การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
18279
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/25
คำถามอย่างย่อ
โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
คำถาม
กระผมเป็นนักเขียนบทภาพยนตร์คนหนึ่ง ขณะนี้กำลังเขียนเรื่องหนึ่งโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ การสร้างความสมานฉันท์ในอิสลาม ดังนั้น จำเป็นที่กระผมต้องรู้หลักความเชื่อกว้างของนิกายที่มีการปฏิบัติตัวชนิดสุดโต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง

ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ที่สร้างไว้เหนือหลุมฝังศพของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ หรือปวงปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ล้วนเป็นบิดอะฮฺ ทั้งสิ้น พวกเขาเชื่อว่าท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มากด้วยความไร้สามารถต่างๆ  และมีความอ่อนแอของความเป็นมนุษย์อยู่อย่างมากมาย ท่านได้จากโลกไปโดยไม่ได้รับรู้ข่าวคราวอันใดจากเราและจากโลกใบนี้, การซิยาเราะฮฺหลุมศพของท่านเราะซูลถือเป็น ฮะรอม

ในทัศนะของวะฮาบีทั้งหลายถือว่า ไม่มีบุคคลใดเป็นมุสลิม นอกเสียจากได้ละเว้นภารกิจดังกล่าวข้างต้น

สิ่งที่ลืมไม่ได้ที่จะกล่าวถึงคือ หลักความเชื่อดังกล่าวได้รับการท้วงติง และหักล้างด้วยเหตุผลจากบรรดาปวงปราชญ์ ทั้งฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺ จำนวนมากมาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

บรรดาวะฮาบี (สำนักคิดวะฮาบี) คือพวกที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ บิน สุไลมาน นัจญฺดี (1115-1206) ซึ่งปฏิบัติตามสำนักคิดของ อิบนุตัยมียะฮฺ และเป็นลูกศิษย์ของ อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ผู้สถาปนาแนวศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ ชื่อสำนักคิดนี้ได้ตั้งมาจากชื่อของบิดาของอับดุลวะฮาบ[1]

วะฮาบี นับว่าเป็นหนึ่งในสำนักคิดอิสลามที่ตั้งรกรากอยู่ใน ประเทศซาอุดิอารเบีย และยังมีผู้นับถือปฏิบัติตามอยู่บางส่วน เช่น ในบางประเทศ ปากีสถานและอินเดีย.

มุฮัมมัดญะวาด มุฆนียะฮฺ กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อว่า »นี่คือวะฮาบี« โดยอ้างอิงไปยังสำนักคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ และผลงานชิ้นอื่นของวะฮาบี ท่านเขียนว่า : ตามทัศนะของวะฮาบีทั้งหลายเชื่อว่า ไม่มีมีมนุษย์คนในที่เคารพภักดีต่อพระเจ้า และไม่มีผู้ใดเป็นมุสลิมโดยแท้ เว้นเสียแต่ว่าต้องละทิ้งตามที่ได้กำหนดไว้ [ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป][2] ขณะที่, บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างมีความเชื่อว่า บุคคลใดก็ตามกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมาเขาผู้นั้นคือ มุสลิม ชีวิตและทรัพย์สินของเขาต้องได้รับการปกปักษ์รักษา, แต่บรรดาวะฮาบีกลับกล่าวว่า : คำพูดที่ปราศจากการปฏิบัติไม่มีคุณค่า และเชื่อถือไม่ได้, ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมา, แต่ได้ขอความช่วยเหลือผ่านพวกที่เสียชีวิตไปแล้ว เขาก็มิได้แตกต่างอะไรไปจากบรรดากาฟิรผู้ปฏิเสธทั้งหลาย ซึ่งเลือดและทรัพย์สินของพวกเขา ฮะลาล.

