กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไม่เคยอะซานในวันอีดฟิฏร์และอีดอัฎฮาเลย”[4] เขาได้ให้คนซีเรียนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ มัสอูดดียฺ กล่าวว่า “การภักดีของชาวเมืองซีเรียที่มีต่อมุอาวิยะฮฺถึงขั้นที่ว่า เมื่อมุอาวิยะฮฺเคลื่อนทัพไปยังซิฟฟีน เขาได้จัดนะมาซญุมุอะฮฺ ขึ้นในวันพุธ[5] และภารกิจอื่นๆ อีกที่เขาได้กระทำ ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงว่าตัวมุอาวิยะฮฺ ไม่เคยใส่ใจต่อหลักการอิสลาม

ในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ที่กล่าวว่าเกียรติยศของพวกเขาคือการได้ปฏิบัติซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ฉะนั้น การปกป้องบุคคลเฉกเช่นมุอาวิยะฮฺ มิใช่เรื่องประหลาดหรือ

แต่สิ่งที่หน้าประหลาดใจไปยิ่งกว่านั้นก็คือ เขาได้สนใจบุคคลหนึ่ง ซึ่งท่านเราะซูลและรายงานฮะดีซได้กล่าวถึงเขา ในทางเสื่อมเสียทั้งให้หนังสือชีอะฮฺ และซุนนียฺ สิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ เคาะซออิซ อะมีรุลมุอฺมินีน (อ.) ซึ่งบางส่วนได้นำเสนอไปตามความเหมาะสม เช่น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ฮะซันและฮุซัยนฺ ดอกไม้สองดอกที่สุดหอมหวนสำหรับฉันในโลกนี้” “ฮะซันและฮุซัยนฺ ทั้งสองคือบุตรของฉันและเป็นหัวชาหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์”[6]

แต่จุดประสงค์ของผู้ถามถึงสาเหตุของการทำสัญญาสันติภาพระหว่าง ท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ ซึ่งในทัศนะของผู้ถามเข้าใจว่าบุคคลเฉกเช่น อิมามจะทำสัญญาสันติภาพกับคนเช่นมุอาวิยะฮฺได้อย่างไร โดยต้องการอยากทราบทัศนะของชีอะฮฺที่มีต่อมุอาวิยะฮฺ ดังนั้น จะกล่าวโดยสรุปสั้นๆ ว่า หลังจากท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ชะฮีดไปแล้ว ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ก็ได้ดำรงตำแหน่งอิมามแทน ซึ่งนับตั้งแต่วันแรกสิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับท่านอิมามฮะซัน (อ.) คือมุอาวิยะฮฺและการกระทำของเขา เนื่องจากเขาได้เริ่มก่อกวน สร้างอุบายและแผนการต่างๆ แสดงความดื้อรั้น เขาได้ต่อต้านอิมามทั้งที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากท่านเราะซูล (อ.) และประชาชนก็ได้ให้บัยอัตกับท่านด้วย ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้ส่งจดหมายหลายฉบับไปถึงมุอาวิยะฮฺ เพื่อให้ข้อพิสูจน์สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้มีบันทึกอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น[7] แต่จดหมายเหล่านั้นหาได้มีผลอันใดต่อมุอาวยะฮฺไม่ ทว่าในทางกลับกันมุอาวิยะฮฺได้จัดตั้งทัพเพื่อเคลื่อนไปสู่อิรัก ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการจัดทัพ และอาศัยความเสียสละของเหล่าสหายจำน้อยนิด เพื่อต่อสู้กับกองทัพของมุอาวิยะฮฺ แต่น่าเสียดายว่ากองทัพที่อ่อนแอของท่านอิมาม ไม่อาจต้านทานกำลังทรัพย์ของมุอาวิยะฮฺ ที่ใช้หว่านซื้อทหารในกองทัพของท่านอิมามไปมากมาย ซึ่งแม่ทัพของท่านอิมามด้วยซ้ำไปที่เขาและทหารอีกจำนวนหนึ่ง ได้แปรพักตร์ไปเข้ากับมุอาวิยะฮฺ[8] ท่านอิมาม (อ.) เมื่อได้เห็นสถานการณ์เช่นนั้น เห็นเหล่าทหารที่ไม่ซื่อสัตย์ ท่านได้ปรึกษากับเหล่าสหายของท่าน เพื่อจะได้รวบรวมกำลังต่อสู้กับมุอาวิยะฮฺ แต่ทว่าส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะสู้รบ จนในที่สุดท่านอิมามได้กล่าวว่า “ฉันได้สัญญาสันติภาพตามคำเรียกร้องของคนส่วนใหญ่ ฉันไม่พอใจที่จะต้องบีบบังคับผู้ใดให้ต้องทำตาม และฉันต้องการรักษาชีวิตของชีอะฮฺจำนวนน้อยนิดให้คงอยู่ต่อไป จึงได้ถอนทัพไว้สู้รบในโอกาสต่อไป (ทำสัญญาสันติภาพ) แน่อนอัลลอฮฺ ทรงอานุภาพยิ่งเสมอ[9]

