การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8002
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7503 รหัสสำเนา 19415
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
มะลาอิกะฮ์และญินรุดมาช่วยอิมามฮุเซน(อ.)จริงหรือไม่ และเหตุใดท่านจึงปฏิเสธ?
คำถาม
ดิฉันได้ยินผู้รู้ท่านหนึ่งเล่าว่า มีญินและมะลาอิกะฮ์จำนวนหนึ่งรุดมาช่วยเหลืออิมามฮุเซน(อ.)ที่กัรบะลา แต่อิมามปฏิเสธการช่วยเหลือ เรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนท่านอิมามจะออกสู่สนามรบไช่หรือไม่? มีแหล่งอ้างอิงใดระบุถึงเรื่องนี้? และหากเป็นเรื่องจริง เหตุใดท่านอิมามจึงปฏิเสธการช่วยเหลือดังกล่าว?
คำตอบโดยสังเขป

คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

 ตำราอ้างอิงบางเล่มรายงานฮะดีษที่ระบุว่าญินและมะลาอิกะฮ์ต่างก็เสนอตัวเพื่อช่วยเหลือท่านอิมามฮุเซน(.)
อย่างไรก็ดี พระองค์เคยส่งมะลาอิกะฮ์หรือญินมาช่วยเหลือบรรดานบี(.)ครั้งแล้วครั้งเล่า กุรอานกล่าวว่า "(จงรำลึกเถิด)เมื่อสูเจ้าวอนขอการช่วยเหลือจากพระองค์(เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในสงครามบะดัร) และพระองค์ทรงตอบรับ (และกล่าวว่า) ข้าจะช่วยเหลือสูเจ้าด้วยมะลาอิกะฮ์พันองค์ที่ลงมาเป็นลำดับ"
เหตุผลบางประการที่ทำให้ท่านไม่อาจรับความช่วยเหลือดังกล่าวได้ก็คือ
1. ท่ามกลางวิกฤติการณ์ในยุคของท่าน การฟื้นฟูประชาชาติของท่านนบี(..) จะเกิดขึ้นได้ด้วยการพลีชีพเท่านั้น
2. ความปรารถนาจะบรรลุถึงพระองค์
3. การพลีเป็นสิ่งที่กำหนดไว้แล้ว
4. การเป็นชะฮีดคือความตายที่มีคุณค่าและงดงามยิ่งสำหรับท่าน
5. เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่พระองค์มอบหมายอย่างเป็นธรรมชาติ

คำตอบเชิงรายละเอียด: 

การประทานความช่วยเหลือแก่อิมามฮุเซน(.)
ตำราอ้างอิงบางเล่มรายงานฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีน โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ญินและมะลาอิกะฮ์แสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือท่านอิมามฮุเซน(.) เป็นต้นว่า เชคมุฟี้ด รายงานถึงอิมามศอดิกว่า ขณะที่อิมามฮุเซน(.)เดินทางออกจากมะดีนะฮ์ มีมะลาอิกะฮ์กลุ่มหนึ่ง และญินกลุ่มหนึ่งที่เป็นมุสลิมผู้สวามิภักดิ์ต่อท่าน ต่างแสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือท่านอิมามฮุเซน(.) แต่ท่านอิมามตอบกลุ่มเหล่านั้นว่า "ขอพระองค์ทรงตอบแทนความดีของพวกท่าน ฉันต้องรับผิดชอบภารกิจของตนเอง โดยมีการกำหนดเวลาและสถานที่ที่ฉันจะถูกสังหารไว้แล้ว" เหล่าญินกล่าวว่า "หากมิไช่เพราะท่านกำชับไว้ เราจะฆ่าศัตรูของท่านให้หมดสิ้น" ท่านอิมามตอบว่า "พวกเราสามารถกระทำการดังกล่าวได้ดีกว่าพวกท่าน แต่เราไม่เลือกที่จะกระทำ เนื่องจากต้องการให้ผู้ฉ้อฉลไม่มีข้ออ้างใดๆอีก และเพื่อให้การน้อมรับสัจธรรมเป็นไปด้วยเหตุผลและชัดเจน" [1]
นอกจากนี้ อิมามศอดิก(.)ยังกล่าวอีกว่า "ฉันเคยได้ยินพ่อเล่าว่า ขณะที่ท่านอิมามฮุเซนเผชิญหน้ากับอุมัร บิน สะอ์ด และสงครามกำลังจะเริ่มขึ้นนั้น อัลลอฮ์ได้ส่งการช่วยเหลือมายังท่านถึงขนาดที่กลายเป็นร่มเงาเหนือศีรษะของท่าน ท่านอิมามมีทางเลือกสองทางระหว่างชัยชนะเหนือศัตรูกับการบรรลุถึงพระผู้เป็นเจ้า และท่านเลือกที่จะบรรลุถึงพระองค์"[2]

