การพิสูจน์ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า สามารถคิดได้หลายวิธีดังรายการคร่าวๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้
วิธีแรก : วิธีการนี้จะกล่าวถึงคำพูดของมะอฺซูม (อ.) กล่าวคือรายงานที่เชื่อได้จากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหนึ่งในบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า คำพูดนี้แม้ว่าจะคำนึงถึงปาฏิหาริย์ของบรรดาอิมาม และการเอาใจใส่ในปาฏิหาริย์ที่เกิดจากศาสดาแห่งอิสลาม (ซ็อล ฯ) ซึ่งเป็นการพิสูจน์ตำแหน่งอันสูงส่งของท่านเหล่านั้นแล้ว และด้วยการพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ของท่านเหล่านั้น จากข้อผิดพลาดโดยเจตนาและไม่เจตนา (ไม่ว่าจะในการกระทำและคำพูดก็ตาม) – ซึ่งโดยตัวของมันถือเป็นหลักฐานที่เชื่อมานได้ ซึ่งจะขอกล่าวอธิบายในที่ของมัน --ถือเป็นคำพูดที่สามารถยอมรับและตรวจสอบได้ แต่รูปแบบนี้คือวิธีของหลักอุซูลอันเป็นพื้นฐานสำคัญ และเป็นวิธีการที่ง่ายซึ่งสามารถอธิบายได้อย่างง่ายดาย แต่ต้องระวังอย่าให้เป็นเหตุผลวน กล่าวคือ..
ประการแรก : ท่านนบี (ซ็อล ฯ) ได้พิสูจน์การเป็นศาสดาของท่าน โดยท่านได้แนะนำว่าอัลกุรอานเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ประการที่สอง: ไม่มีปาฏิหาริย์อื่นใดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และปาฏิหาริย์ของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) หลงเหลืออยู่อีก นอกจากอัลกุรอาน แม้ว่าจะเป็นเหตุผลอยู่ในระดับตะวาตุรแน่นอน และเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้โดยปราศจากความสงสัยใดซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้ว นอกจากนี้แล้ว การพิสูจน์เช่นนี้ยังเป็นหลักเกณฑ์ แต่สิ่งที่เป็นประเด็นที่จะพิจารณากันในที่นี้ เป็นปัญหาด้านศาสนศาสตร์ จึงไม่เหมาะสมนักที่จะนำมากล่าว เพราะมาตรฐานของวิชาศาสนศาสตร์คือ เหตุผลนิยม
ด้วยเหตุนี้ การนำวิธีการดังกล่าวมาพิสูจน์ ความเป็นวะฮฺยูของอัลกุรอานจำเป็นต้องระมัดระวังให้มาก ตลอดจนการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้วิธีดังกล่าวนี้คือ การระมัดระวัง
วิธีที่สอง : ในวิธีนี้การที่จะพิสูจน์ความเป็นวะฮฺยู (วิวรณ์) ของอัล-กุรอาน เราจะใช้เหตุผลของอัลกุรอานเอง อัลลอฮฺ ตรัสย้ำเน้นหลายต่อหลายครั้งว่า อัลกุอานนั้นมาจากพระองค์ทรงกล่าวว่า"
انا نحن نزلنا الذکر و انا له لحافظون" [1]و "و انزل الفرقان"[2]،و "نزل الکتاب"[3] و "لو انزلنا هذا القرآن..."[4]
ถ้าหากพิจารณาโองการเหล่านี้จะเห็นว่าได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า คัมภีร์ได้ถูกประทานมาจากพระเจ้า
