การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7035
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1479 รหัสสำเนา 18214
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
คำถาม
ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
คำตอบโดยสังเขป

เราไม่พบฮะดีษใดๆที่มีเนื้อหาเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษ มีฮะดีษหลายบทที่อรรถาธิบายโองการ فإذا فرغت فأنصب وإلی ربک فارغب ว่า "เมื่อเจ้า(นบี)ปฏิบัติภารกิจศาสนทูตลุล่วงแล้ว ก็จงแต่งตั้งอลี(.)เป็นผู้นำเหนือปวงชน" หรือฮะดีษที่อธิบายโองการแรกของซูเราะฮ์นี้ ที่รายงานจากอิมามศอดิก(.)ว่า "ประเด็นวิลายัตของอิมามอลี(.)เป็นปัจจัยในการเปิดหัวใจท่านนบี(..)"
ในแง่ของสายรายงาน ฮะดีษเหล่านี้จัดว่าเศาะฮี้ห์ เนื่องจากในสายรายงานฮะดีษนี้มีนักรายงานที่เป็นที่ไว้วางใจของผู้เชี่ยวชาญด้านริญ้าลเป็นพิเศษ อาทิเช่น อิบนิ อบีอุมัยร์ ผู้เป็นหนึ่งในนักรายงานนามอุโฆษ อย่างไรก็ดี  ตำราฮะดีษหลายเล่มได้แบ่งหมวดความประเสริฐของอิมามอลี(.)เป็นการเฉพาะอันมีเนื้อหาคล้ายกันนี้ อาทิเช่น หมวดว่าด้วยการแต่งตั้งท่านอิมามอลี(.)ในบทอัลฮุจญะฮ์ของหนังสืออุศูลุลกาฟีย์ นอกจากนี้หมวดที่39 หนังสือบิฮารุลอันว้าร เล่มที่ 36 ก็ได้อัญเชิญโองการที่เกี่ยวกับท่านอิมามอลี(.)ไว้
อนึ่ง ฮะดีษประเภทนี้เพียงแค่เผยบุคคลตัวอย่างในโองการเท่านั้น มิได้มีจุดประสงค์อธิบายเชิงตีความแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

เราไม่พบฮะดีษใดในหนังสืออัลกาฟีย์หรือตำราอื่นๆที่มีเนื้อหาดังที่ถามมา (เราได้บันดาลให้อลี(.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์) อย่างไรก็ดี ตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษอย่าง ตัฟซี้รอัลบุรฮาน หรือตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์ ได้อรรถาธิบายซูเราะฮ์อัลอินชิรอห์โดยได้นำเสนอฮะดีษบางบทที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับท่านอิมามอลี(.) เป็นต้นว่า มีฮะดีษประเภทนี้สิบเจ็ดบทในตัฟซี้รบุรฮาน ซึ่งเราจะหยิบยกมาวิเคราะห์ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด
1. มุฮัมมัด บิน ฮะซัน ศ็อฟฟ้าร รายงานจาก อะห์มัด บิน มุฮัมมัด จาก อิบนิ อบี อุมัยร์ จาก ญะมี้ล จาก ฮะซัน บิน รอชิด จากอิมามศอดิก(.) โดยท่านกล่าวถึงโองการแรกของซูเราะฮ์อัลอินชิร้อห์" ألم نشرح لک صدرک" และอธิบายว่า " بولایة امیرالمؤمنین (ع). " หมายความว่าท่านนบีได้รับเปิดหัวใจให้ปลอดโปร่งด้วย(การสืบทอด)ตำแหน่งผู้นำโดยอิมามอลี(.)[1]

2. มีฮะดีษอีกบทที่รายงานจากมุฮัมมัด บิน ฮัมมาม จาก อิบรอฮีม บิน ฮาชิม จาก อิบนิ อบี อุมัยร์ ความว่า ท่านอิมามศอดิก (.)กล่าวอธิบายโองการดังกล่าวว่า " بعلی فاجعله وصیاً" กล่าวคือ หัวใจของท่านนบีปลอดโปร่งโดยกำลังใจจากอิมามอลี(.) เสมือนพระองค์ทรงตรัสว่า "โอ้ศาสนทูต(..)เอ๋ย เรามิได้เปิดหัวอกของเจ้าด้วยอลีกระนั้นหรือ ฉะนั้น จงตั้งให้เขาเป็นตัวแทนของเจ้า" ท่านอิมามยังได้อธิบายโองการ فإذا فرغت فانصب ว่า "อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(..)ประกอบศาสนกิจนมาซ ซะกาต ถือศีลอด ฮัจย์ ฯลฯ และทรงบัญชาว่า เมื่อเจ้าเสร็จสิ้นภารกิจเหล่านี้ก็จงแต่งตั้งอลี(.)ให้เป็นตัวแทนของเจ้า"[2]
3. รายงานจากมุฟัฎฎ็อล บิน อุมัรว่า ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า " فإذا فرغت فانصب علیاً بالولایة"(เมื่อเจ้าเสร็จสิ้นก็จงแต่งตั้งอลี(.)ให้เป็นผู้นำ)[3]

