การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7587
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8506 รหัสสำเนา 20879
คำถามอย่างย่อ
การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
คำถาม
ล่าสุดมีบางกลุ่มที่ถือว่าตนไม่ไช่วะฮาบีแต่มีความเชื่อคล้ายพวกวะฮาบี อ้างว่าความขัดแย้งระหว่างมุสลิมเกิดจากการยึดถือฮะดีษ และเชื่อว่าวิชาริญ้าลไม่น่าเชื่อถือ เพราะทำให้ชีอะฮ์และซุนหนี่วินิจฉัยหุกุ่มศาสนาต่างกัน วิธีแก้ก็คือการยึดถือเพียงกุรอานและตัดฮะดีษออกไปจากสารบบนิติศาสตร์อิสลาม หน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังท่านนบีจำกัดเพียงในวงเนื้อหากุรอานเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ถือว่าเป็นคำแนะนำ มิไช่ข้อบังคับ
คำถามแรก. คำตอบใดตอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้ดีที่สุดจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา?
คำถามที่สอง. กลุ่มดังกล่าวเป็นใครมาจากใหนกันแน่?
คำตอบโดยสังเขป

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้น เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)
ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[i]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า ท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง



[i] อัลฮัชร์,7

คำตอบเชิงรายละเอียด

ข้อครหาดังกล่าวมิไช่ประเด็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นประเด็นต้นๆที่เกิดขึ้นภายหลังนบีเสียชีวิต หรืออาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ท่านนบี(..)ยังมีชีวิตอยู่แล้วโดยบุคคลบางคน
เราจึงขอเท้าความถึงภูมิหลังดังกล่าวเสียก่อน แล้วจึงวิเคราะห์และตอบคำถาม

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) ท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่าน เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)

เราขออ้างอิงจากตำราที่น่าเชื่อถือที่สุดของพี่น้องซุนหนี่ดังนี้
เศาะฮี้ห์บุคอรี, มุสลิม, มุสนัดอะห์มัด ฯลฯ รายงานว่า อิบรอฮีม บิน มูซารายงานจาก ฮิชาม บินมุอัมมัร จากอับดุลลอฮ์ บินมุฮัมมัด จากอับดุรร็อซซ้าก จากมุอัมมัร จากซุฮ์รี จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน อับบาสว่า อิบนิ อับบาสเคยกล่าวว่า ช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านนบี(..)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเข้าพบท่านนบี ซึ่งอุมัร บิน ค็อฏฏ้อบก็อยู่ในจำนวนนั้นด้วย ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงมาใกล้ๆเถิด เพื่อจะเขียนบางสิ่งที่พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางหลังจากฉันอุมัรพูดขึ้นว่าความเจ็บปวดมีอิทธิพลเหนือท่าน พวกเจ้ามีกุรอานอยู่แล้ว คัมภีร์ของอัลลอฮ์เพียงพอแล้วสำหรับเรา[1] พลันเศาะฮาบะฮ์เกิดมีปากเสียงต่อหน้าท่านนบี(..) ท่านจึงสั่งว่าจงลุกไปจากฉัน ไม่บังควรที่จะต่อล้อต่อเถียงกันต่อหน้าฉัน[2]
อุบัยดุลลอฮ์เล่าว่า อิบนิ อับบาสโอดครวญว่าโศกนาฏกรรมเริ่มตั้งแต่พวกเขาขวางกั้นมิให้ท่านบันทึกคำสั่งเสีย[3]

คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา และยังถือเป็นคำตอบสำหรับแนวคิดของเคาะลีฟะฮ์ที่สองได้อีกด้วย

เหตุผลที่หนึ่ง: สติปัญญา
สมมุติว่ามุสลิมทั้งโลกเชื่อว่ากุรอานเพียงพอแล้ว และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษ ถามว่าความเชื่อนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่?
หากจะเชื่อถือเพียงกุรอาน ถามว่าทุกคนเข้าใจกุรอานไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่?
แม้ว่าทุกคนทราบคำตอบได้ด้วยสามัญสำนึก แต่เราขอชี้แจงเรื่องดังกล่าวพอสังเขปตามแนวคิดที่ว่าเราจะเชื่อว่าสิ่งใดเกิดขึ้น ต้องสังเกตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง

. เป็นที่ทราบกันดีว่าในหมู่พี่น้องมุสลิมเอง ไม่ว่าซุนหนี่หรือชีอะฮ์ ก็มิได้เข้าใจโองการกุรอานในทิศทางเดียวกัน กล่าวได้ว่ามีหลักศรัทธาหรือข้อบังคับไม่กี่ข้อที่นักอธิบายกุรอานทุกคนจะมีทัศนะเป็นเอกฉันท์[4]

. ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ทั้งนี้ ถามว่ารายละเอียดข้อบังคับศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?