สำนักคิดวะฮาบี ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดิอารเบีย และได้รับการสถาปนาให้เห็นสำนักคิดประจำชาติ คำวินิจต่างๆ ของบรรดาผู้รู้ถูกดำเนินการปฏิบัติโดยรัฐบาล ส่วนรายละเอียดด้านการปฏิบัติ พวกเขาได้ยึดถือปฏิบัติตามแนวคิดของ อะฮฺมัด ฮันบะลี ขณะเดียวกันพวกเขาจะไม่ท้วงติงหรือขัดขวางผู้ปฏิบัติตาม สำนักคิดทั้งสี่ได้แก่ (ฮะนะฟี, ชาฟิอี, ฮันบะลี, และมาลิกี) แต่จะขัดขวางผู้ปฏิบัติตามมัซฮับอื่น เช่น ชีอะฮฺ ซัยดียะฮฺ ซึ่งทั้งสองมัซฮับจะได้รับการประณามสาปแช่ง[3]

ก่อนที่จะอธิบายถึงแนวความเชื่อของวะฮาบี สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ, บทนำสั้นๆ เกี่ยวกับการตั้งภาคีหรือชิริกเสียก่อน : คำว่า ชิริก, ในปธานุกรมหมายถึง การให้ความโศกเศร้าลำบาก, การผสมผสานกันการร่วมกันของสองหุ้นส่วน[4] ส่วนในนิยามของอัลกุรอาน, จะถูกนำไปใช้ในความหมายที่อยู่ตรงข้ามกับ คำว่า ฮะนีฟ ซึ่งจุดประสงค์ของ ชิริก, คือชิริกที่คล้ายเหมือน หรือตั้งสิ่งที่คล้ายคลึงขึ้นมาสำหรับพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง, คำว่า ฮะนีฟ, หมายถึงความปรารถนา ความทะยานอยากให้หลุดพ้นจาก การหลงผิดไปสู่ความถูกต้อง หรือแนวทางที่เที่ยงธรรม, และเนื่องจากผู้ปฏิบัติตามเตาฮีด, คือผู้บริสุทธิ์หรือผู้ที่หันห่างออกจากการตั้งภาคีไปสู่แก่นสารอันเป็นพื้นฐานของความปรารถนา, จึงเรียกพวกเขาว่า ฮะนีฟ

อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวถึงศาสดาของพระองค์ในอัลกุรอานว่า : »จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงพระผู้อภิบาลของฉันได้ชี้นำฉันไปสู่ทางอันเที่ยงตรง คือศาสนาที่เที่ยงแท้ [หลักประกันความผาสุกทั้งศาสนาและโลก] อันเป็นแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาสัจธรรม เขาเป็นผู้หันห่างออกจากความหลงผิดและเขาก็ไม่เป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี«[5]

และพระองค์ตรัสอีกว่า : »และ (มีบัญชา) ว่า จงมุ่งหน้าของเจ้าสู่ศาสนาโดยเที่ยงธรรม และอย่าอยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี«[6]

ด้วยเหตุนี้ ตามทัศนะของอัลกุรอาน, ชิริก, คือจุดที่อยู่ตรงกันข้ามกับศาสนาเที่ยงธรรม และสำหรับการรู้จักชิริกนั้น จำเป็นต้องรู้จักศาสนาที่เที่ยงธรรมเสียก่อน, เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่า «تعرف الاشیاء باضدادها» หมายถึงการรู้จักบางสิ่งด้วยสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม, สรุปก็คือ, สามารถกล่าวได้ว่า ชิริก, นั้นอยู่ตรงกันข้ามกับเตาฮีด และดั่งที่ทราบว่า เตาฮีด นั้นหลายประเภท, ชิริกก็มีหลายประเภทเช่นกัน.

สำหรับการจัดแบ่งโดยทั่วไปกล่าวคือ, ชิกริกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ก) »ชิริกในความหลักความศรัทธา« ข) »ชิริกในการปฏิบัติ«, และชิริกในหลักความศรัทธายังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ :

1.ชิริกในอุลูฮียะฮฺ : หมายถึง การเชื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ โดยเอกเทศซึ่งมีทั้งคุณลักษณะที่สัมบูรณ์และสง่างาม แน่นอนว่าความเชื่อทำนองนั้นเป็นสาเหตุนำไปสู่ การปฏิเสธ[7]ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : »แน่นอน ได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว สำหรับบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ คืออัลมะซีฮฺ บุตรมัรยัม[8]«

2.ชิริกในการสร้าง: มนุษย์เชื่อว่ามีผู้สร้างเป็นเอกเทศในโลกนี้ 2 องค์, ซึ่งทั้งการสร้างและการควบคุมโลกอยู่ในอำนาจของทั้งสอง, ดังที่พวกโซโรแอสเตอร์เชื่อในเรื่องผู้สร้างความดี (ยัซดอนนี) และความชั่ว (อะฮฺเราะมัน)

