การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6934
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa9731 รหัสสำเนา 20964
คำถามอย่างย่อ
มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
คำถาม
อัสลามุอลัยกุม ดิฉันเห็นฮะดีษต่อไปนี้ในบางเว็บไซต์ ซึ่งอ้างอิงจากหนังสืออันวารุลมุชะอ์ชิอีน อยากทราบเนื้อหาตั้งแต่แรกจนจบของฮะดีษนี้แต่ไม่สามารถจะหาอ่านได้ กรุณานำเสนอฮะดีษทั้งบทด้วยค่ะ ฮะดีษนี้มีอยู่ว่า :
ในหนังสือคุลาเศาะตุลบุลดาน รายงานจากหนังสือมูนิสุ้ลฮะซีน (ประพันธ์โดยเชคเศาะดู้ก) รายงานจากอิมามอลีด้วยสายรายงานที่เศาะฮี้ห์ว่า ท่านปรารภกับฮุซัยฟะฮ์ว่า “โอ้บุตรของยะมานี ในระยะแรกของการปรากฏกาย กออิมแห่งอาลิมุฮัมมัดจะเริ่มต่อสู้จากเมืองที่เรียกว่า “กุม” และเชิญชวนผู้คนสู่สัจธรรม ชาวโลกทั้งตะวันออกและตะวันตกจะหลั่งใหลสู่เมืองนี้ อิสลามจะได้รับการชุบชีวิต โอ้บุตรของยะมานี แผ่นดินดังกล่าวศักดิ์สิทธิ์ ปลอดจากความโสมม ขนาดของนครนี้คือเจ็ดฟัรซัคคูณแปดฟัรซัค ธงชัยของเขาจะปักลงที่ภูเขาสีขาว (ล่าสุดกล่าวกันว่าภูเขานบีคิเฎรคือภูเขาสีขาวดังกล่าว) ณ หมู่บ้านเก่าแก่ใกล้มัสญิดและราชวังเก่าแก่ของพวกโซโรแอสเตอร์ที่เรียกกันว่าญัมกะรอน เขาจะย่างก้าวออกจากใต้หออะซานมัสญิดดังกล่าว ใกล้กับอดีตที่ตั้งของสถานบูชาไฟ...”
ฮะดีษนี้ต้องการจะบอกว่ามัสญิดญัมกะรอนมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นอีกหนึ่งศูนย์บัญชาการของอิมามมะฮ์ดี ดังที่มัสญิดซะฮ์ละฮ์จะเป็นศูนย์กลางการบริหารของท่านในอนาคต มัรฮูมคอทูซิยอนได้อธิบายฮะดีษข้างต้นอย่างละเอียด ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าฮะดีษที่เกี่ยวกับวีรกรรมมักไม่จำเป็นต้องตรวจสอบสายรายงานนัก เพราะว่ามีแต่บรรดามะอ์ศูมีนเท่านั้นที่จะหยั่งรู้อนาคตเนื่องจากเชื่อมต่อกับแหล่งความรู้แห่งวะฮีย์ เห็นได้จากการที่ในสมัยที่ท่านอิมามอลีเล่าเรื่องดังกล่าว ชาวฮิญาซและอิรัก ซึ่งน้อยคนนักที่จะเคยได้ยินชื่อเมืองกุม อิมามจึงมักต้องอธิบายว่ากุมอยู่ใกล้กับเมือง”เรย์”เพื่อให้สาวกทราบพิกัดของเมือง เพราะฉะนั้น คิดว่าในยุคนั้นคงไม่มีชาวฮิญาซคนใดรู้จักหมู่บ้านญัมกะรอนในเมืองกุม
คำตอบโดยสังเขป

แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง แต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปี หนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงาน โดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้ว ยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไม ด้วยเหตุนี้ ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ ประวัติศาตร์ เทววิทยา ฯลฯ ได้เลย

คำตอบเชิงรายละเอียด

สายรายงานของฮะดีษที่คุณอ้างมาปรากฏชื่อหนังสือดังต่อไปนี้ตามลำดับ อันวารุลมุชะอ์ชิอีน, คุลาเศาะตุ้ลบุลดาน และมูนิสุ้ลฮะซีน เพื่อให้เข้าใจฮะดีษอย่างถ่องแท้ เราขอวิจารณ์หนังสือเหล่านี้พอสังเขปแล้วจึงหาข้อสรุปในตอนท้าย

1. หนังสืออันวารุลมุชะอ์ชิอีน ฟีบะยานิ ชะรอฟะติ กุม วัลกุมียีนมีสามเล่ม เขียนเป็นภาษาฟารซี มีเนื้อหาเล่าประวัติความเป็นมาของเมืองกุม และชีวประวัติของวงศ์วานนบี ตลอดจนนักรายงานฮะดีษที่พำนักอยู่ในเมืองนี้ เขียนขึ้นเมื่อราวๆร้อยปีก่อน และพิมพ์ที่อิหร่านเป็นครั้งแรก

2. หนังสือคุลาเศาะตุ้ลบุลดานเขียนไว้ประมาณสามร้อยปีก่อน มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตตร์เมืองกุม และถือเป็นแหล่งอ้างอิงของหนังสือเล่มก่อน