ดังนั้น เมื่อพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ความแตกแยกทางความคิดโดยน้ำมือของมุอาวิยะฮฺ ความเหน็ดเหนื่อยของประชาชนจากสงคราม สัญญาสันติภาพอันไม่พึงประสงค์จึงต้องเกิดขึ้น แน่นอนว่า สัญญาสันติภาพนี้ย่อมไม่เข้ากันกับความเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านอิมาม แต่ก็ไม่มีคำอธิบายสำหรับฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าจะพูดแล้วสันติภาพไม่เหมาะสมกับอิมามอย่างไร ในเมื่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เองยังต้องฝืนทำสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ เนื่องจากความชั่วร้ายของบรรดาผู้ปฏิเสธ และญาฮิลชาวมักกะฮฺในสมัยนั้น ซึ่งในตอนนั้นมุอาวิยะฮฺ และบิดาของเขาอบูซุฟยานก็อยู่ด้วย พวกเขาอยู่ในฝ่ายของผู้ปฏิเสธที่ต่อต้านท่านศาสดา (ซ็อลฯ)[10] ท่านศาสดาต้องยอมรับสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ[11] แต่ก็ไม่มีข้อคลางแคลงใจอันใดเกิดขึ้น มันเป็นไปไม่ได้ที่ว่าหลังจากสันญาสันติภาพแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะไม่มะอฺซูมอีกต่อไป เนื่องจากได้ทำสัญญาสันติภาพกับมุชริก (ผู้เคารพรูปปั้นบูชาทั้งหมาย) ดังนั้น มุชริก เป็นมุสลิม และเป็นมุอฺมินกระนั้นหรือ และการทำสันติภาพของท่านอิมามฮะซันมิได้เป็นไปเพื่อสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าดอกหรือ แล้วท่านอิมามไม่อาจจะตัดสินใจกระทำสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าได้กระนั้นหรือ ขณะที่การกระทำของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านจะมีคำอธิบายเป็นอย่างอื่นไหม

ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้กระทำลงไปนั้น มีความสำคัญยิ่งกว่า และเหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับการรักษาอิสลามให้ดำรงสืบไป

 

 


[1] มุสนัดอะฮฺมัด เล่ม 6 หน้า 476, ฮะดีซที่ 22433

[2] อัตตัรฆีบ วัรตัรฮีบ, อิบนุมุนซัร, เล่ม 3, หน้า 102, คัดลอกมาจากหนังสือ วาเกะอะฮฺ อาชูรอ วะพอซุก เบะชุบฮอต, อะลีอัสฆัร ริฎวานียฺ, หน้า 56

[3] ตารีคคุละฟาอฺ, ซุยูฏียฺ, หน้า 187, พิมพ์ที่ดารุลฟิกรฺ เบรูต

[4] เซาะฮียฺบุคอรียฺ, เล่ม 10, หน้า 327, 917.

[5] มุรูจญฺ อัซซะฮับ มัสอูดียฺ, เล่ม 3 หน้า 42.