3.ชิริกในการบริบาล : หมายถึงเชื่อว่าในโลกนี้มีการอภิบาล (พระผู้อภิบาล) จำนวนมาก ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงเป็นนายของผู้อภิบาลเหล่านั้น กล่าวคือ การบริบาลโลกถูกควบคุมโดยผู้บริบาลต่างๆ,อย่างเป็นเอกเทศ ดังที่บรรดามุชิรกในสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ต่างมีความเชื่อเช่นนั้น โดยกลุ่มหนึ่งมีเชื่อว่าเทพพระเจ้าแห่งดวงดาวคือ ผู้บริบาลโลกนี้ ส่วนอีกกลุ่มเชื่อในดวงจันทร์ และอีกกลุ่มเชื่อดวงตะวัน

ชิริกในการกระทำ:

การเป็นชิริกในด้านการปฏิบัติเรียกว่า เป็นชิริกในการแสดงความเคารพภักดีหรือชิริกในอิบาดะฮฺนั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ได้แสดงความนอบน้อมถ่อมตน ซึ่งเกิดจากความเชื่อที่มีต่อความคู่ควรในการเป็นพระเจ้า หรือผู้สร้าง หรือผู้บริบาล โดยเขาได้แสดงความนอบน้อมและความเคารพนั้นแก่บุคคลหรือสรรพสิ่ง.

เหล่านี้คือมาตรฐานของการเป็นชิริก ซึ่งได้ตีความมาจากอัลกุรอาน

ส่วนมุสลิมกลุ่มหนึ่ง เช่น บรรดาวะฮาบีทั้งหลาย, พวกเขาได้สร้างมาตรฐานการเป็นชิริกด้วยตัวเอง และนำเอามาตรฐานเหล่านั้นมาเทียบบรรดามุสลิมคนอื่น พร้อมกับกล่าวหาว่าพวกเขาเป็นชิริก

โดยหลักการแล้ว มาตรฐานการเป็นชิริกที่พวกเขาได้กำหนดขึ้นนั้น, ไม่มีสิ่งใดเป็นที่เชื่อถือแม้แต่สิ่งเดียว,เนื่องจากมาตรฐานตามกำหนดของพวกเขาขัดแย้งกับอัลกุรอาน แบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของท่านศาสดา

ตรงนี้จะขอนำเสนอหลักความเชื่อบางประการของวะฮาบี ดังนี้ :

1.วะฮาบีมีความเชื่อเรื่อง อำนาจเร้นลับ สำหรับสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ พวกเขากล่าวว่า : »ถ้าหากบุคคลใดเชื่อและได้ขอความช่วยเหลือจากนบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ [โดยเรียกร้องความช่วยเหลือ] ขณะที่เชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นได้ยินดุอาอฺ และรับรู้ถึงสภาพของพวกเขา,พร้อมกับตอบรับดุอาอฺของพวกเขา, เหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในชิริกทั้งสิ้น[9]

2. การวิงวอนดุอาอฺกับคนตาย, ตามความเชื่อของวะฮาบีหนึ่งในชิริกคือ, การวิงวอนดุอาอฺกับคนตายและขอความช่วยเหลือจากพวกเขา หรือความมุ่งมั่นไปยังพวกเขา (แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นนบีหรือบรรดาศาสดาทั้งหลาย) และสิ่งนี้ถือว่าเป็นแก่นของการเป็นชิริกบนโลกนี้[10]

3.ดุอาอฺและตะวัซซุลเป็นอิบาดะฮฺประเภทหนึ่ง, กล่าวว่า : «การอิบาดะฮฺนั้น เฉพาะเจาะจงสำหรับอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว และดุอาอฺเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺ, ดังนั้น การวิงวอนต่อผู้อื่นไปจากอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นชิริกทั้งสิ้น»[11]

4.การซิยาเราะฮฺกุบูร สถานฝังศพเป็นชิริก

5. การขอตะบัรรุกจากร่องรอยของบรรดาศาสดาและมวลกัลญาณชนเป็นชิริก

6. การจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นชิริก

7.การสร้างโดมหรือเครื่องครอบหลุมศพเป็นชิริก

หลักความเชื่อเหล่านี้และมาตรฐานที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเอง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ :

1.วะฮาบีทั้งหลายต่างถือว่า มาตรฐานและการกระทำต่างๆ ตามที่กล่าวมาหากเป็นชิริกในด้านความเชื่อ ถือว่าผู้นั้นเป็นมุชริกทันที

