การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6908
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8723 รหัสสำเนา 15157
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษ“หากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”มีสายรายงานอย่างไร? กรุณาชี้แจงความหมายด้วยครับ
คำถาม
ฮะดีษ“หากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”มีสายรายงานอย่างไร? กรุณาชี้แจงความหมายด้วยครับ
คำตอบโดยสังเขป
ผู้เขียนหนังสือญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์ได้อ้างอิงฮะดีษนี้จากหนังสือกัชฟุ้ลลิอาลีประพันธ์โดย ศอลิห์ บิน อับดิลวะฮาบ อร็อนดิส นอกจากนี้หนังสือมุสตัดร็อก สะฟีนะตุ้ลบิฮารก็ได้รายงานจากหนังสือมัจมะอุ้นนูร็อยน์ประพันธ์โดย มัรฮูม ฟาฎิล มะร็อนดี และผู้ประพันธ์หนังสือฎิยาอุ้ลอาละมีนซึ่งเป็นตาของเจ้าของผลงานญะวาฮิรุ้ลกะลาม ก็ได้รายงานฮะดีษนี้ไว้เช่นกัน
หากจะอธิบายประโยคที่ว่าหากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์ ฉันจะไม่สร้างเจ้าทั้งสอง(นบีและอิมามอลี)”ก็สามารถตีความได้ว่า หากไร้ซึ่งฐานะภาพแห่งความเป็นบ่าว ฐานะภาพแห่งการเป็นนบีและอิมามก็จะไม่มีวันบรรลุเป้าประสงค์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากนุบูวัตและอิมามัตเป็นทางผ่านไปสู่ความเป็นบ่าวของอัลลอฮ์โดยดุษณี แม้ว่าท่านนบี(..)และท่านอิมามอลี(.)จะมีฐานะภาพดังกล่าว แต่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีฐานะภาพดังกล่าวชัดเจนกว่า เนื่องจากไม่ดำรงตำแหน่งอื่นเช่นนุบูวัตและอิมามัต ด้วยเหตุนี้ ฮะดีษดังกล่าวจึงเน้นย้ำเกี่ยวกับท่านหญิงเป็นพิเศษ.
คำตอบเชิงรายละเอียด

มีฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงฐานะภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางฮะดีษระบุว่าเธอมีฐานะภาพพิเศษอันน่าพิศวง ฮะดีษบางบทกล่าวว่า คำว่าฟาฏิมะฮ์หมายถึงสตรีที่คนทั่วไปไม่อาจล่วงรู้ฐานะภาพที่แท้จริงของเธอได้[1] ประหนึ่งว่ารหัสยะของอัลลอฮ์แฝงอยู่ในท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซึ่งหากสามารถรู้จักฐานะภาพที่แท้จริงของเธอ ก็จะทำให้สามารถรู้จักพระองค์อย่างถ่องแท้ได้ ดังที่สถานะความเป็นฟาฏิมะฮ์ก็ทำให้ทราบถึงสถานะอันได้รับการปกปิดไว้ในเขตหวงห้ามของอัลลอฮ์เกินกว่าผู้ใดจะเข้าถึง

เป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มิได้เป็นทั้งนบีและอิมาม นั่นแสดงว่าตัวแปรที่ทำให้ท่านหญิงได้รับฐานะภาพอันสูงส่งนี้มิไช่ตำแหน่งนุบูวัตและอิมามัต ตัวแปรอันเปรียบประดุจอัญมณีน้ำงามนี้ ไม่ว่าเราจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่อาจเข้าถึงแก่นแท้ได้ แต่หากจะถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ก็คงจะบัญญัติศัพท์ได้ว่าอัญมณีแห่งความเป็นบ่าว(อับด์)” อันหมายถึงการเป็นบ่าวของอัลลอฮ์โดยดุษณี สลายอัตตาและเชื่อมั่นอย่างสุดใจว่าทุกอย่างเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮ์ สิ่งนี้ทำให้บ่าวมีสถานะเปรียบดังกระจกเงาที่สะท้อนความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านอิมามญะอ์ฟัร(.)กล่าวไว้ว่าการเป็นบ่าวคืออัญมณีที่มีภาวะแห่งพระผู้อภิบาลเป็นแกนกลาง[2] อัญมณีเม็ดนี้แหล่ะ ที่เป็นความเร้นลับสุดยอดของวิถีแห่งอิรฟานที่มนุษย์แสวงหา

มีฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า การรู้จักท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ไม่ต่างจากการค้นพบลัยละตุ้ลก็อดร์[3] บรรดานักจาริกจิตวิญญาณทุกคนปรารถนาจะเข้าถึงแก่นแท้ของลัยละตุ้ลก็อดร์ และอาริฟที่บรรลุความใกล้ชิดพระองค์แล้วเท่านั้นที่จะได้สัมผัสการประทานกุรอานในค่ำคืนนี้
ในขณะที่บรรดาอิมาม(.)มีศักดิ์เป็นกุรอานพูดได้แสดงว่าแก่นแท้ของตำแหน่งอิมามเกี่ยวโยงกับการได้สัมผัสแก่นแท้ของกุรอาน และนี่คือเหตุผลที่ว่าแก่นแท้ของตำแหน่งอิมามมีความเชื่อมโยงกับฐานะภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์

ตำแหน่งการเป็นนบีเป็นที่ปรากฏชัดเจนสำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนตำแหน่งอิมามก็ได้รับการเผยแผ่โดยตำแหน่งนบีในฐานะผู้เติมเต็มศาสนา ซึ่งกลุ่มบุคคลพิเศษเท่านั้นที่เคารพเชื่อฟัง ตำแหน่งอิมามเองก็มีแก่นสัจธรรมประการหนึ่งที่ซ่อนเร้นจากบุคคลอื่น(นอกจากผู้ได้รับเอกสิทธิจากอัลลอฮ์) ซึ่งสัจธรรมดังกล่าวก็คือ ฐานะภาพอันลี้ลับของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ที่ปกปักษ์ไว้โดยเดชานุภาพของอัลลอฮ์และตำแหน่งอิศมัต(ไร้บาป)นั่นเอง

ฉะนั้น แก่นของนุบูวัต(ตำแหน่งนบี)ก็คืออิมามัต(ตำแหน่งอิมาม) และธาตุแท้ของอิมามัต ก็คืออุบูดียัต(ความเป็นบ่าว) สิ่งสำคัญในจุดนี้ก็คือ ท่านนบี(..)มีทั้งสามฐานะภาพดังกล่าวอย่างสมบูรณ์และเป็นหนึ่งเดียว แม้กระนั้น ความเป็นอิมามของท่านนบีเผยชัดเจนในบุคลิกของอิมามอลี(.) และสถานะความเป็นบ่าวก็เผยชัดเจนในบุคลิกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ในระดับที่นับเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละท่าน เมื่อพิจารณาลำดับฐานะภาพของท่านนบีก็จะเห็นได้ว่า ความเป็นบ่าวของท่านอยู่เหนือกว่าฐานะภาพนุบูวัตและอิมามัต ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ผิดนักที่เราจะพูดว่า สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อุบูดียัต)ก็คือฐานะภาพสูงสุดสำหรับมนุษย์ อันเป็นเป้าประสงค์ของทั้งนุบูวัตและอิมามัต

ฮะดีษหากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”
กลุ่มฮะดีษจากนบี(..)และอิมาม(.)ที่สาธยายถึงฐานะภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ตลอดจนฮะดีษกุ๊ดซี(วจนะอัลลอฮ์ในสำนวนนบี)ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้[4] ล้วนชี้ให้เห็นถึงแนวคิดที่เราได้นำเสนอข้างต้น แต่ฮะดีษที่ระบุถึงฐานะภาพอันลี้ลับของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์โดยตรง ซึ่งได้รับการบันทึกไว้โดยผู้รู้หลายท่าน ก็คือฮะดีษที่ว่า
لولاک لما خلقت الافلاک . و لولا علی لما خلقتک . و لولا فاطمه لما خلقتکما[5]
แม้ว่าในแง่ของวิชาคัดกรองสายรายงาน ฮะดีษนี้จะจัดเป็นฮะดีษฎออี้ฟแต่ผู้รู้ระดับสูงหลายท่านได้บันทึกไว้ในตำราของตน อาทิเช่น ส่วนท้ายของฮะดีษ (و لولا فاطمه لما خلقتکما) ได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือ ญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์ หน้า 148 รายงานจากหนังสือกัชฟุ้ลลิอาลี ผลงานของ ท่านศอลิห์ บิน อับดิลวะฮาบ อร็อนดิส. มุสตัดร็อก สะฟีนะตุ้ลบิฮ้าร เล่ม 3 หน้า 334 รายงานจากหนังสือ มัจมะอุ้นนูร็อยน์ เขียนโดย ฟาฎิ้ล มะร็อนดี. นอกจากนี้ผู้ประพันธ์หนังสือ ฎิยาอุ้ลอาละมีน ผู้เป็นตาของท่านผู้ประพันธ์ ญะวาฮิรุ้ลกะลาม ก็ได้รายงานไว้เช่นกัน.
มีรซอ อบุ้ลฟัฎล์ เตหรานี กล่าวไว้ในหนังสือชิฟาอุศศุดู้ร ฟี ชัรฮิ ซิยาเราะตุ้ลอาชู้รหน้า 84 ว่าศอลิห์ บิน อับดิลวะฮาบและสายรายงานบางคนของเขาไม่เป็นที่รู้จัก แต่ก็มิได้หมายความว่าฮะดีษนี้ถูกกุขึ้นมา
ไม่ไช่เรื่องแปลกที่ฮะดีษที่เกี่ยวกับฐานะภาพอันสูงส่งของบรรดามะอ์ศูมีนจะมีสายรายงานที่ไม่เป็นที่รู้จักนัก ทั้งนี้เพราะในยุคของบรรดาอิมาม แม้ว่านักรายงานฮะดีษที่เกี่ยวกับบทบัญญัติฟิกเกาะฮ์จะที่ไม่เป็นที่จับตาของทางการ แต่นักรายงานฮะดีษที่เกี่ยวกับหลักศรัทธามักจะต้องหลบหลีกการจับตาเป็นพิเศษ จึงทำให้ไม่เป็นที่รู้จักในแวดวงนักรายงานฮะดีษ ส่งผลให้ไม่สามารถยืนยันสถานะทางฮะดีษศาสตร์ได้อย่างชัดเจน แต่กระนั้น การที่สายรายงานเหล่านี้ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่ได้ทำลายความน่าเชื่อถือของฮะดีษแต่อย่างใด โดยเฉพาะหากมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขวิชาการ อย่างไรก็ดี การที่บรรดาอิมามมักจะปรารภเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้กับนักรายงานฮะดีษกลุ่มนี้เสมอ ทำให้ทราบว่าคนกลุ่มนี้อาจจะเป็นสหายผู้รักษาความลับดังที่จะเห็นว่าฮะดีษประเภทดังกล่าวรายงานโดยบุคคลกลุ่มนี้บ่อยครั้ง[6]

ส่วนในแง่เนื้อหานั้น  ฮะดีษดังกล่าวประกอบด้วยสามส่วนด้วยกัน:
1. 
มนุษย์ผู้สมบูรณ์คือจุดประสงค์ของการสรรสร้างจักรวาล
2. การที่อิมามัตเหนือกว่านุบูวัต
3. การที่อุบูดียัตเหนือกว่าทั้งสองฐานะภาพข้างต้น
ประเด็นที่หนึ่งอ้างอิงจากประโยคแรกในฮะดีษที่ว่าหากไร้ซึ่งเจ้า(นบี) ข้าก็จะไม่สร้างจักรวาล" ซึ่งได้รับการยืนยันจากฮะดีษอื่นๆเช่นกัน ประโยคดังกล่าวต้องการจะสื่อว่าการกำเนิดมนุษย์ผู้สมบูรณ์คือเป้าหมายของการสร้างทุกสรรพสิ่ง เพราะอัลลอฮ์ทรงให้ความสำคัญแก่เขาในฐานะที่เป็นผู้สนองเจตน์จำนงของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน เกี่ยวกับเรื่องนี้มีการอธิบายโดยผู้รู้สายจิตนิยมมากมาย ซึ่งจะขอหยิบยกมากล่าว  ที่นี้เพียงตัวอย่างเดียวดังต่อไปนี้:
หากไม่มีมิติแห่งเอกานุภาพของอัลลอฮ์ ก็จะไม่มีมิติแห่งพหุลักษณ์ของสรรพสิ่งต่างๆ หลักความสอดคล้องกันระหว่างปฐมเหตุและผลลัพท์กำหนดว่า ระหว่างปฐมเหตุซึ่งเป็นเอกะในทุกมิติ และผลลัพท์ซึ่งเป็นพหุลักษณ์นั้น จะต้องมีสิ่งที่เชื่อมต่อกัน โดยมีสถานะเชิงเอกะในด้านความสัมพันธ์กับปฐมเหตุ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถสอดรับกับพหุลักษณ์ที่มีในสรรพสิ่งต่างๆได้ ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นในชั้นมิติแห่งจิตเท่านั้น  ไม่ไช่ว่าทุกจิตสามารถเป็นโซ่ข้อกลางได้ แต่จิตของนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)เท่านั้นที่มีศักยภาพที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว ฉะนั้น หากไร้ซึ่งจิตของท่านนบี จักรวาลนี้ก็จะไร้ซึ่งจุดเชื่อมต่อที่มีสถานะเป็นเอกะ ซึ่งพหุลักษณ์ของทุกสรรพสิ่งก็จะไม่เกิดขึ้น.[7]

