การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7924
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2484 รหัสสำเนา 18989
คำถามอย่างย่อ
เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
คำถาม
เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
คำตอบโดยสังเขป

ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึง มิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่นการตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้าไม่มีการอภัยอย่างแน่นอน หรือความผิดบางอย่าง เช่น สิทธิของมนุษย์ด้วยกัน (ฮักกุลนาซ) ย่อมไม่ได้รับการอภัยให้ด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนของคนอื่น, ทว่าต้องมีการทดแทนหรือการขอความเห็นใจ หรือขออภัยจากเจ้าของสิทธินั้น เพื่อเป็นบทนำไปสู่การอภัยต่อไป

ผู้กระทำความผิด บางครั้งได้กระทำผิดไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ซึ่งหลังจากสำนึกผิดและลุแก่โทษแล้วยังมีความหวังว่าจะได้รับการอภัย และบางครั้งผู้กระทำผิดได้กระทำผิดเพราะความพลั้งเผลอ ซึ่งต้องอาศัยการทดแทนความผิด.ซึ่งการทดแทนความผิดและมรรคผลนั้นผู้กระทำผิดอาจกระทำด้วยตัวเอง หรือบุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน

แน่นอน มนุษย์นั้นไม่มีสิทธิได้รับสิ่งใดเกินความพยายามและกำลังสามารถของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคกับความการุณย์และความเมตตาของพระเจ้าแต่อย่างใด, เพราะพระองค์จะประทานความโปรดปรานแก่บุคคลที่มีความคู่ควรเท่านั้น. จริงๆ แล้วสิทธิคือประเด็นนี้ ส่วนความเมตตาของพระเจ้าก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

การทำความดี ดุอาอฺ การวิงวอนขออภัย และการชะฟาอะฮฺ มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งไร้สาระแต่อย่างใด, ซึ่งในมุมหนึ่งถือว่าเป็นผลงานของบุคคลด้วยเหมือนกัน, เช่น ชะฟาอะฮฺนั้นต้องขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม และการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ตามความเป็นจริงแล้วผู้ที่จะรับชะฟาอะฮฺต้องมีคุณสมบัติ และมีศักยภาพเพียงพอต่อการรับ. ดังเช่นพืชและต้นไม้ต่างๆ ถ้าปราศจากการเอาใจใส่ดูแลไม่ให้น้ำอย่างเพียงพอแล้ว ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ได้,แต่ต้องมีศักยภาพและความสามารถในการเจริญเติบโตด้วยตัวเองเสียก่อน เพื่อว่าน้ำและแสงแดดและ ... จะได้มีประโยชน์กับตัวเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับความชัดเจนในคำตอบโปรดพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ :

1.ผู้กระทำความผิดทุกคนมี 2 ด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งคือการหลงลืมและการไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของอัลลอฮฺ) ส่วนอีกด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกับตัวของผู้กระทำผิดและบุคคลอื่นในสังคม (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของคนอื่นและผู้กระทำผิด)[1]

2.ผู้กระทำความผิดไม่เท่าเทียมกัน ถ้าหากพิจารณาไปตามความขัดแย้งของกาลเวลา สถานที่ ความแตกต่างในความผิดที่กระทำ และบุคลิกภาพของผู้กระทำผิด, แน่นอน แต่ละคนมีความแตกต่างกัน การลงโทษก็ต้องมีความแตกต่างกันด้วย เช่น อัลกุรอาน กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ) ไว้ โดยกล่าวว่า :โอ้ บรรดาภริยาของนบี! พวกเจ้าคนใดนำความชั่วอย่างชัดแจ้งมา การลงโทษจะถูกเพิ่มให้แก่นางเป็นสองเท่า ในการนั้นเป็นการง่ายดายแก่อัลลฮฺ[2] หรือรายงานจากท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวว่า :บุคคลใดกระทำความผิดอย่างเปิดเผย หรือเผยแพร่ความผิดเขาจะได้รับความต่ำทรามที่สุด แต่บุคคลใดปกปิดความผิดเอาไว้เขาจะได้รับการอภัย[3]

