การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น
เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง
ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน
แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า เธอจะปฏิบัติไปตามสิทธิทางชัรอียฺ, ซึ่งการให้คำปรึกษาหรือให้การช่วยเหลือจากผู้หลักผู้ใหญ่ของครอบครัวไม่อาจเป็นไปได้ เธอก็มีสิทธิเรียกร้องสิทธินั้นตามกฎหมายได้
สิ่งสมควรกล่าวคือ การเรียกร้องรางวัลค่าจ้างจากภรรยา, มิใช่สาเหตุที่นำมาสู่ความขัดแย้ง หรือบาดหมาง หรือเข้าใจผิดทางครอบครัว แต่อย่างไรก็ตามการเรียกร้องทำนองนี้โดยปกติไม่มีอยู่ในสังคมอิสลาม
เพื่อการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของสามีและภรรยา ศึกษาได้จากหัวข้อต่อไปนี้:
1.หน้าที่ของภรรยาที่มีต่อสามี, คำถามที่ 14906 (ไซต์ : th14780)
2.การเชื่อฟังปฏิบัติตามของภรรยาที่มีต่อสามี, คำถามที่ 1674 (ไซต์ : 1345)
[1] เฎาะบาเฎาะบาอียฺ, ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 235, ตัฟตัรเอนเตะชารอต อิสลามี ญามิอะฮฺ มุดัรริซีน เฮาเซะฮฺ อิลมียะฮฺ, กุม ปี ฮ.ศ. 1417.