สำหรับข้อหักล้างหลักความเชื่อข้างต้น สามารถกล่าวได้ว่า, ถ้าหากเชื่อในเรื่องอำนาจเร้นลับ, เชื่อในเรื่องการชะฟาอะฮฺ เชื่อในเรื่องการตอบรับดุอาอฺ และอื่นๆ ..ในลักษณะที่ว่าภารกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ ดังนั้น ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับสิ่งใด ล้วนอยู่ในอำนาจของพระองค์ที่ประทานแก่พวกเขา อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นชิริก, เนื่องจากตรงนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นเอกเทศไปจากอัลลอฮฺ แม้แต่ประการเดียว ซึ่งได้อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับ ชิริกในอุลูฮียะฮฺ ชิริกในการสร้างสรรค์ และชิริกในการบริบาล ซึ่งกล่าวไปแล้วเช่นกันว่า ชิริกในความศรัทธา จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น มีความเชื่อว่าผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ มีคุณลักษณะสัมบูรณ์และสง่างาม, หรือเชื่อว่าผู้นั้นสามารถสร้างสรรค์สรรพสิ่งได้อย่างเอกเทศ หรือสามารถบริบาลโลกได้อย่างเอกเทศเช่นกัน, แต่ถ้าอำนาจของเขาขึ้นอยู่อัลลอฮฺ, ตรงนี้คำว่า ชิริก จะไม่มีความหมายอีกต่อไป. เราและบรรดามุสลิมทั้งหลายต่างวิงวอนขอผ่านท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และตัวแทนของท่าน หรือมีความเชื่อว่าพวกเขามีอำนาจเหนือญาณวิสัย ซึ่งอำนาจเหล่านั้นล้วนได้รับมาจากอัลลอฮฺ ทั้งสิ้นหรืออัลลอฮฺทรงประทานตำแหน่งดังกล่าวแก่พวกเขา ถ้าเป็นในลักษณะนี้ยังจะถือว่าเป็น ชิริก อีกหรือไม่?

2. ส่วนที่สองภารกิจต่างๆ ที่วะฮาบีถือว่าเป็นชิริก ด้วยสาเหตุที่ว่าพวกเขาถือว่าการงานเหล่านั้นเป็นอิบาดะฮฺ, เช่น การจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือสร้างโดม หรือสัญลักษณ์ครอบไว้เหนือหลุมฝังศพ หรือการจูบลูกกรงหรือโดมที่ครอบอยู่บนหลุมฝังศพ และอื่นๆ ...

คำตอบ สำหรับหลักความเชื่อข้อนี้คือ พวกเขาตีความคำว่า อิบาดะฮฺ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เข้าใจว่า อิบาดะฮฺว่าหมายถึงอะไร ซึ่งอิบาดะฮฺนั้น มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการด้วยก้น และด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านั้นเอง อิบาดะฮฺ จึงเป็นอิบาดะฮฺที่กระทำไปเพื่อพระเจ้า อิบาดะฮฺ, ที่กล่าวว่าเป็นอิบะฮฺคือ ได้ถูกกระทำด้วยความนอบน้อมถ่อมตน ถูกขับเคลื่อนออกมาจากความเชื่อศรัทธาไปสู่ความคู่ควรในความเป็นพระเจ้า หรือพระผู้ทรงสร้างสรรค์ และบิรบาล ด้วยเหตุนี้เอง ตามคำนิยามดังกล่าวนี้ ถ้าหากความนอบน้อมถ่อมตน ไม่ได้ออกมาจากความเชื่อศรัทธา ไปสู่ความคู่ควรแก่การเคารพภักดี จะไม่ถือว่านั่นเป็นอิบาดะฮฺเด็ดขาด ด้วยสาเหตุนี้เอง จะเห็นว่าเมื่ออัลลอฮฺ ตรัสถึงการซัจญฺดะฮฺของเหล่าบรรดาพี่น้องของยูซุฟ (อ.) ต่อหน้ายูซุฟในบทยูซุฟ ไม่ถือว่าการซัจญฺดะฮฺนั้นเป็นชิริกแต่อย่างใด, เนื่องจากบรรดาพวกพี่ๆ ของยูซุฟ จะไม่เชื่อยูซุฟว่าคู่ควรแก่การเคารพภักดี หรือเป็นผู้สร้าง หรือผู้บริบาลแต่อย่างใด