3.ในการแบ่งประเภทหนึ่งกล่าวว่า ความผิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทสิทธิของอัลลอฮฺ และสิทธิของมนุษย์ซึ่งรายงานกล่าวว่า :อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยความผิดที่เป็นฮักกุนนาซ (สิทธิของคนอื่น), เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะอโหสิกรรมให้ด้วยตัวเอง[4]ด้วยเหตุนี้ ความผิดประเภทนี้ไม่อาจลบล้างได้ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโดยผู้กระทำความผิด หรือคนอื่นกระทำให้ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม, นั่นหมายความว่าความผิดเหล่านี้ไม่อาจได้รับการอภัยได้ เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะเป็นผู้อภัยด้วยตัวเอง เช่น บุคลลหนึ่งได้ทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ตราบที่เจ้าของยังไม่อภัยให้, อัลลอฮฺก็จะไม่อภัยให้เขาเด็ดขาด

4.ความผิดได้ถูกแบ่งเป็นความผิดเล็กและความผิดใหญ่, ความผิดใหญ่ได้แก่ความผิดซึ่งในทัศนะอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งอัลกุรอานได้เตือนสำทับและสั่งห้ามเอาไว้โดยสิ้นเชิง, อีกทั้งได้สัญญาการลงโทษเอาไว้ในไฟนรกเอาไว้, เช่น การผิดประเวณี, การสังหารชีวิตบริสุทธิ์, การกินดอกเบี้ย, และ .... ดังที่รายงานได้กล่าวสำทับไว้เช่นกัน[5] แต่ความผิดเล็กหมายถึงความผิดที่ได้ถูกห้ามเอาไว้ ซึ่งเป็นความผิดประเภทเดียวที่อัลกุรอานได้สัญญาว่าจะอภัยให้ โดยกล่าวว่า : “หากสูเจ้าปลีกตัวออกจากบรรดาบาปมหันต์ ที่สูเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างบรรดาเหล่าความผิดเล็กๆ ของสูเจ้าออกจากสูเจ้า และเราจะให้สูเจ้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ[6]

ตามคำสอนของโองการข้างต้นกล่าวว่า การหลีกเลี่ยงจากการทำความผิดใหญ่, ความผิดเล็กๆ น้อยก็จะได้รับการอภัย. แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าบางครั้งก็อยู่ในเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง, เช่น ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ต้องไม่เปลี่ยนเป็นความผิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับได้ออกนอกสัญญาของพระเจ้าไปแล้ว[7]

5.ในการแบ่งอีกประเภทหนึ่ง สามารถแบ่งผู้กระทำความผิดไว้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

.กลุ่มชนที่กระทำความผิดด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลังจากนั้นได้สำนึกผิดอยู่ในช่วงของการทดแทน และขอลุแก่โทษ ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขาอย่างแน่นอน[8]

.กลุ่มชนที่กระทำความผิดทั้งๆ ที่รู้ และหลังจากนั้นก็ไม่สำนึกผิด แน่นอน การอภัยของพระองค์จะไม่ครอบคลุมถึงเขาเด็ดขาด

จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นที่ประจักษ์ว่า การอภัยในความผิดต่างๆ โดยพระเจ้า หรือการเปลี่ยนแปลงผู้กระทำความผิด เฉพาะความผิดที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาเอาไว้ว่าจะทรงอภัยให้[9]

แต่ถ้าบุคคลนั้นตลอดอายุขัยของตนอยู่กับการทำความผิดหรือระหกระเหินท่ามกลางความหลงผิด, ดังนั้น ความผิดของเขาจะหมดไปด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโทษของบุคคลอื่นได้อย่างไร? หรือชะตาชีวิตของเขาในปรโลกจะได้รับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จำเป็นต้องกล่าวว่า ผู้กระทำผิดที่จมปรักอยู่กับการกระทำผิดนั้นมิได้เป็นเช่นนี้ทุกคน และเป็นไปไม่ได้ที่ความผิดของพวกเขาจะได้รับการอภัย หรือเปลี่ยนแปลงไปเพราะดุอาอฺหรือการวิงวอนของคนอื่น, ใช่แล้ว เกี่ยวกับผู้กระทำความผิดที่ละเมิดกระทำความผิดลงไป อัลลอฮฺ ทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขา นี่เป็นความหวังว่าแม้แต่ดุอาอฺและความวิงวอนของคนอื่น พวกเขาก็จะได้รับการอภัยด้วย, เนื่องจากอัลกุรอานได้กล่าวว่าความดีงาม จะขจัดความไม่ดี (ความผิด) ให้หมดไป[10] ดังเช่นผู้กระทำความผิดถ้าหากในชีวิตของเขาได้กระทำความดี ซึ่งการกระทำความดีตามความหมายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาว่าจะลบล้างความผิดและผลของความผิดให้แก่เขา, ขณะที่ถ้าหากบุคคลอื่นได้กระทำความดี และได้อุทิศความดีงามแก่ผู้กระทำความผิด แน่นอน การกระทำเช่นนี้จะเป็นสาเหตุทำให้ความผิดต่างๆ ของเขาถูกลบล้าง

มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวว่า : เมื่อบุคคลหนึ่งได้ตายจากโลกนี้ไป และบุคคลอื่น (เช่นบุตรและธิดา) ได้กระทำความดี เช่น นมาซ, ถือศีลอด, ฮัจญฺ, บริจาคทาน, ซื้อความเป็นไทให้แก่ปวงบ่าว, และ ....โดยอุทิศผลบุญของงานดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ แน่นอน ผลบุญและรางวัลของการกระทำดังกล่าวนี้จะตกไปถึงเขา[11]

แน่นอน เมื่อผลบุญของการกระทำความดีของคนอื่นที่ได้อุทิศให้แก่ผู้กระทำความผิด, ไปถึงผู้ตาย ถ้าหากเป็นผลบุญที่สามารถทดแทนผลที่ไม่ดีของความผิดของผู้ตายได้ ความผิดของเขาย่อมได้รับการทดแทน และนี่คือความยุติธรรมของพระเจ้าที่บุคคลอื่นได้ทำความดีในสิทธิ์ของผู้กระทำความผิด ซึ่งความผิดนั้นอยู่ในระดับชั้นของความดีดังกล่าว ความผิดนั้นย่อมได้รับการอภัยอย่างแน่นอน, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงเปิดหนทางดังกล่าวโดยผ่านพระวจนะของท่านศาสดา (ซ็อล )[12]

ประหนึ่งกฎเกณฑ์บนโลกนี้ ถ้าหากผู้ใดได้กระทำสิ่งที่ขัดกฎหมาย และสร้างความเสียหายแก่คนอื่น ถ้าหากคู่กรณียอมจ่ายค่าชดเชยเป็นการตอบแทน, ย่อมสร้างความพอใจแก่ผู้เสียหายได้ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจเขาย่อมได้รับการลงโทษ. ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องแปลกใจและไม่มีคำถามเลยว่า ความผิดของผู้กระทำผิดที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้ถูกลบล้างด้วยการทำความดีของบุคคลอื่นได้อย่างไร

ใช่แล้ว ถ้าหากผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้กระทำความผิดไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากให้ผู้กระทำความดีทั้งโลกทำความดี และอุทิศความดีแก่เขา ความดีเหล่านั้นก็ไม่อาจทดแทนความผิดที่เขาได้กระทำไว้ได้, ในกรณีนี้ถือว่าความผิดของเขาไม่อาจทดแทนได้ด้วยการทำความดีของบุคคลอื่น, ทว่าความผิดของเขาย่อมได้รับการลดหย่อน ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงลดหย่อนการลงโทษแก่เขาอย่างแน่นอน[13]

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยุติธรรมและทรงปรีชาญาณเสมอ พระองค์จะไม่อธรรมปวงบ่าวแม้เล็กเท่าองค์ผลธุลีก็ตาม, พระองค์จะไม่ทรงละเลยการงานของมนุษย์ พระองค์จะไม่ทรงทำลายผลรางวัลของการทำความดีของปวงบ่าว เป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงอภัยให้แก่บางคน ซึ่งในทัศนะของเราบุคคลนั้นสมควรได้รับการลงโทษอันแสนสาหัสจากพระองค์ก็ตาม (เนื่องจากเราไม่ได้รับรู้ถึงการงานทั้งหมดและความประพฤติของเขา), แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้ทรงปรีชาญาณและทรงรอบรู้ทุกสิ่งซึ่งเรานั้นไม่รู้, ดังนั้น ต้องยอมรับว่าการอภัยของพระองค์สืบเนื่องมาจากการทำความดีของเขา พระองค์ทรงรู้แต่เราไม่รู้

อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าดุอาอฺที่บริสุทธิ์ใจ การวิงวอนขออภัยในความผิดต่ออัลลอฮฺ สำหรับบุคคลอื่นก็เนื่องจากมีมรรคผลที่ดี และเป็นการทำความดี ซึ่งบุคคลอื่นได้กระทำในสิทธิของตน ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นแล้วบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความดีงามอันใดในชีวิตของเขา และตลอดอายุขัยของเขามากไปด้วยการทำความผิด, ก็จะไม่มีผู้ใดขอดุอาอฺด้วยความจริงใจให้เขาแน่นอน, แม้แต่บุตรและธิดาหรือเครือญาติชั้นของเขา, ถ้าหากพวกเขาเป็นคนไม่ดีดุอาอฺของเขาย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ถ้าพวกเขาเป็นคนดีและไม่ใจจืดใจดำที่จะดุอาอฺ และวิงวอนขออภัยโทษแก่เขา แน่นอน ดุอาอฺของเขาย่อมถูกตอบรับอย่างแน่นอน

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้ตอบคำถามโองการที่กล่าวถึงเรื่องชะฟาอะฮฺ เช่น โองการ 21, บทฏูร ที่กล่าวว่า : และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขาขณะที่เขาไม่เคยขวนขวายในหนทางดังกล่าวเลย, หรือสิ่งที่รายงานได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อใดก็ตามถ้าบุคคลหนึ่งได้กระทำความดี,ผลของความดีเหล่านั้นจะตกไปถึงลูกหลานของเขา, ดังนั้น รายงานดังกล่าวนี้กับโองการข้างต้นจะสามารถรวมกันได้ไหม ซึ่งผลประโยชน์ของแต่ละคนในวันฟื้นคืนชีพ ขึ้นอยู่การขวนขวายของเขา

อัลกุรอานกล่าวว่า : ไม่มีบุคคลใดจะได้รับสิ่งใดมากเกินการขวนขวายพยายามของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใดที่ว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ผู้ที่มีความเหมาะสม ด้วยความเมตตาและความการุณย์ของพระองค์. สิทธิคือประเด็นหนึ่ง ส่วนเรื่องความเมตตาการุณย์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ดังที่ ความดีงามบางครั้งได้รับการตอบแทนผลรางวัลเป็น 10 เท่าตัว บางครั้งก็เป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าของความดี

อย่างไรก็ตาม การชะฟาอะฮฺ มิได้ถูกให้โดยปราศจากการตรวจสอบแต่อย่างใด, ซึ่งชะฟาอะฮฺก็ต้องอาศัยความพยายามและการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างจิตด้านในกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺด้วย[14]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวอธิบายเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : ถ้าหากบุคคลหนึ่งต้องการไปให้ถึงยังผลบุญ แต่ไม่ได้จัดเตรียมเหตุของผลบุญเอาไว้ แต่ไม่ได้ต่อต้านหน้าที่เพียงแต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน, ขณะที่ตรงนี้เขาได้ตะวัซซุลไปยังชะฟาอะฮฺ ซึ่งผลของชะฟาอะฮฺจะเกิดหรือไม่ตรงประเด็นนี้เอง, แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปที่ว่า, สำหรับบางคนไม่มีคุณสมบัติที่จะไปถึงความสมบูรณ์ตามกล่าวเลยแม้แต่นิดเดียว เช่น สามัญชนคนหนึ่งต้องการเป็นผู้รู้สูงสุดด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10016 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    8973 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    5638 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6816 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9131 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8308 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8458 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6212 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5628 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
    7042 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/11/09
    เราไม่พบฮะดีษใดๆที่มีเนื้อหาเช่นนี้อย่างไรก็ดีในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษมีฮะดีษหลายบทที่อรรถาธิบายโองการفإذا فرغت فأنصب وإلی ربک فارغب ว่า "เมื่อเจ้า(นบี)ปฏิบัติภารกิจศาสนทูตลุล่วงแล้วก็จงแต่งตั้งอลี(อ.)เป็นผู้นำเหนือปวงชน" หรือฮะดีษที่อธิบายโองการแรกของซูเราะฮ์นี้ที่รายงานจากอิมามศอดิก(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38415 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...