การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13436
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/04/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2473 รหัสสำเนา 27002
คำถามอย่างย่อ
ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
คำถาม
อักษรย่อในอัลกุรอานมีความหมายอะไร? เป็นรหัสที่ไม่อาจเข้าใจได้สำหรับสามัญชน ระหว่างอัลลอฮฺกับเราะซูล? ขณะที่บางที่กล่าวว่า ถ้าหากเอาอักษรย่อเหล่านั้นมารวมกัน จะได้ประโยคหนึ่งคือ «صراط علی حق نمسکه» ถามว่าถูกต้องไหม?
คำตอบโดยสังเขป

อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อักษรย่อนี้ จะปรากฏในตอนเริ่มต้นกุรอาน 29 บทด้วยกัน ซึ่งอาจจะมีอักษรย่อเพียงตัวเดียว หรือสองและสามหรือมากกว่านั้น, แต่เมื่อนับรวมกันแล้วมีทั้งสิ้น 78 ตัว จะเป็นคำซ้ำกัน 14 ตัว กล่าวคือครึ่งหนึ่งของอักษรย่อเป็น ฮุรูฟฮะญาอฺ ซึ่งมี 28 ตัว และเรียกอักษรเหล่านี้ทั้งหมดว่า “ฮุรูฟมุก็อดเฏาะอะฮฺ” หรือ “ฮุรูฟนูรอนนี”

เกี่ยวกับอักษรย่อมีทัศนะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งจะขอนำเสนอบางทัศนะเหล่านั้น ดังนี้ :

1.อักษรเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงว่า คัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มนี้ที่มีความยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ได้สร้างความฉงนสนเท่ห์ให้แก่ชาวอารับและมิใช่อารับมาอย่างช้านาน นอกจากนั้นบรรดานักวิชาการทั่วทั้งปฐพี ก็ไม่มีผู้ใดสามารถประดิษฐ์สิ่งที่คล้ายคลึงเยี่ยงกุรอานขึ้นมาได้ แต่อัลกุรอานเล่มนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วย คำและอักษร ธรรมดา ที่มีอยู่ในมือของทุกคน

2.อักษรย่อถือว่าเป็น สิ่งคุมเครือของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีวันจะเข้าใจได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งไม่อาจถูกรู้ได้ตลอดกาล ซึ่งแนวทางของความรู้ในเรื่องนี้ ได้ถูกปิดโดยสมบูรณ์สำหรับสามัญชน

3.อักษรเหล่านี้ เป็นอักษรเดี่ยวไม่มีใครสามารถเข้าใจรหัสและความหมายได้ นอกจากกลุ่มชนอันเฉพาะเท่านั้น ปรัชญาของการนำเอาอักษรเหล่านี้มาในตอนเริ่มต้นบทบางบทของอัลกุรอาน ก็มิได้มีสิ่งใดเกินเลยไปจากคำและเสียง การอ่านคำเหล่านี้ในช่วงอ่านอัลกุรอาน เป็นเหตุให้ได้รับความสนใจจากผู้ฟัง เพื่อพวกเขาจะได้ตั้งใจสดับรับฟังกุรอาน เนื่องจาก ความหมายของมันต่อเนื่องกัน จึงทำให้เกิดเสียงร่ำลือต่างๆ เพื่อว่าอัลกุรอาน จะได้ไม่ไปถึงหูของชนอาหรับทั้งหลาย

4.อักษรย่อเหล่านี้ บ่งบอกให้เห็นว่าอักษรเหล่านี้ถูกใช้มากในบทดังกล่าว ในตอนแรกอักษรเหล่านี้จะเกิดรวมกัน เช่น อักษร ก็อฟ ที่ปรากฏในแต่ละบทของบท ฏ็อฟ หรือ ฮามีม อีน ซีน ก็อฟ ซึ่งจะมีการกล่าวซ้ำกันทั้งหมด 57 ครั้ง ขณะที่เมื่อเทียบกับอักษรอื่นในบทนั้น อักษรเหล่านี้จะถูกใช้มากกว่า ยกเว้นบางบท เช่น อัชชัมซ์ กิยามะฮฺ และฟะลัก ได้มีนักอักษรศาสตร์คนหนึ่งนับจำนวนอักษรที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ด้วยคอบมพิวเตอร์ ซึ่งอักษรเหล่านี้ได้บ่งบอกให้เห็นว่า อัลกุรอานบทนั้นได้ใช้อักษรนี้มากครั้งกว่าอักษรอื่น และสิ่งนี้ย่อมบ่งบอกให้เห็นถึงความมหัศจรรย์