ฮะดีษบางบทก็ระบุว่า มวลมะลาอิกะฮ์แสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลืออิมามฮุเซน(.) โดยครั้งแรก พวกเขาขออนุญาตร่วมรบ แต่ท่านไม่อนุญาต เมื่อมะลาอิกะฮ์เหล่านี้กลับมาเป็นครั้งที่สองก็พบว่าท่านเป็นชะฮีดไปแล้ว ตัวอย่างฮะดีษประเภทนี้ได้แก่ฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)ที่ว่า "มะลาอิกะฮ์สี่พันองค์ลงมาเพื่อจะร่วมรบเคียงข้างท่านอิมามฮุเซน(.) แต่ไม่ได้รับอนุญาต ต่อเมื่อลงมาอีกครั้งก็พบว่าอิมามฮุเซน(.)ถูกสังหารไปแล้ว..."[3]

สรุปคือ เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นจริง และมีการระบุไว้ชัดเจนในฮะดีษหลายบท โดยไม่มีผู้รู้ท่านใดปฏิเสธ ทั้งนี้ก็เนื่องจากมิได้ขัดต่อคำสอนหรือหลักศรัทธาข้อใดในอิสลาม อย่างไรก็ดี การที่พระองค์จะช่วยเหลือผ่านมะลาอิกะฮ์หรือกลุ่มญินนั้น เคยเกิดขึ้นในยุคของนบีท่านก่อนๆมาแล้ว กุรอานกล่าวว่า "(จงรำลึกเถิด)เมื่อสูเจ้าวอนขอการช่วยเหลือจากพระองค์ (เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในสงครามบะดัร) และพระองค์ทรงตอบรับ (และกล่าวว่า) ข้าจะช่วยเหลือสูเจ้าด้วยมะลาอิกะฮ์พันองค์ที่ลงมาเป็นลำดับ"[4] และดังกรณีการช่วยเหลือที่มุสลิมได้รับในสงครามอะห์ซาบ แต่บางกรณี การช่วยเหลือประเภทดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้นเนื่องจากความเหมาะสมบางประการ