[6] เคาะซะอิซ นะซาอียฺ, หน้า 106,-108, พิมพ์ที่ มักตับตะบี อัสกะรียะฮฺ

[7] อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ซัยยิดฮาชิม เราะซูล มะฮัลลอตียฺ, หน้า 202, 210

[8] อ้างแล้ว, หน้า 214

[9] อะอฺลามุลฮิดายะฮฺ, กิตาบอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หน้า 147, คัดลอกมาจาก อัคบาร อัฏฏุวาล 221.

[10] วากิอะฮฺ อาชูรอ, อะลีอัสฆัร ริฎวานนี, หน้า 54.

[11] พียอมบัรอุมมี, ชะฮีดมุเฎาะฮะรียฺ, หน้า 27

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?
    10379 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/08
    รูปภาพของจิตวิญญาณสมัยที่โจทย์ขานกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพทางจิตวิญญาณ ในความคิดของเราในฐานะมุสลิมหนึ่ง เนื่องจากความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของมุสลิมนั้น มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำสอนศาสนา จิตวิญญาณทางศาสนา, วางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตำแนะนำสั่งสอนของศาสนา จึงจะก่อให้เกิดสถานดังกล่าว คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับความจริงที่พ้นญาณวิสัย เหนือโลกวัตถุและความจริงที่วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษ อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง อีกนัยหนึ่ง จิตวิญญาณทางศาสนา เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ ถ้าหากพิจารณาสติปัญญาที่มีขอบเขตของจำกัด ในการรู้จักมิติต่างๆ ของการมีอยู่ของมนุษย์ การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา และในที่สุดการเลือกวิธีการต่างๆ ว่าจะดำเนินไปอย่างไร เพื่อไปให้ถึงสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์ถวิลหา ดังนั้น ตรงนี้จึงไม่อาจพึงความรู้ในเชิงของเหตุผล หรือสติปัญญาได้เพียงอย่างเดียว ทว่าต้องพึ่งคำแนะนำและผู้ชี้นำทาง ซึ่งการทำความเข้าใจ และการครอบคลุมของสิ่งนั้นต้องเหนือกว่า สติปัญญา และสิ่งนั้นก็คือ วะฮฺยู ของพระเจ้า ซึ่งได้มาถึงสังคมมนุษย์โดยผ่านขบวนการของบรรดาเราะซูล ซึ่งได้แนะนำมนุษย์ให้เดินไปสู่สัจธรรมความจริงสูงสุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานเราะซูลลงมาคนแล้วคนเล่า ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์มีหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ...
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    5949 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6728 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การที่กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงลืมปวงบ่าวบางคนของพระองค์หมายความว่าอย่างไร?
    6444 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอาน, ถึง 4 ครั้งด้วยกันเกี่ยวกับการลืมของปวงบ่าว โดยสัมพันธ์ไปยังพระองค์ ดังเช่น โองการหนึ่งกล่าวว่า : วันนี้เราได้ลืมพวกเขา ดังที่พวกเขาได้ลืมการพบกันในวันนี้” โองการข้างต้นและโองการที่คล้ายคลึงกันนี้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ในปรโลก (หรือแม้แต่โลกนี้) จะมีชนกลุ่มหนึ่งถูกอัลลอฮฺ ลืมเลือนพวกเขา, แต่จุดประสงค์ของการหลงลืมนั้นหมายถึงอะไร?การพิสูจน์ในเชิงสติปัญญา และเทววิทยาที่มีอยู่ในปัจจุบันในตำราของอิสลามกล่าวว่า การหลงลืมหมายถึงการไม่ครอบคลุมทั่วถึงเหนือสภาพของสิ่งถูกสร้าง แน่นอน สิ่งนี้อยู่นอกเหนืออาตมันสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ ดังเช่นพระดำรัสของพระองค์ตรัสว่า “องค์พระผู้อภิบาลมิใช่ผู้หลงลืมการงาน”จากคำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้ประจักษ์ชัดเจนว่า จุดประสงค์ของการหลงลืมของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้หมายถึงการลืมเลือน การไม่มีภูมิความรู้ และการไม่รู้แต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ...
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7113 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    9595 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
    7924 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึงมิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่น “การตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า”
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11874 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7922 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27538 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...