การพิจารณาในอันดับแรกของเหตุผลกับบทวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอจะเห็นว่าเป็นเหตุผลวน เนื่องจากจนถึงปัจจุบันความเป็นวะฮฺยู และเหตุผลของอัล-กุรอาน ยังไม่ได้รับการพิสูจน์แต่อย่างใด เพื่อว่าจะได้นำมาอ้างเป็นเหตุผล และเป็นบทนำในการพิสูจน์ แต่ถ้าพิจารณาให้ละเอียดลงไปกว่านี้ ก็สามารถนำเอาโองการอัล-กุรอานมาพิสูจน์ความเป็นวะฮฺยูของตัวเองได้
อย่างเช่นโองการที่ท้าทาย หรือตะฮัดดี[5] เช่น โองการที่กล่าวว่า
و ان کنتم فى ریب مما نزلنا على عبدنا فأتوا بسورة من مثله[6]
หรือในโองการอื่น เช่น กล่าวว่า
لو کان من عند غیر الله لوجدوا فیه اختلافاً کثیرا[7]
การพิจารณาการประทานอัล-กุรอานที่มาจากอัลลอฮฺ เป็นหลักฐานอันแน่นอนในประเด็นดังกล่าว แต่โองการเหล่านี้เหมาะสำหรับเป็นเหตุผลที่ว่าอัล-กุรอาน เป็นสิ่งมหัศจรรย์มากกว่า ไม่สามารถนำมาเป็นเอกผลในเชิงอ้างอิงถึงอัล-กุรอานได้ ทว่าเหตุผลด้านสติปัญญาและเหตุผลภายนอก ซึ่งอัล-กุรอานได้ใช้เหตุผลเหล่านั้นในการพิสูจน์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็คือเหตุผลประการที่สามนั่นเอง ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ได้ใช้เป็นเหตุผลสมบูรณ์สำหรับคำแนะนำและการพิสูจน์
ประการที่สาม : คือวิธีการพิสูจน์เรื่องราวโดยอาศัยการพิสูจน์ความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน วิธีการนี้เป็นวิธีธรรมดาที่พบมากที่สุดอันเป็นคุณสมบัติพิเศษในอัล-กุรอาน และการค้นพบว่ากุรอานนั้นมาจากพระเจ้าคือ ก็จะไม่ได้ถูกตรวจสอบด้วย[8]
แหล่งข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติม :
Hadavi เตหะราน เมะฮฺดี มะบานี กะลามมี อิจติฮาด, มุอัซซะซะฮฺ ฟัรฮังกีย์ คอเนะฮฺ เครัด, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, 1377
[1] “แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษาอย่างแน่นอน” (อัล-กุรอานบทอัลฮิจญ์ 9)
[2] “ได้ประทานฟุรกอนลงมา” (อัล-กุรอานบทอาลิอิมรอน 4)
[3] “ไดประทานคัมภีร์ลงมา” (อัล-กุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 176, บทอะอ์รอฟ 196,) จุดประสงค์ของคัมภีร์คือ คัมภีร์ศักดิ์แห่งอิสลามหรือ อัล-กุรอาน แม้ว่าส่วนใหญ่จะกล่าวว่าหมายถึง เตารอตหรืออินญีลก็ตาม
[4] “มาตรว่าเราได้ประทานกุรอานลงมา” (อัล-กุรอานบทฮัชร์ 21)
[5] โองการตะฮัดดีหมายถึง โองการที่อัลลอฮฺ ทรงท้าทายเหล่าผู้ปฏิเสธให้มาต่อสู้กัน
[6] “และหากว่าสูเจ้าอยู่ในความแคลงใจใด ๆ จากสิ่งที่เราได้ประทานลงมาแก่บ่าวของเราก็จงนำมาสักบทหนึ่งเยี่ยงสิ่งนั้น” (อัล-กุรอานบทบะเกาะเราะฮฺ 23)
[7] “หากว่าอัล-กุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ แน่นอน พวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความขัดแย้งกันมากมาย” (อัล-กุรอานบทนิซาอ์ 82)
[8] ย้อนกลับไปศึกษาประเด็นหัวข้อ ความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน คำถามที่ 70 ไซต์ 311 , มะฮฺดะวีย์ เตหะราน เมะฮฺดี มะบานี กะลามมี อิจติฮาด หน้า 46-47