เหตุใดท่านอิมามฮุเซน(.)จึงปฏิเสธการช่วยเหลือดังกล่าว?
สันนิษฐานว่าท่านอิมามฮุเซน(.)ไม่ยอมรับการช่วยเหลือดังกล่าวด้วยเหตุผลต่อไปนี้
1. เมื่อพิจารณาถึงสภาวะทางการเมืองในยุคของมุอาวิยะฮ์และยะซีด ซึ่งมีการกระทำผิดหลักศาสนาภายใต้หน้ากากของผู้พิทักษ์ศาสนา ทำให้ยากแก่การแยกแยะความถูกต้องออกจากการบิดเบือน หนทางเดียวที่จะสามารถฟื้นฟูศาสนาของอัลลอฮ์ได้ก็คือ การพลีชีวิตของอิมามฮุเซน(.) และญาติมิตรเท่านั้น[5]
2.
ฮะดีษหลายบทบ่งบอกว่าท่านอิมามฮุเซน(.)ได้รับการลิขิตให้เป็นชะฮีด เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการฟื้นฟูประชาชาติของท่านนบี(..)[6]ให้เป็นผลสำเร็จ
3.
อิมามฮุเซน(.)ถือว่าการเป็นชะฮีดคือการสิ้นชีพที่งดงามที่สุด สังเกตุได้จากคุตบะฮ์ของท่านขณะเดินทางจากมักกะฮ์สู่แผ่นดินอิรักที่ว่า "ความตายมีความงดงามสำหรับเผ่าพันธุ์นบีอาดัมเสมือนสร้อยที่ประดับประดาต้นคอหญิงสาว"[7] กล่าวคือ ความตายไม่ไช่สิ่งน่าเกลียดน่ากลัว แต่เป็นเครื่องประดับเสมือนสร้อยคอ แน่นอนว่าคนเราย่อมเลือกความตายในหนทางของอัลลอฮ์มาประดับประดาตนเอง สำหรับอิมามฮุเซน(.)แล้ว ความตายลักษณะนี้มีรสหอมหวานดุจน้ำผึ้ง[8] การเป็นชะฮีดมิไช่ภยันตราย ที่จะต้องร้องขอให้มะลาอิกะฮ์ช่วยให้พ้นภัยพาน ทว่าเป็นความสมบูรณ์ ดังกรณีของนบีอิบรอฮีม(.)ที่ถือว่าการเป็นชะฮีดคือความสมบูรณ์ ทำให้ไม่กลัวกองเพลิงและไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากญิบรออีล เพราะท่านรำลึกถึงพระองค์ตลอดเวลา[9]
4.
การบรรลุถึงพระเจ้าและโอกาสที่จะได้พบบรรดานบีเป็นสิ่งที่ท่านอิมามฮุเซน(.)ปรารถนายิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ยุคนั้น ดังที่ท่านกล่าวในคุตบะฮ์ที่มักกะฮ์ว่า "ความปรารถนาจะได้พบบรรพบุรุษของฉัน เสมือนความปรารถนาของนบียะอ์กู้บที่อยากพบนบียูซุฟ"[10]
5. อิมามฮุเซน(.)ไม่ประสงค์ที่จะใช้อภินิหาร ทั้งที่ท่านสามารถจะกำราบศัตรูได้ด้วยมุอ์ญิซาตหรืออภินิหารที่พระองค์ประทานให้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากมวลมะลาอิกะฮ์หรือเหล่าญินเลยแม้แต่น้อย แต่การใช้อภินิหารย่อมขัดต่อวิถีของปุถุชนทั่วไปที่ท่านอิมามยึดถือ เกียรติยศที่ท่านอิมามฮุเซน(.) มีในสายตาของมวลมุสลิมและเหล่าผู้เรียกร้องเสรีภาพทั่วไป ล้วนได้มาจากการที่ท่านต่อสู้ด้วยวิธีปกติ
การที่ท่านเดินทางพร้อมด้วยเครือญาติ เพื่อไปเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีกำลังพลมากกว่าหลายเท่า การที่เครือญาติของท่านตกเป็นเชลยศึกและถูกหมิ่นศักดิ์ศรีต่างๆนานา เหล่านี้เป็นเหตุให้การต่อสู้ของท่านเป็นอมตะ 



[1] อัลลามะฮ์มัจลิซี, บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 44,หน้า 330, สถาบันอัลวะฟาอ์, เบรุต เลบานอน

[2] ซัยยิด อิบนิ ฏอวู้ส, ลุฮู้ฟ, หน้า 141, แปล: มีร อบูฏอลิบี และซัยยิด อบุลฮะซัน, สำนักพิมพ์ ดะลีเลมอ, กุม, พิมพ์ครั้งแรก

[3] เชคศ่อดู้ก, อะมาลี, แปล: มุฮัมมัด บากิร โคมเระอี, หน้า 638, อิสลามียะฮ์, เตหราน ... ยังมีฮะดีษที่คล้ายกันนี้ในกาฟีย์ด้วย, อัลกาฟีย์, เล่ม 1,หน้า 283,284