ส่วนประโยคต่อมาก็คือلولا علی لما خلقتکประโยคนี้ต้องการสื่อว่าอิมามัตสูงส่งกว่านุบูวัต ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติเด่นของนุบูวัตหรือศาสนทูตก็คือ การเป็นทูตศาสนา ทว่าอิมามัตนั้นสูงส่งกว่าเนื่องจากเป็นตำแหน่งของผู้ที่เข้าถึงเตาฮี้ดระดับสมบูรณ์ และลอดผ่านภาวะแห่งฟะนาอ์(อนัตตา)เข้าสู่ความใกล้ชิดกับพระองค์แล้ว ด้วยเหตุนี้กุรอานจึงกล่าวถึงเรื่องราวของนบีอิบรอฮีมว่า ท่านได้ผ่านการทดสอบหลากหลายขั้นตอน จนกระทั่งบรรลุถึงตำแหน่งอิมามทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นนบีมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี แม้ท่านนบีมุฮัมมัด(..)จะบรรลุตำแหน่งอิมามก็จริง ทว่าในเมื่อท่านเป็นที่รู้จักในฐานะนุบูวัตแล้ว อิมามัตจึงกลายเป็นอัตลักษณ์ของท่านอิมามอลี(.)ในสายตาของบุคคลทั่วไป

ที่กล่าวมาทั้งหมด มิได้ต้องการสื่อว่าท่านอิมามอลี(.)มีฐานะเหนือท่านนบี(..) แต่ต้องการสื่อว่าอิมามัตเหนือกว่านุบูวัต(ที่ปราศจากอิมามัต) ทั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าท่านนบี(..)มีฐานะภาพเหนือกว่าอิมามอลี(.) ดังที่ท่านอิมามอลีกล่าวเองว่าฉันคือบ่าวทาสคนหนึ่งในจำนวนบ่าวทั้งหมดของนบีมุฮัมมัด(..)”[8]

ส่วนประโยคสุดท้ายที่ว่าหากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์ ข้าจะไม่สร้างเจ้าทั้งสอง(นบีและอิมามอลี)” สื่อถึงฐานะภาพอันสูงส่งที่แม้จะมีในตัวท่านนบีและอิมามอลีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ฐานะภาพนี้กลายเป็นอัตลักษณ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ไปโดยปริยาย ฐานะภาพสูงสุดนี้ก็คืออุบูดียัต

ฉะนั้นจึงอธิบายประโยคดังกล่าวได้ดังนี้ว่า หากไร้ซึ่งฐานะภาพแห่งอุบูดียัตแล้ว นุบูวัตและอิมามัตก็จะไม่สมบูรณ์และไม่บรรลุเป้าประสงค์ เนื่องจากทั้งนุบูวัตและอิมามัตมีไว้ก็เพื่อที่จะบรรลุสู่ความเป็นอับด์(บ่าว)ที่ยอมสยบโดยดุษณีต่อพระองค์ แต่ใช่ว่าท่านนบี(..)และอิมามอลี(.)จะไม่มีฐานะภาพนี้ ท่านทั้งสองมีฐานะภาพดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ แต่จากการที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีเพียงฐานะภาพนี้ จึงทำให้โดดเด่นเป็นพิเศษในประโยคนี้ของฮะดีษ แต่ในทัศนะของพระองค์แล้ว เบื้องต้นของดวงจิตทั้งสามท่านถือเป็นหนึ่งเดียว

ข้อสรุปของประเด็นนี้ก็คือ หากผู้ใดสามารถบรรลุถึงฐานะแห่งอุบูดียัต เขาย่อมมีฐานะ(มิไช่ภาระหน้าที่)สูงกว่านุบูวัตและอิมามัต ซึ่งจริงๆแล้ว ท่านนบี(..)และบรรดาอิมาม(.)เองก็ได้รับตำแหน่งและภาระหน้าที่แห่งนุบูวัตและอิมามัตจากการบรรลุถึงอุบูดียัตทั้งสิ้น  และอุบูดียัตนี้แหล่ะ ที่เป็นฐานะสูงสุดของนบีและบรรดาอิมามในทัศนะของอัลลอฮ์
กล่าวคือ นุบูวัตและอิมามัตเป็นฐานะภาพที่มีภาระผูกพันกับมนุษย์ แต่อุบูดียัตคือฐานะภาพที่มีสัมพันธ์โดยตรงกับอัลลอฮ์ จากจุดนี้แน่นอนว่าอุบูดียัตย่อมเหนือกว่านุบูวัตและอิมามัต.



