การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8767
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa6268 รหัสสำเนา 19621
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
คำถาม
บรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระเจ้าหรือไม่? และบุตรของมาลิกเชื่อฟังอิมามท่านต่อๆมาดังที่บิดาเคยกระทำเป็นเยี่ยงอย่างหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัร ซึ่งมาจากเผ่านะเคาะอ์และมิซฮัจในเยเมนแต่อย่างใด สิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือ เผ่านี้เป็นกลุ่มแรก  ในเยเมนที่เข้ารับอิสลาม 

มาลิก อัชตัรมีบุตรชายสองคน คนหนึ่งมีนามว่า อิสฮาก และอีกคนมีชื่อว่า อิบรอฮีม อิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (.) ในกัรบาลา และได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุด อิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตาร ษะเกาะฟี และได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถ โดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (.) เช่น อิบนุซิยาด ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า อิบรอฮีมมีบุตร 5 คน นามว่า นุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลาน ในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีม กอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

มาลิก บินฮาริษ บินอับด์ ยะฆูษ บินสะละมะฮ์ บิน เราะบีอะฮ์ บินฮาริษ บินคุซัยมะฮ์ บินสะอ์ด บินมาลิก บินนะเคาะอ์ถือกำเนิดในครอบครัวที่กล้าหาญและมีชาติตระกูลในเผ่านะเคาะอ์และมิซฮัจแห่งเยเมน[1] เขาเกิดในสมัยญาฮิลียะฮ์ก่อนยุคอิสลาม[2] แต่ทว่าตำราประวัติศาสตร์ ตลอดจนฮะดีษต่างๆก็มิได้กล่าวถึงความเชื่อของเขาและเผ่าของเขา และมิได้ระบุว่าเข้ารับอิสลามในช่วงเวลาใด[3] นักเขียนบางคนสันนิษฐานว่าการที่เผ่าใหญ่  ของเยเมน เช่นนะเคาะอ์”, “มิซฮัจ”, “ฮัมดานฯลฯ เริ่มทะยอยกันเข้ารับอิสลามทีละเผ่านั้น เกิดขึ้นหลังจากที่อิมามอาลี (.) ได้เดินทางไปยังดินแดนแห่งนั้นในปีที่ 10 ..โดยคำสั่งของท่านนบี (..) [4]

ครอบครัวชาวอรับดั้งเดิมดังกล่าวได้เดินทางมายังเมืองชามในสมัยการปกครองของอบูบักร และหลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ และได้ตั้งรกรากที่นั้น และไม่นานก็มีสายตระกูลมากมายที่แตกสาขาจากครอบครัวดังกล่าวในแผ่นดินนี้ ทายาทของมาลิกค่อยๆกลายเป็นสายตระกูลที่กว้างขวาง อาทิเช่นบะนูมาลิก”, “บะนูอิบรอฮีมฯลฯ ปัจจุบันในประเทศอิรักมีครอบครัวที่มีชื่อเสียงเช่นสายตระกูลของ กาชิฟ อัลฆิฏอ และตระกูลของเชครอฎี ซึ่งล้วนสืบเชื่อสายมาจากมาลิกอัชตัรทั้งสิ้น

ในประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงบุตรของมาลิกอัชตัรไว้สองคนอิสฮาก และ อิบรอฮีมในกัรบาลา อิสฮากได้เป็นหนึ่งในผู้ที่ช่วยเหลือท่านอิมามฮุเซน (.) เขาออกสู่สนามรบหลังจากฮาบีบ บินมะซาฮิร และในที่สุดได้เป็นชะฮีด[5] อิบรอฮีมบุตรชายอีกคนหนึ่งของมาลิกอัชตัร เป็นชายผู้กล้าหาญและเปรียบดั่งอัศวินในสมรภูมิรบ เขาเป็นชีอะฮ์และรักอะฮ์ลุลบัยต์อย่างมั่นคงมิเสื่อมคลาย ไม่เพียงแต่อิบรอฮีมจะคล้ายคลึงกับบิดาในด้านอุปนิสัย แต่ยังคล้ายในแง่รูปร่างหน้าตาอีกด้วย[6] ซะฮะบีผู้เป็นนักประวัติศาสตร์ของซุนนีได้บันทึกไว้เกี่ยวกับอิบรอฮีมว่าเขาคือวีรบุรุษที่สูงส่งและยิ่งใหญ่เฉกเช่นบิดา[7]

อิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตาร ษะเกาะฟี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพมุคตาร และด้วยกับความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวไร้เทียมทาน ทำให้สามารถชนะศัตรูของอะฮ์ลิลบัยต์และสำเร็จโทษผู้ที่ฆ่าอิมามฮุเซน (.) เป็นจำนวนมาก เขาได้ฆ่าอิบนุซิยาดในวันที่ 10 มุฮัรรอม อัลฮะรอม ปี 67 เป็นผลสำเร็จ[8]

ในตำราประวัติศาสตร์ได้บันทึกรายชื่อผู้ที่เป็นลูกหลานของอิบรอฮีมไว้ 5 คนนุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานซึ่งในจำนวนนี้ กอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา[9]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อะมีน, ซัยยิดมุฮ์ซิน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์, เล่ม 2, หน้า 200, ดารุตตะอารุฟ ลิลมัทบูอาท, เบรูต, 1406 ..