. หากเราเชื่อดังที่กล่าวมา แล้วจะทำอย่างไรกับตำราฮะดีษที่มีจำนวนมากมายมหาศาลของพี่น้องซุนหนี่ อาทิเช่น เศาะฮี้ห์บุคอรี มุสลิม สุนันอบีดาวู้ด สุนันติรมิซี สุนันนะซาอี สุนันอิบนิมาญะฮ์ และอีกเป็นร้อยเป็นพันเล่ม

เหตุผลที่สอง: มติปวงปราชญ์(อิจมาอ์)
ปัจจุบันนี้ ทุกมัซฮับไม่ว่าจะเป็นมัซฮับหลักความเชื่อหรือมัซฮับฟิกเกาะฮ์ล้วนเห็นพ้องกันว่าเราขาดฮะดีษไม่ได้ ไม่มีฟะกี้ฮ์หรือนักเทววิทยามุสลิมคนใดที่เชื่อว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษในภาคความเชื่อและภาคปฏิบัติ[5]

เหตุผลที่สาม: กุรอาน
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตมอบให้ก็จงรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่ศาสนทูตยับยั้งก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[6]
แม้ว่าโองการข้างต้นจะประทานมาในเหตุการณ์แบ่งสินสงครามบนีนะฎี้รก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นพระดำรัสในเชิงกว้าง จึงครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิมทุกคน[7] และเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าสามารถยึดถือซุนนะฮ์นบี(..)ได้[8]

หลักการดังกล่าวสอนว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของท่านนบี(..)โดยดุษณี ไม่ว่าจะในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ อิบาดะฮ์ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โองการดังกล่าวเตือนว่าผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษแสนสาหัส[9]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
ในจุดนี้ บางท่านอาจสงสัยว่าเหตุใดอัลลอฮ์จึงสั่งให้มนุษยชาติเชื่อฟังท่านนบี(..)โดยปราศจากข้อแม้ใดๆ?
เราจะตอบปัญหาข้างต้นได้ก็ต่อเมื่อยอมรับเสียก่อนว่าท่านและวงศ์วานของท่านล้วนเป็นผู้มีภาวะไร้บาป(มะอ์ศูม)
ฮะดีษมากมาย[10]ระบุว่า เหตุที่อัลลอฮ์ทรงประทานอำนาจหน้าที่แก่ท่านนบีถึงเพียงนี้ก็เพราะว่าทรงพิจารณาแล้วว่าท่านนบีเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมอันยิ่งใหญ่[11] 

เหตุผลที่สี่: ฮะดีษ
มีฮะดีษมากมายทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่รณรงค์ให้ยึดถือฮะดีษ อาทิเช่นฮะดีษษะเกาะลัยน์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษของซุนหนี่และชีอะฮ์อย่างเป็นเอกฉันท์
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า อัสวัด บินอามิร รายงานจากอบูอิสรออีล (อิสมาอีล บิน อิสฮ้าก มุลาอี) จากอะฎียะฮ์ จากอบูสะอี้ด รายงานว่าท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร[12]
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง

สรุปคือ หนึ่ง.เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับและดำเนินชีวิตตามวิถีมุสลิมโดยปราศจากฮะดีษ สอง. สมมุติว่าไม่พึ่งพาฮะดีษ ความขัดแย้งก็หาได้ลดลงไม่ อาจจะมากกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ



[1] บทที่รายงานโดยอิบนิอุมัร “...แท้จริงนบีกำลังเพ้อเจ้อ”,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333

[2] เศาะฮี้ห์บุคอรี,เล่ม 17,หน้า 417,ฮะดีษที่ 5237, และเศาะฮี้ห์มุสลิม,เล่ม 8,หน้า 414, และมุสนัดอะห์มัด,เล่ม 6,หน้า 368,478, ที่มา: http://www.al-islam.com

[3] ฮิลลี่,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333,สำนักพิมพ์ดารุ้ลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407

[4] กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจากตำราตัฟซี้รของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์

[5] อิจมาอ์ในที่นี้มิได้หมายถึงอิจมาอ์เชิงฟิกเกาะฮ์ แต่หมายถึงทัศนะอันเป็นเอกฉันท์ที่สามารถเป็นหลักฐานสำหรับเราได้

[6] อัลฮัชร์, 7 وَ ما آتاکُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَ ما نَهاکُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا وَ اتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدیدُ الْعِقابِ

[7] المورد لا یخصّص الوارد

[8] ฟัครุดดีน รอซี, อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บินอุมัร, มะฟาตีฮุ้ลฆ็อยบ์,เล่ม 29,หน้า 507,สำนักพิมพ์ดารุอิห์ยาอิตตุร้อษ อัลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งที่สาม,..1420

[9] و الأجود أن تکون هذه الآیة عامة فی کل ما آتى رسول اللَّه و نهى عنه و أمر الفی‏ء داخل فی عمومه : เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซานฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 19,หน้า 353,สำนักพิมพ์อินติชาร้อตอิสลามีของญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันการศาสนาเมืองกุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า /อายะฮ์นี้มิได้จำกัดเนื้อหาไว้เพียงเหตุการณ์ที่ประทานลงมาในเรื่องสัดส่วนของสินสงคราม แต่ครอบคลุมคำสั่งและข้อห้ามปรามทั้งหมดของท่านนบี(..)

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 507- 508, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1375

[11] มีฮะดีษที่กล่าวถึงประเด็นนี้จำนวนมาก โปรดอ่านตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 5,หน้า 279-283
ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 509,510

[12] มุสนัดอะห์มัด,เล่ม 22,หน้า 226,252,324 เล่ม 39,หน้า 308

حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ أَخْبَرَنَا أَبُو إِسْرَائِیلَ یَعْنِی إِسْمَاعِیلَ بْنَ أَبِی إِسْحَاقَ الْمُلَائِیَّ عَنْ عَطِیَّةَ عَنْ أَبِی سَعِیدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَیْهِ وَسَلَّمَ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمْ الثَّقَلَیْنِ أَحَدُهُمَا أَکْبَرُ مِنْ الْآخَرِ کِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنْ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِی أَهْلُ بَیْتِی وَإِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    6407 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    6954 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8145 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12636 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6155 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    5957 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6209 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    21565 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8127 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9074 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59384 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56832 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41663 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38412 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38411 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33442 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27535 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27230 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27124 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25197 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...