[4] อัลอันฟ้าล, 9

[5] ดู: มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, สายฟ้าจากท้องฟ้ากัรบะลา, จากหน้า 44-66, สำนักพิมพ์สถาบันศึกษาและวิจัย อิมามโคมัยนี

[6] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 329

[7] อ้างแล้ว,เล่ม 44,หน้า 366 และ มุฮัดดิษ อัรดะบีลี, กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์ ฟี มะอ์ริฟะติลอะอิมมะฮ์,เล่ม 2,หน้า 29 และ ลุฮู้ฟ,หน้า 110,111

[8] ดู: .อับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี, ความเจริญของปัญญาด้วยแสงแห่งการต่อสู้ของอิมามฮุเซน,หน้า 28-30

[9] อ้างแล้ว,หน้า 27

[10] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 366 และ กัชฟุลฆุมมะฮ์ ฟี มะอ์ริฟะติลอะอิมมะฮ์,เล่ม 2,หน้า 29 และ ลุฮุ้ฟ,หน้า 110,111

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7539 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • อิมามฮุเซน (อ.) เคยเขียนจดหมายถึงฮะบีบบินมะซอฮิรโดยมีความว่า من الغریب الی الحبیب ไช่หรือไม่?
    5579 تاريخ بزرگان 2554/12/10
    เราไม่เจอประโยคที่กล่าวว่าمن الغریب الی الحبیب (จากผู้พลัดถิ่นถึงฮะบีบ)ในหนังสือฮาดีษหรือตำราที่เกี่ยวกับการไว้อาลัยของชีอะฮ์เช่นลุฮูฟของซัยยิดอิบนิฏอวูสแต่อย่างใดจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าอิมามฮุเซน (อ.)กล่าวประโยคดังกล่าวสิ่งที่ยืนยันได้ก็คือฮะบีบบินมะซอฮิรเป็นหนึ่งในสาวกที่มีความซื่อสัตย์ต่ออิมามฮุเซน (อ.) เขาเข้าร่วมในการรบและเป็นชะฮีด[1]
  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    5341 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8378 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10315 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9006 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • ฮะดีษว่าด้วยการต่อสู่ในยุคสุดท้ายที่เริ่มจากอิหร่านเชื่อถือได้เพียงใด?
    16775 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ตำราทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่รายงานพ้องกันว่าจะมีขบวนการต่อสู้ครั้งสำคัญเกิดขึ้นเพื่อเป็นการปูทางสู่การปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยเหล่าผู้ถือธงดำในขบวนการนี้จะเป็นผู้เตรียมความพร้อมก่อนที่อิมามมะฮ์ดีจะขึ้นปกครองโลกทั้งผอง[1]รัฐบาลตระเตรียมการของชาวอิหร่านเพื่อปูทางสู่รัฐของอิมามมะฮ์ดีมีสองระยะด้วยกัน:หนึ่ง. เริ่มต่อสู้โดยการชี้นำของบุรุษชาวเมืองกุมซึ่งเป็นไปได้ว่าขบวนการของเขาเป็นจุดเริ่มต้นของการปรากฏกายของอิมามเนื่องจากมีฮะดีษระบุว่าขบวนการของอิมามจะเริ่มจากทางทิศตะวันออก.[2]สอง. การเรืองอำนาจโดยซัยยิดโครอซอนีโดยการสนับสนุนของผู้บัญชาการทัพชื่อชุอัยบ์บินศอลิห์[3]ดังที่กล่าวไปแล้วฮะดีษที่เกี่ยวกับการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีบทหนึ่งระบุว่า:....عَنْ عَلِیِّ بْنِ عِیسَى عَنْ أَیُّوبَ بْنِ یَحْیَى الْجَنْدَلِ عَنْ أَبِی الْحَسَنِ الْأَوَّلِ ع قَالَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ قُمَّ یَدْعُو النَّاسَ إِلَى الْحَقِّ یَجْتَمِعُ مَعَهُ ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5986 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5081 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16918 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25182 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...