คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆ คำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญา โดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้น มะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดา และนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนา กล่าวคือ โดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญา ทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้ อย่างไรก็ดี สภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีก ในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้น ได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์ ในวัฒนธรรมอิสลามจะไม่มีการจำแนกว่าส่วนใดของชีวิตเป็นวัตถุวิสัย และส่วนใดเป็นมะอ์นะวียัต ทว่าทุกกระเบียดของชีวิต ไม่ว่าจะการแต่งงาน การทำงาน การศึกษา หรือแม้แต่การพักผ่อนหย่อนใจ ล้วนเป็นมะอ์นะวียัตได้ หากเชื่อมต่อกับนิยามชีวิตที่บรรดาศาสนทูตได้นำเสนอไว้
มะอ์นะวียัตคือรากศัพท์แบบญะอ์ลี แปลว่าสภาวะแห่งมะอ์นะวี ส่วนมะอ์นะวีนั้น พจนานุกรมเดะห์โคดอให้ความหมายว่า เที่ยงแท้ ถูกต้อง จริง ภาวะทางจิตวิญญาณ ปราศจากเงื่อนไข รวมถึงภาวะที่รับรู้ได้ด้วยจิตใจเท่านั้น ไม่อาจถ่ายทอดทางมุขปาฐะ [1]
บ้างกล่าวว่า มะอ์นะวียัตได้มาจากคำว่ามะอ์นา อันเป็นสิ่งพ้นญาณวิสัยที่ตรงข้ามกับสิ่งที่สัมผัสได้ คำนี้สื่อถึงมโนภาพที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริงในโลกภายนอก และด้วยการเข้าใจรากศัพท์ในแง่ศัพทมูลวิทยาเชิงอิสลามอย่างง่ายๆ ทำให้สามารถเชื่อมโยงความหมายของมะอ์นะวียัตกับจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน ซึ่งตามความเข้าใจดั้งเดิมก็สื่อถึงสารัตถะภายในตนเองได้ อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงว่าการนิยามเช่นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตกับรูฮานียัต(ภาวะทางจิตวิญญาณ) ซึ่งที่มาของความแตกต่างนี้ก็คือการที่สารัตถะมีหลายชั้น และมีทั้งมิติภายนอกและภายใน ซึ่งมิติที่สองมีหลายระดับชั้น ซึ่งขั้นสูงสุดก็คือสารัตถะที่แท้จริง[2]
จากการที่คำว่ามะอ์นะวียัตถูกใช้ในหลากหลายมิติ จึงค่อนข้างยากที่จะนิยามเป็นเอกฉันท์ ในแวดวงคริสตศาสนาแล้ว มะอ์นะวียัตถือเป็นคำที่ใช้แพร่หลายในการอธิบายชีวิตที่เชื่อมโยงกับพระจิต หรืออธิบายการเลื่อมใสยอมเป็นศิษย์ อย่างไรก็ดี คำๆนี้ทำให้นึกถึงสองประเด็น หนึ่ง ภาวะทางจิตวิญญาณและความศักดิ์สิทธิ สอง การมีความหมาย โดยเฉพาะความหมายของชีวิต[3]
แน่นอนว่ามะอ์นะวียัตเช่นนี้ย่อมไม่อาจจะจำแนกออกจากหลักศรัทธาของมนุษย์ได้ ฉะนั้น การเปรียบเทียบระหว่างมะอ์นะวียัตของคริสตศาสนาและอิสลามจึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบหลักความเชื่อของสองศาสนานี้เท่านั้น
กล่าวคือ คุณค่าความน่าเชื่อถือของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นตรงต่อคุณค่าของศาสนานั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ในขั้นแรกจึงจำเป็นต้องเปรียบเทียบคำสอนและความน่าเชื่อถือของคัมภีร์ของแต่ละศาสนา เพื่อจะทราบถึงความน่าเชื่อถือของมะอ์นะวียัตอันเป็นผลพวง
"ในจารีตของอิสลามนั้น มะอ์นะวียัตสื่อถึงแก่นแท้ของอิสลาม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการประทานโองการแรกของคัมภีร์อัลกุรอานแก่จิตใจของท่านนบี(ซ.ล.)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กุรอานถือเป็นแหล่งกำเนิดมะอ์นะวียัตสำหรับผู้ที่สนใจไฝ่ศึกษา กุรอานนำเสนอมะอ์นะวียัตทั้งในแง่สิ่งศักดิ์สิทธิทางจิต และในแง่ความหมายของชีวิตของมุสลิม"[4] ในขณะที่คัมภีร์ศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ อันประกอบด้วยพันธสัญญาเดิมและใหม่กว่า 73 ฉบับนั้น ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ ในแง่เนื้อหาก็มีบางส่วนขัดต่อสติปัญญา สายรายงานของไบเบิ้ลเองก็ขาดความน่าเชื่อถือที่ควรจะมี เพราะชาวคริสต์เองเชื่อว่าไบเบิ้ลประพันธ์โดยเหล่าสาวกภายหลังจากพระเยซูจากไปหลายปี โทมัส มิเชล บาทหลวงคริสต์ได้กล่าวไว้ว่า:
ในยุคแรกเริ่ม ชาวคริสต์ยังต้องพึ่งพาคัมภีร์ของชาวยิว ต่อมานักประพันธ์ไบเบิ้ลทั้งสี่ รวมทั้งเปโตรและยูดาห์และท่านอื่นๆได้เรียบเรียงวิธีศรัทธาต่อปาฏิหารย์ที่พระเจ้าทรงลิขิตผ่านพระเยซู"[5] บาทหลวงท่านนี้ยังยอมรับว่า "เรารู้จักนักประพันธ์พันธสัญญาเพียงบางคน"[6] เขายังเปรียบเทียบระหว่างกุรอานและไบเบิ้ลจากมุมมองของมุสลิมและคริสเตียนไว้ในหนังสือเทววิทยาคริสเตียนว่า:
อิสลาม | คริสตศาสนา |
กุรอาน | พันธสัญญาเดิมและใหม่ |
คัมภีร์หนึ่งเดียว | รวมชุดคัมภีร์ |
ภาษาอรับ | ภาษาฮิบรู อาราม กรีก |
|