5. อักษรเหล่านี้ถูกใช้ไปเพื่อสาบาน สาบานกับอักษรดังกล่าวก็เนื่องด้วยสาเหตุว่า รากหลักของคำพูดของทุกภาษาวางอยู่บนรากฐานของอักษรเหล่านี้

6.ระหว่างอักษรเหล่านี้กับสาระของบทต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากเมื่อใคร่ครวญบทต่างๆ กับอักษรย่อ จะพบว่าบทเหล่านี้ในแง่ของสาระแล้วมีความละม้ายคล้ายกัน[1]

7.อักษรย่อบางตัวเป็นรหัสยะอันเฉพาะที่บ่งบอกให้เห็นพระนามอันไฟจิตรของพระเจ้า และอักษรบางตัวเป็นรหัสที่บ่งบอกให้เห็นถึงนามของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งแต่ละพระนามของพระเจ้าได้ถูกประกอบขึ้นด้วยอักษรหลายตัว และแต่ละนามชื่ออักษรได้ถูกเลือกโดยไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน ในตอนเริ่มต้นแต่ละบท รายงานจาก ยะวีรียะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากซุฟยาน อัษษูรี โดยกล่าวว่า ฉันได้ถามญะอฺฟัร บุตรของมอฮัมมัด บุตรของอะลี บุตรของฮุซัยนฺ (อ.) ว่า “โอ้บุตรของเราะซูล ความหมายของคำเหล่านี้จากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ที่ตรัสว่า อลีฟ ลาม มีม และอื่นๆ นั้นหมายถึงอะไร?

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ความหมายของ อลีฟลามมีม ในตอนต้นบทบะเกาะเราะฮฺ หมายถึง "انا الله الملك" ข้าคืออัลลอฮฺผู้ทรงอภิสิทธิ ส่วน อลีฟลามมีม ในตอนเร่มต้นบท อาลิอิมรอน หมายถึง “ข้าคือมะญี” และ ....

8. อักษรย่อเหล่านี้คือส่วนหนึ่งแห่งพระนามของอัลลอฮฺ

9.อักษรเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงจำนวนโองการและบทต่างๆ ของอัลกุรอาน

10.อักษรเหล่านี้ในทุกๆ บทคือชื่อของบทนั้น ดังเช่น บท ยาซีน ฏอฮา ซ็อซด์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละบทจะเริ่มต้นด้วยอักษรย่อ และชื่อบทตามอักษรย่อนั้น

11.อักษรเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของประชาชาติอิสลาม

12.อักษระเหล่านี้เป็นรหัสที่ถูกจัดวางขึ้นเพื่อเป็นรหัสของบทต่างๆ แสดงให้เห็นว่าบทก่อนหน้าได้จบลงแล้ว และเป็นการเริ่มต้นบทใหม่หลังจากนั้น

13.อักษรเหล่านี้อยู่ในฐานะของการสรุปสาส์นและสาระโดยรวมของบท

14.อักษรเหล่านี้ บ่งชี้ให้เห็นถึงบุคคลที่มีต้นฉบับอัลกุรอานอยู่ในครอบครอง เช่น “ซีน” บ่งชี้ให้เห็นถึง สะอฺดิบนิ อะบีวะกอซ[2]

15.อักษรเหล่านี้คือรหัส ระหว่างอัลลอฮฺกับเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ ทัศนะนี้เป็นทียอมรับของนักปราชญ์ส่วนใหญ่[3]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “อลีฟลามมีม” คือรหรัสระหว่างอัลลอฮฺ และผู้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) พระองค์ประสงค์มิให้ผู้ใดล่วงรู้ในอักษรเหล่านั้น นอกจากพระองค์ ทรงให้เป็นอักษรเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นรหัสที่ปกปิดสายตาศัตรู แต่เป็นที่ชัดเจนแก่หมู่มิตรของพระองค์[4]

