การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7392
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa866 รหัสสำเนา 17841
คำถามอย่างย่อ
ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
คำถาม
ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
คำตอบโดยสังเขป

จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์

ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง

ด้วยเหตุนี้เอง หลังจากเหตุผลเกี่ยวกับชัยฏอนได้สมบูรณ์แล้ว ซึ่งเขาได้แสดงความจองหองในเรื่องราวเกี่ยวกับอาดัม อัลลอฮฺจึงกล่าวกับมารอย่างรุนแรงด้วยความโกรธกริ้ว ซึ่งทำให้ระดับชั้นของมารต่ำลงมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อพิจารณาอัลกุรอาน เช่น โองการที่ 50 บทอัลกะฮฺฟ์ หรือโองการที่ 31 บทฮิจญฺร์ ได้บทสรุปว่า ชัยฏอน (อิบลิส) มาจากหมู่ชนของญิน แต่เนื่องจากการอิบาดะฮฺจำนวนมากมาย ชัยฏอนจึงได้ถูกเลื่อนชั้นให้ทัดเทียมมลาอิกะฮฺ. เรื่องราวเกี่ยวกับความจองหองอวดดีของชัยฏอน (บททดสอบที่มีต่อมาร) มีประมาณ 7 เรื่องด้วยกันที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซึ่งแต่ละบทได้ให้บทเรียนอันสูงส่งแก่มวลมนุษย์ ซึ่งจะขอระบุเรื่องราวเหล่านั้นไว้เป็นส่วนดังนี้ :

- อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ซัจญฺดะฮฺอาดัม (อ.)

- ความแตกต่างอันพิเศษของอาดัมที่มีเหนือพวกเขา.อัลลอฮฺจึงมีบัญชาให้ซัจญฺดะฮฺอาดัม

- อิบลิส ดื้อรั้นไม่ยอมซัจญฺอาดัม

- คำตอบของอิบลิส อธิบายถึงสาเหตุของความจองหอง: “กล่าวว่า ข้าฯจะไม่กราบมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างเขาจากดินแห้ง แห่งตมดำขึ้นเป็นรูปร่าง”[1]

หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า "ข้าฯ ประเสริฐกว่าเขา เพราะพระองค์ได้ทรงบังเกิดข้าฯจากไฟ และได้ทรงบังเกิดเขาจากดิน”[2]

และนี่คือการทดสอบอันยิ่งใหญ่ ทั้งที่ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺมานานหลายพันปี ดังคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่ว่า : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).[3]

แต่หลังจากการทดสอบแล้วชัยฏอนได้กลายเป็นสิ่งมีอยู่ที่เลวและต่ำทรามที่สุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับมารว่า “ดังนั้นเจ้าจงออกไปจากที่นี่แท้จริงเจ้าเป็นผู้ถูกขับไล่”[4] “แท้จริง การสาปแช่งจะมีแก่เจ้า ตราบจนกระทั่งวันแห่งการตอบแทน”[5] ตรงนี้เองที่เราต้องระมัดระวังตัวเป็นอย่างดี ใคร่ครวญเสมอว่า หากอัลลอฮฺทรงประทานความสัมฤทธิผลแก่เรา และเราได้ก้าวเดินไปบนหนทางที่ถูกต้องเพียงชั่วประเดี๋ยวเดียว ซึ่งจำเป็นต้องรักษาระดับความดีนั้นไว้อย่างมั่นคง เนื่องจากโลกอยู่ท่ามกลางการล่มสลายและการเปลี่ยนแปลง. มนุษย์เราตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้เวลาให้ผ่านพ้นไปบนความถูกต้อง เพราะเป็นไปได้ที่วิกฤติจะผันแปรไปสู่ความตกต่ำ ด้วยเหตุนี้เอง เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องวอนขอต่ออัลลอฮฺ ให้พระองค์โปรดทรงทำให้บั้นปลายสุดท้ายของเราดีเสมอ. ในทางตรงกันข้ามชัยฏอนหลังจากได้ถูกขับไล่แล้ว และพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาจริงจังเสียแล้ว และมารได้ตกจากตำแหน่งอันสูงส่งที่ตนเคยได้รับ ไปสู่ความต่ำต้อยด้วยสาเหตุเพียงแค่ตนไม่ยอมซัจญฺดะฮฺอาดัมตามบัญชาของอัลลอฮฺ. ทำให้เกิดความอาฆาตแค้นและอคติในใจที่มีต่ออาดัมมาโดยตลอด มารกล่าวว่า : “พระองค์ทรงเห็นแล้วมิใช่หรือ เขาผู้นี้ที่พระองค์ทรงให้เกียรติมากกว่าข้าฯ หากพระองค์ทรงได้โปรดประวิงเวลาแก่ข้าฯ จนถึงวันกิยามะฮฺ แน่นอนข้าฯจะทำลายล้างลูกหลานของเขาให้หมดสิ้น เว้นแต่เพียงเล็กน้อย (ที่ข้าไร้สามารถในการทำลาย)”[6]

อัลกุรอาน บางโองการ กล่าวว่า ...”ขอสาบานด้วยอำนาจของพระองค์ ข้าฯจะลวงให้พวกเขาหลงทางทั้งหมด”[7]

ตามคำอธิบายของบทนำเบื้องตนเป็นที่ประจักษ์ว่า หนึ่ง : ชัยฏอนมารร้ายมาจากหมู่ชนของญิน. และพวกเขาต่างมีหน้าที่เหมือนกับมนุษย์ “ดังนั้น จงกราบคารวะต่ออาดัม พวกเขาก็กราบคารวะ เว้นแต่อิบลิส”[8] “ข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่อการใด นอกเสียจากเพื่อแสดงความเคารพภักดีต่อข้า”[9]