ฮะดีษสามบทข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีฮะดีษในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงความประเสริฐของท่านอิมามอลี(.) อย่างไรก็ดี ฮะดีษที่อธิบายซูเราะฮ์อินชิร้อห์ทั้งหมดล้วนมีเนื้อหาคล้ายกันนี้ทั้งสิ้นที่ว่า การเปิดหัวใจของท่านนบี(..)กระทำโดยวิลายะฮ์ของอิมามอลี(.) ดังที่ความสมบูรณ์ของอิสลามขึ้นอยู่กับการแต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งตัวแทนท่านนบี

เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของฮะดีษบทนี้ ต้องเรียนว่าสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษอย่าง อิบนิ อบี อุมัยร์ ปรากฏอยู่ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นนักรายงานนามอุโฆษที่ผู้เชี่ยวชาญวิชาริญ้าลต่างให้การยอมรับ[4] อีกทั้งจำนวนฮะดีษชุดนี้ก็มีมากเสียจนไม่เหลือข้อกังขาใดๆ

ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจก็คือ ฮะดีษที่มีเนื้อหาอธิบายโองการกุรอานมีลักษณะอย่างไร? พึงทราบว่าฮะดีษมากมายที่ปรากฏตามตัฟซี้รเชิงฮะดีษเช่น นูรุษษะเกาะลัยน์, บุรฮาน (ซึ่งฮะดีษประเภทนี้รู้จักกันในนาม"ฮะดีษตัฟซี้ร")นั้น หาได้ตีความเนื้อหาของโองการไม่ เพราะการตีความหมายถึงการแจกแจงความหมายของคำและประโยคในโองการ ซึ่งฮะดีษประเภทดังกล่าวมิได้มีคุณสมบัติเช่นนี้ แต่เป็นการเทียบเนื้อหากับตัวบุคคล หรือคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุดในกรณีที่มีหลายคนเท่านั้น ฉะนั้น ในกรณีที่ฮะดีษประเภทนี้ผ่านการพิสูจน์สายรายงานแล้วว่าเชื่อถือได้ ก็มิได้ทำให้นัยยะของโองการกุรอานแคบลงแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากการเน้นบุคคลอันเป็นภาพลักษณ์พิเศษของโองการ หาได้ปิดกั้นมิให้หมายรวมบุคคลอื่นๆเข้ามาในกรอบเนื้อหาของโองการไม่  ความหมายของโองการยังคงครอบคลุมเช่นเดิม[5]

จากข้อชี้แจงดังกล่าวทำให้ทราบว่า นัยยะของฮะดีษชุดที่เรากล่าวถึงนี้ก็คือ "วิลายัตของท่านอิมามอลี(.)ถือเป็นหนึ่งในการเปิดดวงใจท่านนบี(..)อย่างเป็นรูปธรรม"
อย่างไรก็ดี ยังมีทัศนะที่เห็นต่างไปจากนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากหนังสือ การรู้จักกุรอาน[6] โดยอายะตุลลอฮ์เฆรอมี



[1] ซัยยิดฮาชิม ฮุซัยนี บะฮ์รอนี, อัลบุรฮาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 4,หน้า 474,สำนักพิมพ์ อิสมาอีลียอน

[2] เพิ่งอ้าง, และ ดู: ตะอ์วีลุล อายาติซซอฮิเราะฮ์, หน้า 787, และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 36,หน้า136

[3] อัลบุรฮาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 4,หน้า 475 และ ดู: อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 294,ฮะดีษที่ 3

[4] เชคมุฮัมมัด มุซ็อฟฟะรี, อัลฟะวาอิดุรริญาลียะฮ์, สำนักพิมพ์อิลมียะฮ์,กุม, หน้า 73

[5] ญะวาดี ออโมลี, ตัฟซีร ตัสนีม, เล่ม1,หน้า 168, ศูนย์การพิมพ์ อิสรออ์

[6] ในหนังสือเล่มนี้มีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการขยายความหมายศัพท์กุรอานเปรียบเทียบกับศัพท์ทั่วไป

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7072 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12508 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6533 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • เอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ไม่ถือเป็นนะญิสและสามารถกินได้ไช่หรือไม่?
    11937 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    แอลกอฮอล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักหนึ่งคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมีและประเภทที่สองคือแอลกอฮอล์ที่ได้มาจากการกลั่นระเหยของเหล้าและเนื่องจากเอทานอลเป็นหนึ่งในแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมประเภทต่างๆดังนั้นเราจึงต้องมาวิเคราะห์ประเด็นแอลกอฮอล์อุตสาหกรรมเสียก่อน
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6806 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6749 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17571 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    11713 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5855 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9365 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...