เมื่อนำเอาอักษรย่อเหล่านั้นมาจัดเรียงไว้เคียงข้างกัน จะสามารได้รับคำและประโยคจำนวนมากมาย เช่น บุคคลที่เป็นนักคิดเมื่อคำนึงถึงความเชื่อของตน ได้นำเอาอักษรดังกล่าวมารวมกันทำให้เกิดประโยคตามประสงค์ของตน เช่น บัดรุดดีน ซัรกะชี กล่าวว่า “จากการนำเอาอักษรย่อมารวมกันสามารถสร้างเป็นประโยคได้ เช่น «نص حکیم قاطع له سر» ส่วนเฟฎกาชานี (รฮ.) กล่าวว่าเมื่อนำอักษรย่อมารวมกันจะได้ประโยค «صراط علی حق نمسکه» แนวทางของอะลีคือสัจธรรม จงยึดมั่นกับแนวทางนั้นเถิด[5] แต่ทั้งหมดเหล่านั้นไม่มีที่มาจากฮะดีซแต่อย่างใด

 


[1] อัลมีซาน, ตอนอธิบายโองการที่ 6, บทชูรอ

[2] ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “อักษรย่อ” ไซต์ฟังฮังวะมะอาริฟกุรอาน

[3] มะอฺริฟัต ฮาดี, อุลูมกุรอาน, หน้า 138.

[4] อิบนิฏอวูซ สะอฺดิบนิ สะอูด หน้า 217 พิมพ์นะญัฟ

[5] ตัฟซีรซอฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 91

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    6035 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    5941 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6324 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16918 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
    9546 تاريخ کلام 2554/12/21
    ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีดเขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการกล่าวคือประการแรกเขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), สองเขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ
  • ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
    5744 รหัสยทฤษฎี 2555/03/12
    มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์ ...
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5625 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6155 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    9980 การตีความ (ตัฟซีร) 2556/08/19
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • ถ้าหากมุมหนึ่งของพรหมเปื้อนนะญิส, การนมาซบนพรหมนั้นจะมีปัญหาหรือไม่ หรือเฉพาะบริเวณที่เปื้อนนะญิสเท่านั้นมีปัญหา? เสื้อเปื้อนเลือดและหลังจากซักออกแล้ว,ยังมีคราบสีเลือดตกค้างอยู่, สามารถใส่นมาซได้หรือไม่?
    17836 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    1. หนึ่งในเงื่อนไขของสถานที่นมาซคือ ถ้าหากสถานที่นมาซนะญิส ในลักษณะที่ว่าความเปียกชื้นนั้นไม่ซึมเปียกเสื้อผ้า หรือร่างกาย, แต่บริเวณที่เอาหน้าผากลงซัจญฺดะฮฺนั้น, ถ้าหากนะญิสและถึงแม้ว่าจะแห้ง นมาซบาฏิล และอิฮฺติยาฏมุสตะฮับ สถานที่นมาซจะต้องไม่เปรอะเปื้อนนะญิส[1] ด้วยเหตุนี้, การนมาซบนพรหมที่เปื้อนนะญิสด้วยเงื่อนไขตามกล่าวมา จึงถือว่า ไม่เป็นไร. 2.ทุกสิ่งที่เปื้อนนะญิส ตราบที่นะญิสยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปถือว่าไม่สะอาด. แต่ถ้ายังมีกลิ่น หรือสีนะญิสตกค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร. ฉะนั้น ถ้าหากซักรอยเลือดออกจากเสื้อแล้ว ตามขบวนการกำจัดนะญิส แต่ยังมีคราบสีเลือดหลงเหลืออยู่, ถือว่าสะอาด[2] ฉะนั้น, ถ้าเสื้อนะญิสเนื่องจากเปื้อนเลือด, และได้ซักแล้วตามขั้นตอน, แต่ยังมีคราบสีเลือดค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร และสามารถใส่เสื้อนั้นนมาซได้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38395 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...