ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น ในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้า จงเตือนตัวเองว่า โปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา, แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที, บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน, กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์, ดังนั้น สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด, อัลลอฮฺ ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน, และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด, บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก, และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้ ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา, บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา, ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย,จิตใจของเขาจะตายด้าน และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก”
ลิ้น,คือผู้แปลภาษาใจ,ตัวแทนของความคิด, กุญแจแห่งบุคลิกภาพ และระดับสำคัญสูงสุดของจิตวิญญาณ, สิ่งที่ปรากฏออกมาจากลิ้นหรือบนคำพูดของมนุษย์, คือภาพลักษณ์อันแท้จริงที่ปรากฏบนจิตวิญญาณและมีบทบาทสำคัญยิ่ง, ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย,ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, ด้วยเหตุนี้เอง สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น ขอนำเสนอ 2 วิธีดังต่อไปนี้ :
ก) การเยี่ยวยาด้วยการปฏิบัติ :
เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่างๆ จากลิ้นและการระมัดระวังลิ้น จึงได้บทสรุปว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการเยียวยา การพูดมาก, มนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากลิ้นในการพูดสนทนา ในสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญและมีประโยชน์ ขณะเดียวกันอันตรายมากมายก็เกิดจากลิ้นเช่นเดียวกัน, ดังนั้น ทุกๆ เช้าหลังจากตื่นนอน,จำเป็นต้องแนะนำตักเตือนตนเองเสมอว่า จงระวังลิ้นของเราให้ดี, เนื่องจากอวัยวะส่วนนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นมีความจำเริญ หรือสูงส่งเทียมฟ้าก็ได้ หรือทำให้เขาไร้ค่าและตกต่ำเพียงดินก็ได้เช่นกัน, ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า : ทุกเช้า,ต้องทำให้ลิ้นสำรวมตนอยู่ภายใต้การควบคุมของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกาย, มีคนถามว่า : จะให้ทำอย่างไรหรือ? และจะต้องตืนนอนตอนเช้าอย่างไร? ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า : ตื่นด้วยความดีงามด้วยเงื่อนไขที่ว่า ]เจ้าจงถอนมือไปจากเราและปล่อยเราให้เป็นตัวของตัวเองเถิด[, ขอสาบานสิ่งนั้นด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า ]เราจะไม่พูดจาไร้สาระ เราจะไม่ทำให้ลิ้นต้องลำบาก[ หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ] ไม่ต้องสงสัยเลยว่า[ เนื่องจากเจ้านั่นเองที่ทำให้เราได้รับผลบุญ และเนื่องจากเจ้านั่นเองที่เราได้รับการลงทัณฑ์”[1]
ดังนั้น มนุษย์มีหน้าที่ระวังรักษาลิ้นและคำพูดของตนไว้ให้ดี, เนื่องจากทุกๆ คำพูดที่ได้ออกมาจากปากของเขา มันจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีการกระทำ อัลกุรอาน กล่าวว่า : “ไม่มีคำพูดคำใดที่เขากล่าวออกมา เว้นแต่ใกล้ ๆ เขานั้นมี (มะลัก) ผู้เฝ้าติดตาม ผู้เตรียมพร้อม (ที่จะบันทึก)”[2]
รายงานฮะดีซจากท่านอิมามอะลี (อ.) :
1.ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เดินผ่านไปใกล้ๆ ชายคนหนึ่ง เขาเป็นคนพูดมาก, ท่านอิมามได้หยุดใกล้ๆ เขา แล้วกล่าวว่า : โอ้ เจ้าหนุ่มน้อยเอ๋ย เธอได้ให้มะลักที่ประทับอยู่บนตัวเธอ คอยบันทึกคำพูดจนบัญชีการงานเต็มไปหมดแล้ว, เธอจงพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเธอเถิด และจงออกห่างจากคำพูดไร้สาระและอันตราย[3]
