เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทราบข้อสังเกตุดังต่อไปนี้
1. โดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษที่กล่าวถึงเหตุแห่งการประทานโองการกุรอานมีสองประเภท หนึ่ง. เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ สอง. เล่าถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยมิได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ อย่างเช่นโองการที่เกี่ยวกับฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และอิมาม(อ.)ท่านอื่นๆ[1]
2. โองการกุรอานประทานลงมาสู่ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นระยะๆตามแต่เหตุการณ์ วันเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ทว่ามีบางโองการเท่านั้นที่มีฮะดีษช่วยระบุถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าว หรืออาจจะมีฮะดีษที่ระบุไว้แต่มิได้ตกทอดถึงยุคของเรา
3. มีโองการมากมายที่กล่าวถึงฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และมะอ์ศูมีน(อ.)ท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพิสูจน์และตีแผ่หลักการสำคัญอย่างเช่นหลักอิมามะฮ์ (ภาวะผู้นำภายหลังนบี)
หากพิจารณาเหตุแห่งการประทานโองการต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าโองการที่กล่าวถึงฐานันดรภาพและภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)มักจะประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นโองการต่อไปนี้
หนึ่ง.
يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكافِرينَ
“โอ้ศาสนทูต จงเผยแผ่สิ่งที่ประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า มาตรว่าเจ้าไม่ปฏิบัติ ก็เท่ากับว่ามิได้เผยแผ่สาส์นใดๆของพระองค์เลย และพระองค์จะปกปักษ์เจ้าให้พ้นจาก(ภยันตรายของ)ผู้คน แท้จริงพระองค์มิทรงนำทางกลุ่มชนผู้ปฏิเสธ”[2]
สอง.
الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتي وَ رَضيتُ لَكُمُ الْإِسْلامَ ديناً
“วันนี้ ข้าได้เติมเต็มศาสนาของสูเจ้าให้สมบูรณ์สำหรับสูเจ้า และได้ประทานเนี้ยะมัตอย่างถึงขีดสุด และพึงพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของสูเจ้า”[3]
สองโองการข้างต้นประทานมาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)ในวันที่สิบแปด เดือนซุลฮิจญะฮ์[4]
สาม. ซูเราะฮ์อัลอินซานก็ประทานมาในวันที่ 25 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ตรงกับวันรุ่งขึ้นหลังจากที่อิมามอลีและครอบครัวได้เลี้ยงอาหารแก่เชลยศึก[5]
สี่.
إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذينَ آمَنُوا الَّذينَ يُقيمُونَ الصَّلاةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَ هُمْ راكِعُون
“ผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และเหล่าผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซและจ่ายซะกาตในขณะโค้งรุกู้อ์”[6]
โองการนี้ (ที่เป็นที่รู้จักในนามโองการแห่งวิลายะฮ์[7]) ก็ประทานมาในวันที่ 24 ซุลฮิจญะฮ์[8]
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโองการที่ประทานมาในเดือนซุลฮิจยะฮ์ ตลอดจนวันสำคัญต่างๆในเดือนนี้ได้จากหนังสือ “มะซารุชชีอะฮ์” ประพันธ์โดยเชคมุฟี้ด[9]
สรุปคือ ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้ทราบว่า โองการที่เกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่
คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
[1] ฮัยดัร, ฮะซัน มุฮ์ซิน, อัสบาบุนนุซูลุลกุรอานี ตารีควะฮะกออิก,หน้า 113,114,ศูนย์การศึกษาอิสลามระดับโลก,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1385,ฮ.ศ.1427
[2] มาอิดะฮ์,ย่อความจากระเบียน “ภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)” คำถามที่ 7277(ลำดับในเว็บไซต์ 7554)
[3] มาอิดะฮ์,3
[4] ดู: ดาวู้ดพะนอฮ์,อบุลฟัฎล์,อันวารุ้ลอิรฟาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 10,หน้า 55,56,สำนักพิมพ์ศ็อดร์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1375 และหาอ่านได้จากระเบียน “หลักฐานของอำนาจหน้าที่ของมะอ์ศูมีน(อ.)” คำถามที่ 18(ลำดับในเว็บไซต์ 218), “เหตุผลความเชื่อต่อหลักอิมามัตและเหล่าอิมาม” คำถามที่ 321(ลำดับในเว็บไซต์ 2707), “พิสูจน์ภาวะผู้นำของอิมามอลี(อ.)จากกุรอาน” คำถามที่ 324(ลำดับในเว็บไซต์ 1817)
[5] ฮุจญะตี,ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร,เหตุแห่งการประทานโองการ,หน้า 36,สำนักเผยแพร่วัฒนธรรมอิสลาม,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่หก,ปี1377
[6] ย่อความจากคำถามที่ 7277(ลำดับในเว็บไซต์ 7554)
[7] ดู: ระเบียน “หลักฐานของอำนาจหน้าที่ของมะอ์ศูมีน(อ.)” คำถามที่ 18(ลำดับในเว็บไซต์ 218), “เหตุผลความเชื่อต่อหลักอิมามัตและเหล่าอิมาม” คำถามที่ 321(ลำดับในเว็บไซต์ 2707), “พิสูจน์ภาวะผู้นำของอิมามอลี(อ.)จากกุรอาน” คำถามที่ 324(ลำดับในเว็บไซต์ 1817)
[8] เชคมุฟี้ด,มะซารุชชีอะฮ์,หน้า 41,สัมมนาเชคมุฟี้ด,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1413