3. หนังสือมูนิสุ้ลฮะซีนมีการอ้างว่าเป็นผลงานของเชคเศาะดู้ก ซึ่งก็อาจหมายถึงอบูญะฟัร มุฮัมมัด บิน อลี บิน บาบะวัยฮ์ เสียชีวิตเมื่อราวๆพันปีก่อน ฮะดีษที่ถามมาก็อ้างถึงหนังสือเล่มดังกล่าว
แต่ต้องชี้แจงว่าผู้รู้ที่มีชื่อเสียงของชีอะฮ์อย่างเชคฏูซีและนะญาชีซึ่งเคยเขียนหนังสือในเชิงบรรณารักษ์ศาสตร์ไว้ กล่าวถึงเชคเศาะดู้กและผลงานของท่านโดยมิได้เอ่ยถึงหนังสือชื่อมูนิสุ้ลฮะซีนเลย ผู้รู้ในหลายศตวรรษต่อมาอาทิเช่น อิบนิ ชะฮ์รอชู้บ และ อิบนิฏอวู้สก็มิได้กล่าวถึงหนังสือเล่มดังกล่าวเลย

อย่างไรก็ดี ในหนังสือมะนากิบของอิบนิชะฮ์รอชู้บ มีฮะดีษหนึ่งรายงานจาก มูนิสุ้ลฮะซีน ซึ่งเขาระบุว่าผู้เขียนคือ มุฮัมมัด ฟัตตาล มิไช่เชคเศาะดู้ก
ที่ยิ่งไปกว่าการระบุว่าใครคือผู้เขียนหนังสือดังกล่าวก็คือ การที่ไม่มีหนังสือดังกล่าวหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ทำให้นักวิชาการไม่สามารถจะนำมาศึกษาและวิจัยสายรายงานของฮะดีษดังกล่าวได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า

1. ฮะดีษนี้พบได้เพียงในหนังสืออันวารุลมุชะอ์ชิอีนเท่านั้น ซึ่งก็เขียนไว้ในศตรรษนี้ กล่าวได้ว่าฮะดีษในหนังสือเล่มนี้หากไม่มีแหล่งอ้างอิงอื่นประกอบ ย่อมจะขาดความน่าเชื่อถือ
2. แม้ตำราประมวลฮะดีษชุดใหญ่อย่างบิฮารุลอันว้ารซึ่งรวบรวมฮะดีษอย่างครบครัน มิได้กล่าวถึงฮะดีษบทดังกล่าว
3. ยังมีข้อสงสัยว่าหนังสือมูนิสุ้ลฮะซีนเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไม่
4. สมมุติว่าหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นผลงานของท่านจริง แต่ต้องทราบว่าระยะห่างระหว่างหนังสือคุลาเศาะตุ้ลบุลดานที่เป็นแหล่งอ้างอิงของอันวารุลมุชะอ์ชิอีน กับหนังสือมูนิสุ้ลฮะซีนนั้น มีมากกว่าเจ็ดร้อยปี โดยไม่มีการระบุว่าอ้างอิงผ่านใครบ้าง
5. หนังสือยุคหลังเท่านั้นที่อ้างว่าฮะดีษดังกล่าวมีสายรายงานเศาะฮี้ห์ ในขณะที่ฮะดีษดังกล่าวไม่มีสายรายงานให้ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
6. แม้หากตำราที่มีชื่อเสียงอย่างกุตุ้บอัรบะอะฮ์(ที่ประพันธ์ขึ้นในยุคที่ไม่ห่างจากยุคอิมามมากนัก)จะรายงานฮะดีษโดยไม่ระบุสายรายงาน นักวิชาการก็มักจะไม่นำฮะดีษประเภทนี้มาใช้วินิจฉัยปัญหาศาสนา นอกจากจะมีเบาะแสที่พิสูจน์ความน่าเชื่อถือได้เท่านั้น นับประสาอะไรกับฮะดีษที่มีบันทึกในหนังสือที่เขียนขึ้นหลังจากอิมามเป็นพันปี โดยที่ไม่อ้างอิงไปยังตำราที่น่าเชื่อถือและพิสูจน์ได้

ด้วยเหตุปัจจัยที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า ในทางวิชาฮะดีษแล้ว ไม่สามารถจะนำฮะดีษดังกล่าวไปใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือเทววิทยาอิสลามได้ คุณไม่สามารถพบเห็นหนังสือเชิงวิเคราะห์ที่มีขื่อเสียงเล่มใดที่พิสูจน์ทฤษฎีของตนด้วยฮะดีษประเภทนี้
แต่อย่างไรก็ดี เราก็ไม่อาจจะปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวโดยสิ้นเชิง จึงขอสรุปปิดท้ายดังนี้ว่า

1. เราไม่พบตัวบทฉบับสมบูรณ์ของฮะดีษนี้
2. เราจะใช้ฮะดีษนี้พิสูจน์อภินิหารของอิมามอลี(.)ได้ก็ต่อเมื่อพบฮะดีษดังกล่าวในหนังสืออื่นๆที่มิไช่หนังสือที่เขียนขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น
3. ในบางกรณี เราสามารถใช้ฮะดีษประเภทนี้เป็นตัวเสริมความน่าเชื่อถือของเนื้อหาของฮะดีษอื่นๆได้

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10000 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25175 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6476 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5979 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7098 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7912 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อัลกุรอานเป็นของขวัญแก่ชาวฮินดู ขณะที่เขาต้องการที่จะศึกษาและรู้จักอัลกุรอาน และเขาต้องสัมผัสหน้าอัลกุรอานแน่นอน ?
    6680 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    ก่อนที่จะอธิบายถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้, จำเป็นต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ก่อน1. ฮินดูในความเป็นจริงก็คือผู้ปฏิเสธศรัทธา2. ในกรณีที่มั่นใจ (มิใช่เดา) ว่าเขาจะทำให้กุรอานนะญิซโดยกาเฟร
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6190 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8346 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
    12485 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2555/02/06
    ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือมีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(อ.) ในเหตุการณ์อาชูรอโดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้อนัสบิรฮัรซ์, ฮานีบินอุรวะฮ์, มุสลิมบินเอาสะญะฮ์, ฮะบีบบินมะซอฮิร, อับดุลลอฮ์บินยักฏิร ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56816 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41638 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38383 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25175 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...