น่ายินดีที่ว่า, บรรดาปวงปราชญ์ในอิสลาม และผู้รู้นักคิดทั้งหลายต่างมีความตื่นตัวกันอย่างถ้วนหน้า และมีความเข้าใจต่อมาตรฐานที่พวกเขาได้ตั้งขึ้นมาเอง พร้อมกับได้ตอบความเชื่อเชิงหักล้างด้วยเหตุผล

ตรงนี้สิ่งเดียวที่สมารถกล่าวได้ว่า สิ่งใดถูกหรือผิดคือ สติปัญญาที่มีความสมบูรณ์ของท่านผู้อ่านทั้งหลาย ที่ต้องพิจารณาด้วยวิจารณญาณของตนเองว่า ความเชื่อเหล่านี้สามารถเข้ากันได้กับธรรมชาติของมนุษย์ และอัลกุรอานหรือไม่, สิ่งเหล่านี้นะหรือคือความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในฐานะพรมแดนสุดท้ายของสาส์นแห่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[12] อัลกุรอาน มิได้กล่าวกับเราหรือว่า บรรดาชะฮีดต่างมีชีวิตอยู่ ณ อัลลอฮฺ[13] และฐานะภาพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่ำต้อยกว่าชะฮีดกระนั้นหรือ? และ ..

ทุกวันนี้, มุสลิมสำนักคิดต่างๆ ได้นำเอาประเด็น (ชิริก) มาเป็นมาตรวัดความผิดพลาด และทัศนะของคนอื่น และเมื่อใดก็ตามเมื่อมองเห็นสถานภาพของตนเองอ่อนแอ หรือเห็นว่าข้อพิสูจน์และเหตุผลของตนอ่อน ก็จะใส่ร้ายคนอื่นทันทีว่าเป็นชิริก ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิบัติเช่นนี้นอกเหนือไปจากคำสอนของอิสลาม, ไม่มีจริยธรรมจรรยาและหลงผิดอย่างหนัก แน่นอนว่าบรรดาปวงปราชญ์อิสลาม, ได้ตอบข้อพิสูจน์ของพวกเขาจนหมดสิ้นแล้ว[14]

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือดังต่อไปนี้ :

1.บะฮูษ กุรอานนียะฮฺ ฟิตเตาฮีด วัชชิรกิ, ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ.

2.วะฮาบียัต มะบานี ฟิกรียะฮฺ, วะบทวิเคราะห์เชิงวิชาการ,ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ.

3. สำนักคิดวะฮาบียฺ,ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ.

4.ฟังฮัง ฟิร็อก อิสลาม, มุฮัมมัด ญะวาด มัชกูร.

 

 


[1] มัชกูร,มุฮัมมัด ญะวาด,ฟัรฮัง ฟิร็อก อิสลามี,หน้า 461-457.

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] มัจญฺมะอุล บะฮฺเรน, เล่ม 5, หน้า 247, อัลอัยนฺ, เล่ม 5, หน้า 293.

[5] บทอันอาม, 161

[6] «و ان اقم وجهک للدین حنیفاً و لاتکونن من المشرکین»บทยูนุส, 105.

[7] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ ชิริกทุกประเภท, คือสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธทั้งสิ้น, แต่สิ่งที่ต้องตระหนักจุดประสงค์ของเราที่กล่าวถึง การปฏิเสธ หมายรวมถึงการปฏิเสธทั้งด้านความเชื่อและการปฏิบัติ

[8] «لقد کفرالذین قالوا ان الله هو المسیح بن مریم»บทมาอิดะฮฺ, 17

[9] รวมคำฟัตวาของเชค บินบาซ, เล่ม 2, หน้า 552.

[10] ฟัตฮุลมะญีด, หน้า 68

[11] อัรร็อดดุ อะลี อัรรอฟิเฎาะฮฺ (คัดลอกมาจากหนังสือ การรู้จักชีอะฮฺ, ของอะลี อัสฆัร ริฎวานียฺ, หน้า 135-143)

[12] อัลกุรอาน บทชูรอ, 23.

[13] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 169.

[14] ศึกษาได้จากคำถามที่ 978 (ความเชื่อของวะฮาบี)

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7906 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
    5923 تاريخ کلام 2555/03/18
    มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้ อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย” สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง” ...
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8385 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8149 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    9612 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7259 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22714 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7105 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8372 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    6844 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...