การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7313
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/14
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1210 รหัสสำเนา 15869
คำถามอย่างย่อ
จะทำอิบาดะฮ์ทั้งที่มีงานประจำล้นมือได้อย่างไร?
คำถาม
ข้องใจเรื่องอิบาดะฮ์ เพราะได้ยินมาว่าอุละมาอ์ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับนมาซและการทำอิบาดะฮ์ ส่วนผมต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตั้งแต่ตีสี่ครึ่งจนถึงเที่ยงคืน เคยได้ยินว่าอุละมาอ์เป็นที่โปรดปรานของบรรดาอิมาม(อ.) แล้วผมควรจะทิ้งงานเพื่อไปสมัครเรียนศาสนาหรือไม่? คนอย่างผมควรทำอย่างไร?
แต่หากเป็นอย่างที่ว่ากันว่าเก้าในสิบส่วนของอิบาดะฮ์คือการหาเลี้ยงชีพ แล้วบรรดาอุละมาอ์จะทำอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้
1. อิบาดะฮ์หมายถึงการจำนนต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์[i] แม้ว่านมาซจะถือเป็นอิบาดะฮ์ขั้นสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิบาดะฮ์จะต้องเป็นนมาซหรือดุอาเสมอไป ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ล้วนกำลังทำอิบาดะฮ์อยู่ทั้งสิ้น
2. การแสวงหาริซกีฮะล้าล หมายถึงการเพียรพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนา แน่นอนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงงานที่ใช้ทักษะความคิดเช่นงานของวิศวกร แพทย์ ฯลฯ ด้วย ซึ่งหากเป็นไปตามกฏและบทบัญญัติศาสนา ก็ถือว่ากำลังแสวงหาริซกีฮะล้าลทั้งสิ้น
3. หากไม่ไช่การประชดประชัน ถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกว่าทำงานตั้งแต่ตีสี่ครึ่งถึงเที่ยงคืน ซึ่งรวมได้กว่ายี่สิบชม. ไม่เพียงแต่คุณจะไม่ได้ทำอิบาดะฮ์วาญิบแล้ว คุณยังพลาดปัจจัยในชีวิตประจำวันเช่น การพักผ่อน กีฬา การอบรมบุตร ประคองชีวิตคู่ ฯลฯ และความไม่สมดุลนี้จะก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวคุณเอง คู่ครอง และบุตรอย่างไม่อาจเยียวยาได้
ขอแนะนำให้คุณลดความคาดหวังในชีวิตลงบ้าง โดยเลือกทำงานปกติทั่วไป(เฉลี่ยวันละ 8-10 ชม.) เพื่อให้มีเวลาพอที่จะสนองความต้องการในชีวิตบ้าง ดังที่บรรดาอิมาม(.)สอนว่าจงแบ่งเวลาชีวิตเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับหาเลี้ยงชีพ ส่วนหนึ่งสำหรับไขว่คว้าอาคิเราะฮ์ และอีกส่วนหนึ่งสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจที่ไม่ขัดหลักศาสนา[ii]
แต่หากคุณจำเป็นต้องทำงานอย่างที่เล่ามาจริงๆ ก็ให้คุณเหนียตกุรบะฮ์(แสวงหาความใกล้ชิดอัลลอฮ์)ในฐานะที่กำลังหาเลี้ยงชีพซึ่งถือเป็นอิบาดะฮ์  และปฏิบัติหน้าที่วาญิบอื่นๆให้ครบถ้วน อินชาอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงมอบผลบุญเสมือนอิบาดะฮ์ทั่วไปแก่คุณ
4. หน้าที่ของอุละมาอ์คือการศึกษาหาความรู้อย่างเต็มที่ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน อย่างไรก็ดี ด้วยการแบ่งเวลาอย่างละเอียด ทำให้ท่านเหล่านั้นสามารถแบ่งเวลาเพื่อทำอิบาดะฮ์มุสตะฮับ โดยเฉพาะนมาซตะฮัจญุดได้
คุณคงจะทราบดีว่าการศึกษาศาสนาไม่ไช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เพราะเหตุนี้เองที่คนส่วนน้อยในสังคมเท่านั้นที่จะยอมแบกรับภาระการศึกษาศาสนา ทำให้จำนวนอุละมาอ์มีไม่มากนักในสังคม
คงเพราะเหตุนี้กระมังที่อิสลามถือว่าไม่มีกิจกรรมใดจะมีผลบุญไปกว่าการแสวงหาความรู้[iii] เป็นเหตุให้ภารกิจของอุละมาอ์มีค่ายิ่งกว่าภารกิจของบรรดาชะฮีด[iv]