ญินเป็นหนึ่งในชัยฏอนที่คงเหลืออยู่ มารได้ปาวนาตนไปอยู่บนหนทางสองแพ่ง ซึ่งจำเป็นต้องเลือกทางหนึ่งทางใด ถ้าหากมารยอมรับความจริงเขาย่อมได้รับรางวัลตอบแทน แต่ถ้าเขาเลือกสิ่งไม่ถูกต้องย่อมได้รับการลงโทษแน่นอน. โองการที่ 56 บทอัซซารียาต ที่กล่าวมาได้บ่งบอกให้เห็นว่า ญินและมนุษย์มีส่วนร่วมในเรื่องอิบาดะฮฺ ประกอบกับอัลกุรอานได้กล่าวคำพูดของญินว่า พวกเขาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือญินที่ดีและไม่ดี : “แท้จริง ในหมู่พวกเรามีคนดีและคนไม่ดี และพวกเราอยู่ในกลุ่มที่แตกต่างกัน”[10]

สอง : ความเมตตาและความการุณย์อันยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวอิบลิสก็คือ อันดับแรกอิบบลิสประสบความสำเร็จได้ประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง : เนื่องจากอิบลิสได้อิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงถูกยกระดับให้ทัดเทียมกับมลาอิกะฮฺ จนกระทั่งว่าพวกเขาได้อยู่ในระดับชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวการซัจญฺดะฮฺที่มีต่ออาดัม ซึ่งมารได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺแต่มารมิได้มาจากหมู่มลาอิกะฮฺ อัลกุรอาน กล่าวว่า “ดังนั้น มลาอิกะฮฺทั้งหมดได้ก้มกราบ เว้นแต่อิบลีส ได้ปฏิเสธที่จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้กราบ”[11] สิทธิอันยิ่งใหญ่สุดในการช่วยเหลือชัยฏอน (อิบลิส) ก็คือ มารได้ถูกยกระดับให้อยู่ร่วมกับมวลมลาอิกะฮฺ ได้รับความสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งเงื่อนไขประการหนึ่งหนึ่งในระบบการสร้างก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ เหตุผลได้สมบูรณ์แล้ว (เนื่องจากได้อิบาดะฮฺและอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺ) เรื่องราวเกี่ยวกับชัยฏอน ซึ่งมารได้แสดงความโอหังไม่กราบอาดัมตามบัญชา และได้กล่าวกับอาดัมด้วยคำพูดรุนแรง อัลลอฮฺทรงพิโรธยิ่งทรงปล่อยให้เขาตกต่ำและทรงลงโทษอย่างสาหัส



[1] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 33.

[2] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ 12.

[3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, ตัสฮีฮฺ ซุบฮิซอลิฮฺ, คำเทศนากอซิอะฮฺ, หน้า 287.

[4] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 34.

[5] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 35.

[6] อัลกุรอาน บทอัสรออฺ, 62.

[7] มุฮัมมัด ตะกี มิซบาฮฺ ยัซดี, มะอาริฟกุรอาน, ภาคที่ 2, หน้า 299, มุอัซเซะเซะ ดัรเราะเฮฮัก.

[8] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟฺ, 50.

[9] อัลกุรอาน บทซารียาต, 56.

[10] อัลกุรอาน บทญิน, 11

[11] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 31.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8835 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • ถ้าหากศาสนาถูกส่งมาเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของโลก และปรโลกของมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุใดโลกบางส่วนที่มิใช่สังคมศาสนาจึงมีความก้าวหน้ามากกว่าสังคมศาสนา?
    5753 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ศาสนาอิสลามมาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งหลายและเป็นกฎเกณฑ์สำหรับมนุษยชาติ.ดังที่เราจะเห็นว่ามะดีนะตุลนบี (ซ็อลฯ) คือตัวอย่างสังคมแห่งกฎเกณฑ์หมายถึงมนุษย์ทุกคนได้สร้างความสัมพันธ์ต่อกันภายใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกันท่านชะฮีดซ็อดร์
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6170 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7990 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6633 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • มีหลักฐานอะไรที่จะบ่งบอกว่าชิมร์ได้บั่นศีรษะท่านอิมามฮุเซน (อ.) จากด้านหลังบ้าง?
    5763 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    มีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ในหลายๆเหตุการณ์ด้วยกันอาทิเช่น1.           ท่านหญิงซัยนับ (อ.) กล่าวว่า ".... یا محمداه بناتک سبایا و ذریتک مقتلة تسفی علیهم ریح الصبا و هذا حسین مجزوز الرأس من القفا .." (...โอ้ท่านตาขณะนี้หลานสาวของท่านล้วนถูกจับเป็นเชลย,บุตรหลานของท่านถูกเข่นฆ่า, สายลมพัดผ่านเรือนร่างของพวกเขา, และนี่คือฮูเซน (อ.) ที่ถูกบั่นศีรษะจากด้านหลัง...)  
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8305 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การเล่นนกพิราบในอิสลามมีกฎอย่างไรบ้าง, เพราะเหตุใด?
    7752 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    การกระทำดังกล่าวโดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหาทางชัรอียฺแต่อย่างใดแต่โดยปกติแล้วถ้าเป็นการกลั่นแกล้งคนอื่นหรือเพื่อนบ้านซึ่งในบางพื้นที่ประชาชนจะมองว่าเขาเป็นคนมักง่ายเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการกระทำเช่นนั้นมีปัญหา, ด้วยเหตุนี้มัรญิอฺตักลีดจึงได้มีทัศนะเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากกระทำนั้นไว้ดังนี้:สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอียฺ (
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7241 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25182 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...