[1] บิฮารุ้ลอันว้าร,.มัจลิซี,เล่ม 43,หน้า 61, :إِنَّمَا سُمِّیَتْ فَاطِمَةَ لِأَنَّ الْخَلْقَ فُطِمُوا عَنْ مَعْرِفَتِهَا

[2] มิศบาฮุชชะรีอะฮ์,หน้า 7,.สำนักพิมพ์อะอ์ละมี

 العبودیة جوهر کنهها الربوبیة فما فقد من العبودیة وجد فی الربوبیة و ما خفی عن الربوبیة أصیب فی العبودیة

[3] บิฮารุ้ลอันว้าร,.มัจลิซี,เล่ม 43,หน้า 65 :

مُحَمَّدُ بْنُ الْقَاسِمِ بْنِ عُبَیْدٍ مُعَنْعَناً عَنْ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ ع أَنَّهُ قَالَ إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِی لَیْلَةِ الْقَدْرِ اللَّیْلَةُ فَاطِمَةُ وَ الْقَدْرُ اللَّهُ فَمَنْ عَرَفَ فَاطِمَةَ حَقَّ مَعْرِفَتِهَا فَقَدْ أَدْرَکَ لَیْلَةَ الْقَدْر...

[4] เพียงหนังสืออัลกิดดีซะฮ์ ฟิลอะฮาดีซิล กุ้ดซียะฮ์ประพันธ์โดย อิสมาอีล อัลอันศอรี มีฮะดีษกุ้ดซีเกี่ยวกับฐานะภาพท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถึง 252 บท,สำนักพิมพ์ดะลีเลมอ

[5] อัลอัสรอรุ้ลฟาฎิมียะฮ์,เชคมุฮัมมัด ฟาฎิ้ล มัสอูดี:

 یا أحمد لولاک لما خلقت الأفلاک ، ولولا علی لما خلقتک ، ولولا فاطمة لما خلقتکما
(อัลญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์,149 /มุสตั้ดร็อก สะฟีนะตุ้ลบิฮาร,เล่ม3,หน้า 337 จากมัจมะอุ้นนูร็อยน์, 14 จากอัลอะวาลิม, 44)
هذا الحدیث من الأحادیث المأثورة التی رواها جابر بن عبد الله الأنصاری عن رسول الله صلى الله علیه وآله وسلم عن الله تبارک وتعالى
(
เชคมุฮัมมัดฟาฎิ้ล มัสอูดี,หน้า 231.)

[6] ดู: เลาลาฟาฏิมะฮ์,.มุฮัมมัดอลี เฆรอมี,หน้า 141-143.

[7] อ้างแล้ว,หน้า 34

[8] อัลกาฟี,เชคกุลัยนี,เล่ม 1,หน้า 89.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8109 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • จะทำอิบาดะฮ์ทั้งที่มีงานประจำล้นมือได้อย่างไร?
    7322 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/14
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้นควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. อิบาดะฮ์หมายถึงการจำนนต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์[i]แม้ว่านมาซจะถือเป็นอิบาดะฮ์ขั้นสูงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิบาดะฮ์จะต้องเป็นนมาซหรือดุอาเสมอไปฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ล้วนกำลังทำอิบาดะฮ์อยู่ทั้งสิ้น2. การแสวงหาริซกีฮะล้าลหมายถึงการเพียรพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนาแน่นอนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงงานที่ใช้ทักษะความคิดเช่นงานของวิศวกรแพทย์ฯลฯด้วยซึ่งหากเป็นไปตามกฏและบทบัญญัติศาสนาก็ถือว่ากำลังแสวงหาริซกีฮะล้าลทั้งสิ้น3. หากไม่ไช่การประชดประชันถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกว่าทำงานตั้งแต่ตีสี่ครึ่งถึงเที่ยงคืน
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12517 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7953 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59390 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6178 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6153 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    8806 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • ปีจันทรคติมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
    3462 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    จำนวนวันของปีจันทรคตินั้นเท่ากัน ซึ่งโดยละเอียดแล้วมีจำนวน 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือ 29/53059028 วัน ทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ เท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ (เดือนที่คิดตามการคำนวณ และเดือนที่มองเห็นจันทร์เสี้ยว) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59390 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38422 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33449 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...