2. “คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา, แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที, บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน, กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์, ดังนั้น สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด, อัลลอฮฺ ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน, และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด, บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก, และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้ ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา, บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา, ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย,จิตใจของเขาจะตายด้าน และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก”[4]
3. »เมื่อสติปัญญาสมบูรณ์แล้ว,คำพูดก็จะน้อยลง[5]«
ด้วยเหตุนี้เอง, ในมุมมองของโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซ,แนะนำว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการหลีกเลี่ยงการพูดจาไร้สาระอันตรายคือ หลีกเลี่ยงการพูดมาก, ละเว้นการพูดจาไร้สาระไม่มีประโยชน์, เนื่องจากถ้าเรารู้ว่าคำพูดก็คือส่วนหนึ่งของการกระทำ และเราต้องรับผิดชอบ, ดังนั้น จงหลีกเลี่ยงการพูดมากเสียเถิด เพราะโดยปกติการพูดมากจะนำไปสู่ การโกหก,นินทาว่าร้าย, เสียเวลา, กลั่นบุคคลอื่น, ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง, และอื่นๆ อีกมากมาย
บางทีอาจกล่าวได้ว่ารากที่มาทางจิตวิทยาของการพูดมาก อาจเกิดจากการที่ว่าเรามนุษย์นั้นชอบที่จะเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น และสำหรับการเรียกร้องความสนใจอันเพียงพอจากคนอื่น เราก็จะเริ่มกระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องความสนใจ, แต่ต้องไม่ลืมว่า ถ้าหากเราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า ความคิดของเขาก็จะเปลี่ยนเป็นว่า เขาจะทำอย่างไรจึงจะสร้างความพึงพอพระทัยจากพระองค์, และเขาก็จะทุ่มเทความพยายามให้แก่การนั้นเพื่อว่าจะได้เป็น ที่รักยิ่งของพระองค์,โดยไม่ต้องใส่ใจหรือต้องแสดงความโอ้อวด หรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอีกต่อไป ดังนั้น การพูดมากหรือการกระทำทุกสิ่งอันไม่พึงปรารถนาไม่อาจเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นได้เสมอไป[6]
ข) การเยี่ยวยารักษาด้วยการปฏิบัติ :
สามารถใช้วิธีฝึกฝนหรือการบอกกล่าวด้วยการ สาบถ บนบาน หรือการจ่ายค่าปรับ ในกรณีที่เราได้พูดมาก, แน่นอน ถ้าสามารถปฏิบัติได้และเป็นความเคยชินที่จะทำให้เราค่อยๆ ห่างไกลจากพูดมากไร้สาระ และในที่สุดเราจะได้พบกับอุปนิสัยใหม่อันแน่นอนและถูกต้องแก่ตัวเอง
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ, การห้ามปรามลิ้นมิให้พูดมาก, เป็นงานที่ต้องค่อยๆ ทำค่อยๆ ไป และต้องใช้เวลาอันยาวนานพอสมควรจึงจะเป็นความเคยชิน บุคคลที่พูดมากและไม่อาจควบคุมลิ้นของตนเองได้ ให้ความเคยชินแก่ลิ้นของตนจนเป็นความเคยชินไปเสียแล้ว, ระยะเวลาเพียงวันเดียวเขาไม่อาจปฏิบัติสิ่งที่ขัดแย้งกับความเคยชินของตนได้สำเร็จอย่างแน่นอน, ทว่าเขาต้องสัญญาและต้องให้เวลากับตัวเอง และในแต่ละวันนั้นเขาต้องค่อยๆ ลดคำพูดของตัวเองให้ลดน้อย จนกระทั่งว่าเป็นความเคยชินและสามารถควบคุมลิ้นของตัวเองได้ สามารถตามความจำเป็นและที่มีความสำคัญ และใช้ประโยชน์จากลิ้นได้อย่างถูกต้อง
สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดค้นคว้าได้จาก :
«แนวทางสำหรับการละทิ้งมารยาททราม», คำถามที่ 2604 (ไซต์ : 2741)
«การเปรียบเทียบระหว่างการพูดกับการนิ่งเงียบ», คำถามที่ 9135 (ไซต์ : 9608)
«แนวทางการละทิ้งบาปอันเกิดจากลิ้น», คำถามที่ 13686 (ไซต์ : 13582)
[1] มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร เล่ม 68, หน้า 302, สถาบันอัลวะฟาอฺ, เบรูต ปี ฮ.ศ. 1404.
[2] อัลกุรอาน บทก๊อฟ, 18, «ما یَلْفِظُ مِنْ قَوْلٍ إِلاَّ لَدَیْهِ رَقیبٌ عَتیدٌ»
[3] เชคซะดูก, มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ, เล่ม 4 หน้า 396, พิมพ์ที่ญามิอะฮฺ มุดัรริซีน, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี ฮ.ศ.1404
[4] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 68, หน้า 286.
[5] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 1, หน้า 159.
[6] เพื่อศึกษาเพิ่มเติม โปรดดูที่หัวข้อต่างๆ เช่น «แนวทางค้นหาความรักจากคนอื่น»,คำถามที่ 10915 (ไซต์ : 11664) และหัวข้อ «แนวทางเป็นที่รักของอัลลอฮฺ», คำถามที่ 12547, (ไซต์ : 12587)