[1] อัลอะอ์ละมี อัลฮาอิรีย์, มุฮัมหมัดฮุเซน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ อัชชีอะฮ์ อัลอามมะฮ์, เล่ม 16, หน้าที่ 40, พิมพ์ครั้งที่ 2, สถาบันอัลอะอ์ลามีย์ ลิลมัฏบูอาต, เบรุต, 1413, อัลอะมีน, ซัยยิดมุฮ์ซิน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์, เล่ม 9, หน้าที่ 38, ดารุตะอารุฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรุต, 1403, อัลอัฏฏ้อร, เกส, มาลิก อัลอัชตัร คุเฏาะบุฮูวะอารออุฮู , หน้า 13, พิมพ์ครั้งที่ 1, สถาบันอัลฟิกรุล อิสลามีย์, อิหร่าน, 1412

[2] อัซซัรกุลี, ค็อยรุดดีน, อัลอะอ์ลาม, เล่ม 5, หน้า 259, พิมพ์ครั้งที่ 5, ดารุลอุลูม, เบรุต

[3] ดู: อัลฮะกีม, อัซซัยยิดมูฮัมหมัดริฏอ, มาลิก อัลอัชตัร, หน้า 33, พิมพ์ครั้งที่ 1, อัลมักตะบะฮ์ อัลฮัยดารียะฮ์, กุม, 1427

[4] ดู: มุฮัมมะดี เอชเทฮอรดี, มุฮัมหมัด, มาลิก อัชตัร, หน้า 19, พิมพ์ครั้งที่ 2,สำนักพิมพ์พายอมเม ออซอดี, เตหะราน, 1372

[5] มุฮัมมะดี เอชเทฮอรดี, มุฮัมหมัด, มาลิก อัชตัร, หน้า 188

[6] อัลอะอ์ละมีย์ อัลฮาอิรีย์, มุฮัมหมัด ฮุเซน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ อัชชีอะฮ์ อัลอามมะฮ์, เล่ม 2, หน้า 131

[7] ซะฮะบี, สิยัร อะอ์ลามุนนุบะลา , เล่ม 4, หน้า 35, พิมพ์ครั้งที่ 9, สถาบันอัรริซาละฮ์, เบรุต, 1413

[8] อิบนิอะษี้ร, อัลกามิล ฟิตตารีค, เล่ม 4, หน้า 264, อ้างใน: นะซะรี มุนฟะริด, อาลี, เรื่องราวแห่งกัรบาลา, หน้า 670, พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์สุรูร, กุม, 1379

[9] ดู: มะฮ์มูด, วิเคราะห์ชีวประวัติมาลิกอัชตัร, หนังสือพิมพ์ริซาลัต, ฉบับที่ 6054, 16/10/85

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    6099 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6206 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5973 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6919 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12517 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด เป็นจำนวนเท่าไหร่? ทุกวันนี้ค่าเงินดีนารและดิรฮัม, เทียบเท่ากี่ดอลลาร์?
    7557 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ค่าเงินดิรฮัมและดีนาร เป็นค่าเงินสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และอิมามมะอฺซูม (อ.) ซึ่งปัจจุบันภารกิจด้านชัรอียฺและกฎหมายก็ยังใช้อยู่ และปัจจุบันบางภารกิจยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่ ดีนาร, คือเหรียญซึ่งทำจากทองคำ ส่วนดิรฮัมทำด้วยเงิน, ดังนั้น ถ้ารู้น้ำหนักทองหรือเงินที่ใช้ทำเหรียญ ดินาร และดิรฮัม ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงราคาปัจจุบันของเหรียญทั้งสองทันที, ปกติดินารชัรอียฺ ประมาณ 4/42 กรัม แต่ทัศนะของบางคนกล่าวว่า 4/46 กรัม[1] ดังนั้น ถ้าคิดเทียบอัตราค่าทองและเงินในปัจจุบัน ก็สามารถกำหนดราคาทองคำและเงิน โดยคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับภารกิจบางอย่าง ซึ่งอยู่ในฐานะของ สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด จำเป็นต้องจ่ายออกไปเป็นดิรฮัมและดินาร ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกรณีดังนี้ : 1.ถ้าหากผู้ตายเป็นชาย เป็นมุสลิม ...
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    6944 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    20721 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6491 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59389 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41672 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33449 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...