[i] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 439

[ii] มะการิมุ้ลอัคล้าก,หน้า 472

[iii] عَنْ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ (ع) قَالَ: "أَفْضَلُ الْعِبَادَةِ إِدْمَانُ التَّفَکُّرِ فِی اللَّهِ وَ فِی قُدْرَتِهِ
أَبَا الْحَسَنِ الرِّضَا (ع) یَقُولُ: لَیْسَ الْعِبَادَةُ کَثْرَةَ الصَّلَاةِ وَ الصَّوْمِ إِنَّمَا الْعِبَادَةُ التَّفَکُّرُ فِی أَمْرِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَل"
ดู: อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 55

[iv] ดู: มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 4,หน้า 398

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8382 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7740 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • ถ้าหากเป็นการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และฝ่ายชายได้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง เพื่ออ่านอักด์ แต่มิได้บอกกำหนดเวลาและจำนวนมะฮฺรียะฮฺ ถือว่าอักด์ถูกต้องหรือไม่?
    9212 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำตอบจากมัรญิอฺตักลีดบางท่านกล่าวว่า ..สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงบิดเบือน
    6844 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    สำหรับความกระจ่างในประเด็นดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้1. ถ้าหากวัตถุประสงค์ของท่านจากคำว่าชีอะฮฺหมายถึงความประพฤติที่ผิดพลาดซึ่งชีอะฮฺบางคนได้กระทำลงไปแล้วนำเอาความประพฤติเหล่านั้นพาดพิงไปยังนิกายชีอะฮฺถือว่าไม่มีความยุติธรรมสำหรับชีอะฮฺเอาเสียเลยเนื่องจากอิสลามโดยตัวตนแล้วไม่มีข้อบกพร่องอันใดทั้งสิ้นทุกข้อบกพร่องนั้นมาจากมุสลิมของเรา2. ...
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    7413 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5080 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10333 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • ฮะดีษที่กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ.ล.) กล่าวว่า “จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในช่วงเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” เป็นฮะดีษที่ถูกต้องหรือไม่?
    10415 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/06/23
    แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านสารอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านการรักษาและเป็นยาอีกด้วย ซึ่งเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งสมัยก่อนและสมัยใหม่ได้กล่าวและเขียนเกี่ยวกับมันมากมาย เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของแอปเปิ้ล นอกจากทัศนะของเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งหลายแล้ว เราจะพบฮะดีษบางบทจากบรรดามะอ์ศูมีนในหนังสือทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือฮะดีษที่ได้กล่าวมาในคำถามข้างต้นที่กล่าวว่า “و قال النبی (ص) کلوا التفاح علی الريق فإنه وضوح المعده”[1] จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในยามเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” และฮะดีษนี้รายงานจากอิมามอลี (อ.) โดยมีเนื้อหาดังนี้ “كُلُوا التُّفَّاحَ فَإِنَّهُ يَدْبُغُ الْمَعِدَةَ” จงกินแอปเปิ้ล เนื่องจากแอปเปิ้ลจะช่วยชำระล้างกระเพาะ ฮะดีษดังกล่าวนอกจากจะปรากฏในหนังสือมะการิมุลอัคลากแล้ว ยังจะพบได้ในหนังสือบิฮารุลอันวารของท่านมัจลิซีย์และมุสตัดร็อกของท่านนูรีย์อีกด้วย นอกจากนี้ท่านอิมามศอดิก (อ.) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของแอปเปิ้ลว่า “หากประชาชนได้รู้ถึงสรรพคุณที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล พวกเขาจะใช้แอปเปิ้ลรักษาผู้ป่วยของตนเพียงอย่างเดียว”
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6905 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • บทบาทและเป้าหมายของอะฮ์ลุลบัยต์คืออะไร?
    6867 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มีฮะดีษทั้งในสายของชีอะฮ์และซุนนะฮ์มากมายที่บ่งชี้ถึงความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบี(ซ.ล.)อันประกอบด้วยผู้มีเกียรติทั้งห้านั่นคือตัวท่านนบีเอง, ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59366 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...